Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ถอดรหัส เสียงร้องของทารก รู้ไหมลูกบอกอะไรพ่อแม่ vote ติดต่อทีมงาน

เสียงร้องของลูกน้อย  มันช่างเป็นเสียงที่คนเป็นพ่อแม่รู้สึกทุกข์ใจอย่างยิ่ง  คงจะดีไม่น้อยถ้าเรารู้รหัสเสียงร้องของเด็กทารก  วันนี้ได้นำบทความเกี่ยวกับเสียงร้องมาฝากเพื่อนๆ เผื่อใครมีน้องยังเล็กอยู่  หรือเผื่อเพื่อนบางคนมีลูกน้อยวัยแรกเกิด  จะได้หัดสังเกตุเพื่อจะได้ดูแลลุกรักด้วน้อยให้มีความสุขทั้งครอบครัว

ถอดรหัสเสียงร้องของลูก (Mother & Care)

         เสียงร้องไห้กับเด็กตัวเล็ก ๆ เป็นเรื่องปกติที่พบได้ แต่บางครั้ง บางเวลา พ่อแม่ก็ไม่สามารถจัดการกับเสียงร้องไห้ของลูกได้ดั่งใจ กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต เรื่องเครียดในเวลาต่อมา ดังนั้น การเรียนรู้เข้าใจที่มาของเสียงร้อง จะช่วยให้คุณใจเย็น มั่นใจได้มากขึ้น และมีความสุขกับการเลี้ยงดูลูกครับ

ลูกร้องไห้ คือการสื่อสาร

         ตั้งแต่แรกเกิดลูกไม่สามารถพูดได้ การร้องไห้จึงเป็นวิธีที่ลูกใช้สื่อสารกับผู้เลี้ยงให้รู้ถึงความต้องการว่า หิว ปวดท้อง เบื่อ เจ็บ ไม่สบายตัว หรือปลดปล่อยความเครียดจากการปรับตัวทั้งวัน เป็นการปรับตัวจากการนอนอย่างสบายในท้องแม่ มาสู่สิ่งแวดล้อมที่ยังไม่คุ้นเคย เมื่อเลยจากนี้ไป 3 เดือนก็จะดีขึ้น มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า แม่สามารถแยกแยะลักษณะการร้องได้หลังจากคลอด 3 สัปดาห์ และอาจแยกเสียงร้องของลูกตัวเองจากเสียงร้องของลูกคนอื่นหลังจากคลอดได้ 3 วัน  

         ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เด็กแต่ละคนมีลักษณะที่ต่างกัน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

          กลุ่มแรก ทําอย่างไรก็ไม่ร้อง กินนมเสร็จก็นอนหลับยาว 4 ชั่วโมง พอหิวก็ตื่น ร้องแอ๊ะ ๆ เบา ๆ กินนมเสร็จก็นอน

          กลุ่มที่ 2 ทําอย่างไรก็ร้อง ไม่ว่าจะ อุ้ม เดิน ร้องกล่อม เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือให้นม

          กลุ่มที่ 3 ร้องแบบปกติ คือเริ่มร้องเมื่ออายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ ร้องมากสุดช่วงประมาณเดือนครึ่ง และเริ่มเข้าที่เข้าทาง ลูกร้องน้อยลงเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 3-4

เสียงร้องไห้ของลูกบอกอะไร

         ลักษณะเสียงร้องไห้ต่อไปนี้ บางทีอาจเป็นข้อมูลที่ช่วยให้คุณสังเกตและเข้าใจได้ว่าลูกกําลังบอกอะไร

          หิว : มักเป็นการร้องเสียงต่ำและสั้น ขึ้นและลงเป็นจังหวะ เสียงคล้ายจะบอกว่า กรุณาให้นมหนูเถอะ และลูกแสดงออกกับคุณว่าหิว เช่น ดูดนิ้ว ทําเสียงจ๊วบจ๊าบร่วมด้วย

          เจ็บ : เป็นการร้องทันทีทันใด เสียงแหลม สูง ดัง หรืออาจนานแล้วก็หยุด เพื่อหายใจสัก 2-3 วินาที แล้วก็ร้องเสียงแหลมสูงอีก เช่น เวลาที่ลูกถูกฉีดยา

          เบื่อ : มักเริ่มจากเสียงอ้อแอ้ พยายามหาคนคุยด้วย พอไม่มีใครจะเริ่มหงุดหงิด แล้วก็ระเบิดเสียงร้อง สลับกับการร้อง คล้าย ๆ เสียงบ่นพออุ้มก็หยุดร้อง

          เหนื่อยและไม่สบายตัว : อาจเป็นเสียงร้องครางขึ้นจมูก และเสียงค่อย ๆ ดังขึ้น ในกรณี เฉอะแฉะ เปียกชื้น

           เจ็บป่วย : เป็นเสียงเบา ๆ คล้ายไม่มีแรง เสียงจะต่ำกว่าการร้องแบบเจ็บ มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไม่กิน มีไข้ ซึม ท้องเดิน จัดเป็นเสียงที่ต้องรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน

เสียงร้องไห้ของลูก...ดูแลไม่ยาก

          ตอบสนองต่อเสียงร้อง : เป็นวิธีแรกที่สื่อให้ลูกรู้ว่า เมื่อร้องจะมีคนสนใจตอบสนองเสียงร้อง ลูกรู้สึกได้ถึงความมั่นคงและปลอดภัย

          ประเมินสถานการณ์ : ว่าแฉะไหม หิว น่าจะเบื่อ หนาว ร้อน กรณีที่ลูกปวดท้อง อาจเป็นการยากที่จะสรุปว่าลูกร้องมากเพราะปวดท้อง ก็อาจลองทามหาหิงค์ เด็กบางคนอาจมีการให้ยา simethicone เช่น แอร์เอ็กซ์ แต่ทางที่ดีวิธีง่าย ๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย ขอแค่จิตใจแม่สงบ มีพ่ออยู่เป็นกําลังใจ ก็ช่วยได้มากยิ่งอุ้ม ยิ่ง (ไม่) ร้อง

          ด้วยสัมผัสที่อ่อนโยน และอบอุ่นจากการอุ้มลูกไว้แนบอก : จะทําให้อารมณ์ของลูกมั่นคง ผ่อนคลาย (โดยเฉพาะช่วงเดือนแรก) มีความสอดคล้องกับการศึกษาในปัจจุบันว่า ถ้าอุ้มอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อวัน ทารกจะร้องน้อยลง

         ประเภทร้อง 3 เดือนหรือเรียกว่า โคลิก ตามตําราบอกว่า ร้องอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 3 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย (ยังไม่มีใครทราบแน่นอน มักเกิดในลูกคนแรก)  การใช้วิธีอุ้มแนบอกเพื่อช่วยสยบเสียงร้องสามารถช่วยได้ แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าลูกไม่หยุดร้อง การหาคนช่วยอุ้ม หรือเปลี่ยนบรรยากาศก็เป็นหนึ่งทางเลือกครับ

ที่มา: http://yanchaow.com/view1383.aspx

จากคุณ : เรียกผมว่าแมวโพรง
เขียนเมื่อ : 15 ธ.ค. 55 16:16:21




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com