ลาว - ลาวกับอาเซียน

(โดยธีระ นุชเปี่ยม) (มติชน)

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:32:14 ]
ความเห็นที่ 1

ลาวกับอาเซียน


(โดยธีระ นุชเปี่ยม) (มติชน)


ลาวเป็นประเทศเล็กที่มีพลเมืองเพียง 6.5 ล้านคน และยังมีฐานะเป็นประเทศที่

พัฒนาน้อยที่สุดของสหประชาชาติเช่นเดียวกับเมียนมาร์ ลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน

พร้อมกับเมียนมาร์ใน ค.ศ.1997 แม้ว่าลาวจะเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในอาเซียน

(หากไม่นับเมียนมาร์ที่เราไม่มีข้อมูลด้านต่างๆ ชัดเจนนัก) แต่การมีบทบาทในอา

เซียนโดยเฉพาะการทำหน้าที่ "Chair" ของอาเซียนใน ค.ศ. 2004-2005 ก็ทำให้ลาว

ได้รับการยอมรับทั้งในด้านบทบาทและความสามารถในฐานะสมาชิกอย่างเต็ม

ภาคภูมิ ใน ค.ศ.2013 ลาวก็จะเป็นประธานจัดประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM ด้วย


ในด้านอุดมการณ์พรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่ผูกขาดอำนาจปกครองลาวอยู่ใน

ปัจจุบันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสหภาพโซเวียตและเวียดนาม ในช่วงครึ่งหลัง

ทศวรรษ 1980 เมื่อ 2 ประเทศนี้เริ่มหันมาใช้แนวทางปฏิรูป ลาวก็เปลี่ยนแนวทาง

สังคมนิยมของตนมาเป็น "นโยบายจินตนาการใหม่" (new thinking policy) แนว

นโยบายนี้ต่อมาเปลี่ยนมาเป็นนโยบายปฏิรูปหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ (renovation

policy) ในแนวทางเดียวกับนโยบาย "โด่ยเม้ย" (Doi Moi) ของเวียดนาม


ความมุ่งหมายหลักประการหนึ่งของนโยบายปฏิรูป คือ การเปิดทางให้เศรษฐกิจของ

ลาวเชื่อมตัวเข้ากับทุนนิยมโลกมากขึ้นเพื่อให้ลาวเติบโตก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจได้

อย่างรวดเร็ว ทั้งพรรคประชาชนปฏิวัติลาวและรัฐบาลลาวได้กำหนดวิสัยทัศน์ที่จะให้

ลาวพ้นจากฐานะความเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุดภายใน ค.ศ. 2020


ลาวยังมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสำคัญคือในด้านการผลิตไฟฟ้า

พลังน้ำจำหน่ายให้แก่ชาติเพื่อนบ้านโดยเฉพาะไทย นอกเหนือไปจากทรัพยากรอื่นๆ

เช่น ทอง ทองแดง และที่ดินทำการเกษตรอีกกว้างขวาง นับแต่เปิดประเทศ

เศรษฐกิจลาวผูกพันอยู่กับไทยอย่างมากทำให้ในช่วงวิกฤต "ต้มยำกุ้ง" เศรษฐกิจ

ของลาวก็ได้รับผลกระทบสำคัญตามไปด้วย ปัจจุบันจีนซึ่งเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ใน

ลาวมีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน

ประเทศนี้ สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของลาวที่เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลและ

เคยเป็นข้อจำกัดสำคัญ ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของศักยภาพด้านเศรษฐกิจของ

ลาว คือเป็นดินแดนเชื่อมต่อกับประเทศต่างๆ (land-link country) ในภูมิภาค

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:36:47 ]
ความเห็นที่ 2

L 1

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:37:58 ]
ความเห็นที่ 3

ลาวมีพรมแดนติดต่อกับหลายประเทศ ได้แก่ จีน เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา และ

เวียดนาม เมื่อมีการพัฒนาเส้นทางขนส่งคมนาคมอย่างกว้างขวางลาวจึงเป็นเส้นทาง

ขนส่งและกระจายสินค้าที่สำคัญ นอกจากนั้น ค่าจ้างแรงงานที่ยังถูก ทำให้ต้นทุน

การผลิตต่ำ  ลาวจึงเหมาะที่จะเป็นแหล่งผลิตสินค้าเพื่อส่งไปจำหน่ายยังประเทศ

อื่นๆ ปัจจุบันจีนนอกจากจะเข้าไปมีบทบาทด้านการค้าและการลงทุนด้านต่างๆ อย่าง

มากแล้ว ยังเข้าไปปลูกอ้อยและยางพาราเพื่อใช้ประโยชน์ในจีนเองด้วย ส่วนหนึ่ง

ของการเปิดประเทศของลาว คือ การท่องเที่ยว ที่ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมอย่างมาก

เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่เป็นเงินตราประเทศแล้ว ยังส่งผลด้านการ

พัฒนาภาคบริการของประเทศด้วย ดังนั้น แม้ลาวจะเป็นประเทศเล็กและยังยากจน

แต่ก็ถือว่ามีศักยภาพสูงในตลาดเดี่ยวและฐานการผลิตร่วมของประชาคมเศรษฐกิจอา

เซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:41:02 ]
ความเห็นที่ 4

L 2

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:42:57 ]
ความเห็นที่ 5

รัฐบาลลาวพัฒนาความพร้อมเพื่อการเปิดสู่โลกทุนนิยมมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะ

การพัฒนาระบบกฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่ถือว่าเสรีมากประเทศหนึ่ง นอกจากนั้น

ยังมีกฎหมายองค์กรธุรกิจที่อนุญาตให้จัดตั้งองค์กรประเภทนี้ได้หลายรูปแบบได้แก่

วิสาหกิจ ห้างหุ้นส่วน บริษัท จำกัด บริษัท จำกัดผู้เดียว และบริษัทมหาชน และ

กฎหมายหลักทรัพย์ ที่ทำให้มีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์และเปิดการซื้อขายอย่าง

เป็นทางการตั้งแต่เดือนมกราคม 2011


นพรัตน์ ฤกษ์พิศุทธิ์ ("สปป.ลาว หนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่นักลงทุนกำลังจับตามอง

" กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 สิงหาคม 2555”) ได้กล่าวว่า รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าลาวได้

แปรรูปเป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าลาวมหาชน และได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว

จึงเห็นได้ว่า ในอนาคตอันใกล้  ลาวคงจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงสำคัญเพื่อเป็น

ส่วนหนึ่งของอาเซียนอย่างแน่นอน


ประเด็นหนึ่งที่ต้องพูดถึง คือ ลาวได้อะไรจากอาเซียน ท่านทองสิง ทามะวง นายก

รัฐมนตรีลาว กล่าวไว้ในวาระครบรอบ 45 ปี ของการก่อตั้งอาเซียนเมื่อเดือนสิงหาคม

ที่ผ่านมาว่า นอกจากผลประโยชน์ด้านการค้า การลงทุน และการเข้ามาของนักท่อง

เที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว สิ่งที่ลาวได้รับคือ การยกสถานะ (profile) ของลาวทั้งในเวที

ของภูมิภาคและของโลก การได้มีบทบาท เช่นในการเป็น "Chair" ของอาเซียนที่ได้

กล่าวแล้ว ทำให้ลาวได้รับการยอมรับบนเวทีนานาชาติมากขึ้น นอกจากนั้น ลาวยังได้

รับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ทั้งจากอาเซียนและประชาคมระหว่างประเทศ โดย

เฉพาะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของลาว

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:44:14 ]
ความเห็นที่ 6

L 3

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:45:11 ]
ความเห็นที่ 7

อย่างไรก็ตาม ท่านทองสิง ทามะวง ก็เช่นเดียวกับ สมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรี

กัมพูชา ที่ได้กล่าวไว้ในช่วงระยะเดียวกันว่า อุปสรรคสำคัญของการก่อตั้งประชาคม

อาเซียนใน ค.ศ.2015 ก็คือ ช่องว่างด้านการพัฒนา หรือความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียม

ที่ยังมีอยู่ในอาเซียน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะต้อง

นำเอา "ดำริเพื่อบูรณาการอาเซียน" (Initiative for ASEAN Integration) และ "แผน

แม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน" (Master Plan on ASEAN

Connectivity) ไปปฏิบัติอย่างให้เกิดผลจริงจัง


นายกรัฐมนตรีลาวเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะการดำเนินงานในเรื่องนี้จะมีผลใน

การลดช่องว่างด้านการพัฒนา ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคมีความเท่าเทียม

ตามเป้าหมายหลักประการหนึ่งของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน ค.ศ.

2015



AEC News Alerts


ข่าวประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:46:28 ]
ความเห็นที่ 8

L 4

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:47:26 ]
ความเห็นที่ 9

L 5

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:49:09 ]
ความเห็นที่ 10

L 6

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 18:50:07 ]
ความเห็นที่ 11

แต่ละนางงามแท้..

จากคุณ : เจ้าออย [8 ธ.ค. 55 01:10:39 ]