Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
กสทช.นำเงินประมูล3Gส่งคลัง22,299 ลบ.และดอกเบี้ยกว่า67ลบ.//สมาคมเน็ตไทยฯชี้กสทช.ทบทวนจัดเก็บค่าธรรมเนียม(โหด!!) vote ติดต่อทีมงาน

ประเด็นหลัก

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า กสทช.ได้นำเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ งวดแรกร้อยละ 50 ที่ได้จาก 3 บริษัทร่วมประมูล ในเครือเอไอเอส ดีแทค และทรู รวมกว่า 22,299 ล้านบาท และดอกเบี้ยกว่า 67 ล้านบาท ที่ได้จากการนำไปฝากกับธนาคารพาณิชย์ ระหว่างรอการออกใบอนุญาตและหักค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการประมูลประมาณ 37 ล้านบาท นำส่งกระทรวงการคลังเพื่อนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน

หาก กสทช.เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก ร้อยละ 2 ต่อปี จะส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 5 และยังส่งผลให้ผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถประกอบการอยู่ได้ในตลาด การแข่งขันด้านราคาการให้บริการจะไม่เกิดขึ้น ค่าบริการอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคมีทางเลือกบริการอินเทอร์เน็ตที่น้อยลง

_______________________________



กสทช.นำเงินประมูลกว่า 2 หมื่นล้านส่งเข้าคลัง

      นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวว่า กสทช.ได้นำเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ งวดแรกร้อยละ 50 ที่ได้จาก 3 บริษัทร่วมประมูล ในเครือเอไอเอส ดีแทค และทรู รวมกว่า 22,299 ล้านบาท และดอกเบี้ยกว่า 67 ล้านบาท ที่ได้จากการนำไปฝากกับธนาคารพาณิชย์ ระหว่างรอการออกใบอนุญาตและหักค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการประมูลประมาณ 37 ล้านบาท นำส่งกระทรวงการคลังเพื่อนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน
      ทั้งนี้ ในหนังสือนำส่งเงินรายได้ดังกล่าวสำนักงาน กสทช.ได้แนบรายละเอียดเงื่อนไขกรณีการประมูลใบอนุญาต 3G ที่ยังมีผู้ร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลอุทธรณ์ คำสั่งการปกครองกลาง กรณีศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมาย และหากศาลปกครอง
      มีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว อันเป็นผลให้สำนักงาน กสทช.ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ผู้ประมูล สำนักงาน กสทช.ขอให้กระทรวงการคลังส่งเงินจำนวนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยคืนให้กับสำนักงาน กสทช.เพื่อจะได้คืนต่อผู้ประมูลต่อไปด้วย


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151408&Keyword=%a1%ca%b7

______________________________________


สมาคมเน็ตไทยฯ วอน กสทช.ทบทวนจัดเก็บค่าธรรมเนียมรายปี


      นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย กล่าวว่า สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทยคัดค้านรูปแบบปรับเปลี่ยนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปีของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในกิจการโทรคมนาคม ของ กสทช. ที่จะมีการประกาศจัดเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมอีกร้อยละ 2 ต่อปี จากเดิมเป็นการจัดเก็บแบบเหมาจ่ายปีละ 20,000 บาท สำหรับผู้ประกอบการรายเล็กไปจนถึงเพดาน 250,000 บาท สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ ควบคู่กับการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม อีกร้อยละ 3.75 ต่อปี
      ซึ่งหาก กสทช.เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก ร้อยละ 2 ต่อปี จะส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 5 และยังส่งผลให้ผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถประกอบการอยู่ได้ในตลาด การแข่งขันด้านราคาการให้บริการจะไม่เกิดขึ้น ค่าบริการอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้น และผู้บริโภคมีทางเลือกบริการอินเทอร์เน็ตที่น้อยลง พร้อมเสนอแนะให้ กสทช.แยกประเภทกิจการโทรคมนาคม แบบใช้คลื่นความถี่ และไม่ใช้คลื่นความถี่ ด้วยรูปแบบการกำกับดูแลที่ต่างกัน เนื่องจากแต่ละกิจการ มีการประกอบธุรกิจด้วยต้นทุน และเงื่อนไขที่ต่างกัน เพื่อการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจอย่างเป็นธรรม และความอยู่รอดของธุรกิจด้วย

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151352

_______________________________



'สมาคมเน็ต' โวยกสทช.คิดค่าต๋ง 2% ของรายได้โหดเกินไป


      สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย (TISPA) ซึ่งมีเหล่าไอเอสพีเป็นสมาชิก โวย กสทช.คิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ จากเดิมเสียรายปีแค่ 2 หมื่นบาท เป็น 2% จากรายได้เหมือนผู้ได้ใบอนุญาตประกอบกิจการประเภท 3 เช่นเหล่าโอเปอเรเตอร์ 3G หรือ ผู้มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง เป็นการเอาเปรียบทำให้รายเล็กอยู่ไม่ได้ ขัดเจตนารมณ์ พ.ร.บ.กสทช. ที่ชอบอ้างว่าตัวเองไม่มีหน้าที่หารายได้เข้ารัฐตอนประมูล 3G แต่พอเรื่องค่าธรรมเนียมไอเอสพี กลับปรับโหดขึ้น เล็งฟ้องศาลปกครองแน่หาก กสทช.ไม่ทบทวน
     
      นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย (TISPA) กล่าวว่า สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย ต้องการประกาศจุดยืนที่จะคัดค้านการขึ้นค่าธรรมเนียมที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการและอาจขัดต่อกฏหมายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เนื่องจากกสทช.เป็นหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ และส่งเสริมการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมไม่ใช่หน่วยงานที่ทำหน้าที่หารายได้ให้รัฐ
     
      "เราไม่ได้คัดค้านการเก็บค่าธรรมเนียมที่เก็บอยู่แล้วด้วยกติกาเดิม และคิดว่าค่าธรรมเนียมนั้นมากพอเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายของกสทช.แล้ว ดังนั้นเมื่อมีการเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มก็จะส่งผลต่อประชาชน นอกจากนี้การคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ในหลายแง่มุมจะขัดกับ พรบ.กสทช."
     
      ก่อนหน้านี้ตอนที่ กสทช.ได้มีการจัดประชาพิจารณ์ในเรื่องดังกล่าวช่วงเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ ก็ได้ยื่นเรื่องไม่เห็นด้วยไปแล้ว แต่ กสทช.ยังเพิกเฉยอยู่ จึงออกมาคัดค้านอีกครั้งหนึ่งก่อนที่ กสทช.จะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในช่วงสิ้นเดือน ธ.ค.2555 หรือ ม.ค. 2556
     
      โดย 4 ข้อหลักที่สมาคมฯ คัดค้านประกอบไปด้วย 1.การขึ้นค่าธรรมเนียมโดยคิดจากรายได้ มีลักษณะคล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้บริโภคจะเป็นผู้รับภาระ (ค่าธรรมเนียม USO 3.75%+โทรคม 2%) 2.การกำหนดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ทำให้ กสทช. มีรายได้มากกว่ารายจ่ายมากๆ ขณะที่กฏหมายกำหนดให้ การคิดค่าธรรมเนียม ให้คำนึงถึง ค่าใช้จ่ายในการกำกับ หรือ ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย และ ความเป็นธรรมต่อ ผู้ใช้บริการ และ ผู้ให้บริการเท่านั้น
     
      3.วิธีการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่ทำให้เกิดปัญหาในหลายแง่มุมและน่าจะขัดกับพรบ. กสทช. 4.การคิดวิธีเดิม กสทช. ก็มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายอยู่แล้ว จึงควรใช้วิธีเดิมไปก่อนหากข้อเท็จจริง ปรากฏว่าเก็บได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย กสทช. ย่อมมีเหตุผลโดยชอบที่จะขึ้นค่าธรรมเนียมให้สมดุลกับค่าใช้จ่าย
     
      พร้อมกันนี้สมาคมฯได้คำนวณรายได้ของกสทช.ด้วยวิธีการจัดเก็บแบบเดิมพบว่า ในปี 2554 กสทช. มีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายถึงประมาณ 1,500 ล้านบาท และในปี 2555 จนถึงเดือนต.ค.กสทช. มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย ถึง 22,000 ล้านบาท หรือ หากนำเอารายได้ 2% ของบริการโทรศัพท์มือถือ 3G มาคิด ก็จะทำให้ กสทช. มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายอย่างมาก จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเพราะจะส่งผลกระทบต่อประชาชน เนื่องจากการเก็บค่าธรรมเนียมมีลักษณะ คล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
     
      ทั้งนี้วิธีการเก็บค่าธรรมเนียมในปัจจุบันจะแบ่งผู้ประกอบกิจการออกเป็น 3 ประเภทคือ แบบที่ 1 จ่าย 20,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ให้บริการเพียงอย่างเดียว แบบที่ 2 จ่าย 25,000 - 250,000 ต่อปี สำหรับผู้ให้บริการที่มีโครงข่ายให้บริการจำกัดเฉพาะกลุ่มบุคคล แต่ไม่มีผลกระทบโดยนัยสำคัญต่อการแข่งขัน และแบบที่ 3 จ่าย 2% ของรายได้จากการประกอบกิจการ และสามารถหักค่าลดหย่อน สำหรับผู้ประกอบการที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองเพื่อให้เช่าใช้ ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป และมีผลกระทบโดยนัยสำคัญต่อการแข่งขัน
     
      สำหรับการคิดค่าธรรมเนียมแบบใหม่หากมีการบังคับใช้นั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบกิจการประเภทที่ 1 หรือ 2 ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% ของรายได้ ซึ่งมากกว่าค่าธรรมเนียมรายปีเดิมอย่างมาก
     
      "การเก็บค่าธรรมเนียมแต่เดิมผู้ประกอบการแบบที่ 3 ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กสทช.อยู่แล้ว เพราะเป็นการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นการคิดแบบใหม่ผู้ประกอบการประเภทอื่นที่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยก็จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสองต่อ ทั้งจากการขึ้นราคาของผู้ให้บริการโครงข่ายที่ไปเช่าต่อมาให้บริการ และค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเพิ่มให้แก่กสทช."
     
      ปัจจุบันรายได้หลักในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมาจากผู้ประกอบการแบบที่ 3 (มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง) กว่า 90% ขณะที่สมาชิกของสมาคมส่วนใหญ่อยู่ในประเภทผู้ประกอบการแบบที่ 1 จึงเห็นว่าถ้ามีการขึ้นค่าธรรมเนียมจะเป็นการทำลายตลาดผู้ให้บริการรายย่อย โดยกสทช.อาจจะนึกไม่ถึงในตอนนี้ และขัดกับเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้มีการให้บริการอย่างเสรีและเป็นธรรม
     
      นายอนันต์กล่าวทิ้งท้ายว่า หลังจากนี้หากกสทช.ยังเพิกเฉยอยู่ ก็เป็นสิทธิของสมาชิกสมาคมฯแต่ละราย ที่จะไปฟ้องร้องหรือดำเนินการอย่างไร แน่นอนว่าถ้ามีสมาชิกมาร้องเรียนที่สมาคมก็ต้องมีการคุยกันต่อไปว่าจะฟ้องร้องในนามของสมาคมฯหรือไม่อย่างไร

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151405&Keyword=%a1%ca%b7

จากคุณ : So magawn
เขียนเมื่อ : 13 ธ.ค. 55 21:55:19




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com