Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ข่าวเด่น 2555 ผ่านประชาชาติธุรกิจ!! ดีเดย์ Digital TV แก้จอดำ // ยื้อคืนคลื่นŽ CAT TOT กับ กสทช. // DTAC ล่มซ้ำซาก vote ติดต่อทีมงาน

ประเด็นหลัก



เว็บ-แอปŽ ต่างชาติลงตลาดพรึ่บ

อีกปรากฏการณ์ที่คึกคัก และมีสีสันที่สุดปีนี้ เป็นการรุกคืบของธุรกิจอินเทอร์เน็ตจากต่างประเทศเริ่มตั้งแต่ต้นปี (ม.ค.2555) บริษัท เอ็นเอชเอ็น เจแปน จำกัด เจ้าของโซเชียลแอปพลิเคชั่นยอดฮิต "Line" ที่เข้ามาในประเทศไทยอย่างเงียบ ๆ แต่ได้รับความนิยมล้นหลาม จนผู้บริหารจากญี่ปุ่นต้องเดินทางมาเมืองไทยเพื่อประกาศความสำเร็จ จากฐานคนใช้ที่ทะลุ 10 ล้านไปแล้วเรียบร้อย กระโดดเป็นอันดับ 3 ของโลก เพิ่มขึ้นกว่า 1,000% นับจากต้นปี

ไม่เฉพาะแค่ "Line"

ส.ค.ที่ผ่านมา "เว็บดีล" ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา "กรุ๊ปปอน" ก็ตัดสินใจเข้ามาเปิดตัวธุรกิจในไทยเป็นทางการ เนื่องจาก มองว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท และมีโอกาสเติบโตอีกมาก จึงเข้ามาตั้งออฟฟิศและสรรหาบุคลากรมาดำเนินธุรกิจเพื่อหาดีลให้ถูกใจลูกค้าชาวไทย โดยตั้งเป้าว่าจะเบียดเว็บดีลคู่แข่งที่เข้าตลาดมาก่อนให้จงได้

จากนั้นไม่ถึง 2 เดือน บริษัทเสิร์ชเอนจิ้น ยักษ์จากจีน "ไป่ตู้" ก็ประกาศแผนเพิ่มบุคลากรและหาพาร์ตเนอร์เพิ่มเติมสำหรับเจาะตลาดประเทศไทยเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา หลังเริ่มเข้ามา

ทดลองตลาดด้วยการเปิดเว็บไซต์ hao123.co.th ตั้งแต่ต.ค. 2554ปลายเดือน พ.ย. บริษัทเทนซ็นต์ ยักษ์จากจีนอีกรายเข้ามาเปิดตัวโซเชียลแอปพลิเคชั่น "WeChat" บ้าง ซึ่งก็คล้ายกับไป่ตู้ที่ยังไม่เน้นเรื่องรายได้แต่ตั้งเป้าสร้างฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุดก่อน

สารพัดเว็บมาเปิดตลาดใช่ว่าจะมีแต่เรื่องดี การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในธุรกิจเว็บดีลเดลี่ทำให้บางรายต้องม้วนเสื่อปิดกิจการไปก็มี เช่น "ดีลดีดี" เป็นต้น


ดีแทคŽ ล่มซ้ำซาก

"กสทช." ยังประกาศด้วยว่า ผู้ให้บริการรายใดปล่อยให้เกิดปัญหาเครือข่ายล่มที่ไม่ใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุ จะโดนสั่งปรับกันถ้วนหน้า เริ่มต้นค่าปรับที่ 10 ล้านบาท ถ้าค่าเสียหายเกิน 10 ล้านบาทจะให้เรียกค่าปรับตามจริง ซึ่ง "ดีแทค" ยอมจ่ายค่าปรับแต่โดยดี เพราะถือว่าทำให้ กสทช.และผู้บริโภคผิดหวังเหตุการณ์ครั้งนี้ เลขาธิการ "กสทช." บอกว่า ถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงในรอบปี เพราะตั้งแต่มี "กทช. ถึง กสทช." ไม่เคยได้ค่าปรับจากค่ายมือถือโดยไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเลย

3G ในท่สุดก็ม"สักท"

ลุ้นกันใจหายใจคว่ำ หลังจาก กสทช.ฝั่งโทรคมนาคม หรือที่รู้จักกันในนาม "กทค." ประกาศจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 2.1GHz เพื่อนำไปให้บริการ 3G ว่าเป็นภารกิจเพื่อชาติตั้งแต่ต้นปี (ก่อนมี 3G ยังกดปุ่มเปิดทดลองเทคโนโลยี 4G หรือ Long Term Evolution : LTE โดยให้คู่สัมปทาน "เอไอเอส-ทีโอที" ทดลองบนคลื่น 2.3 GHz และ "กสทฯ-ดีแทค-ทรูมูฟ" ทดลองบนคลื่น 1800 MHz ไปพลาง)

ภารกิจเพื่อชาติจึงได้เงินเข้ารัฐสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.7% เสียงวิจารณ์จึงดังกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง พร้อมคดีความฟ้องร้องเป็นพรวนทำให้กระบวนการให้ใบอนุญาตต้องล่าช้าออกไปอีกเป็นเดือน ๆ รวมถึงการเพิ่มเงื่อนไขต่อท้ายใบอนุญาตให้ค่ายมือถือลดค่าบริการลง 15%

สุดท้ายเมื่อศาลปกครองมีคำสั่งยกฟ้องในคดีผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องสำนักงาน กสทช. การให้ใบอนุญาตจึงเดินหน้าต่อได้11 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช.ออกใบอนุญาตให้ค่ายมือถือทั้ง 3 ราย เป็นอันกดปุ่มบริการ 3G ในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ



Žยื้อคืนคลื่นŽ ด้นเฮือกสุดท้าย

ก.ย. 2556 สัมปทานบริการโทรศัพท์มือถือบนคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟ และดิจิตอล โฟน (ดีพีซี) จะสิ้นสุดลง

ซึ่ง "กสทช." ปักธงว่าจะนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ด้วยการ "ประมูล" ขณะที่ผู้มีสิทธิ์ถือครองคลื่นเดิม บมจ. กสท โทรคมนาคม หาทางเต็มที่เพื่อยื้อคลื่นไว้ และหวังว่าเหตุผลว่า จำเป็นต่อการดูแลลูกค้าก่อนโอนย้ายระบบอาจได้ผลบ้างไม่มากก็น้อย

เช่นกันกับ "ทีโอที" พยายามหาช่องทาง หลัง กสทช. ออกประกาศให้โอเปอเรเตอร์ทุกรายแจ้งเหตุผลและความจำเป็นในการถือครองคลื่น หากพบว่าคลื่นใดไม่มีการใช้งานจะเรียกคืนกลับมาจัดสรรใหม่ โดยบอร์ดใหม่ที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อ 2 พ.ย. 2555 กำลังทำแผนทดลองบริการ 4G บนคลื่น 2.3GHz ที่ถือครองอยู่ 64 MHz เพราะมองว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอดธุรกิจ เพราะลำพังมีแค่ 3G เฟสแรกซึ่งการติดตั้งเป็นได้ด้วยความล่าช้าเป็นอย่างยิ่ง คงต่อกรกับใครไม่ได้ ถ้ามี 4G ไว้ให้อุ่นใจอาจช่วยอะไรได้ ว่าแล้วจึงสั่งชะลอแผนลงทุน 3G เฟส 2 ไว้พลางก่อน

ถ้าจะบอกว่าเป็นการดิ้นเฮือกสุดท้าย ก่อนที่ทั้งคู่จะต้องนำส่งรายได้จากส่วนแบ่งสัมปทานทั้งหมดส่งเข้ากระทรวงการคลัง โดยตรงตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ. กสทช. (ธ.ค. 2556) ซึ่งหมายถึงรายได้เกือบ 60% ของทั้งคู่จะหายวับไปกับตา ขณะที่แผนธุรกิจ "TowerCo-FiberCo" ที่รัฐมนตรี ไอซีที "อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" พยายามผลักดันก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสำเร็จ

แท็บเลต ป.1-ปูพรมไวไฟทั่ว ปท.


มีแท็บเลตแล้วไม่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ไม่ครบ ไอซีทีจึงเดินหน้าโครงการฟรีไวไฟ บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช.เป็นเงิน 950 ล้านบาท โดยจะนำไปใช้ติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงเพิ่มเติม 150,000 จุด ใน 30,000 แห่งทั่วประเทศ เช่น ที่สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ศาลากลางจังหวัด เป็นต้น

ทั้งยังมีโครงการสมาร์ทเน็ตเวิร์กเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในภาคการศึกษาทั่วประเทศ มีโรงเรียนได้รับการเชื่อมต่อไปแล้ว 9,600 แห่ง จะเชื่อมต่ออีก 80% ทั้งหมด 22,000 แห่ง ภายในเดือน พ.ค. 2556

ดีเดย์ ดิจิทัลทีวี-แก้ปัญหาจอดำŽ

ฝั่ง "กสทช." ฟากบรอดแคสต์ งานเด่นในรอบปีคือการออกประกาศสารพัดเพื่อเตรียมการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการ ก่อนจบปีได้เปิดให้ยื่นขอใบอนุญาตเคเบิลทีวี, ทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชนแล้ว คาดว่าปีหน้าจะเริ่มเห็นกระบวนการกำกับดูแลที่เข้มข้นขึ้น พร้อมกับการก้าวสู่ทีวีดิจิทัล หลังจากเมื่อ 24 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา กสทช.ประกาศให้ "DVB-T2" เป็นมาตรฐานทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินของไทย

อีกบทเรียนที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เป็นปัญหาการถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 กับปรากฏการณ์ "จอดำ" ยกเว้นดูผ่านเสาอากาศหนวดกุ้งก้างปลา และกล่อง GMMZ

เนื่องจาก "จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" ผู้ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ในประเทศไทย ไม่ยินยอมให้นำสัญญาณภาพออกอากาศ จน กสทช.ต้องเร่งออกประกาศ Must carry กำหนดให้รายการในฟรีทีวีเป็นสิทธิ

พื้นฐานที่ประชาชนต้องดูได้ผ่านทุกช่องทาง แต่ก็ยังมีปัญหาจอดำประปรายในการถ่ายทอดสดโอลิมปิก โดยเฉพาะบนกล่องรับสัญญาณทีวีรุ่นเก่า






















































__________________________________


บทบันทึก "ไอซีที" ปีมังกร ลาปีเก่า...รับปีใหม่จุดเปลี่ยนธุรกิจ

ปี 2555 กำลังจะผ่านพ้นไปอีกปีถือเป็นอีกปีที่ในแวดวงไอที-โทรคมนาคม หรือ "ไอซีที" มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งส่งผลไปถึงปีหน้าด้วยอย่างมีนัยสำคัญ กับบางเรื่องยิ่งทำให้สมรภูมิธุรกิจ หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าคงเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการมาถึงของระบบโทรศัพท์มือถือ 3G คลื่นใหม่ 2.1 GHz เพราะค่ายมือถือเพิ่งได้ไลเซนส์ก่อนสิ้นปีไม่เท่าไร โดยลุ้นกันใจหายใจคว่ำมาพักใหญ่หลังการประมูลใบอนุญาตใหม่เสร็จสิ้น แต่เดินหน้ากระบวนการแจกไลเซนส์ไม่ได้ เพราะคดีความฟ้องร้องและกระบวนการตรวจสอบการประมูลที่ตามมาเป็นระลอก

ขณะที่กระแสฮอตของ "สมาร์ทโฟน และแท็บเลต" ผลักดันยอดขายทั้งสมาร์ทโฟน และแท็บเลต (ไม่รวมโปรเจ็กต์ One Tablet Per Child) นำโด่งรอท่าไปไกล และการมาถึงของ 3G คลื่นใหม่จะยิ่งเสริมส่งให้ยอดขายในปีหน้าฟ้าใหม่ไปไกลยิ่งกว่าเดิม



ไม่นับว่า คือการเริ่มต้นนับถอยหลังปิดฉากระบบ "สัมปทาน" อันเป็น "ขุมทรัพย์" ชั้นดีขององค์กรรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสาร "ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ รวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดในรอบปี 2555 เพื่อบันทึกและอำลา "ปีมังกร" ต้อนรับปีงู 2556 ไว้ดังนี้

ตลาดคอมพ์ซึมยาว

ปี 2555 เป็นปีที่ตลาดคอมพิวเตอร์ซบเซามากที่สุดในรอบหลายปี เผชิญปัจจัยลบรอบทิศ เริ่มจากมหาอุทกภัยปลายปีที่ผ่านมาต่อเนื่องมาดึงกำลังซื้อผู้บริโภคทำให้ต้องจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายเงินใหม่

ต้นปี บรรดาบิ๊กแบรนด์ไอที "เอเซอร์, เอซุส" หรือมังกรจีน "เลอโนโว" ประสานเสียงว่า มหาอุทกภัยทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคหดหาย แต่หวังว่าจะกระเตื้องขึ้นในไตรมาส 2 แต่การณ์กลับกลายไปในทิศทางตรงกันข้าม

ขณะที่เชนสโตร์ไอทีพูดตรงกันว่า ตลาดไอทีได้รับผลกระทบจากนโยบาย "รถคันแรก" เมื่อเลือกซื้อรถแล้วจะมีภาระในการผ่อนรายเดือนทำให้ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายด้านอื่น รวมถึงการซื้อสินค้าไอที

นอกจากนี้ ยังโดนกระแสฮอตของ "แท็บเลต และสมาร์ทโฟน" แย่งความต้องการซื้อโน้ตบุ๊กไปอีก ส่วนตลาด SMEs ได้รับผลกระทบจากการแบกภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำส่งผลให้ภาพรวมตลาดซึมยาวหลังซึมมา 9 เดือน ทุกคนฝากความหวังไปที่โปรดักต์ใหม่ ๆ ที่จะออกมาในปลายปีกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 โดยพร้อมใจกันขนสินค้าทั้งรุ่นใหม่รุ่นเก่าพร้อมโปรโมชั่นไปกวาดยอดขายใน "คอมมาร์ต" ท้ายปี

ยอดขายคอมมาร์ตเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ปิดที่ 2,600 กว่าล้านบาท ดีกว่ากลางปี แม้โน้ตบุ๊กจะมีสัดส่วนยอดขายอันดับหนึ่ง แต่ที่น่าสนใจคือ แท็บเลตมาเป็นที่สอง ตามด้วยสมาร์ทโฟน ซึ่งชี้ความแรงของกระแสแท็บเลตและสมาร์ทโฟนได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลจากบริษัทวิจัยการตลาด "จีเอฟเค" ระบุว่า ตลาดคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยปี 2555 มีอัตราการเติบโต 25% ต่างไปจากข้อมูลจาก "ไอดีซี" ที่ระบุว่าจะโตเพียง 5% ซึ่งใกล้เคียงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า

ฝั่งผู้ประกอบการมองว่า ภาพรวมตลาดเติบโตเพียง 5-10% ทั้งเห็นตรงกันด้วยว่า ปีนี้เป็นปีของการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีหน้า เรียกว่า เข้าสู่ยุค "ไฮบริด" อย่างแท้จริง โดยสินค้าที่รองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 เต็มรูปแบบจะมีระดับราคาต่ำลงจึงต้องรอดูว่าจะทำให้ตลาดกลับมาคึกคักได้หรือไม่

ค้าปลีกเกาะสมาร์ทดีไวซ์

กระแสความแรงของ "แท็บเลต-สมาร์ทโฟน" ส่งแรงกระเพื่อมไปถึงร้านค้าปลีกไอที ทำให้ช่วงครึ่งปีหลัง บิ๊กเนมทุกเจ้า ไม่ว่าจะเป็น "บานาน่าไอที" ค่ายคอมเซเว่น, "เจ.ไอ.บี.", "แอดไวซ์ ดิสตริบิวชั่น" และ "ซีเอสซี" ต่างปรับแผนเทน้ำหนักไปยังสินค้าในกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น 10-20% เป็นอย่างน้อย เรียกว่า เชนไอทีขยับตัวไปแข่งกับเชนค้าปลีกโทรศัพท์มือถือกันเลยทีเดียว แม้ว่าจะไม่ได้หวังไปเทียบเคียงตีกิน

ยอดขายจากร้านค้าปลีกมือถือโดยตรง เพราะผู้บริโภคยังคงคุ้นชินกับการเข้าไปซื้อหาสินค้าประเภทนี้จากเชนสโตร์มือถือ แต่ก็เชื่อว่าจะทำยอดขายได้ไม่น้อย เพื่อตอบโจทย์ผู้ซื้อ และพร้อมสู้ด้วยความเชี่ยวชาญด้านไอที ซึ่งจะเห็นการแข่งขันอย่างชัดเจนในปีหน้า

"ซีเอสซี" เดิมโฟกัสการทำตลาดเฉพาะสินค้าไอที เมื่อได้รับสิทธิเข้าไปบริหารหน้าร้าน "บลิสเทล" ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการขายโทรศัพท์มือถือเมื่อกลางปีที่ผ่านมา จึงมีช่องทางขายเพิ่มขึ้นทันที ปัจจุบันมีสาขา 130 แห่ง ปีหน้าจะขยายเพิ่มอีก 50 สาขา เจ้าอื่น ๆ เช่น ค่ายคอมเซเว่น เจ้าของร้านบานาน่าไอที มี 265 สาขา, เจ.ไอ.บี. มี 150 สาขา เป็นต้น

ในฝั่งของบิ๊กค้าปลีกโทรศัพท์มือถือก็ยังคงปักหลักกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรุกตลาดสมาร์ทโฟนเต็มสูบ หลังเห็นปรากฏการณ์ขาขึ้นมาพักใหญ่ โดยต่างเชื่อมั่นว่าถึงจะมีร้านค้าปลีกไอทีเข้ามาแข่งพื้นที่ขายสมาร์ทโฟน ก็ไม่น่ามีผลอะไรมากนัก ด้วยจำนวนสาขาที่ครอบคลุม และความเชื่อถือในแบรนด์ร้านค้าของผู้บริโภคจะยังทำให้ลูกค้าต้องการมาซื้อสมาร์ทโฟน และแท็บเลตที่ร้านขายโทรศัพท์มือถือมากกว่า ถึงกระนั้น เชนสโตร์ดัง "ทีจีโฟน" เตรียมเงินกว่า 80 ล้านบาท เพื่อเพิ่มช่องทางขายอีก 50 แห่งในปีหน้าหลังจากใช้เงินรีโนเวตร้านเดิมไปไม่น้อย เช่นกันกับ "เจมาร์ท"

เว็บ-แอปŽ ต่างชาติลงตลาดพรึ่บ

อีกปรากฏการณ์ที่คึกคัก และมีสีสันที่สุดปีนี้ เป็นการรุกคืบของธุรกิจอินเทอร์เน็ตจากต่างประเทศเริ่มตั้งแต่ต้นปี (ม.ค.2555) บริษัท เอ็นเอชเอ็น เจแปน จำกัด เจ้าของโซเชียลแอปพลิเคชั่นยอดฮิต "Line" ที่เข้ามาในประเทศไทยอย่างเงียบ ๆ แต่ได้รับความนิยมล้นหลาม จนผู้บริหารจากญี่ปุ่นต้องเดินทางมาเมืองไทยเพื่อประกาศความสำเร็จ จากฐานคนใช้ที่ทะลุ 10 ล้านไปแล้วเรียบร้อย กระโดดเป็นอันดับ 3 ของโลก เพิ่มขึ้นกว่า 1,000% นับจากต้นปี

ไม่เฉพาะแค่ "Line"

ส.ค.ที่ผ่านมา "เว็บดีล" ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา "กรุ๊ปปอน" ก็ตัดสินใจเข้ามาเปิดตัวธุรกิจในไทยเป็นทางการ เนื่องจาก มองว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท และมีโอกาสเติบโตอีกมาก จึงเข้ามาตั้งออฟฟิศและสรรหาบุคลากรมาดำเนินธุรกิจเพื่อหาดีลให้ถูกใจลูกค้าชาวไทย โดยตั้งเป้าว่าจะเบียดเว็บดีลคู่แข่งที่เข้าตลาดมาก่อนให้จงได้

จากนั้นไม่ถึง 2 เดือน บริษัทเสิร์ชเอนจิ้น ยักษ์จากจีน "ไป่ตู้" ก็ประกาศแผนเพิ่มบุคลากรและหาพาร์ตเนอร์เพิ่มเติมสำหรับเจาะตลาดประเทศไทยเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา หลังเริ่มเข้ามา

ทดลองตลาดด้วยการเปิดเว็บไซต์ hao123.co.th ตั้งแต่ต.ค. 2554ปลายเดือน พ.ย. บริษัทเทนซ็นต์ ยักษ์จากจีนอีกรายเข้ามาเปิดตัวโซเชียลแอปพลิเคชั่น "WeChat" บ้าง ซึ่งก็คล้ายกับไป่ตู้ที่ยังไม่เน้นเรื่องรายได้แต่ตั้งเป้าสร้างฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุดก่อน

สารพัดเว็บมาเปิดตลาดใช่ว่าจะมีแต่เรื่องดี การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในธุรกิจเว็บดีลเดลี่ทำให้บางรายต้องม้วนเสื่อปิดกิจการไปก็มี เช่น "ดีลดีดี" เป็นต้น

คนไทยแห่ช็อปปิ้ง online

หลังจากการเปิดตัวของสารพัดเว็บดีลที่มีส่วนลดจากร้านอาหาร, สินค้า หรือที่พักต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคไทยกล้าใช้จ่ายผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่ก้าวเข้ามาสู่วัยทำงานมากขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มหลักของการใช้จ่ายรูปแบบนี้ คาดว่าปีนี้มีการเติบโตราว 20-30%

ทั้งในแง่ของมูลค่า และยอดการใช้งาน เนื่องจากประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นผ่านสมาร์ทโฟนที่มีราคาถูกลง

อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายยอดนิยมบนโลกออนไลน์ในแง่มูลค่ายังหนีไม่พ้นเรื่องการท่องเที่ยว ทั้งการจองตั๋วเครื่องบิน และที่พักต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มนี้มีเงินหมุนเวียนในระบบเพย์เมนต์เกตเวย์ของ "เพย์สบาย" มากกว่า 30 ล้านบาท ขณะที่ในระบบของ "ธนาคารกสิกรฯ" มีกว่าครึ่งของเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบกว่า 4.6 หมื่นล้าน

ฝั่งเว็บอีคอมเมิร์ซดังทั้ง "ตลาดดอตคอม และวีเลิฟช็อปปิ้ง" ยังเดินหน้าผลักดันให้ตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งพัฒนารูปแบบบริการใหม่ ๆ ทั้งสำหรับร้านค้าและผู้บริโภคทั่วไปเพื่อเพิ่มความสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น เช่น แอปพลิเคชั่นช็อปปิ้งออนโมบายล์ เป็นต้น

สำหรับผู้บริโภคอีกกลุ่มที่ยังไม่ไว้ใจและคุ้นเคยกับการช็อปออนไลน์ก็มีทางเลือกอื่นเช่นกัน เช่น การโพสต์ขายสินค้าผ่านเว็บคลาสสิไฟด์ ที่โปรโมตมากในช่วงครึ่งปีหลัง เป็น "ดีลฟิช" ของค่าย "สนุก" ล่าสุดเพิ่งประกาศว่า ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของเว็บประเภทคลาสสิไฟด์แล้ว ซึ่งเว็บคลาสสิไฟด์ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้บริโภคคนไทยคุ้นเคยกับการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น เริ่มต้นง่าย ๆ กับรูปแบบการซื้อขายง่าย ๆ ก่อนพัฒนาตนเองถึงการซื้อขายออนไลน์เต็มรูปแบบ

ดีแทคŽ ล่มซ้ำซาก

เปิดศักราชใหม่ 2555 มีปรากฏการณ์ดีแทคล่มซ้ำซาก หลังล่มส่งท้ายปี 2554 ไปเมื่อเดือน ธ.ค. ข้ามมาปีมังกรยังซ้ำอีกรอบ อีกรอบ และอีกรอบ (8 ม.ค.-4 พ.ค. และ 28 ส.ค.) ถึงจะต่างกรรมต่างวาระ ไม่เกี่ยวกับกระทบการใช้งานของลูกค้าทั้งต่อระบบและแบรนด์องค์กรอย่างมาก

เครือข่ายล่มหนหลังสุดทำให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดย "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช. ใช้ไม้แข็งสั่งปรับ "ดีแทค" เป็นเงิน 10 ล้านบาท โทษฐานที่ไม่บำรุงรักษาซ่อมแซม และแก้ไขปรับปรุงโครงข่ายโทรคมนาคม เครื่องโทรคมนาคม และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการโทรคมนาคมที่นำมาใช้ในการให้บริการโทรคมนาคม เพื่อให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานทางเทคนิคตามที่กำหนด
"กสทช." ยังประกาศด้วยว่า ผู้ให้บริการรายใดปล่อยให้เกิดปัญหาเครือข่ายล่มที่ไม่ใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัยหรืออุบัติเหตุ จะโดนสั่งปรับกันถ้วนหน้า เริ่มต้นค่าปรับที่ 10 ล้านบาท ถ้าค่าเสียหายเกิน 10 ล้านบาทจะให้เรียกค่าปรับตามจริง ซึ่ง "ดีแทค" ยอมจ่ายค่าปรับแต่โดยดี เพราะถือว่าทำให้ กสทช.และผู้บริโภคผิดหวังเหตุการณ์ครั้งนี้ เลขาธิการ "กสทช." บอกว่า ถือเป็นผลงานชิ้นโบแดงในรอบปี เพราะตั้งแต่มี "กทช. ถึง กสทช." ไม่เคยได้ค่าปรับจากค่ายมือถือโดยไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเลย

3G ในท่สุดก็ม"สักท"

ลุ้นกันใจหายใจคว่ำ หลังจาก กสทช.ฝั่งโทรคมนาคม หรือที่รู้จักกันในนาม "กทค." ประกาศจัดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่น 2.1GHz เพื่อนำไปให้บริการ 3G ว่าเป็นภารกิจเพื่อชาติตั้งแต่ต้นปี (ก่อนมี 3G ยังกดปุ่มเปิดทดลองเทคโนโลยี 4G หรือ Long Term Evolution : LTE โดยให้คู่สัมปทาน "เอไอเอส-ทีโอที" ทดลองบนคลื่น 2.3 GHz และ "กสทฯ-ดีแทค-ทรูมูฟ" ทดลองบนคลื่น 1800 MHz ไปพลาง)

ขณะที่กระบวนการประมูลใบอนุญาต 3G ที่ทุกคนรอคอยเกิดขึ้นได้จริงท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งแต่กรณี "ราคาตั้งต้น และเงื่อนไขการประมูล" ที่สุด "กสทช." ก็เปิดสวิตช์กดปุ่มประมูลได้เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 ที่ผ่านมา
ซึ่งก็เป็นไปตามคาดหมายที่การประมูลจบได้ภายในวันเดียวที่ราคาไม่แพงอีกต่างหาก

โดยทั้ง 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด( AWN) ในเครือเอไอเอส บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือกลุ่มทรู และบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือดีแทค แบ่งเค้กลงตัว มี AWN เคาะราคาสูงสุด 14,625 ล้านบาท อีก 2 รายจบการประมูลที่ราคาตั้งต้น 13,500 ล้านบาท

ภารกิจเพื่อชาติจึงได้เงินเข้ารัฐสูงกว่าราคาตั้งต้นเพียง 2.7% เสียงวิจารณ์จึงดังกระหึ่มขึ้นอีกครั้ง พร้อมคดีความฟ้องร้องเป็นพรวนทำให้กระบวนการให้ใบอนุญาตต้องล่าช้าออกไปอีกเป็นเดือน ๆ รวมถึงการเพิ่มเงื่อนไขต่อท้ายใบอนุญาตให้ค่ายมือถือลดค่าบริการลง 15%

สุดท้ายเมื่อศาลปกครองมีคำสั่งยกฟ้องในคดีผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องสำนักงาน กสทช. การให้ใบอนุญาตจึงเดินหน้าต่อได้11 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช.ออกใบอนุญาตให้ค่ายมือถือทั้ง 3 ราย เป็นอันกดปุ่มบริการ 3G ในเมืองไทยอย่างเป็นทางการ

Žยื้อคืนคลื่นŽ ด้นเฮือกสุดท้าย

ก.ย. 2556 สัมปทานบริการโทรศัพท์มือถือบนคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟ และดิจิตอล โฟน (ดีพีซี) จะสิ้นสุดลง

ซึ่ง "กสทช." ปักธงว่าจะนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ด้วยการ "ประมูล" ขณะที่ผู้มีสิทธิ์ถือครองคลื่นเดิม บมจ. กสท โทรคมนาคม หาทางเต็มที่เพื่อยื้อคลื่นไว้ และหวังว่าเหตุผลว่า จำเป็นต่อการดูแลลูกค้าก่อนโอนย้ายระบบอาจได้ผลบ้างไม่มากก็น้อย

เช่นกันกับ "ทีโอที" พยายามหาช่องทาง หลัง กสทช. ออกประกาศให้โอเปอเรเตอร์ทุกรายแจ้งเหตุผลและความจำเป็นในการถือครองคลื่น หากพบว่าคลื่นใดไม่มีการใช้งานจะเรียกคืนกลับมาจัดสรรใหม่ โดยบอร์ดใหม่ที่เพิ่งรับตำแหน่งเมื่อ 2 พ.ย. 2555 กำลังทำแผนทดลองบริการ 4G บนคลื่น 2.3GHz ที่ถือครองอยู่ 64 MHz เพราะมองว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอดธุรกิจ เพราะลำพังมีแค่ 3G เฟสแรกซึ่งการติดตั้งเป็นได้ด้วยความล่าช้าเป็นอย่างยิ่ง คงต่อกรกับใครไม่ได้ ถ้ามี 4G ไว้ให้อุ่นใจอาจช่วยอะไรได้ ว่าแล้วจึงสั่งชะลอแผนลงทุน 3G เฟส 2 ไว้พลางก่อน

ถ้าจะบอกว่าเป็นการดิ้นเฮือกสุดท้าย ก่อนที่ทั้งคู่จะต้องนำส่งรายได้จากส่วนแบ่งสัมปทานทั้งหมดส่งเข้ากระทรวงการคลัง โดยตรงตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ. กสทช. (ธ.ค. 2556) ซึ่งหมายถึงรายได้เกือบ 60% ของทั้งคู่จะหายวับไปกับตา ขณะที่แผนธุรกิจ "TowerCo-FiberCo" ที่รัฐมนตรี ไอซีที "อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" พยายามผลักดันก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสำเร็จ

แท็บเลต ป.1-ปูพรมไวไฟทั่ว ปท.

นโยบายรัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงไอซีที และกระทรวงศึกษาธิการ คือ "โครงการ 1 แท็บเลต 1 นักเรียน" โดย "ไอซีที" รับหน้าเสื่อเป็นคนจัดซื้อจำนวนล้านเครื่องเพื่อแจกเด็ก ป.1 (แต่ใช้งบกระทรวงศึกษาธิการ) ที่สุดก็ได้ลงนามจัดซื้อกับ บริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ ไปได้ ล็อตแรกจำนวน 400,000 เครื่อง มูลค่า 32,800,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อ 10 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา

สเป็กที่ได้คือ แท็บเลต หน้าจอ 7 นิ้ว หน่วยประมวลผลความเร็ว (CPU) 1.2 GHz หน่วยความจำ (RAM) 1 GB หน่วยความจำในเครื่อง (HD) 8 GB ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0 พร้อมใช้อินเทอร์เน็ต

ไร้สาย (WiFi) และระบบแสดงพิกัด (GPS) แบตเตอรี่ Lithium Polymer ความจุ 3600 mAh รับประกัน 2 ปี ราคาต่อเครื่อง 82 เหรียญสหรัฐ

ไม่ใช่แต่แจกเด็ก ป.1 โครงการแท็บเลตพีซีเพื่อการศึกษายังจะขยายไปยังเด็ก ม.1 ด้วย แต่เครื่องคนละสเป็ก โดยเจ้ากระทรวงไอซีทีบอกว่าจะดำเนินการจัดซื้อโดยเปิดประมูลแบบโอเพ่นบิด เพื่อให้ทุกคนเข้าประมูลได้ โดยนำเรื่องคุณภาพของสเป็กเป็นตัวตั้ง คาดว่าราคาต่อเครื่องจะเท่าเดิมแต่สเป็กสูงขึ้น และใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

คาดว่าจะเปิดประมูลในต้นปีหน้า จากเดิมจะประมูล ธ.ค.2555 โดยรอบนี้จะจัดซื้อ 1.6 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นแท็บเลตเด็ก ป.1 จำนวน 8.5 แสนเครื่อง ที่เหลือเป็นของเด็ก ม.1 และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ

มีแท็บเลตแล้วไม่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ไม่ครบ ไอซีทีจึงเดินหน้าโครงการฟรีไวไฟ บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช.เป็นเงิน 950 ล้านบาท โดยจะนำไปใช้ติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงเพิ่มเติม 150,000 จุด ใน 30,000 แห่งทั่วประเทศ เช่น ที่สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ศาลากลางจังหวัด เป็นต้น

ทั้งยังมีโครงการสมาร์ทเน็ตเวิร์กเชื่อมต่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในภาคการศึกษาทั่วประเทศ มีโรงเรียนได้รับการเชื่อมต่อไปแล้ว 9,600 แห่ง จะเชื่อมต่ออีก 80% ทั้งหมด 22,000 แห่ง ภายในเดือน พ.ค. 2556

ดีเดย์ ดิจิทัลทีวี-แก้ปัญหาจอดำŽ

ฝั่ง "กสทช." ฟากบรอดแคสต์ งานเด่นในรอบปีคือการออกประกาศสารพัดเพื่อเตรียมการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการ ก่อนจบปีได้เปิดให้ยื่นขอใบอนุญาตเคเบิลทีวี, ทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชนแล้ว คาดว่าปีหน้าจะเริ่มเห็นกระบวนการกำกับดูแลที่เข้มข้นขึ้น พร้อมกับการก้าวสู่ทีวีดิจิทัล หลังจากเมื่อ 24 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา กสทช.ประกาศให้ "DVB-T2" เป็นมาตรฐานทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินของไทย

อีกบทเรียนที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เป็นปัญหาการถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 กับปรากฏการณ์ "จอดำ" ยกเว้นดูผ่านเสาอากาศหนวดกุ้งก้างปลา และกล่อง GMMZ

เนื่องจาก "จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่" ผู้ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ในประเทศไทย ไม่ยินยอมให้นำสัญญาณภาพออกอากาศ จน กสทช.ต้องเร่งออกประกาศ Must carry กำหนดให้รายการในฟรีทีวีเป็นสิทธิ

พื้นฐานที่ประชาชนต้องดูได้ผ่านทุกช่องทาง แต่ก็ยังมีปัญหาจอดำประปรายในการถ่ายทอดสดโอลิมปิก โดยเฉพาะบนกล่องรับสัญญาณทีวีรุ่นเก่า

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1356849965&grpid=02&catid=06&subcatid=0603

จากคุณ : So magawn
เขียนเมื่อ : วันสิ้นปี 55 20:38:25




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com