Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ลือ “อนุดิษฐ์” อุ้มกรมอุตุฯ ปั้นโครงการฉาว+ระดับสูงของอุตุฯรับงานพ่อค้า30%หรือกว่า200ล้านปลดล็อก8-9โครงการรวม700-800ลบ. vote ติดต่อทีมงาน

ประเด็นหลัก

ลือหึ่งกรมอุตุฯ ไอ้โม่งเสนอ 30% หรือกว่า 200 ล้านบาทปลดล็อก 8-9 โครงการรวมมูลค่า 700-800 ล้านบาทที่คาอยู่ ป.ป.ช.ขนาดอธิบดีคนปัจจุบันยังกระโดดหนี ร้อง “อนุดิษฐ์” เร่งสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนถูกครหา อย่างโครงการจ้างเหมาซ่อมแซมระบบการรับ-ส่งข่าวอากาศการบิน ที่ประกวดราคาและส่งมอบแบบพิลึกพิลั่น และอีก 3 โครงการที่เร่งกรมบัญชีกลางอนุมัติเบิกจ่าย
     
      แหล่งข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตในหมู่ข้าราชการกระทรวงไอซีทีและหน่วยงานในสังกัดอย่างกรมอุตุนิยมวิทยาว่า น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อกรมอุตุฯ รวมทั้งอาจปล่อยปละละเลยจนทำให้ผู้บริหารระดับสูงของกรมอุตุฯ จัดการโครงการต่างๆ อย่างไม่ชอบมาพากล ไม่โปร่งใส จนอาจนำความเสื่อมเสียและข้อครหามาถึง รมว.ไอซีทีได้
     
      “ว่ากันว่า เสธ.ข้างกายท่าน 2-3 คนกำลังจัดห้องหับที่กรมอุตุฯ เพื่อมานั่งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุตุฯ คนใหม่ สงสัยอาจตั้งวอร์รูมเพื่อจัดการพวกไต้ฝุ่น หรือพายุโซนร้อนก็เป็นได้”
     
      แต่เสียงล่ำลือของคนในวงการไอซีทีที่ดังระงมจับความได้ว่ามีอย่างน้อย 8-9 โครงการของกรมอุตุฯ ที่บริษัทเอกชนยังเก็บเงินไม่ได้รวมกันกว่า 700-800 ล้านบาท เพราะอดีตอธิบดีกรมอุตุฯ นายต่อศักดิ์ วานิชขจร ได้ทำเรื่องร้อง ป.ป.ช.เพื่อขอให้เข้ามาตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าเข้าข่ายไม่รักษาผลประโยชน์รัฐ ผิด พ.ร.บ.ฮั้ว หรือเอื้อประโยชน์แก่เอกชน ทำให้รัฐเสียหาย แต่ดันมีข้าราชการระดับสูงของกรมอุตุฯ บางคนรับงานพ่อค้ามาว่าสามารถปลดล็อกโครงการทั้งหมดได้ด้วยตัวเลขประมาณ 30% หรือกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าอาจเข้าพกเข้าห่อตัวเอง ไม่ได้เข้าพรรค และเชื่อว่านายใหญ่ที่อยู่ต่างแดนคงไม่รู้เห็นกับการหาเศษหาเลยครั้งนี้
     
      “คนในกรมอุตุฯ สงสัยว่าทำไมผู้ใหญ่คนนั้นกล้าทำอะไรที่ผิดมากมาย โดยไม่เกรงกลัวถูกตั้งกรรมการสอบ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งโดยอธิบดี ปลัดกระทรวงไอซีที หรือ รมว.ไอซีที หรืออาจเป็นเพราะมีม่านสีเทาบังตาอยู่หรือเปล่า”





___________________________________________


ลือ “อนุดิษฐ์” อุ้มกรมอุตุฯ ปั้นโครงการฉาว


ลือหึ่งกรมอุตุฯ ไอ้โม่งเสนอ 30% หรือกว่า 200 ล้านบาทปลดล็อก 8-9 โครงการรวมมูลค่า 700-800 ล้านบาทที่คาอยู่ ป.ป.ช.ขนาดอธิบดีคนปัจจุบันยังกระโดดหนี ร้อง “อนุดิษฐ์” เร่งสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนถูกครหา อย่างโครงการจ้างเหมาซ่อมแซมระบบการรับ-ส่งข่าวอากาศการบิน ที่ประกวดราคาและส่งมอบแบบพิลึกพิลั่น และอีก 3 โครงการที่เร่งกรมบัญชีกลางอนุมัติเบิกจ่าย
     
      แหล่งข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตในหมู่ข้าราชการกระทรวงไอซีทีและหน่วยงานในสังกัดอย่างกรมอุตุนิยมวิทยาว่า น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อกรมอุตุฯ รวมทั้งอาจปล่อยปละละเลยจนทำให้ผู้บริหารระดับสูงของกรมอุตุฯ จัดการโครงการต่างๆ อย่างไม่ชอบมาพากล ไม่โปร่งใส จนอาจนำความเสื่อมเสียและข้อครหามาถึง รมว.ไอซีทีได้
     
      “ว่ากันว่า เสธ.ข้างกายท่าน 2-3 คนกำลังจัดห้องหับที่กรมอุตุฯ เพื่อมานั่งเป็นที่ปรึกษาอธิบดีกรมอุตุฯ คนใหม่ สงสัยอาจตั้งวอร์รูมเพื่อจัดการพวกไต้ฝุ่น หรือพายุโซนร้อนก็เป็นได้”
     
      แต่เสียงล่ำลือของคนในวงการไอซีทีที่ดังระงมจับความได้ว่ามีอย่างน้อย 8-9 โครงการของกรมอุตุฯ ที่บริษัทเอกชนยังเก็บเงินไม่ได้รวมกันกว่า 700-800 ล้านบาท เพราะอดีตอธิบดีกรมอุตุฯ นายต่อศักดิ์ วานิชขจร ได้ทำเรื่องร้อง ป.ป.ช.เพื่อขอให้เข้ามาตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าเข้าข่ายไม่รักษาผลประโยชน์รัฐ ผิด พ.ร.บ.ฮั้ว หรือเอื้อประโยชน์แก่เอกชน ทำให้รัฐเสียหาย แต่ดันมีข้าราชการระดับสูงของกรมอุตุฯ บางคนรับงานพ่อค้ามาว่าสามารถปลดล็อกโครงการทั้งหมดได้ด้วยตัวเลขประมาณ 30% หรือกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าอาจเข้าพกเข้าห่อตัวเอง ไม่ได้เข้าพรรค และเชื่อว่านายใหญ่ที่อยู่ต่างแดนคงไม่รู้เห็นกับการหาเศษหาเลยครั้งนี้
     
      “คนในกรมอุตุฯ สงสัยว่าทำไมผู้ใหญ่คนนั้นกล้าทำอะไรที่ผิดมากมาย โดยไม่เกรงกลัวถูกตั้งกรรมการสอบ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งโดยอธิบดี ปลัดกระทรวงไอซีที หรือ รมว.ไอซีที หรืออาจเป็นเพราะมีม่านสีเทาบังตาอยู่หรือเปล่า”
     
      กรณีล่าสุดที่ทำให้เห็นความเหิมเกริมของผู้ใหญ่กรมอุตุฯ คนนั้นคือ โครงการจ้างเหมาซ่อมแซมระบบการรับ-ส่งข่าวอากาศการบินอัตโนมัติฯ ระบบชุดอุปกรณ์ประยุกต์ข้อมูล และระบบคลังข้อมูลข่าวอากาศการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการนี้เดิมตั้งงบประมาณเพียง 10 ล้านบาท และใช้วิธีพิเศษเชิญชวนผู้ที่มีประสบการณ์มาเสนอราคารวม 6 ราย คือ 1. บริษัท เมทลิงค์ อินโฟ 2. บริษัท ไทย อีควิพเมนต์ รีเสิร์ช 3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอฟโกไทย 4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไซแอนติฟิค รีเสิร์ช 5. บริษัท จีโนแมทช์ และ 6. บริษัท เอ็กเซล คอนซัลแตนท์ส
     
      ปรากฏว่ามีเอกชน 2 รายเสนอราคาเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2555 คือ 1. บริษัท จีโนแมทช์ เสนอราคา 9,951,000 บาทส่งมอบ 90 วัน และเสนอที่จะเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์พร้อมติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่ทั้งหมดหากไม่สามารถซ่อมแซมอุปกรณ์ตามที่ระบุไว้ได้
     
      2. บริษัท เมทลิงค์ อินโฟ เสนอราคา 33,318,539 บาท แต่ไม่เสนอใบรับรองการเป็นตัวแทนผลิตซึ่งผิดข้อกำหนด ส่วนข้อเสนอเทคนิคเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมอุตุฯ ซึ่งผลการประกวดราคาครั้งนั้นถือว่าทั้ง 2 รายทำผิดข้อกำหนด คือ บริษัท จีโนแมทช์ ส่งมอบเกินระยะเวลา 30 วันตามเงื่อนไข ส่วนเมทลิงค์ อินโฟ ไม่เสนอใบรับรองการเป็นตัวแทนผลิต ทำให้กรมอุตุฯ ยกเลิกการประมูลไปเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2555
     
      ต่อมาผู้ใหญ่คนนั้นในกรมอุตุฯ ได้นำงบ 10 ล้านบาทของโครงการดังกล่าวไปใช้กับโครงการอื่นซึ่งทำได้หรือไม่ยังไม่มีการตรวจสอบ พร้อมกับให้ตั้งงบประมาณใหม่ให้สูงขึ้นเป็น 24.5 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ความจริงแค่ 10 ล้านบาทก็เพียงพอแล้ว โดยการประกวดราคาครั้งใหม่นี้ อัปลักษณ์แรกใช้วิธีพิเศษเชิญชวนเอกชนเพียง 2 บริษัท คือ 1. บริษัท เมทลิงค์ อินโฟ กับ 2. บริษัท แพลท เนรา เท่านั้น ต่างจากเดิมที่เชิญถึง 6 บริษัท ปรากฏว่า อัปลักษณ์ที่สอง ในวันยื่นซองเสนอราคามีเพียงบริษัท เมทลิงค์ อินโฟ เพียงบริษัทเดียวยื่นเสนอราคาเป็นเงิน 24,492,300 บาท ต่ำกว่าราคากลางเพียง 7,700 บาท ส่วนบริษัท แพลท เนรา ในภาษาวงการประมูลจะเรียกว่าเป็นคู่เทียบไม่ได้ยื่นเสนอราคาแต่อย่างใด และภายหลังต่อรองราคา บริษัท เมทลิงค์ อินโฟยอมลดราคาลงมาเหลือ 24,460,000 บาท หรือลดลง 0.03% เท่านั้น โดยกรมอุตุฯ ทำสัญญากับบริษัท เมทลิงค์ อินโฟในวันที่ 12 พ.ย. 2555
     
      อัปลักษณ์ที่สาม ก่อนครบกำหนด 30 วันตามสัญญาคือ 12 ธ.ค. 2555 บริษัท เมทลิงค์ อินโฟ ได้ส่งหนังสือถึงกรมอุตุฯ ลงวันที่ 11 ธ.ค. 2555 โดยกรมอุตุฯ ลงเลขที่รับ 11984 เวลา 10.26 น. เพื่อขอส่งมอบพร้อมนัดหมายคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตรวจรับการจ้างเหมาซ่อมแซมโครงการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 2555 เป็นต้นไป หมายความว่าบริษัทพ้นผิดเรื่องส่งมอบไม่ทันตามกำหนดแล้ว ขั้นต่อไปเป็นความรับผิดชอบของกรมอุตุฯ ว่าจะรับมอบเมื่อไหร่ ถือว่าบริษัทไม่ผิดสัญญา
     
      แต่ในความเป็นจริง คนกรมอุตุฯ ที่เดินแถวนั้นยังเห็นอุปกรณ์โครงการดังกล่าวถูกรื้อค้นกระจัดกระจายเกลื่อน ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถส่งมอบได้ทันตามกำหนด แต่เป็นแท็กติกของบริษัทที่ทำหนังสือส่งมอบไว้ก่อน ซึ่งหากไม่มีคนกรมอุตุฯ รู้เห็นเป็นใจ หรือไม่มีแบ็กดีก็ไม่น่าจะทำได้
     
      “สิ่งที่เกิดขึ้นเรียกได้ว่าความผิดสำเร็จแล้ว งานนี้อาจมีคนร้อง ป.ป.ช. สัปดาห์หน้า”
     
      โครงการงามไส้ดังกล่าว ขนาดอธิบดีคนใหม่ วรพัฒน์ ทิวถนอม ยังกระโดดหนี โดยความเชื่อบริสุทธิ์ใจว่าอธิบดีต้องการเดินทางไปประชุม RA II ที่กาตาร์ ระหว่างวันที่ 12-21 ธ.ค. 2555 เนื่องจากเห็นประโยชน์และเห็นว่ามีความสำคัญต่อประเทศชาติมากกว่า โดยเปลี่ยนตัวกับรองอธิบดี สมชาย ใบม่วง เพื่อให้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุฯ ในห้วงเวลาดังกล่าวแทน โดยนายวรพัฒน์ได้รับการโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งอธิบดีกรมอุตุฯ ในวันที่ 27 พ.ย. และเข้ากรมอุตุฯ ในวันที่ 30 พ.ย. ต่อมาระหว่างวันที่ 3-7 ธ.ค. 2555 เดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อดูงานเรื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์
     
      ***หลอกกรมบัญชีกลางหวังเบิกงบ
     
      ปัญหาแดนสนธยาในกรมอุตุฯ ที่รอ รมว.ไอซีทีและอธิบดีคนใหม่เข้าไปแก้ไขยังมีอีกมาก ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมากรมอุตุฯ ยังพยายามให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนแก่กรมบัญชีกลางเพื่อขอให้อนุมัติการเบิกจ่ายเงินให้อย่างน้อย 3 โครงการที่มีปัญหา คือ 1. โครงการจัดหาเครื่องเก็บและบันทึกข้อมูลการสื่อสารข่าวอากาศ 1 ระบบ โดยบริษัท เมทลิงค์ อินโฟ เป็นผู้ชนะการประกวดราคาและได้ทำสัญญากับกรมอุตุฯ เลขที่ สข.116/2552 ลงวันที่ 22 ก.ย. 2552 วงเงิน 114 ล้านบาท 2. โครงการจัดหาเครื่องกระจายข่าวอากาศเพื่อการบิน (VOLMET) 1 ระบบ โดยบริษัท โอเชียน ซอร์ส เป็นผู้ชนะการประกวดราคาและได้ทำสัญญากับกรมอุตุฯ เลขที่ สข.69/2553 ลงวันที่ 24 พ.ค. 2553 วงเงิน 14 ล้านบาท และ 3. โครงการจัดหาเครื่องรับสัญญาณภาพดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา 1 ชุด โดยบริษัท แพลท เนรา เป็นผู้ชนะการประกวดราคาและได้ทำสัญญากับกรมอุตุฯ เลขที่ สข.122/2552 ลงวันที่ 22 ก.ย. 2552 วงเงิน 187 ล้านบาท
     
      “ปัญหาคือทั้ง 3 โครงการอดีตอธิบดีกรมอุตุฯ พบว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว บางโครงการก็ผิดวัตถุประสงค์ ทำให้ไม่สามารถรับมอบโครงการได้เพราะจะทำให้กรมอุตุฯ ได้รับความเสียหาย บริษัทเอกชนก็ฟ้องศาลหาว่ากลั่นแกล้ง สู้กันจนชนะแล้ว 2 คดี หมายถึงอดีตอธิบดีทำถูกต้องแต่กลายเป็นว่ามีข้าราชการระดับสูงในกรมอุตุฯ ต้องการช่วยเอกชนให้ได้ โดยกล่อมกรมบัญชีกลางให้ข้อมูลบิดเบือนว่าบริษัทไม่มีคดีหรือข้อพิพาทกับกรมอุตุฯ แล้ว จึงสามารถขอเบิกเงินจากกรมอุตุฯ ได้”
     
      ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมอุตุฯ ระบุว่า อดีตอธิบดีกรมอุตุฯ นายต่อศักดิ์ วานิชขจร ได้ทำหนังสือร้องไปยังอธิบดีกรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2555 เพื่อคัดค้านการเบิกจ่ายเงินทั้ง 3 โครงการดังกล่าว โดยนายต่อศักดิ์ระบุว่าในช่วงที่เป็นอธิบดีได้ตรวจสอบพบความผิดปกติในการจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆ ของกรมอุตุฯ กับบริษัทเอกชน ได้แก่ บริษัท แพลท เนรา บริษัท เมทลิงค์ อินโฟ และบริษัท โอเชียนซอร์ส ได้ส่อไปในทางกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) รวมทั้งมีการเอื้อประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เอกชนมีการกระทำลักษณะสมยอมเสนอราคา และมีการกระทำที่เอาเปรียบหน่วยงานของรัฐจนทำให้รัฐต้องได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว จนกระทั่งร้องขอไปยังเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อให้ช่วยตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรมอุตุฯ รวม 9 โครงการ
     
      หลังตรวจพบความผิดปกติจนทำให้ไม่สามารถรับมอบโครงการดังกล่าวได้ บริษัทเมทลิงค์ อินโฟ กับโอเชียน ซอร์ส ได้ฟ้องกรมอุตุฯ และนายต่อศักดิ์เป็นคดีอาญาข้อหาว่าเป็นพนักงานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยปัจจุบันศาล พระโขนงได้พิพากษายกฟ้องแล้ว 2 คดี คือ 1. คดีหมายเลขดำที่ อ.4817/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 1648/2555 ระหว่างบริษัท เมทลิงค์ อินโฟเป็นโจทก์ กรมอุตุฯ ที่ 1 กับพวก เป็นจำเลย โครงการจัดหาเครื่องเก็บและบันทึกข้อมูลการสื่อสารข่าวอากาศ โดยศาลพิพากษาสรุปได้ว่า “การเชื่อมสัญญาณของบริษัทโจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา พิพากษายกฟ้อง”
     
      2. คดีศาลพระโขนง คดีหมายเลขดำที่ อ.1808/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 3074/2555 ระหว่างบริษัท โอเชียน ซอร์ส เป็นโจทก์ กรมอุตุฯ ที่ 1 กับพวกเป็นจำเลย โครงการจัดหาเครื่องกระจายข่าวอากาศเพื่อการบิน (VOLMET) ศาลได้มีคำพิพากษาสรุปว่า “บริษัท โจทก์ส่งเครื่องวิทยุคมนาคมที่ผิดกฎหมายจึงไม่ถูกต้องตามสัญญา การเบิกจ่ายเงินของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยราชการซึ่งกระทำการโดยจำเลยที่ 2 อธิบดี จะต้องปฏิบัติตามระเบียบราชการที่กำหนดไว้ กรณีจำเลยทั้ง 2 จึงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบหรือทุจริต พิพากษายกฟ้อง”
     
      การที่ศาลยกฟ้องทั้ง 2 คดีแสดงให้เห็นชัดว่ากรมอุตุฯ และนายต่อศักดิ์ไม่ได้เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดหน้าที่และ/หรือปฏิบัติผิดสัญญาแต่อย่างใด แต่ฝ่ายบริษัทต่างหากที่เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญา การที่กรมอุตุฯ ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินจึงเป็นเรื่องที่ชอบด้วยกฏหมาย เหตุผลและระเบียบแบบแผนของราชการ และเป็นไปตามคำพิพากษาศาลดังกล่าว
     
      “ถึงแม้ศาลจะยกฟ้องและวินิจฉัยแล้วว่ากรณีการส่งมอบพัสดุของบริษัทไม่ถูกต้องตามสัญญา ทำให้ราชการได้รับความเสียหาย แต่ก็ได้มีข้าราชการกรมอุตุฯ บางคนที่ได้พยายามช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ ผลักดันเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายเงินให้แก่บริษัทเอกชน โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายและไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางราชการ จากข้อเท็จจริงทั้งหมดจึงขอให้อธิบดีกรมบัญชีกลางพิจารณาและระงับการเบิกจ่ายเงินของกรมอุตุฯ ไว้ก่อน หรือขอให้มีการหารือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการเบิกจ่ายเงินให้บริษัท เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ได้ข้อยุติ และเพื่อรักษาประโยชน์ของทางราชการต่อไป”
     
      ความอัปลักษณ์อีกอย่างที่มีใบเสร็จปรากฏชัดเจนอยู่ในโครงการจัดหาเครื่องกระจายข่าวอากาศเพื่อการบิน (VOLMET) 1 ระบบโดยบริษัท โอเชียน ซอร์ส เป็นผู้ชนะการประกวดราคา ซึ่งตามสัญญาจะต้องส่งมอบภายในวันที่ 8 พ.ย. 2553 ปรากฏว่าบริษัท โอเชียน ซอร์ส ได้มีหนังสือลงวันที่ 29 ต.ค. 2553 แจ้งส่งมอบพัสดุตามสัญญาให้คณะกรรมการตรวจรับ ได้ตรวจรับในวันที่ 4 พ.ย. 2553 ซึ่งรวมถึงเครื่องวิทยุคมนาคม (Radio Receiver) ชนิดประจำที่ ตราอักษร PALSTAR รุ่น R30A ด้วย
     
      แต่เนื่องจากการนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อน บริษัท โอเชียน ซอร์ส จึงทำหนังสือถึงกรมอุตุฯ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2553 เพื่อให้กรมอุตุฯ ทำเรื่องถึงเลขาธิการ กสทช. เพื่อขอขยายข่ายใช้เครื่องพร้อมอนุญาตใช้คลื่นความถี่วิทยุและให้ออกหนังสือรับรองการนำเข้าอุปกรณ์เครื่องรับวิทยุดังกล่าวต่อ กสทช.ให้บริษัท เพื่อนำเอกสารไปใช้ในการนำเข้าต่อไป
     
      ปรากฏว่าเลขาธิการ กสทช.ทำหนังสือแจ้งกลับมายังกรมอุตุฯ ให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าวได้ในวันที่ 14 มี.ค. 2554 และทำหนังสือลงวันที่ 27 เม.ย. 2554 แจ้งว่าบริษัท โอเชียน ซอร์สคู่สัญญากรมอุตุฯ ได้ค้าเครื่องวิทยุคมนาคมและนำเข้าเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่มีใบอนุญาต
     
      และที่สำคัญที่สุด กรมศุลกากรได้ส่งหนังสือลงวันที่ 8 ก.ค. 2554 อ้างถึงกรมอุตุฯ ขอความอนุเคราะห์ให้ตรวจสอบการดำเนินการนำเข้าพัสดุในโครงการจัดหาเครื่องกระจายข่าวอากาศเพื่อการบิน (VOLMET) ซึ่งนำเข้าโดยบริษัท โอเชียน ซอร์ส ได้ผ่านกระบวนการพิธีกากรศุลกากรตามกฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ เพื่อกรมอุตุฯ จะได้ดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป โดยกรมศุลกรตอบว่า ได้ตรวจสอบข้อมูลการนำเข้าสินค้า เครื่องรับวิทยุคลื่นสั้น (Shortwave Receiver) ตราอักษร PALSTAR R30A ซึ่งนำเข้าโดยบริษัท โอเชียน ซอร์ส แล้ว ไม่พบข้อมูลนำเข้าแต่อย่างใด
     
      “ท่านอนุดิษฐ์ควรเข้ามาสะสางปัญหาในกรมอุตุฯ โดยด่วน หากไม่อยากถูกกล่าวหาไปด้วย เพราะทุกวันนี้กรมอุตุฯ กลายเป็นแดนสนธยา ถูกครอบงำด้วยข้าราชการบางคนและพ่อค้าบางบริษัท ซึ่งทำให้รัฐเสียหายมาก

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000151537

จากคุณ : So magawn
เขียนเมื่อ : 14 ธ.ค. 55 18:27:32




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com