จากนั้นก็เดินไปราว150เมตร เข้าไปทางซ้ายมือซึ่งเป็นทางไปท่าเรือบางโรง เพื่อไปสู่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติถลางซึ่งต้องข้ามถนนไปอีกฟากหนึ่ง ค่าเข้าพิพิธภัณฑ์สำหรับคนไทย20บาทถ้วน
และเราจะมาเข้าโหมดวิชาการกันเล็กน้อยถึงปานกลาง เพราะภายในพิพิธภัณฑ์ไม่สามารถถ่ายรูปได้จึงขอเล่าให้อ่านล่ะกันค่ะ เมื่อเข้าไปก็จะพบบอร์ดประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พวกภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ตามที่ต่างๆ มีโชว์พวกลูกปัดดิน กำไลสัมฤทธิ์
ว่ายาวไปถึงสมัยทวารวดี สมัยที่ภูเก็ตมีชื่อเรียก junkceylon จังซีลอน แล้วเพี้ยนกร่อนภาษากันมาเรื่อยจนเป็นถลาง และต่อมาก็ภูเก็จ ที่แปลว่า ภูเขาเกล็ดแก้ว แล้วจึงมาเป็นภูเก็ตอย่างทุกวันนี้ ร่ายมาถึงสมัยสุโขทัย อยุธยา ที่มีพระยาถลาง เป็นเจ้าเมืองถลางหรือภูเก็ต ด้วยความที่ดีบุกเป็นสินแร่ที่มีค่าจึงมีการทำสัญญากันกับฝรั่ง เรื่องการผูกขาดทำเหมืองดีบุก และภาษีต่างๆมากมายหลายสิ่ง
จวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีการปรับเปลี่ยนการปกครอง ด้วยเหตุผลทางการบ้านการเมืองในสมัย ร.4-ร.5 ที่เกิดกบฏอั้งยี่จนทำให้ต้องแต่งตั้งผู้ที่อั้งยี่ยกย่องเป็นคนของทางการ นั่นก็คือ หลวงบำรุงจีนประเทศ ซึ่งเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังอีกรอบตอนไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไทยหัวค่ะ
จากคุณ |
:
จอมนาง
|
เขียนเมื่อ |
:
31 ส.ค. 54 21:20:31
|
|
|
|