Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
( บทเรียนการประมูล3G ) กสทช.ยอมรับ!! การตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อให้ความรู้-ความเข้าใจสังคมและการคุยกันเองในบอร์ดให้เรียบร้อย vote ติดต่อทีมงาน

ประเด็นหลัก


มีการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับสาธารณะ

กสทช. ควรจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการประมูลคลื่นความถี่ในครั้งต่อไป ทั้งก่อนการประมูล ช่วงการประมูล และภายหลังการประมูลคลื่นความถี่ โดยองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการควรประกอบด้วยบุคคลากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในสำนักงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องกิจการโทรคมนาคม และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก เพื่อกระตุ้นและสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลที่ถูกต้องอย่างรอบคอบและมีสติ (consumer empowerment) และช่วยกันมองไปข้างหน้า เพื่อให้การจัดสรรคลื่นความถี่ในครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนโดยทั่วกัน


ทำความตกลงกับบอร์ดด้วยกัน

การจะปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของ กสทช.ให้ลุล่วง อันจะนำประโยชน์สูงสุดไปให้เกิดแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมภาพรวมของไทยต่อไปได้นั้น ผู้เข้ามารับตำแหน่ง กสทช. จำต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายของตนเอง เคารพกฎกติกา และรักษาจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะหากปฏิบัติไม่ได้ ก็ยากที่จะเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และเมื่อไม่เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ก็ยากที่จะทำประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้บริการ และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้เกิดกับสังคมได้ต่อไป

จรรยาบรรณ ในการตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันในรูปแบบ "คณะกรรมการ" ว่าอยู่บนหลักความรับผิดชอบร่วมกัน (collective responsibility) และมติที่ประชุมคือ เสียงอันเป็นเอกภาพ มีผลผูกพันตามกฎหมาย

เคารพมติเสียงข้างมาก ตามหลักความเป็นเอกภาพของมติที่ประชุม (unity in one voice) โดยหลักการ ในการทำงานรูปแบบคณะกรรมการ (Board of Commissioners) การดำเนินงานต้องทำตามมติที่ประชุม อันนำไปสู่ผลทางกฎหมายคือ เสียงข้างมากคือเสียงที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย มติที่ประชุมผูกพันกรรมการทั้งคณะ และคณะกรรมการมีความรับผิดชอบร่วมกัน

จากหลักความรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารงานในรูปแบบ "องค์คณะ" อธิบายได้ดังนี้

1) การเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการก่อให้เกิดสิทธิสองทาง

-สิทธิในการคาดหวังว่ากรรมการท่านอื่นๆ จะปกป้อง แก้ต่าง (defend) มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการ แม้กรรมการผู้นั้นจะเป็นเสียงข้างน้อยก็ตาม แต่เมื่อบอร์ดมีมติเสียงข้างมากซึ่งผูกพันองค์กร ก็ถือว่าผูกพันกรรมการทุกคนซึ่งจะต้องปฏิบัติตามและปกป้องมติเสียงข้างมากนั้น

-สิทธิในการคาดหวังว่ากรรมการท่านอื่นๆจะมิทำให้กรรมการทั้งองค์คณะเสื่อมเสียชื่อเสียง

2) การที่ยอมเข้าสู่ตำแหน่งกรรมการมิได้ก่อให้เกิดบทบาทหน้าที่ในฐานะกรรมการผู้กำกับดูแลเท่านั้น แต่ยังเป็นการสละความเป็นอิสระบางส่วนที่จะกระทำการอย่างปัจเจกชน เช่น ในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายหรือมติของคณะกรรมการ ดังนั้น กรรมการจะมีเสรีภาพแบบบุคคลธรรมดาและมีบทบาทหน้าที่ในฐานะกรรมการไปพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากแต่ต้องเลือกทำในฐานะกรรมการเท่านั้น การแสดงความเห็นที่แตกต่างจากมติเสียงข้างมาก จึงมิควรนำออกสู่สาธารณะ อีกทั้งยังเป็นอันตรายและส่งผลต่อเสถียรภาพของการบริหารงานด้วย

ให้ข่าวบิดเบือน ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากผลจากการวิพากษ์วิจารณ์ทำให้ภาพลักษณ์ของคณะกรรมการ กสทช. เสียหายต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของการทำงานในรูปแบบคณะกรรมการ ทำลายความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อ กสทช. ทั้งในเรื่องการรักษาความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ และประโยชน์ของประเทศชาติ และสร้างข้อกังขาและความเข้าใจผิดต่อประชาชนและวุฒิสภาในเรื่องกระบวนการและที่มาของมติที่ประชุม กสทช. เป็นอันตรายและส่งผลต่อเสถียรภาพของการบริหารงาน ฉะนั้น บอร์ดที่ให้ข่าวบิดเบือนและไม่เคารพในมติของบอร์ดจะต้องรับผิดชอบ โดยในอนาคต หากมีเหตุการณ์ที่บอร์ดนำข้อมูลไปบิดเบือน ก็ควรจะมีการตักเตือนกันในบอร์ด และหากการตักเตือนไม่เป็นผลก็ควรเสนอเรื่องต่อซุปเปอร์บอร์ดและวุฒิสภา ตลอดจนผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมในการดำเนินการต่อไป

ใช้องค์กรสากลมา Back Up

กทค.ได้มีการจัดทำความร่วมมือกับ ITU เพื่อทำการศึกษาและประเมินผลการจัดประมูลคลื่นความถี่เพื่อวิเคราะห์ถึงประเด็นข้อโต้แย้งต่างๆ และนำความเห็นพร้อมทั้งข้อเสนอแนะมาใช้ในการจัดทำหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ในครั้งต่อๆ ไป โดยขั้นตอนการดำเนินงานคือ สำนักงานสนับสนุนข้อมูลและข้อเท็จจริงเพื่อให้ ITU นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหลักเกณฑ์ที่สามารถตอบสนองเงื่อนไขและบริบททางกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญของ ITU ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย



















___________________________________

บทเรียนจากการประมูล 3จี สู่แนวทางปรับปรุงการจัดสรรคลื่นความถี่



โดย สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.



นับตั้งแต่มีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 แม้มีผลเป็นการเปลี่ยนผ่านจากระบบผูกขาดด้วยสัญญาสัมปทาน (concession) ไปสู่ระบบการให้ใบอนุญาตโดยการประมูลอันเป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย แต่เนื่องจากเป็นการดำเนินการครั้งแรก ทำให้มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องที่การดำเนินการไม่ถูกใจจนนำไปสู่การร้องเรียนต่อหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมทั้งมีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง จนในที่สุดศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งไม่รับฟ้องและจำหน่ายคดีทำให้กระบวนการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz สามารถดำเนินการต่อไปได้

สืบเนื่องจากการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนการกำหนดวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ เป็นการใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อันประกอบไปด้วยประเด็นที่ซับซ้อน ทั้งในเชิงเทคนิค รายละเอียดทางวิศวกรรม แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ สภาวะทางตลาดและลักษณะของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และข้อกฎหมายต่างๆ ดังนั้น จึงไม่ง่ายนักที่จะทำความเข้าใจ ซึ่งหากขาดความเข้าใจทั้งระบบ หรือได้ทราบข้อเท็จจริงเพียงบางส่วน ก็จะนำไปสู่การสรุปที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักการที่ถูกต้อง ดังนั้น กสทช. จึงจำเป็นต้องถอดบทเรียนจากการประมูล 3จี ในครั้งนี้เพื่อนำไปสู่แนวทางการดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมในอนาคต โดยผู้เขียนขอนำเสนอแนวทางการปรับปรุงในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจะได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมต่อไป

ข้อมูลบิดเบือนต้องรีบแก้ไข

เนื่องจากมีความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดประมูลคลื่น ไม่ว่าจากข่าวต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ ความเห็นนักวิชาการที่มีทั้งเห็นด้วยและคัดค้าน หรือแม้แต่องค์กรของรัฐด้วยกันเอง ทั้งนี้ บางส่วนเกิดจากความไม่เข้าใจจากการที่มีผู้ไม่หวังดี หรือผู้ที่รับข้อเท็จจริงเพียงบางส่วน รวมทั้งเกิดจากการที่มีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อน นำข้อมูลไปวิจารณ์โดยขาดความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น

-นำเพียงประเด็นการจัดประมูลไปเป็นหัวใจสำคัญของหลักการแข่งขัน (ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับหลักสากลและแนวปฏิบัติในประเทศต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงการแข่งขันทั้งระบบ โดยการประมูลเป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นของการจัดสรรคลื่นฯ และการออกใบอนุญาตฯเพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม)

-อ้างราคา 6,440 ล้านบาท มาเป็นราคาตั้งต้นการประมูลคลื่น (ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้ว ราคานี้คือมูลค่าคลื่นที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯเสนอ โดยในส่วนของราคาตั้งต้นการประมูลนั้น คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เสนอให้คิดราคา reserve price = 67% ของมูลค่าคลื่น)

-การออกมาเคลื่อนไหวจากนักวิชาการบางคนและจากกลุ่มผู้เคลื่อนไหวที่เห็นต่าง ขณะที่นักกฎหมายและผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่สนับสนุนความเห็นของ กสทช. แสดงให้เห็นว่า ปัญหานี้เป็นประเด็นเรื่องความแตกต่างในความเห็น มิใช่เป็นเรื่องที่การออกประกาศ หรือการดำเนินงานของ กสทช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากแต่เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจของ กสทช. ซึ่งแม้กระทำไปโดยชอบแต่ไม่ถูกใจกลุ่มคนบางกลุ่ม

-ด่วนสรุปว่าการจัดประมูลไม่เป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม (ทั้งที่ขณะที่วิพากษ์วิจารณ์ยังไม่มีการออกใบอนุญาต) โดยนำเพียงประเด็นการจัดประมูลเป็นหัวใจสำคัญของหลักการแข่งขันเท่านั้น (ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักสากลและแนวปฏิบัติในประเทศต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงการแข่งขันทั้งระบบ)

-นำผลคำสั่งของศาลปกครองกลางที่สั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดินมาขยายผลว่า กสทช. และ กทค. เป็นองค์กรที่ไม่มีใครแตะต้องได้และตรวจสอบไม่ได้ (ซึ่งเป็นการบิดเบือนเนื่องจากศาลปกครองสั่งไม่รับฟ้องเพราะผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นคนละประเด็นกัน เพราะแท้จริงแล้ว กสทช. และ กทค. ยังอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาลปกครองและองค์กรอื่นๆ เพียงแต่ผู้นำคดีมาฟ้องจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจฟ้องตามกฎหมาย)

การบิดเบือนข้อมูล หรือการได้ข้อมูลเพียงบางส่วนและนำไปวิพากษ์วิจารณ์ ดังตัวอย่างข้างต้นทำให้สังคมสับสน และอาจลุกลามไปสู่ความเสียหายที่จะเกิดแก่สังคมในท้ายที่สุด นั่นคือความล่าช้าในการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการลงทุน ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และต่อเศรษฐกิจโดยรวม จึงจำเป็นต้องมีการชี้แจงและประชาสัมพันธ์อย่างทันท่วงที เพื่อให้สาธารณชนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและมิให้เกิดกระแสที่ลุกลามจนไปสู่การต่อต้านอันเกิดจากความเข้าใจผิด

มีการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจกับสาธารณะ

กสทช. ควรจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการประมูลคลื่นความถี่ในครั้งต่อไป ทั้งก่อนการประมูล ช่วงการประมูล และภายหลังการประมูลคลื่นความถี่ โดยองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการควรประกอบด้วยบุคคลากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในสำนักงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องกิจการโทรคมนาคม และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก เพื่อกระตุ้นและสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลที่ถูกต้องอย่างรอบคอบและมีสติ (consumer empowerment) และช่วยกันมองไปข้างหน้า เพื่อให้การจัดสรรคลื่นความถี่ในครั้งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนโดยทั่วกัน

นำองค์กรที่มีความชำนาญและเป็นกลางเข้ามามีส่วนร่วม

สำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่โดยวิธีการประมูลนั้นเป็นเรื่องเฉพาะทางที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน แตกต่างจากการประมูลสิ่งของทั่วๆไป มาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ จึงได้ให้อำนาจ กสทช. อันเป็นองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมเป็นผู้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ฯ และวิธีการอนุญาตเอง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติสากลมาเป็นแนวทางในการร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าว เช่น ในการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการดำเนินการครั้งแรกของไทย อันเป็นการเปลี่ยนแปลงหลักการบริหารคลื่นความถี่ในอดีต เนื่องจากไม่เคยมีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะเจาะจง จึงจำเป็นต้องอาศัยแนวทางที่เป็นสากล ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรกับกำดูแลต่างๆมาใช้เป็นแนวทาง มาใช้กับวิธีการประมูลภายใต้บริบทของกฎหมาย สภาพการแข่งขัน และพฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศไทยให้เหมาะสม

ทำความคุ้นเคยกับสิ่งใหม่ / กติกาใหม่ โดยไม่ได้เน้นเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ แต่ต้องสร้างความเข้าใจแก่นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน ส.ส. ส.ว. และสื่อมวลชน

การกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ตลอดจนการกำหนดวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประมูล เป็นการใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อันประกอบไปด้วยประเด็นที่ซับซ้อน ทั้งในเชิงเทคนิค รายละเอียดทางวิศวกรรม แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ สภาวะทางตลาดและลักษณะของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และข้อกฎหมายต่างๆ ดังนั้น หากขาดความเข้าใจทั้งระบบ หรือได้ข้อมูลเพียงบางส่วน ก็จะนำไปสู่การสรุปที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักการที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหากความเข้าใจผิดเหล่านั้น เกิดขึ้นกับนักวิชาการ หรือองค์กรของรัฐอื่นๆ ผู้ซึ่งถูกคาดหวังว่าน่าจะมีความรู้ ความเข้าใจ หรือหากไม่มี ก็ควรจะเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อเท็จจริง การเข้าใจผิดหรือรู้แต่เพียงบางส่วนแล้วนำไปวิจารณ์ หรือขยายผลต่อไปเรื่อยๆนั้น ก็จะยิ่งสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อสาธารณชน เกิดเป็นความขัดแย้งและความสับสนในสังคม เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไปได้ กสทช.จึงจำเป็นต้องสร้างความคุ้นเคยกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะแต่กลุ่มผู้ประกอบการเท่านั้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาซ้ำรอยกับการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ผ่านมา ซึ่งถูกมองว่ามุ่งสร้างความเข้าใจเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเท่านั้น

ทำความตกลงกับบอร์ดด้วยกัน

การจะปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของ กสทช.ให้ลุล่วง อันจะนำประโยชน์สูงสุดไปให้เกิดแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมภาพรวมของไทยต่อไปได้นั้น ผู้เข้ามารับตำแหน่ง กสทช. จำต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายของตนเอง เคารพกฎกติกา และรักษาจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะหากปฏิบัติไม่ได้ ก็ยากที่จะเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน และเมื่อไม่เกิดประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว ก็ยากที่จะทำประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้บริการ และสร้างสรรค์ประโยชน์ให้เกิดกับสังคมได้ต่อไป

จรรยาบรรณ ในการตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันในรูปแบบ "คณะกรรมการ" ว่าอยู่บนหลักความรับผิดชอบร่วมกัน (collective responsibility) และมติที่ประชุมคือ เสียงอันเป็นเอกภาพ มีผลผูกพันตามกฎหมาย

เคารพมติเสียงข้างมาก ตามหลักความเป็นเอกภาพของมติที่ประชุม (unity in one voice) โดยหลักการ ในการทำงานรูปแบบคณะกรรมการ (Board of Commissioners) การดำเนินงานต้องทำตามมติที่ประชุม อันนำไปสู่ผลทางกฎหมายคือ เสียงข้างมากคือเสียงที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย มติที่ประชุมผูกพันกรรมการทั้งคณะ และคณะกรรมการมีความรับผิดชอบร่วมกัน

จากหลักความรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารงานในรูปแบบ "องค์คณะ" อธิบายได้ดังนี้

1) การเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการก่อให้เกิดสิทธิสองทาง

-สิทธิในการคาดหวังว่ากรรมการท่านอื่นๆ จะปกป้อง แก้ต่าง (defend) มติเสียงข้างมากของคณะกรรมการ แม้กรรมการผู้นั้นจะเป็นเสียงข้างน้อยก็ตาม แต่เมื่อบอร์ดมีมติเสียงข้างมากซึ่งผูกพันองค์กร ก็ถือว่าผูกพันกรรมการทุกคนซึ่งจะต้องปฏิบัติตามและปกป้องมติเสียงข้างมากนั้น

-สิทธิในการคาดหวังว่ากรรมการท่านอื่นๆจะมิทำให้กรรมการทั้งองค์คณะเสื่อมเสียชื่อเสียง

2) การที่ยอมเข้าสู่ตำแหน่งกรรมการมิได้ก่อให้เกิดบทบาทหน้าที่ในฐานะกรรมการผู้กำกับดูแลเท่านั้น แต่ยังเป็นการสละความเป็นอิสระบางส่วนที่จะกระทำการอย่างปัจเจกชน เช่น ในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายหรือมติของคณะกรรมการ ดังนั้น กรรมการจะมีเสรีภาพแบบบุคคลธรรมดาและมีบทบาทหน้าที่ในฐานะกรรมการไปพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ หากแต่ต้องเลือกทำในฐานะกรรมการเท่านั้น การแสดงความเห็นที่แตกต่างจากมติเสียงข้างมาก จึงมิควรนำออกสู่สาธารณะ อีกทั้งยังเป็นอันตรายและส่งผลต่อเสถียรภาพของการบริหารงานด้วย

ให้ข่าวบิดเบือน ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากผลจากการวิพากษ์วิจารณ์ทำให้ภาพลักษณ์ของคณะกรรมการ กสทช. เสียหายต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของการทำงานในรูปแบบคณะกรรมการ ทำลายความเชื่อมั่นของสังคมที่มีต่อ กสทช. ทั้งในเรื่องการรักษาความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ และประโยชน์ของประเทศชาติ และสร้างข้อกังขาและความเข้าใจผิดต่อประชาชนและวุฒิสภาในเรื่องกระบวนการและที่มาของมติที่ประชุม กสทช. เป็นอันตรายและส่งผลต่อเสถียรภาพของการบริหารงาน ฉะนั้น บอร์ดที่ให้ข่าวบิดเบือนและไม่เคารพในมติของบอร์ดจะต้องรับผิดชอบ โดยในอนาคต หากมีเหตุการณ์ที่บอร์ดนำข้อมูลไปบิดเบือน ก็ควรจะมีการตักเตือนกันในบอร์ด และหากการตักเตือนไม่เป็นผลก็ควรเสนอเรื่องต่อซุปเปอร์บอร์ดและวุฒิสภา ตลอดจนผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมในการดำเนินการต่อไป

ใช้องค์กรสากลมา Back Up

กทค.ได้มีการจัดทำความร่วมมือกับ ITU เพื่อทำการศึกษาและประเมินผลการจัดประมูลคลื่นความถี่เพื่อวิเคราะห์ถึงประเด็นข้อโต้แย้งต่างๆ และนำความเห็นพร้อมทั้งข้อเสนอแนะมาใช้ในการจัดทำหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ในครั้งต่อๆ ไป โดยขั้นตอนการดำเนินงานคือ สำนักงานสนับสนุนข้อมูลและข้อเท็จจริงเพื่อให้ ITU นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหลักเกณฑ์ที่สามารถตอบสนองเงื่อนไขและบริบททางกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญของ ITU ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย

ตั้งคณะทำงาน หาคำตอบร่วมกัน หาจุดร่วมเพื่อประโยชน์ของชาติ

สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ผ่านมา ได้มีการตั้งคณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ โดยคณะทำงานได้แสวงหาข้อเท็จจริงจากพฤติกรรมแวดล้อมทั้งหมด ประกอบกับแสวงหาข้อเท็จจริงจากการให้ถ้อยคำและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเตรียมการรองรับคลื่นความถี่ที่จะหมดอายุในอนาคต กสทช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital PCN (Personal Communication Network) 1800 ขึ้นเพื่อเตรียมการรองรับผลของการสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยให้มีความต่อเนื่องในการให้บริการ คุ้มครองผู้ใช้บริการ และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยจัดเตรียมแผนรองรับการย้ายโครงข่าย Migration Plan ที่ต้องอยู่บนหลักการความมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา กระทบผู้บริโภคให้น้อยที่สุด หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ขยายขีดความสามารถในการให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Number Portability : MNP) ด้วย

เตรียมวางมาตรการรองรับผลกระทบต่างๆ

จัดมาตรการเพื่อรองรับข้อร้องเรียนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการให้บริการเพิ่มขึ้น

การปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาทในการให้บริการ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 1 ที่กำหนดเรื่องการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใช้ช่องทางร้องเรียนจากการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยตัวชี้วัดก็คือ การปรับปรุงให้กลไกระงับข้อพิพาทรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมมากขึ้น

การจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz เพื่อใช้กับระบบ 3จี จะทำให้มีการใช้บริการโทรคมนาคมที่มากขึ้นจึงส่งผลให้เกิดข้อพิพาททางด้านโทรคมนาคมมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งจะทำให้ปริมาณเรื่องร้องเรียนระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่เข้ามาเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดกระบวนการ ขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับร้อง การพิจารณา โดยจำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขประกาศ กทช. เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้บริการ พ.ศ.2549 เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้จำเป็นต้องเร่งรัดการใช้ระเบียบ กสทช.ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียน พ.ศ.2555 เพื่อเพิ่มทางเลือกในการระงับข้อพิพาทให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น

หน้า 7,มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355709978&grpid=03&catid=03

จากคุณ : So magawn
เขียนเมื่อ : 17 ธ.ค. 55 21:01:49




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com