|
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร กำเนิดในสกุล แก่นแก้ว เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ที่บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อวัยเด็กเป็นผู้มีสติปัญญาดี ว่านอนสอนง่าย ได้เรียน อักขรสมัยในสำนักของอาคือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอม อ่านเขียนกได้อย่างรวดเร็วเพราะมีความทรงจำและขยัหมั่นเพียรของการเล่าเรียนศึกษา ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๕ ปีที่วัดบ้านคำบง แต่เพียง ๒ ปีท่านก็จำเป็นต้องลาสิกขาเพื่อไปช่วยการงานทางบ้านแต่ยังคิดที่จะบวชอยู่เสมอ พออายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุและได้เข้าฝึก ปฏิบัติธรรมในสำนักวิปัสสนากับท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังของภาคอีสาน และเข้ามาศึกษาสดับธรรมเทศนากับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นต่างๆ ทั้งในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย และได้นำมาสงเคราะห์อบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนาแก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกา มีผู้เลื่อมใสในธรรมปฏิบัติตามถิ่นต่างๆ ที่พอใจปฏิบัติ ศิษยานุศิษย์ของท่านได้มีแพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศมากขึ้นไปโดยลำดับ ท่านถือธุดงควัตร ๔ ประการอย่างเคร่งครัด คือ -หนึ่ง... ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชราจึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย -สอง... เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์แม้อาพาธ ในละแวกบ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด -สาม... ถือฉันในบาตรเป็นนิตย์ -สี่...ฉันหนเดียวเป็นนิตย์ แม้ช่วงอาพาธหนักก็มิได้เลิกละ -ส่วนธุดงควัตรข้ออื่นถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว หลวงปู่มั่นเป็นพระปฏิบัติที่มีชื่อเสียงและผู้คนศรัทธานับถือทั้งประเทศ มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระ ซึ่งเป็นที่เคารพของผู้คนอาทิเช่น หลวงปู่ดุลย์ อตฺโล, หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น ธรรมโอวาท อันเป็นคติที่ท่านกล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดี ที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์คือ ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ, ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตน เป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง ฯลฯ
จากคุณ |
:
noiwanwannoi
|
เขียนเมื่อ |
:
5 ก.ย. 54 08:43:36
|
|
|
|
|