ความคิดเห็นที่ 7
ทุกหัวข้อที่ตอบมาก็ใช้ได้หมดทุกวิธี วิธีพี่ ๆ เข้าอธิบายหมดแล้ว ผมขออธิบายว่าทำไม่ต้องบ่มคอนกรีตดีกว่า การบ่มคอนกรีตคืออะไร?
การบ่มคอนกรีต คือ การรักษาระดับปริมาณความชื้นและอุณหภูมิของคอนกรีต โดยเฉพาะในช่วงอายุเริ่มต้นของคอนกรีตให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อลดการแตกร้าวของคอนกรีต และทำให้คอนกรีตมีกำลังและความคงทนสูง
ปัญหาที่พบบ่อยในการก่อสร้างหรือหล่อแผ่นพื้นคอนกรีตในสภาพอากาศร้อนหรือมีลมพัดแรง อาทิเช่น พื้นอาคาร , พื้นถนน , พื้นสนามบิน , หรือแม้แต่แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป คือ การแตกร้าวของคอนกรีตในขณะที่กำลังแข็งตัว อันเกิดจากการขาดการบ่มคอนกรีต หรือการบ่มล่าช้าเกินไป หรือการบ่มอย่างผิดวิธี
วิธีการบ่มคอนกรีต แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามสภาพอุณหภูมิที่ใช้บ่ม ได้แก่ การบ่มอุณหภูมิปกติ และ การบ่มที่อุณหภูมิสูง
วิธีการบ่มที่อุณหภูมิปกติด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ได้แก่ การบ่มโดยการเพิ่มน้ำ และการบ่มโดยการป้องกันการสูญเสียความชื้น
การบ่มโดยการเพิ่มน้ำ เป็นการเพิ่มน้ำให้ผิวหน้าคอนกรีตในระยะเริ่มแข็งตัวโดยตรงอย่างต่อเนื่อง โดยควรคำนึงถึงความสามารถในการจัดหาน้ำ , แรงงาน , และวัสดุที่ใช้บ่ม ซึ่งน้ำที่ใช้บ่มจะต้องไม่มีสสารที่เป็นอันตรายต่อคอนกรีต , ไม่ทำให้ผิวคอนกรีตเปลี่ยนสี , และควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำบ่มที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าคอนกรีตเกิน 10 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมากโดยฉับพลันและทำให้คอนกรีตแตกร้าวได้
การฉีดหรือพรมน้ำ : เหมาะกับโครงสร้างทั้งที่อยู่ในแนวราบและแนวดิ่ง เช่น แผ่นพื้น , ผนัง , กำแพง
การขัง : เหมาะกับโครงสร้างที่อยู่ในแนวราบ เช่น พื้นอาคาร , ทางน้ำไหล , พื้นสะพาน , พื้นถนน , พื้นสนามบิน
การใช้วัสดุเปียกชื้นคลุม : เหมาะกับโครงสร้างทั้งที่อยู่ในแนวราบและแนวดิ่ง เช่น พื้นอาคาร , พื้นถนน , ผนัง , กำแพง
การบ่มโดยการป้องกันการสูญเสียความชื้น เป็นการใช้วัสดุปิดทับหรือเป็นฟิล์มเคลือบผิวคอนกรีต อาทิ เช่น กระดาษกันน้ำซึม , ผ้าพลาสติก , น้ำยาบ่มคอนกรีต และการบ่มโดยใช้แบบหล่อทำหน้าที่เป็นแผ่นคลุมเพื่อลดการสูญเสียน้ำที่ระเหยออกจากคอนกรีต
การใช้กระดาษกันน้ำซึมคลุม : ควรเป็นไปตามข้อกำหนดของ ASTM C 171 นิยมใช้กับพื้นราบ
การใช้ผ้าพลาสติกคลุม : ควรเป็นไปตามข้อกำหนดของ ASTM C 171 ใช้ได้กับทุกโครงสร้าง โดยเฉพาะที่ไม่เน้นลักษณะผิวที่ปรากฏ เช่น รางน้ำ , พื้นหลังคา , พื้นถนน , ขอบทาง
การใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต : ควรเป็นไปตามข้อกำหนดของ ASTM C 309 ใช้ได้กับโครงสร้างพิเศษต่างๆ ที่ต้องการใช้งานเร็ว เช่น พื้นสนามบิน , หลังคากว้าง ๆ , หลังคาเปลือกบาง , พื้นถนน , อาคารสูง
การบ่มโดยใช้แบบหล่อ : ใช้ได้กับโครงสร้าง เช่น ฐานราก , เสา , คาน , ผนัง , กำแพง เป็นต้น
การบ่มโดยการควบคุมอุณหภูมิ โครงสร้างคอนกรีตที่มีความหนามาก การบ่มคอนกรีตจำเป็นต้องรักษาระดับอุณหภูมิของคอนกรีต โดยเฉพาะช่วงอายุเริ่มต้นของคอนกรีตให้เหมาะสมด้วย เพื่อป้องกันการแตกร้าวอันเกิดจาการหดตัวที่แตกต่างกันของคอนกรีตที่มีความร้อนซึ่งสะสมอยู่ภายในเนื้อคอนกรีตในแต่ละบริเวณแตกต่างกัน
การบ่มที่อุณหภูมิสูง
เป็นการบ่มแบบเร่งกำลังโดยไอน้ำ , หรือขดลวดความร้อน , หรือฐานรองให้ความร้อนด้วยไฟฟ้า นิยมใช้ในงานผลิตคอนกรีตสำเร็จรูป มีข้อดี คือ สามารถผลิตได้รวดเร็ว , ประหยัดแบบหล่อ , และ มีกำลังสูงเร็ว
การบ่มคอนกรีตอย่างถูกวิธีทำได้อย่างไร ทำได้ดังนี้
การป้องกันการระเหยของน้ำออกจากคอนกรีต : ควรควบคุมปัจจัยที่ทำให้มีการระเหยของน้ำออกจากคอนกรีตมากเกินไป ได้แก่ อุณหภูมิอากาศและอุณหภูมิคอนกรีตสูง , ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ , และความเร็วลมแรง โดยทำการบ่มคอนกรีตอย่างถูกวิธี
ระยะเวลาการบ่มคอนกรีต : เป็นช่วงเวลาที่ดำเนินการบ่มคอนกรีตอย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อาทิเช่น ชนิดของปูนซีเมนต์ , ชนิดและปริมาณของสารผสมเพิ่มในคอนกรีต , สัดส่วนผสมคอนกรีต , กำลังและความคงทนของคอนกรีตที่ต้องการ , ขนาดและรูปร่างโครงสร้าง , อุณหภูมิที่ใช้บ่ม , และความชื้นในขณะบ่ม
คอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 โดยทั่วไป ควรบ่มต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วัน
คอนกรีตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 3 โดยทั่วไป ควรบ่มต่อเนื่องอย่างน้อย 3 วัน
น้ำบ่มคอนกรีต : อุณหภูมิของน้ำที่ใช้บ่ม ไม่ควรต่ำว่าคอนกรีตเกิน 10 องศาเซลเซียส
การบ่มในสภาพอากาศร้อน : ควรเพิ่มเติมการบ่มในระยะแรกภายหลังการแต่งผิวหน้าแล้วเสร็จและผิวหน้าคอนกรีตเริ่มแห้ง เพื่อป้องกันการแตกร้าวจากการหดตัวในขณะที่กำลังแข็งตัว การบ่มระยะเริ่มต้นทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารลดการระเหย , การพ่นน้ำ , การทำที่กำบังแสงแดและลม
น้ำยาบ่มคอนกรีต : ไม่ควรใช้น้ำยาบ่มกับผิวคอนกรีตที่จะมีการก่อสร้างต่อ , ทาสี หรือปูกระเบื้อง หรือพ่นลงบนเหล็กเสริมหรือรอยต่อ เพราะจะทำให้การยึดเหนี่ยวเสียไป ควรฉีดพ่นน้ำยาบ่มคลุมผิวคอนกรีต ภายหลังจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีตเสร็จแล้ว และผิวหน้าคอนกรีตเริ่มแห้ง
ข้อควรระวัง : ในช่วงอายุเริ่มต้นของคอนกรีตหรือมในขณะที่คอนกรีตกำลังเข็งตัว ควรหลีกเลี่ยงการทำให้คอนกรีตได้รับการสั่นสะเทือน , การกระแทก , การรับน้ำหนักมากเกินไป , และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของคอนกรีตโดยฉับพลัน
จากคุณ :
ks1som
- [
24 มี.ค. 52 11:38:43
]
|
|
|