|
งูที่เอามาโชว์นี้เป็นงูที่ มีพิษ และไม่มีพิษ ส่วนงูที่สามารถพ่นพิษได้ หรือที่มีพิษร้ายแรงเราจะไม่นำมาแสดง เพราะอันตรายเกินไป
---- งูจงอาง : King Cobra [Ophiophagus hannah (Cantor, 1836)]
ขนาด : 200 – 540 เซนติเมตร ความยาวเฉลี่ย 400 เซนติเมตร ขนาดยาวที่สุดที่เคยบันทึกไว้คือ 585 เซนติเมตร
ลักษณะ : ตัวโตเต็มวัยมีความผันแปรของขนาดและสีสันลำตัวที่เด่นชัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับขอบเขตทางภูมิศาสตร์ งูจงอางภาคใต้มีขนาดใหญ่ที่สุด สีน้ำตาลอมเขียวหรือสีเขียวอมเทา ลวดลายตามลำตัวไม่ชัดเจน งูจงอางภาคเหนือมีสีเข้มเกือบดำ นิสัยดุ งูจงอางภาคกลางและภาคอีสานมีลายขวางเป็นบั้งๆตลอดลำตัว เมื่อถูกรบกวนงูจงอางจะแผ่แม่เบี้ยได้เช่นเดียวกับงูเห่า โดยยกตัวตั้งได้สูงถึง 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว แต่แม่เบี้ยของงูจงอางจะแคบกว่าของงูเห่า ลักษณะเด่นอีกอย่างคือ งูจงอางมีเกล็ดท้ายทอยขนาดใหญ่ 1 คู่ (occipital scales)บนศีรษะค่อนไปทางด้านหลังของเกล็ดกระหม่อม ลูกงูเกิดใหม่มีสีลำตัวที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือมีลายขวางเป็นวงรอบตัวสีเหลืองอ่อนตั้งแต่ปลายจมูกไปจนตลอดความยาวของลำตัวที่มีพื้นเป็นสีดำ ลวดลายขวางสีเหลืองนี้จะหายไปเมื่องูมีอายูมากกว่า 6 เดือนหรือมีความยาว 1 เมตรขึ้นไป
การสืบพันธุ์ : ผสมพันธุ์ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม วางไข่ครั้งละ 12-51 ฟองช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ในธรรมชาติ:-)ูจะใช้ลำตัวกวาดเศษใบไม้มากองสุมทำเป็นรังแล้ววางไข่ไว้ใต้กองใบไม้ :-)ูอยู่เฝ้ารังและกกไข่จนกระทั่งลูกฟักเป็นตัวภายในเวลา 60-70 วันระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม ลูกงูจงอางแรกเกิดมีน้ำหนัก 12.2 – 24.0 กรัม และความยาว 48 - 65 เซนติเมตร
อาหาร : งูชนิดอื่นๆ และ กิ้งก่า
แหล่งที่พบ : พบในป่าทึบโดยชอบอยู่ใกล้แหล่งน้ำลำธาร อาศัยอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำทะเลได้ถึง 2,135 เมตร
การแพร่กระจาย : พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ภูฏาน เนปาล อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน เกาะมาเก๊า และจีนตอนใต้
จากคุณ |
:
ดา ดา
|
เขียนเมื่อ |
:
14 พ.ย. 54 17:10:21
|
|
|
|
|