จริง ๆ แล้วแถวบ้านกับหลักปฏิบัติ เวลาซื้อขายที่ดินกัน ถ้าไม่เกรงใจหรือกลัวขายไม่ได้ หรือกลัวซื้อไม่ได้ จะมีการบอกราคากันแบบตรง ๆ เลยว่า จะต้องการราคาแบบสุทธิ ภาษีเงินได้ ค่าฤชาธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์เป็นของใคร บางครั้งเป็นของผู้ซื้อ ถ้าอยากได้จริง ๆ หรือผู้ขายไม่ร้อนเงินอย่างใด บางครั้งเป็นของผู้ขาย ถ้าอยากขายจริง ๆ เพราะร้อนเงินหรืออยากไปทำอย่างอื่น
ของแบบนี้อยู่ที่การเจรจาต่อรองหรืออำนาจต่อรองมากกว่า
ส่วนมากตามความเข้าใจหรือรับฟังกันมาก็เช่น ค่าฤชาธรรมเนียมในการโอนคนละครึ่ง ภาษีเงินได้ในการขายเป็นของผู้ขายตามกฎหมาย
เคยไปซื้อที่ดินกับหัวหน้าสมัยทำงานที่ธนาคารไทยแห่งแรก เพื่อนำมาเป็นที่ทำการสาขา เพราะอยู่ในใจกลางเมือง ผู้ขายบอกเลยว่า ต้องการขายแบบสุทธิ 15.0 ล้านบาท ตกลงต้องจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับผู้ขาย ส่วนรายจ่ายที่นำมาหักค่าใชัจ่ายไม่ได้ตามกฎหมาย ก็หาวิธีการลงเบิกจ่ายรายจ่ายประเภทอื่น ๆ อีกมากมาย ๆ นักบัญชีมืออาชีพจะรู้วิธีการหลบเลี่ยงโดยชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนการซื้อขายที่ดินของพรรคพวกหลายคน ก็บอกซื้อบอกขายกันแบบตรง ๆ ไปเลย ว่าต้องการราคาสุทธิ ไม่สนใจว่ามีค่าใช้จ่ายเท่าไร ส่วนมากตอนนี้แถวบ้านจะผลักให้กับผู้ซื้อทั้งหมด ตัดปัญหาเรื่องราคารับจริงถูกหักค่าฤชาธรรมเนียมกับภาษีเงินได้ บางรายแรงกว่านั้น บอกเลยไม่รับรู้เรื่องนายหน้าไปจ่ายกันเองก็มี ส่วนมากแล้วผู้ซื้อต้องไปคิดราคามาก่อนถึงจะซื้อก็มี หรือต่อรองราคาสุทธิให้ต่ำเท่าที่จะซื้อได้ก็มี
เพราะหลักการในทางแพ่งและพาณิชย์ ถ้าผู้ซื้อผู้ขายตกลงยินยอมกันเอง ไม่มีเรื่องไม่มีปัญหา ศาลหรือกฎหมายไม่ยุ่งเกี่ยวอยู่แล้ว
ส่วนคดีทางภาษีอากร คู่กรณีถ้ามีปัญหาภายหลัง ต้องไปเจรจาต่อรองกับตกลงกับทางสรรพากรกันเองอยูแล้ว
จากคุณ |
:
ravio
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ธ.ค. 55 23:35:14
|
|
|
|