จขกท ไม่ชอบไม่แปลก คนเราย่อมมีความชอบต่างกัน
แต่จากที่อ่านจากที่ จขกท เขียนมา คิดว่าอาจจะเข้าใจคนแ่ต่งผิดมากกว่า (ว่าเค้าซะไม่มีชิ้นดี แอบน้อยใจแทน) อย่างเรื่องความสุดโต่ง หรือขาวดำ เด็กผู้ใหญ่ ดูๆแล้วเหมือนเราอ่านหนังสือคนละเล่มกับ จขกท เลยนะเนี่ย
เด็กในเรื่องเราไม่ได้ีตีความว่าเป็นเด็กจริงๆ แต่เป็นมุมมองที่บริสุทธิ์ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการล้างสมองของสังคมมนุษย์ แนวคิดต่างๆในเรื่อง (ที่ จขกท ไปบอกว่าเป็น ขาว-ดำ) จริงๆมันเป็นจุดที่ link กับงูเหลือมกินช้างทุกเรื่อง เช่น เรื่องนักธุรกิจที่นับดาวเอามาเป็นเจ้าของแต่เห็นได้แค่ตัวเลข มันก็เหมือนมองเอาแต่เปลือก ทั้งๆที่แก่นหรือความจริงเป็นอีกอย่าง คือไม่ได้ไปเป็นเ้จ้าของดาวจริงๆ เปรียบเหมือนผู้ใหญ่(ตัวแทนของคนที่ปล่อยสมองตัวเองให้ถูกข้อบัญญัติทางสังคมปลอมๆชักจูง)ที่มองเห็นเป็นหมวก แต่เด็ก(ตัวแทนของมุมมองที่บริสุทธิ์ก่อนถูกล้างสมอง/นักปรัชญา/ผู้ศึกษาปรัชญา) มองเห็นถึงความจริงแท้ว่ามันเป็นงูเหลือมกินช้าง (มันลึกซึ้งเกินกว่าจะเป็นแค่การมองต่างมุมนะ)
ตอนเด็ก เราเฝ้าถามว่า เรามาจากไหน เกิดมาทำไม มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร แต่พอโตขึ้น คนที่เฝ้าถามเรื่องพวกนี้เหลือแต่นักปรัชญา(รวมถึงจุดกำเนิดของศาสนาต่างๆ อย่างพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน ที่เฝ้าเพียรหาการดับทุกข์ และได้พบว่าจุดกำเนิดของคนคือกรรม--อันนี้ต่างจากคนที่เชื่อเพราะพระพุทธเจ้าพูดโดยไม่ได้พิสูจน์เองนะ พวกนี้ไม่ถือว่าเกิดปัญญา แค่เป็นการเชื่อต่อๆกันมา) คนทั่วไปก็มัวเมาในเงินตราบ้าง(นักธุรกิจ) อำนาจปลอมๆบ้าง(ราชา) การทำงานตามหน้าที่บ้าง(คนจุดตะเกียง) อบายมุขบ้าง(คนเมา)แล้ว คำเยินยอบ้าง(คนหลงตัว)แล้วก็ตายไปโดยที่ไม่ได้ศึกษาอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ได้แต่เห็นเปลือกของชีวิต ไม่เคยจะเข้าถึงหรือเข้าเฉียดใกล้แก่นแท้แห่งชีวิตเลย ในที่นี้เจ้าชายน้อยคิดว่าคนที่แย่น้อยที่สุด ก็คือชายจุดตะเกียง ผู้ที่ทำงานตามหน้าที่ นั่นเพราะเขามิได้ทำเพื่อตัวเอง แต่สรรสร้างสิ่งดีๆตามหน้าที่
จุดพีคสุดน่าจะอยู่ที่บทของจิ้งจอก ที่ทำให้เจ้าชายน้อยคิดได้ว่าต้องกลับไปหาดอกกุหลาบ เหมือนเวลาเรารักใคร ผูกพันกับใคร ถึงแม้เค้าจะงี่เง่า เอาแต่ใจ เย่อหยิ่ง ขี้โม้ แม้หน้าตาเค้าจะธรรมดาหาได้ดาษดื่น แต่เค้าย่อมคือหนึ่งเดียวที่ไม่ใครสามารถทดแทนได้ กุหลาบทั่วทุ่ง กลับมีเพียงดอกเดียวที่สำคัญกับเจ้าชายน้อย จิ้งจอกหน้าเหมือนกันเป็นล้านตัว กลับมีเพียงตัวเดียวที่สำคัญสำหรับเจ้าชายน้อย (ซึ้งสุดๆ ตรงนี้อ่านแล้วคิดถึงคนในครอบครัว เรารักพวกเค้าโดยไม่อาจมีใครมาทดแทนได้ ต่อให้มีแม่ที่ดีกว่านี้ ไ่ม่งี่เง่า ไม่เจ้าอารมณ์ ฉลาดรุ้จักสอนลูกอย่างถูกวิธี เราก็ไม่เอาเพราะไม่มีใครมาแทนแม่เราได้ )
ตรงนี้คิดว่าคนแต่งคงเชื่อว่า ความหมายของชีวิตนั้นคือการอยู่ดูแลคนที่เรารักและผูกพัน เหมือนเจ้าชายน้อยที่กลับไปดูแลกุหลาบโดยไม่มีเงื่อนไข หลังจากการเดินทางอันยาวนานที่ออกค้นหาความหมายของชีวิต แท้จริงแล้วความสุขอยู่แค่ปลายจมูกเท่านั้นเอง โดยเจ้าชายน้อยได้ทิ้งเปลือก(ร่างที่โดนงูกัด)เอาไว้บนโลก แต่แก่นนั้นได้กลับไปหาดอกไม้อันเป็นที่รัก
อันนี้ก็แล้วแต่ผู้อ่านว่าจะเชื่อหรือไม่ ถ้าตามแนวพุทธความสุขแท้จริงมันอาจจะเน้นไปในเรื่องการปล่อยวางมากกว่า
การศึกษาปรัญชานั้นหลักๆต้องวิพากษ์จึงจะเกิดบ่อความรู้ หมายถึงหลายๆคนมาพูดมาแชร์ความรู้กัน ถ้าอ่านหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาแล้วไม่แน่ใจว่าจะตีความอย่างไร ลองหาบทวิเคราะห์อ่านดูจะได้ประโยชน์อย่างมาก เรื่องนี้ตอนประถมเราก็อ่านไม่รู้เรื่อง งงเลยว่าเป็นหนังสือยอดเยี่ยมได้อย่างไร(แถมไปอยู่หมวดวรรณกรรมเยาวชนไง) พอขึ้นมัธยมมาอ่านถึงได้รู้ว่า โอ้ อย่างนี้นี่เอง แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่แน่ใจในการตีความอยู่บ้าง ก็มีการแชร์ความคิดกับคนอื่นบ้าง
แก้ไขเมื่อ 07 ธ.ค. 55 03:52:18
แก้ไขเมื่อ 07 ธ.ค. 55 03:01:28
แก้ไขเมื่อ 07 ธ.ค. 55 02:09:40
แก้ไขเมื่อ 07 ธ.ค. 55 01:56:53
แก้ไขเมื่อ 07 ธ.ค. 55 01:53:42
แก้ไขเมื่อ 07 ธ.ค. 55 01:44:00