ลาว - รุ่งอรุณแห่งลาวใหม่

โดย : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:00:05 ]
ความเห็นที่ 1

รุ่งอรุณแห่งลาวใหม่


โดย : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี


เริ่มต้นซีรีส์สารคดีเส้นทางสาย R13 เส้นทางสร้างชาติของสปป.ลาว ผ่านมุมมอง

เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่นครหลวงเวียงจันทน์ กับการเปิดประตูสู่ลาวยุค

ใหม่


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาววันนี้กำลังเปลี่ยนไป


...ลาวไม่ใช่อดีตของไทยในทศวรรษก่อน

...ลาวกำลังเปลี่ยนตัวเองจาก Land Lock สู่ Land Link

...ลาวกำลังจะก้าวไปเป็นหนึ่งในผู้นำของภูมิภาค อีกไม่ช้า


ทั้งหมดไม่ใช่คำพูดลอยๆ ที่หยิบขึ้นมาโฆษณาชวนเชื่อ แต่หากเป็นส่วนหนึ่งของ

แผนพัฒนาประเทศ "จินตนาการใหม่" ที่จะปรับ "จุดด้อย" ให้กลายเป็น "จุดเด่น"

ไม่ว่าจะเป็น จากประเทศที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล (Land Lock) สู่การเป็นศูนย์กลาง

การเชื่อมต่อระหว่างประเทศในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion

: GMS) หรือ Land Link การเติบโตทางด้านการลงทุนที่ดึงดูดเม็ดเงินจากกลุ่มทุน

ต่างชาติให้เข้ามาสู่ลาว โดยเฉพาะโครงการเหมืองแร่ เขื่อน และโรงไฟฟ้า อันเป็น

ทุนรอนสำคัญที่จะทำให้ลาวกลายสภาพเป็น "หม้อไฟแห่งเอเชีย" (Battery of

Asia) รวมทั้งการตั้งเป้าหมายให้ทั้งประเทศหลุดพ้นจากความยากจนในปีพ.ศ.2563

(ค.ศ.2020) แนวทางการปรับตัวเองให้กลายเป็น "กุญแจแห่งโอกาส" ของอุษาคเนย์

จึงน่าสนใจอย่างยิ่งในสายตาของนักลงทุนจากทั่วทุกสารทิศ

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:02:42 ]
ความเห็นที่ 2

L 1

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:03:16 ]
ความเห็นที่ 3

L 2

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:05:02 ]
ความเห็นที่ 4

• ทำไมถึงต้องเป็นลาว


บริบทของลาวในเวทีระดับภูมิภาค หรือกระทั่งความเปลี่ยนแปลงอันถือว่าเป็นการ

พลิกโฉมสปป.ลาวให้ต่างออกไปจากการรับรู้เดิมๆ กลายเป็นคำถามที่อยู่ในความ

สนใจของใครหลายคน และการขยับของลาวในอนาคตนั้นก็น่าสนใจอย่างยิ่ง

"ตอนนี้มีคนสนใจประเทศลาวมากขึ้น" เป็นคำยืนยันจากปากของ วิทวัส ศรีวิหค เอก

อัคราชทูตไทยประจำนครหลวงเวียงจันทน์


ในความรู้สึกของนักการทูตอย่างเขา วันที่นโยบายการพัฒนาประเทศของลาวกำลัง

เป็นรูปเป็นร่าง และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ คนบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างประเทศไทยเองก็ยิ่ง

ไม่ควรละสายตาไปจากลาวในวันนี้


"เรามีภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน" นี่ถือเป็น

"ต้นทุนร่วมทางวัฒนธรรม" ที่สำคัญ นอกจากพรมแดนกว่า 1,800 กิโลเมตรที่ผูกติด

กันอยู่


"ถือเป็นญาติใกล้ชิด มิตรใกล้บ้าน ผมเรียกอย่างนี้มาตลอด เราจะเห็นได้ว่าคนไทย

ทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน ก็จะมีเชื้อสายลาวอยู่เยอะ ประการต่อมาเพราะลาวกำลังมี

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมาก เพราะการเมืองมีสเถียรภาพมากขึ้นตามลำดับ จน

กระทั่งวันนี้ถือได้ว่า ประเทศลาวมั่นคงมาก เศรษฐกิจก็อยู่ในช่วงขาขึ้น และนโยบาย

การปรับเปลี่ยนประเทศของรัฐบาลก็น่าสนใจ" เอกอัคราชทูตไทยให้เหตุผลเพิ่มเติม


สำหรับนักธุรกิจอย่าง รศ.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล ในฐานะประธานคณะกรรมการสภาธุรกิจ

ไทย-ลาว ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวคิด "ลาวเป็นตัวชี้วัดชีพจรเศรษฐกิจของอาเซียน" เขา

มั่นใจถึงศักยภาพที่มีอยู่ในประเทศนี้อย่างเต็มเปี่ยม


"หลายคนมองข้ามสปป.ลาว ซึ่งมีศักยภาพสูงมาก เพียงแต่ว่าลักษณะจะแตกต่างจาก

ไทย มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ที่ผมบอกว่าลาวเป็นตัวชี้วัดชีพจรก็เพราะลาวเป็น

ประเทศที่ยากจนที่สุดในภูมิภาค แต่ปัจจุบันลาวกำลังโตวันโตคืน มีการพัฒนาไปใน

ทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าด้านเทคโนโลยี การลงทุน หรือบุคลากร"


สิ่งที่ประธานคณะกรรมการสภาธุรกิจไทย-ลาวหมายถึงก็คือ การเติบโตอย่างเป็น

รูปธรรมไม่ว่าจะเป็น การปรับตำแหน่งของประเทศจากที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล กลาย

เป็นประเทศที่สามารถเชื่อมโยงสู่ทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การลงทุนระบบ

โครงสร้างพื้นฐานอย่าง ถนน สะพาน และสนามบินทั่วประเทศ หรือ การแปลง

ทรัพยากรธรรมชาติมาเป็นสัมปทานเพื่อดึงดูดนักลงทุน ทั้งหมดทำให้ สปป.ลาว ปรับ

สถานะ และออกไปมีบทบาทบนเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากขึ้นต่อไปนับจากนี้


"ผมว่าตรงนี้ถ้าประเทศอาเซียนอื่นอยู่ในลักษณะเตาะแตะไป ไม่ทันลาว เราก็จะ

เห็นชัดน่ะ ถึงเวลาที่เราต้องมาดูว่าการพัฒนาถูกทิศถูกทางไหม โดยเฉพาะประเทศ

ไทย" รศ.พิพัฒน์ยืนยัน

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:08:23 ]
ความเห็นที่ 5

L 3

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:09:30 ]
ความเห็นที่ 6

L 4

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:10:49 ]
ความเห็นที่ 7

• จาก Land Lock สู่ Land Link


โดยทั่วไป เรามักเรียนรู้ลาวในหน้ากระดาษของประวัติศาสตร์ หรือไม่ก็ในแบบเรียน

สังคมศึกษา ประโยคทำนองว่า "ลาวถือเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่มีอาณาเขต

ติดกับทะเล" จึงออกจะคุ้นหูสำหรับใครหลายคน และถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำ

ให้ล็อกแลนด์ (LockLand) แห่งนี้พัฒนาตัวเองช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน


แต่วันนี้ สปป.ลาวกำลังเปลี่ยนตำแหน่งตัวเองบนแผนที่โลกใหม่ จากธรรมนูญทาง

ทะเลขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1982 ที่อนุโลมให้ประเทศที่ไม่มีทางออก

สู่ทะเลใช้สิทธิในการที่จะผ่านประเทศเพื่อนบ้านออกสู่ทะเลได้ทำให้ "ทางตัน"

กลายเป็น "ทางต่อ" อันเพิ่มขีดความสามารถทางการค้า หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจให้

กับตัวลาวเองไปโดยปริยาย


"ลาวสามารถผ่านเวียดนามออกสู่ทะเลจีนใต้ สามารถลงมาอ่าวไทยผ่านเขมร หรือ

ไทยสามารถผ่านพม่าลงทะเลอันดามัน หรือผ่านจีนลงทะเลจีนใต้" ประธานคณะ

กรรมการสภาธุรกิจไทย-ลาวยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น


นอกจากสิทธิพิเศษที่เอื้ออำนวยตามสภาพภูมิศาสตร์แล้ว เส้นทางภายในประเทศ

อย่างถนนหนทางก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในแง่ของความเป็น

"กุญแจการค้า" ของภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งก็คือ ถนนหมายเลข 13 อันถือเส้น

ทางกระดูกสันหลังของลาวมาตั้งแต่ยุคสร้างชาติ โดยไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศ หรือ

ภายในประเทศก็ล้วนแล้วแต่ใช้เส้นทางนี้


และเมื่อคิดถึงการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค เส้นทางสาย R13 ก็ยิ่งทวีความสำคัญขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น จีน เวียดนาม หรือ ไทย


"เป็นถนนที่บ่งบอกถึงการลงทุน วัฒนธรรมของลาว การกระจายตัวไม่ว่าจะเป็นทาง

วัฒนธรรม หรือโลจิสติกก็ล้วนมาจากเส้นทางสายนี้" พงษ์ศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ

เลขาฯสภาธุรกิจไทย-ลาวยืนยันในฐานะนักธุรกิจคนหนึ่งที่ผูกติดกับการค้าการลงทุน

ในประเทศนี้มานาน


ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายจากภาครัฐก็ไม่อาจมองข้าม


วราวุธ มีสายญาติ ผอ.ที่ปรึกษากฎหมาย และภาษี บริษัท ไพร์ส วอเตอร์ เฮาส์ คู

เปอร์ ลาว จำกัด กำลังมองถึงกฎหมายการลงทุนปี 2009 ซึ่งเกี่ยวพันกับการส่งเสริม

การลงทุนที่ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจลาว หรือนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาจะต้องรู้เป็นฉบับ

แรกๆ "การส่งเสริมการลงทุนอันดับแรกคือการยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล หรือภาษี

กำไร ซึ่งก็ต้องดูว่าพื้นที่ไหนที่จะเข้าไปลงทุน เพราะแต่ละเขตการส่งเสริมการลงทุน

ไม่เหมือนกัน โดยในกฎหมายได้รับงดเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่ 1 - 10 ปี"


ด้านเสถียรภาพทางการเงิน จตุรงค์ บุนนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน รองประธานสภา

ธุรกิจไทย-ลาว มองว่า จากอัตราการแลกเปลี่ยนเงินกีบที่แกว่งขึ้นลงไม่เกิน 5

เปอร์เซ็นต์ทั้งหมด ถือเป็นเครื่องยืนยันสถานะความมั่นคง และการเติบโตทางการเงิน

ของดินแดนฝั่งโขงภาคตะวันออกได้เป็นอย่างดี

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:14:12 ]
ความเห็นที่ 8

L 5

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:15:09 ]
ความเห็นที่ 9

L 6

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:16:05 ]
ความเห็นที่ 10

• เวียงจันทน์ 'วันพรุ่ง'


"ใน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจของลาวอยู่ในระดับสูง" กิแก้ว จันทบุรี ปลัด

กระทรวงแผนการและการลงทุน สปป.ลาว เผยถึงผลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

สังคม 5 ปี ครั้งที่ 6 ทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งมีแนวโน้มการขยายตัว

เป็น 7.5 - 8 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง10 ปีหลังจากนี้


แรงขับดังกล่าวทำให้เวียงจันทน์ในวันนี้ เต็มไปด้วยไซต์งานก่อสร้าง ทั้งระบบ

สาธารณูปโภค ที่พักอาศัย รวมทั้งโครงการระดับ "เมกะโปรเจคท์" อย่าง

"เวียงจันทน์นิวเวิลด์" หรือ "เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์" แผ่นสังกะสีล้อมรั้วใต้ป้ายประชา

สัมพันธ์ อาจทำให้ใครหลายคนที่มาเยือนลาวในวันนี้ จินตนาการถึงลาวในวันพรุ่งนี้

ไม่ออก


"ต่อไปน่าจะมีหลายๆ อย่างเข้ามา ตลาดก็จะมีการขยายใหญ่ขึ้น สถานที่ชิล ชิลก็จะ

มีมากขึ้น" หากถามถึงอนาคตในความรู้สึกของคนรุ่นใหม่อย่าง ปลา - จีระพา พมพัก

ดี เธอมองแบบนั้น


การพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และเหมือนเป็นสัญลักษณ์ของความเปลี่ยนแปลงของสังคม

ลาวยุคใหม่อย่างชัดเจนก็คือ สวนสาธารณะเจ้าอนุวงศ์ ที่ได้รับการปรับปรุงจากพื้นที่

รกร้างริมโขงกลายเป็นสวนหย่อมขนาดย่อม ที่มีพื้นที่กินระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร

โดยมีราชานุสาวรีย์เจ้าอนุวงษ์เป็นจุดสังเกต


"วัยรุ่นเปลี่ยนไป แต่ไม่ทั้งหมด เพราะวัยรุ่นลาวยังคงอยู่กับการแต่งตัว แม่หญิงลาว

เกือบทุกคนยังมีการนุ่งซิ่นออกงานอยู่ แต่ความคิดหรือการศึกษาอาจจะเติบโตไป

เรื่อยๆมีสินค้าจากเวียดนาม ไทย และจีนเข้ามามากขึ้น" เธอบอก


แน่นอน ไลฟ์สไตล์คนเมืองลาวก็เปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงด้วย


ดนตรีฮิพฮอพ อาร์แอนด์บี ตลอดจนโครงการห้างสรรพสินค้า หรือร้านอาหารสำหรับ

วัยรุ่น ย่านศูนย์รวมวัยรุ่นอย่างเซ็นเตอร์พ้อยท์ แหล่งแฮงก์เอาท์ ปลายอมรับว่า ย่าน

บันเทิงเหล่านี้มีให้เห็นมากขึ้น คนลาวรุ่นใหม่ก็มีทางเลือกในการใช้ชีวิตมากขึ้น

แต่เหรียญย่อมมี 2 ด้านเสมอ


"ประเทศจะพัฒนามากขึ้น ประชาชนมีงานทำมากขึ้น มีความทันสมัยมากขึ้น แต่

ก็อาจจะทำให้วัฒนธรรมบางอย่างถูกคุกคาม หรือถูกทำลายไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับ

คนลาวว่าจะรักษามันเอาไว้อย่างไร"


โดยเฉพาะคนรุ่นเธอเอง ความท้าทายจะอยู่ที่เรื่องของการตั้งรับความเปลี่ยนแปลง

จากกระแสโลกาภิวัฒน์เหล่านี้กำลังถาโถมเข้ามา


"คนรุ่นใหม่เองเป็นคนที่มีความคิด กำลังค้นหาตัวเอง หรือความเป็นไป เวลามีสิ่ง

ใหม่ๆเข้ามา ก็อาจจะทำให้จุดยืนของตัวเองเปลี่ยนไป" ปลารู้สึกอย่างนั้น


สายน้ำโขงสะท้อนเงาแดดประกายเรืองรองอยู่เหนือโค้งคุ้มน้ำ ขณะที่เสียงเพลง

ประกอบจังหวะแอโรบิก ลวดลายของจักรยาน ตลอดจนสีหน้าผ่อนคลายของครอบ

ครัวช่วยมาแต้มบรรยากาศยามเย็นเวียงจันทน์ให้ดูผ่อนคลายขึ้น เมื่อเทียบกับความ

จอแจของการจราจรบนถนนสายหลักของเมือง แสงไฟจากเครนที่กำลังเดินเครื่องทำ

งานอย่างเต็มที่เพื่อให้เสร็จทันกำหนด และแผนงานการประชุมระดับต่างๆ ยังคง

ดำเนินต่อไปในห้องประชุมผู้บริหารอย่างขะมักเขม้น ราวกับจะบอกว่า ประตูสู่วันใหม่

สำหรับสปป.ลาวที่เปิดรออยู่นั้น เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในเวลาเดียวกัน.


(หมายเหตุ : ติดตามตอนต่อไปของซีรีส์ สารคดีชุด R13N ความเปลี่ยนแปลงที่เกิด

ขึ้นกับเมืองมรดกโลก อย่าง หลวงพระบาง กำลังกลายเป็นคำถามสำคัญถึงอนาคตที่

นี่จะเป็นอย่างไรต่อไป)__


ASEAN News 14 – 11- 12

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:20:08 ]
ความเห็นที่ 11

L 7

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:21:21 ]
ความเห็นที่ 12

L 8

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:22:19 ]
ความเห็นที่ 13

L 9

จากคุณ : ลุงแอ็ด [7 ธ.ค. 55 20:23:39 ]