|
"ประแส" ในสมัยกรุงเก่า มีฐานะเป็นเมือง เรียกว่า "เมืองประแส"
คำว่า "ประแส" เป็นคำที่ใช้เรียกกันมาตั้งแต่โบราณกาล แม้ชื่อตำบลซึ่งเกิดขึ้นในภายหลังตามกฏหมายลักษณะปกครองท้องที่ก็ใช้ว่า "ตำบลปากน้ำประแส" บรรดาศักดิ์กำนันก็ใช้ว่า "ขุนมุขประแสชล" ฯลฯ แต่ยังหาหลักฐานไม่ได้ว่า "ประแส" มีความหมายว่าอย่างไร ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานมิได้เก็บคำนี้ไว้ เมื่อไม่สามารถหาความหมายของคำดังกล่าวได้ ทางราชการจึงเปลี่ยนชื่อจาก "ประแส" เป็น "กระแส" ซึ่งหมายถึง "กระแสน้ำ" (เมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2489 - 2493) และเปลี่ยนชื่อตำบลว่า "ตำบลปากน้ำกระแส" แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า "ประแส" ตามที่เรียกกันมาแต่ดั้งเดิม แม้สถานที่ราชการบางแห่งของตำบลนี้ยังใช้คำเดิมอยู่ก็มี เช่น สถานีตำรวจภูธรตำบลปากน้ำประแสร์ , การประปาปากน้ำประแสร์
การวิเคราะห์คำว่า "ประแส" นั้น พระครูประภัทรวิริยคุณ (มาลัย) เจ้าคณะอำเภอแกลง เจ้าอาวาส "วัดตะเคียนงาม" ได้ศึกษาในเรื่องนี้ โดยในเบื้องต้นสันนิษฐานว่า คำว่า "ประแส" นั้นน่าจะเป็นภาษาชอง ซึ่งเป็นภาษาของชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของภูมิภาคนี้ ( สุนทรภู่เคยกล่าวถึงหนุ่มสาวชาวบ้านพลงฆ้อหรือเนินฆ้อไว้ในนิราศเมืองแกลงว่า ..ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง แสดงว่าชาวบ้านพื้นเมืองแถบนี้มีเชื้อสายเป็นชาวชอง )
และเพื่อความกระจ่างชัด พระครูประภัทรวิริยคุณ และ นายระวี ปัญญายิ่ง ได้เดินทางไปสอบถามผู้มีเชื้อสายชองในเขตตำบลพลวง , ตะเคียนทอง , คลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี จากการสอบถามได้ความตรงกันว่าในภาษาชอง มีคำว่า "แซร์" หมายถึง ทุ่งนา "พรีแซร์ หรือ ปรีแซร์" หมายถึง ทุ่งนา คือป่าที่ถางแล้วและใช้ปลูกข้าว ถ้าเป็นที่ดอนก็ทำไร่ปลูกข้าว ถ้าเป็นที่ลุ่มก็ทำนาปลูกข้าว หากคำว่า "ประแส" มีรากฐานมาจากภาษา "ชอง" ดังกล่าวจะต้องเขียนตามศัพท์เดิมว่า "ประแสร์" มี ร การันต์ จึงจะมีความหมายว่า "ทุ่งนา" หรือ "ป่าทุ่งนา"
หมู่บ้านประแสร์ ในเขตอำเภอแกลง มี 2 แห่ง คือ "ประแสร์ ( บน )" อยู่ทางทิศเหนือ ห่างจากที่ว่าการอำเภอแกลงประมาณ 12 กม. ( ทางตรง ) ลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้านประแส (บน) เป็นที่นา รอบๆทุ่งนาเป็นแนวป่า มีแม่น้ำไหลผ่านหมู่บ้านนี้ เรียกว่า "แม่น้ำประแสร์" ไหลออกสู่ทะเล ณ ที่ใด ก็เรียกที่นั้นว่า "ปากแม่น้ำประแสร์" และกร่อนไปเป็น "ปากน้ำประแสร์" ในที่สุดจึงสรุปว่า "ประแสร์" น่าจะมีรากฐานมาจากภาษาชอง คือเพี้ยนมาจากคำว่า "พรีแซร์" หรือ "ปรีแซร์" ที่แปลว่า "ทุ่งนา" ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานของพระครูประภัทรวิริยคุณที่ได้ข้อมูลมาจากการศึกษาข้อมูลเก่า , การค้นคว้าจากหนังสือเรื่อง "อารยธรรมของจันทบุรี" ที่กล่าวถึงภาษาชอง และสอบถามจากบุคคลหลายที่
อนึ่ง มีผู้สันนิษฐานด้วยว่า คำว่า "ประแส" น่าจะมาจากความหมายที่ว่า "กระแสน้ำจืด" ที่ไหลมาจากต้นน้ำมา "ประ" (ปะทะ) กับน้ำทะเล (เค็ม) ตรงปากน้ำ จึงเรียกว่า "ปากน้ำประแส"
http://touronthai.com/gallery/placeview.php?place_id=43000041
จากคุณ |
:
ชมจันทร์
|
เขียนเมื่อ |
:
16 เม.ย. 55 20:11:27
|
|
|
|
|