ศรีเทพในเวลานั้นก็มีกองกำลังจำนวนมากอยู่ค่ะ แต่ในส่วนของเจ้าชายจิตรเสน ประโยคที่ตอนเขียนนั้น มีข้อมูลรองรับว่าการเดินทางของพระองค์ผ่านเส้นทางเมืองต่างๆ ที่พระองค์ได้ผูกสัมพันธไมตรีไว้ ซึ่งอยู่บน ข้อสันนิษฐานว่า ในยุคสมัยนั้น การผูกสัมพันธไมตรี นอกจากการค้าก็คือ คุมกำลังทหาร ที่สามารถเกณฑ์ไพร่พล ขึ้นมาช่วยเหลือกันได้ การเกณฑ์ทัพทหารจำนวนมาก ย่อมเป็นไปได้ ข้อนี้ก็สันนิษฐานจากภาพจารึกริมกำแพง นครวัด ซึ่งอายุสมัยอาจจะใหม่กว่าเหตุการณ์เรื่องนี้หลายร้อยปี ...ทั้งนี้ทั้งนั้น เหตุที่พระอัยกี พูดก็เพราะต้องการที่จะสร้างสันติ มากกว่าจะคิดว่ามีความพ่ายแพ้อะไรจริงจังค่ะ
เพราะบางทีข้อยุติทางประวัติศาสตร์อาจจะไม่ได้เป็นที่สุด มีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อค้นพบหลักฐานใหม่และวิจัยเพิ่มเติม
ตอนนี้หลักฐานร่วมสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ก็ปรากฏขึ้นเยอะแล้ว หากให้คนเขียนเขียนใหม่ อาจจะได้จันทราอุษาคเนย์ ภาคสอง ที่มีรายละเอียด พล๊อต และข้อปลีกย่อยเพิ่มเติม จากภาคแรกอีกหลายเท่าตัวทีเดียวค่ะ
..ท้ายสุดนี้ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่อ่านเรื่อง จันทราอุษาคเนย์ และถามไถ่ถึงเรื่องนี้ค่ะ
จากคุณ |
:
โตมิโต กูโชว์ดะ
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ธ.ค. 55 22:01:39
|
|
|
|