|
ลำดับชีวิต สืบ นาคเสถียร Order derivative life Seub Nakhasathien ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ (December,31,1949 B.C.) สืบ นาคะเสถียร ถือกำเหนิดที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายสลับ นาคะเสถียร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เรียนชั้นประถมต้นที่โรงเรีรยนประจำจังหวัด ปราจีนบุรี และเรียนจบมัธยมที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์
พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๖ ๖ (1969-1973 B.C.) เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความตั้งใจศึกษา อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเข้าร่วมกิจกรรม ของนิสิตในมหาวิทยาลัย โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่างหมู่เพื่อนผู้ใกล้ชิดว่า คุณสืบเป็นผู้ที่มีจิตใจรักงานศิลปะ สูงส่งในเชิงมนุษย์สัมพันธ์ มีระเบียบ ในการดำเนินชีวิตในสมัยเรียนอย่างเป็นแบบแผน
พ.ศ. ๒๕๑๘ (1975 B.C.) บรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่ากรมป่าไม้ ไปปฎิบัติหน้าที่ราชการ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังวัดชลบุรี ปราบปรามจับกุมผู้บุกรุกทำลายป่าอย่างมีประสิทธิภาพ
พ.ศ. ๒๕๒๒ (1979 B.C.) ได้รับทุนจาก British Council ไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษจนสำเร็จการศึกษา ในสาขาวิชาอนุรักษ์วิทยา
พ.ศ. ๒๕๒๔ (1981 B.C.) เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้ง เป็นวิทยากรฝึกอบรมพนักงานพิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น
พ.ศ. ๒๕๒๖ (1983 B.C.) กลับเข้าปฏิบัติราชการประจำฝ่ายวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้
พ.ศ. ๒๕๒๙ (1986 B.C.) ปฏิบัติงานในหน้าที่หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้างในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. ๒๕๓๐ (1987 B.C.) ปฏิบัติงานในโครงการศึกษาผลกระทบสภาพแวดล้อม เพื่อพัฒนาพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส
ต่อมาได้รับคำสั่งให้ดำรงค์ตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคอองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกตำแหน่งหนึ่ง
เป็นอาจารย์พิเศษ ประจำภาควิชาชีววิทยา มหาเกษตรศาสตร์ จัดเตรียมเอกสารข้อมูลทางด้านบทความและภาพถ่าย ทุ่มเทพลังกาย พลังใจ เพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนน้ำโจน ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร และการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติทุกรูปแบบ
พ.ศ.๒๕๓๑ (1988 B.C.) กลับมาปฏิบัติราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้
พ.ศ. ๒๕๓๒ (1989 B.C.) เข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
พ.ศ. ๒๕๓๓ (1990 B.C.) จัดตั้งกองทุนเพื่อรักษาป่าหัวขาแข้ง และทุ่งใหญ่นเรศวร
เป็นวิทยากรบรรยาย และร่วมอภิปรายในโอกาส และสถานที่ต่างๆ หลายแห่งส่วนมากเป็นหัวข้อเรื่อง"การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ ปัญหาที่เกี่ยวข้อง" "การอพยพสัตว์ป่าตกค้างในเขื่อนเชี่ยวหลาน"เป็นต้น
เขียนเอกสารโครงการเพื่อจัดการให้พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นพื้นที่มรดกทางธรรมชาติของโลก
แก้ไขเมื่อ 13 ก.ค. 55 14:20:03
จากคุณ |
:
ดา ดา
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ก.ค. 55 12:15:50
|
|
|
|
|