|
จะอธิบายจากการจำได้ก่อนนะครับ(อาจไม่แม่นนะครับ) ข้อกำหนดกรณีอยู่ใน กทม.คิดง่ายๆว่าดินรับได้ 2 ตันต่อตร.ม.(ประมาณว่าได้ 16 ตัน ถ้าทำเต็มพื้นที่)ออกแบบดีๆก็น่าจะไหว แต่ความจริงมันไม่ง่ายอย่างที่คิดต้องดูหลายอย่างประกอบกัน เช่น ดินเดิมแน่นหรือเปล่าถ้าไม่อาจแก้ไขโดยลงเข็มหกเหลี่ยมยาว 6 เมตร รับได้ต้นล่ะ 1.5 ตันโดยประมาณ แล้วออกแบบใหม่ก็สามารถทำได้ วิศวกรออกแบบได้หมด แต่ปัญหาของดินกทม.มันอยู่ที่ว่าด้านบนมันเป็นดินเหนียวอ่อนลอยตัวอยู่บนน้ำใต้ดิและมันทรุดตัวเพราะน้ำใต้ดินมันหายไป คือมันทรุดเป็นบริเวณกว้างถ้าลงเสาเข็มสั้นมันก็ทรุดลงทั้งหมด แต่ตัวบ้านเดิมเสาเข็มมันอยู่ชั้นดินที่ลึกกว่ามันก็ทรุดตัวน้อยกว่า ทีนี้มาว่าถึงแนวคิดการต่อเติมบ้านของผมกัน ถ้าใช้เสาเข็มสั้นออกแบบ -ระวังอย่าให้ส่วนต่อเติมไปเกยฐานรากเดิมเพราะดินส่วนนั้นมันแน่นและจะทำให้ส่วนต่อเติมทรุดเอียง -หลังคาควรฝากกับตัวบ้านเดิมอย่าไปยึดกับรั้ว,พื้นหรื้อส่วนต่อเติม เพราะแก้ที่ผนังส่วนบนมันง่ายกว่าแก้น้ำรั้วตรงรอยต่อ -พื้นส่วนที่ต่อเติมอย่าไปชนกับรั้วหรือผนังบ้าน -ใช้วัสดุเบาทั้งหมดในการออกแบบเช่น หลังคา Metal sheet ,ผนัง Cement board + Metal sheet ,พื้น กระเบื้องยาง,ขัดมัน,ปูกระเบื้องโดยปูนกาว,Cement board
ข้อควรระวัง การต่อเติมโดยไม่ขออนุญาตผิดกฎหมายนะครับ
แก้ไขเมื่อ 18 ธ.ค. 55 00:45:15
จากคุณ |
:
ลูกพี่
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ธ.ค. 55 00:40:39
|
|
|
|
|