Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom


    วิธีพูดกับเด็ก โดย เฮม จีน็อตต์

    ช่วงนี้เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการสอนเพราะว่าได้รับเชิญไปสอนวิชาการพูดที่มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง วันก่อนเดินหาหนังสือเพื่อเอาไปใช้ในการสอนตั้งใจว่าจะหยิบเล่มของเดล คาร์เนกี้ที่เคยอ่านเมื่อนานมาแล้วและเป็นหนังสือแนวทางการใช้จิตวิทยาในการพูดที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งที่เคยอ่านมา

    เชื่อไหมคะว่า ความยากของการสอนการฝึกพูด ไม่ได้อยู่ที่การฝึกตัวเองให้กลายเป็นนักพูดดีเด่นยอดเยี่ยม หรือวิพากษ์วิจารณ์การพูดของคนอื่นได้เหมือนเชือดหมู ล้มวัว ยิ่งตอนนี้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการพูดอยู่ด้วยยิ่งกดดดันหนักเข้าไปอีก เพราะหนังสือการพูดเก้าในสิบที่ขายอยู่ในท้องตลาดขณะนี้ เป็นหนักสือแบบวางกฏเกณฑ์ หาข้อสรุปในการพูด และยิ่งอ่านก็ยิ่งน่าเบื่อ ซ้ำๆซากๆ เช่น ยิงมุขตลก ไม่ประหม่า ทำความคุ้นเคยกับคนฟังฯลฯ ดูเหมือนว่าการฝึกพูดโดยอาศัยแนวทางจากหนังสือนั้น แทบจะหมดหวังและไม่ได้อะไรใหม่ๆเข้าหัวเอาเสียเลย

    ก็เลยต้องอ่านอะไรที่มันหลุดจากเนื้อหาของการสอน เพื่อเอาของใหม่ๆเข้าหัวนี่แหละค่ะ คราวนี้ก็ไปสะดุดหนังสือแนวจิตวิทยาการพูดกับเด็กเล่มหนึ่งเข้า  พออ่านๆดูก็รู้สึกตรงใจ หลายๆโจทย์ที่เคยคิดไว้ว่าทำยังไงนะ จะพูดกับเด็กให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องขู่บังคับ สัญญิงสัญญา หรือติดสินบน

    หนังสือ

    เล่มที่ว่านี้เขียนโดย ดร.เฮม จีนอตต์ จิตแพทย์เด็ก เป็นฉบับแปล ชื่อภาษาไทยว่า “วิธีพูดกับลูก” อย่างที่เคยบอกนะคะว่า เราติดกับดักสัญญา สินบน และการข่มขู่เด็ก พูดอะไรหลายๆอย่างที่ไม่เข้าท่า ไม่ได้ผล และต้องพูดซ้ำๆซากๆ ทั้งที่การพูดที่ดี ให้ประสิทธิผลนั้น พูดครั้งเดียวก็แสนจะเกินพอ ฝนฯเองก็คิดอยู่ว่าการไม่ต้องพูดซ้ำๆนี่เป็นเรื่องที่ดีในชีวิตแม่และครูรวมทั้งผุ้ปกครองทุกคนเลยจริงๆ แต่โจทย์ที่ว่านี้ออกจะยากไปสักหน่อย เพราะฝนฯเองก็โดนสอนและจัดระเบียบมาด้วยระบบนี้ ถึงรู้ว่าไม่ได้ผลก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไงให้ดีกว่านี้ คราวนี้เลยขอโควตจากในหนังมาเป็นตอนๆไปนะคะ

    ตอนนี้อ่านไปได้แค่สองบท ในหนังสือจะมีตัวอย่างบทสนทนาต่างๆ ใจความที่จีนอตต์กล่าวถึงเพื่อแก้ปัญหาการสื่อสารกับเด็กก็คือการมองความจริงบนความรู้สึกของเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะซ่อนความรู้สึกบางอย่างไว้ ซึ่งเราต้องอ่านมันออกมา และทำให้เด็กเห็นว่า เราเห็นว่าเค้ารู้สึกอย่างไร ย้ำให้เด็กตระหนักในอารมณ์ของเค้าในปัจจุบัน และให้เค้าหาทางแก้ปัญหาเอง โดยที่เราไม่ต้องไปเทศนายืดยาวหรือบอกการแก้ไข เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว เด็กต้องแก้ปัญหาให้ได้ด้วยตัวของเขาเอง ผู้ใหญ่ความเป็นผู้วางกระจกเงาสะท้อนอารมณ์ให้เด็กเข้าใจตัวเองให้ดีขึ้น


    มาถึงบทที่สอง กล่าวถึงการให้คำมั่นการชมเชยและตำหนิ  การให้รางวัลในรูปแบบสินบนและการขู่ อันนี้มีประโยชน์มาก เพราะเป็นสิ่งที่คิดไม่ออกอยู่พอดี จีนอตต์กล่าวไว้ถึงการชมเลยว่าว่า การชมเชยในรูปแบบที่ประเมินค่า ตีตราเด็กนั้น เป็นคำชมเชยที่ไม่ได้ผลเท่าใด และสร้างแรงกดดันให้กับเด็กในระยะต่อมา การชม ที่มากเกินพอดีนั้นเป็นสิ่งที่เด็กเองก็ไม่เชื่อถือและทำให้ผู้ใหญ่กลายเป็นนักโกหก พูดเกินจริง คำพูดก็จะไร้ค่าไปในที่สุด เช่น เมื่อเด็กทำงานบ้านได้สะอาดเรียบร้อย ก็ชมว่าเป็นเทพธิดาแห่งความสะอาด หรือเป็นยอดขยันประจำบ้าน ไม่ก็เป็นเด็กดีที่สุดในโลกเล้ยยยฯลฯ ในความเป็นจริงเด็กที่ได้รับคำชมเรื่องใดๆนั้น มักเป็นเรื่องที่เด็กไม่ได้ทำเป็นประจำ และไม่ได้ทำดีไปทุกครั้ง (เพราะถ้าดีทุกครั้งก็จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ไม่มีใครจะมานั่งกล่าวชม) ก็เพิ่งมีครั้งนั้นแหละที่เด็กทำดี แต่ผู้ใหญ่อย่างเราๆก็ไปตีตราให้เด็กโดยปริยายว่า การทำดีเพียงครั้งนั้นของเด็ก ทำให้เด็กเป็นคนเก่งแบบสุดๆขึ้นมา มันไม่น่าเชื่อถือและเป็นคำชมที่โอเว่อร์ ไม่จริงใจ เหมือนกับการตำหนิที่กล่าวเหมาความผิดครั้งเดียวหรือไม่กี่ครั้งของเด็กให้เป็นตราบาปหรือเรื่องที่น่าประนามไปจนตลอดชีวิตนี้

    ทางออกที่ดีสำหรับคำชมคือการชมที่ความพยายาม หรือความขยันและพัฒนาการที่ดีของเด็กที่เรามองเห็นในตอนนั้น พูดในความเป็นจริง ตอกย้ำว่าความขยันของเด็กที่แสดงออกมาเป็นสิ่งที่ดี น่ายกย่อง มากกว่าการชื่นชมตัวผล หรือผลงานของเด็กแล้วเหมารวมว่าเป็นสิ่งวิเศษ และไม่ต้องไปเทศนาแนะนำว่าคราวหน้าคราวไหนควรทำอะไรต่อ เราควรเคารพในความคิดสร้างสรรค์ของเด็กก่อน เช่นเดียวกับคำตำหนิที่ไม่อาจแจกจ่ายออกไปราวกับเกรดในการเรียน หรือสั่งสอนพร่ำบ่นในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ ย้ำในความผิดพลาดให้เด็กเจ็บปวด หรือใช้มาเป็นคำขู่ การจัดกการความผิดพลาดของเด็กให้มุ่งไปที่การแก้ไขสถานการณ์หรือปัญหาให้ดีขึ้น ไม่ใช่มุ่งที่จะยอกย้ำว่าเด็กผิดๆๆ และผิดอย่างไร การแก้ไขความผิดพลาดและความสำนึก เด็กต้องสร้างด้วยตัวเอง เช่น เด็กทำแก้วแตก เราอยากจะด่า บ่น ตีเด็กจะแย่ แต่ถ้าลองปล่อยให้เด็กแก้ไขปัญหาเอง เราจะเห็นว่าเด็กจะระวังการทำแก้วแตกมากขึ้น แค่เราย้ำว่าปัญหาตอนนี้คือแก้วแตก และจะทำอย่างไรเพื่อจัดการกับแก้วใบนั้น

    ส่วนระบบสัญญาและสินบน ไม่ควรให้เด็กทั้งสองอย่าง รางววัลที่น่าชื่นใจ จะมาจากสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังไว้ เด็กที่ทำตัวดีเพราะสินบน ไม่ได้ดีโดยเนื้อแท้ แต่มีจุดมุ่งหมายเคลือบแฝง และจะกลายเป็นภาระที่เหนื่อยหน่ายต่อไป
    เช่นเดียวกันกับการที่จีน็อตต์กล่าวถึงคำพูดพ่อแม่แบบแสบสันต์ แต่ตรงเผงว่า คำพูดพ่อแม่นั้นเยินเย้อยืดยาด เกินความจริงและเชื่อถือไม่ได้—ก็มาจากการที่เราชอบไปเทศนา ชมและด่า(แช่ง) แล้วก็สัญญาแล้วไม่ทำหรือทำไม่ได้กับลูกนั่นเอง

    ไว้มาเล่าสู่กันฟังในตอนต่อไปนะคะ

    จากคุณ : ฝนเดือนเจ็ด - [ 5 ส.ค. 51 23:06:00 ]


 
 


หน้าหลัก แจ้งลบ bookmark ส่งต่อกระทู้ พิมพ์ โหวตกระทู้ เก็บเข้าคลังกระทู้ กระทู้ก่อนหน้า กระทู้ถัดไป

[กติกามารยาท] [Help & FAQ
ความคิดเห็น :
PANTIP Toys
ชื่อ : ตรวจสอบสถานะของ member ที่นี่

คลิกเพื่อเลือก : โพสไฟล์ประกอบ / วาดภาพประกอบ / โพสคลิปวิดีโอ
ไฟล์ประกอบ : (ไม่เกิน 200 K / Member เท่านั้น / Preview ไม่ได้)
(gif, jpg, png, mid, wav, mp3, wma, swf)
  : ไม่อนุญาตให้แสดงผลผ่านระบบมือถือ
 
(ส่งไฟล์ประกอบ และวาดภาพประกอบ Preview ไม่ได้)  
 
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com | Torakhong.org | GameRoom