ลาว - เจาะลึก - หลวงพระบาง

ที่มาของข้อมูล :  http://122.155.9.68/talad/index.php/laos

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 13:50:15 ]
ความเห็นที่ 1

เจาะลึก - หลวงพระบาง


แขวงหลวงพระบาง เป็นเมืองหลวงเก่า (อาณาจักรล้านช้าง อันรุ่งเรืองในอดีต) ของ

สปป.ลาว จุดเด่นและถือเป็นความได้เปรียบที่สำคัญในลาวภาคเหนือคือ การได้รับ

การประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลกเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 หน่วยงานราชการ

ของแขวงหลวงพระบาง ให้ความสำคัญต่อการรักษาวัฒนธรรม และสภาพบ้านเรือนที่

สวยงามของยุคกว่า 100 ปี มีการอนุรักษ์รูปแบบอาคาร การก่อสร้างที่แสดงให้เห็นถึง

การรับวัฒนธรรมจากฝรั่งเศส


ที่ตั้ง


แขวงหลวงพระบางตั้งอยู่ทางเหนือของนครหลวงเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 200

กิโลเมตร เชื่อมต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางราว 8 – 10 ชั่วโมง

จากเวียงจันทน์ สภาพถนนต้องลัดเลาะไปตามไหล่เขา มีเครื่องบินจากนครหลวง

เวียงจันทน์ถึงแขวงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที


• ทิศเหนือ ติดกับ แขวงพงสาลี

• ทิศตะวันออก ติดกับ แขวงหัวพันและแขวงเชียงขวาง

• ทิศใต้ ติดกับ แขวงเวียงจันทน์

• ทิศตะวันตก ติดกับ แขวงอุดมชัย และไชยบุรี


แขวงหลวงพระบาง มีสภาพภูมิประเทศแวดล้อมด้วยหุบเขา ตัวเมืองตั้งอยู่บนแม่น้ำ

2 สายไหลมาบรรจบกันพอดี คือแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน


พื้นที่


16,875 ตารางกิโลเมตร 85% เป็นภูเขา


ภูมิอากาศ


ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น อุณหภูมิต่ำสุดที่ 20.1 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดที่ 31.1

องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,708.7 มิลลิเมตร ต่อปี แสงแดดเฉลี่ย 6

ชั่วโมงต่อวัน


ประชากร


จำนวน 431,439 คน เป็นชาย 215,999 คน หญิง 215,440 คน


ความหนาแน่นของประชากร 26 คนต่อตารางกิโลเมตร


การปกครอง


แขวงหลวงพระบาง แบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 792 ตำบล และ 71,090 ครัวเรือน

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 13:53:13 ]
ความเห็นที่ 2

L 1

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 13:54:09 ]
ความเห็นที่ 3

L 2

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 13:55:48 ]
ความเห็นที่ 4

ประวัติความเป็นมา


เดิมหลวงพระบาทมีชื่อว่าเมืองชวา ซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของชนชาติขอม ต่อมาขุนลอ

ทรงตั้งเมืองขึ้นและสถาปนาตนเป็น พระเจ้าขุนลอ ปกครองเมืองชวา นับแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ. 1896 ในรัชสมัยของ สมเด็จเจ้าฟ้างุ่มมหาราช พระองค์ทรงทำสงครามตี

เอานครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบาง และหัวเมืองพวนทั้งหมด ตลอดจนหัว

เมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราชเข้ารวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ก่อตั้งเป็น

อาณาจักรล้านช้าง ขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขา

อันหนำ พ.ศ. 2091 สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชขึ้นครองราชในรัชสมัยของ

พระองค์เกิดศึกพม่ายกทัพ มาตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเห็นว่า กรุงสีสัตนาคนหุต

ล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง อยู่ใกล้กับศัตรู เมื่อพวกพม่าตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้วต่อ

ไปภายภาคหน้าก็อาจยกทัพมารุกรานลาว ล้านช้างก็เป็นได้ พระองค์จึงทรงย้ายเมือง

หลวงจาก หลวงพระบาง มาสร้างเมืองเวียงจันทน์และสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่ง

ใหม่โดยพระราชทานนาม ว่า กรุงศรีสัตตนาคะนะหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ ในปี

พ.ศ. 2096 ในรัชกาลพระเจ้า สุริยวงศาธรรมิกราช ถือว่าเป็นยุคทองแห่งอาณาจักร

ล้านช้าง หลังจากสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชสวรรคตแล้ว ล้านช้างได้แตก

ออกเป็น 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้าง

เวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก และตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม จนถึงปี

พ.ศ. 2436 สยามได้ยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส หลังจากปกครอง

อาณาจักรแห่งนี้มาได้ 114 ปี สำหรับ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ได้มีพระมหา

กษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาหลายรัชกาล จนกระทั่งในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2518

"พรรคประชาชนปฏิวัติลาว" ได้เข้ายึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงการปกครอง

จากระบอบกษัตริย์มาเป็นระบอบ สังคมนิยมประชาธิปไตยและเปลี่ยนชื่อประเทศจาก

ล้านช้างร่มขาวเป็น "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" นับแต่นั้นเป็นต้นมาซึ่ง

ตรงกับรัชสมัยของ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ถือเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์และ

ระบอบราชาธิปไตย


ด้วยเหตุที่ หลวงพระบาง มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เป็นราชธานีเก่าแก่

วัดวาอารามมากมายและมีความเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังคงรักษาระเบียบความงามไว้

ได้เป็นอย่างดีที่สุด ชาวเมืองมีความสุขและพอใจกับชีวิตที่เรียบง่าย เป็นชาวพุทธที่

ยึดมั่นในการรักษาขนบธรรมเนียมและประเพณีโบราณ ทำให้เมืองเล็ก ๆ แห่งนี้เต็มไป

ด้วยสีสันและมีชีวิตชีวา


เมืองหลวงพระบาง เป็น "The Best Preserved City in South – East Asia" (เมืองที่

ได้รับการปกปักษ์รักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเชียงใต้) จากองค์การยูเนสโกเมื่อ

ครั้งที่มีการสำรวจเบื้องต้นในปีพ.ศ. 2533 – 2538 และได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชีราย

ชื่อ "เมืองมรดกโลก" (World Heritage) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 และใน

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 แขวงหลวงพระบาง ก็ได้รับสถานภาพให้เป็นเมืองมรดก

โลกอย่างเป็นทางการ โดยแขวงหลวงพระบาง มีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์การ

พิจารณาถึง 3 ข้อจาก 6 ข้อดังนี้


• มีอิทธิพลอย่างสูงยิ่งเหนือกาลเวลาอันยาวนานหรือมีอิทธิพลภายในเขต

วัฒนธรรมของโลก อันเกี่ยวเนื่องกับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรม ศิลปะอันเป็น

เอกลักษณ์โดดเด่น การวางผังเมืองหรือการออกแบบภูมิสถาปัตย์


• เป็นตัวอย่างอันชัดเจนของรูปแบบอาคารหรือสถาปัตยกรรมโดยภาพรวม หรือ

ภูมิสถาปัตย์ที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนอันมีนัยสำคัญในประวัติศาสตร์ ของมนุษยชาติ


• เป็นตัวอย่างอันชัดเจนของการตั้งถิ่นฐานชุมชนมนุษย์หรือแสดงให้เห็นการใช้

พื้นที่ ซึ่งเป็นภาพแทนของวัฒนธรรม


ความสำคัญของแขวงหลวงพระบาง คือ เป็นเมืองหลวงเก่าอุดมไปด้วยเรื่องราวทาง

ประวัติศาสตร์อันลุ่มลึกทุกซอกทุก มุมของเมืองมีบ้าน วัด วัง และสถาปัตยกรรมที่

สวยงามเก่าแก่ ประเพณีความเชื่อและความผูกพันในพระศาสนาของคนเมืองนี้เป็น

แกนหลักที่ยึดโยง เข้ากับวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่และเศรษฐกิจให้มีชีวิตชีวา

ไม่สูญหายเปลี่ยนแปลงไปตาม กาลเวลา ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ ทำ

ให้กลับมาแขวงหลวงพระบางอีกครั้งแล้วครั้งเล่า

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 13:58:14 ]
ความเห็นที่ 5

L 3

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 13:59:38 ]
ความเห็นที่ 6

L 4

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:00:28 ]
ความเห็นที่ 7

เศรษฐกิจ


อัตราการเจริญเติบโต GDP 8% (ปีงบประมาณ 2551/52)


GDP ต่อหัว 5.9 ล้านกีบ (694 ดอลลาร์สหรัฐ) (8.500 กีบ/ดอลลาร์สหรัฐ)


โครงสร้างเศรษฐกิจของแขวงหลวงพระบาง


กสิกรรม 44% ของ GDP (เติบโต 5.59%)

อุตสาหกรรม 19% ของ GDP (เติบโต 7.99%)

บริการ 37%ของ GDP (เติบโต11%)


การลงทุนจากภายในและต่างประเทศจำแนกตามประเทศ


ประเทศที่ลงทุนในแขวงหลวงพระบางสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ จีน 38.58 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือ เวียดนามและแคนาดา จำนวน 17.40 และ 13.48 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ


โครงการที่แขวงหลวงพระบางต้องการให้ลงทุน


• ปลูกผักปลอดสารพิษ

• เลี้ยงสัตว์ปีก สัตว์ใหญ่

• ส่งเสริมการปลูกไม้สัก ไม้กฤษณา พืชน้ำมัน

• อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร

• โรงแรม บ้านพัก รีสอร์ท ร้านอาหาร

• พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ

• สำรวจ และขุดค้นแร่ธาตุต่าง เช่น ทองคำ เงิน อัญมณี


เกษตรกรรม


ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม แบบดั้งเดิม ไม่มีระบบการผลิตสมัยใหม่ ขาด

ความรู้ และประสบการณ์ที่จะนำเอาเทคนิคสมัยใหม่มาใช้ ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ในการ

บริโภคในครัวเรือน มากกว่าที่จะขายสู่ระบบตลาด


ป่าไม้


พื้นที่ป่าไม้มี 1,946,200 เฮคตาร์ (ร้อยละ 24.4) เป็นไม้เนื้อแข็ง 494,200 เฮคตาร์

และเป็นไม้เนื้ออ่อน 494,200 เฮคตาร์ เป็นป่าไม้ธรรมชาติ ดั้งเดิม 6,900 เฮคตาร์

(2549)


แหล่งน้ำ


แขวงหลวงพระบาง มีแม่น้ำ ลำธารไหลผ่านจำนวนมาก แม่น้ำสายหลัก 4 สาย คือ

แม่น้ำโขง แม่น้ำอู แม่น้ำเซียง และแม่น้ำคาน ทำให้เป็นแขวงที่มีศักยภาพทางด้าน

การผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับเพื่อใช้ในแขวง และเพื่อส่งออก นอกจากนี้ ประชาชน

ในแขวงฯ ยังใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายสำคัญในด้านการคมนาคม ขนส่ง และเพื่อ

การเกษตรกรรม


การปศุสัตว์


มีทุ่งหญ้ามากพอเพียงในการเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย เป็นต้น

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:05:09 ]
ความเห็นที่ 8

L 5

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:06:11 ]
ความเห็นที่ 9

L 6

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:06:53 ]
ความเห็นที่ 10

การท่องเที่ยว


เนื่องจากแขวงหลวงพระบางตั้งอยู่ในหุบเขาท่ามกลางธรรมชาติและมีแม่น้ำสองสาย

ได้แก่แม่น้ำโขงและแม่น้ำคานไหลมาบรรจบ รวมทั้งอดีต ยังเป็นราชธานี ที่รุ่งเรือง

และ เฟื่องฟูที่สุดของอาณาจักรล้านช้าง จึงทำให้แขวงหลวงพระบางมีศักยภาพทาง


ด้านการท่องเที่ยว


สถานที่ท่องเที่ยว



สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ คือวัด ซึ่งมีศิลปะงดงาม มีขนาดกะทัดรัดไม่ใหญ่โต วัด

และสถานที่ท่องเที่ยวในแขวงหลวงพระบางมีจำนวนมาก แต่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ วัด

เชียงทอง วัดใหม่สุวรรณภูมาราม พระราชวังหลวง ถ้ำติ่ง วัดพูสี


สถานที่ท่องเที่ยวของแขวงหลวงพระบาง แบ่งออกเป็น


• วัฒนธรรม 56 แห่ง

• ธรรมชาติ 61 แห่ง

• ประวัติศาสตร์ 13 แห่ง


แร่ธาตุ


แร่ธาตุมีมากมาย หลายชนิด โดยเฉพาะทองคำ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจที่

บ้าน ปะพอน ตำบลปากอู ถ่านหิน ตำบลชมเพ็ด ทองแดง ที่น้ำแบก และโพนไซ

ตำบลงอย


ด้านสาธารณูปโภค


แขวงหลวงพระบาง เป็นแขวงยุทธศาสตร์ในเส้นทางด้านการพาณิชย์ เป็นแขวง

สำคัญที่เชื่อมต่อประเทศจีน ไทย เวียดนาม และพม่า ทั้งทางบก น้ำ และอากาศ มี

สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งด้านการคมนาคม โทรคมนาคม น้ำ ไฟฟ้า ที่เป็นพื้นฐาน

และสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าในด้านการค้า การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม


สถิติของการบริการด้านโทรคมนาคม


• โทรศัพท์พื้นฐาน 4,726 หน่วย

• โทรศัพท์มือถือ 38,170 หน่วย

• อินเทอร์เน็ต 293 หน่วย

• ไปรษณีย์ 9 แห่ง


จากการสำรวจพลเมืองและที่อยู่อาศัย ปี 2548 ของศูนย์สถิติแห่งชาติ สปป.ลาว พบ

ว่า ในจำนวน 855 ตำบล ของแขวงหลวงพระบางมีสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวย

ความสะดวกพื้นฐาน ดังนี้


แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แขวงหลวงพระบาง


ปัจจุบันแขวงหลวงพระบางใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 ปี 2551 - 2553 ซึ่งแผนพัฒนา

ฉบับที่ 7 กำลังจะสิ้นสุดลงในปีนี้ ส่วนแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 กำลังอยู่ระหว่างดำเนิน

การขออนุมัติและเห็นชอบจากรัฐบาล ยังไม่สามารถเผยแพร่เป็นลายลักษณ์อักษรได้

ทางคณะที่ปรึกษาจึงได้ขอเข้าสัมภาษณ์คุณสิริพอน สุพันทอง รองหัวหน้าแผนก

แผนการและการลงทุน แขวงหลวงพระบาง ซึ่งสรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาฯฉบับ

ที่ 8 ปี 2553 – 2558 ดังนี้


• การท่องเที่ยวเป็นหลัก แขวงหลวงพระบางยังคงให้ความสำคัญด้านการท่อง

เที่ยวเนื่องจากรายได้สำคัญส่วน หนึ่งของแขวงมาจากการท่องเที่ยว ดังนั้นในแผน

พัฒนาฯฉบับที่ 8 ยังคงให้น้ำหนักเรื่องการท่องเที่ยวเช่นในอดีต


• พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยกำหนดให้แขวงหลวงพระบางเป็นศูนย์กลางด้าน

การศึกษาและบริการด้านสาธารณสุข ของภาคเหนือซึ่งประกอบด้วยแขวงต่าง ๆ 6 –

7 แขวง


ในปัจจุบันได้มีมหาวิทยาลัยสุพานุวง ที่จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี

มี โรงพยาบาลระดับแขวงตั้งอยู่ในแขวงหลวงพระบางให้บริการรักษาพยาบาล

ประชาชนทาง ภาคเหนือ ทำให้ผู้เจ็บป่วยไม่จำเป็นต้องไปรับการรักษาถึงเวียงจันทน์


• พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ สปป.ลาวมีศักยภาพ

ได้แก่ด้านพลังงาน และเหมืองแร่

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:10:44 ]
ความเห็นที่ 11

L 7

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:11:30 ]
ความเห็นที่ 12

L 8

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:12:18 ]
ความเห็นที่ 13

งบประมาณ


แขวงหลวงพระบางยังขาดดุลงบประมาณ โดยรายรับน้อยกว่ารายจ่าย ทำให้ต้องพึ่ง

พางบประมาณส่วนที่ขาดดุลจาก 3 แหล่งคือ


1. งบประมาณส่วนกลาง

2. อาศัยความช่วยเหลือจากองค์กรสากล (โดยเงินให้เปล่าและเงินกู้)

3. เงินลงทุนจากนักลงทุนท้องถิ่น


แผนการพัฒนาและขยายเมืองสู่เมืองใหม่


เนื่องจากปัจจุบันตัวเมืองหลวงพระบางมีความแออัด ไม่สามารถขยายตัวได้ ทางการ

จึงมีแผนที่จะพัฒนาและขยายเมือง ดังนี้


• แผนการขยายเมือง วางแผนจะให้มีการขยายเมืองออกไปทางเมืองจอมเพชร

(เล่ากันว่าเดิมเคยเป็นดินแดนของไทย) ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงตรงกันข้าม

กับเมืองหลวงพระบาง การขยายออกไปที่เมืองจอมเพชร จะเริ่มจากการสร้างสะพาน

ข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมระหว่างเมืองหลวงพระบางกับเมือง จอมเพชร เพื่อให้การคมนาคม

ไปมาสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถมาเที่ยวเมืองหลวงพระบางและกลับไปโรงแรมที่

พักในเมือง จอมเพชรได้ ขณะนี้แขวงหลวงพระบางได้ให้บริษัทกวงสีจะมาศึกษาและ

ออกแบบ


• แขวงหลวงพระบางมีแผนจะตัดถนนจากแขวงหลวงพระบาง ผ่านแขวงไชยบุรี

ไปยังจังหวัดน่านและจังหวัดเลย เพื่อเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและเพื่อการท่องเที่ยว


• โครงการพัฒนาปรับปรุงสนามบินหลวงพระบาง เนื่องจากสนามบินหลวงพระ

บางมีขนาดเล็ก รองรับเครื่องบินขนาดเล็กได้เพียง 2-3 ลำ ปัจจุบันเครื่องบินขนาด

ใหญ่ เช่นเครื่องบินแอร์บัสหรือโบอิ้ง 747 ไม่สามารถบินตรงมาหลวงพระบางได้ นัก

ท่องเที่ยวจะต้องบินไปลงเวียงจันทน์ แล้วต่อเครื่องบินเล็กมาหลวงพระบางได้ คาด

ว่าเมื่อขยายสนามบินแล้วจะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มจาก 4-500,000 คน

เป็น 1,000,000 คน


ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปและการค้าของแขวงหลวงพระบาง (ปี

2553 – 2563)


เป้าหมายยุทธศาสตร์รวม



1. ลดการส่งออกวัตถุดิบในปี 2563

2. ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่มีศักยภาพ

3. ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่มีตลาด

4. ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่ผู้ลงทุนมีตลาดแล้ว

5. ส่งเสริมการผลิตสินค้าส่งออก ภายใต้ระบบการให้สิทธิพิเศษ

6. ส่งเสริมการผลิตสินค้าออก


เป้าหมาย


1. สร้างเงื่อนไขให้แขวงหลวงพระบาง เป็นแขวงน่าลงทุน

2. ทำให้อุตสาหกรรมแปรรูปขยายตัวในอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 12 ต่อปี และมีมูลค่า

ใน GDP 23% ในปี 2558 และ 25% ในปี 2563

3. ทำให้มูลค่าขายส่งและขายปลีก (มูลค่าเพิ่ม) ใน GDP รวม 11% ในปี 2558

และ 12% ในปี 2563

4. ทำให้การขาดดุลการค้าต่างประเทศหมดไป ในปี 2563

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:15:29 ]
ความเห็นที่ 14

L 9

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:16:24 ]
ความเห็นที่ 15

L 10

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:17:17 ]
ความเห็นที่ 16

สรุปภาพรวมของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแขวงหลวงพระบาง


แขวงหลวงพระบางยังคงให้ความสำคัญด้านการท่องเที่ยว และกำหนดให้แขวงหลวง

พระบางเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุข ของภาคเหนือซึ่ง

ประกอบด้วยแขวงต่าง ๆ 6 – 7 แขวง รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน

อุตสาหกรรมที่ สปป.ลาว มีศักยภาพ ได้แก่ ด้านพลังงาน และเหมืองแร่


กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค


ตลาดที่เป็นแหล่งจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในหลวงพระบางที่สำคัญมี 5

ตลาด คือ ตลาดโพสี ตลาดนาเวียงคำ ตลาดดารา ตลาดม้ง และ ตลาดจีน


ตลาดโพสี


ตั้งอยู่บนถนนเจ้าสมพู เป็นตลาดที่รัฐให้สัมปทานแก่เอกชน คือ แขวงหลวงพระบาง

เป็นเจ้าของที่ดิน และให้สัมปทานเอกชนก่อสร้างตลาด โดยท้าว ไชยะสิง มีชื่อเล่น

ว่า "แดง" ซึ่งเป็นคนลาว ได้สัมปทานจากแขวงหลวงพระบางเป็นเวลา 40 ปี (เมื่อ

ครบอายุสัมปทานสามารถเจรจาขอต่ออายุสัมปทานได้) ตลาดโพสีเป็นตลาดขนาด

ใหญ่ ประกอบด้วยอาคารถาวร หลายหลังติดต่อกัน ลักษณะอาคารมีเอกลักษณ์คือ

ทุกหลังมีหลังคามุงด้วยกระเบื้องสีแดง เหมือนกัน


สินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดโพสี ได้แก่


• สินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนใหญ่ร้อยละ 95 เป็นสินค้าจากประเทศไทย มีสินค้า

จากจีนและเวียดนามบ้างโดยแฝงมาในลักษณะสินค้าของประเทศตนเอง และสินค้า

ลอกเลียนแบบ สินค้าที่ผลิตมาจากประเทศไทยเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุด

เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง มาตรฐานสูง ขณะเดียวกันราคาก็สูงด้วย


• สินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง สินค้ากลุ่มนี้ ได้แก่สบู่ แป้งทาหน้า ครีมบำรุงผิว ครีม

กันแดด น้ำยาดัดผม ย้อมผม เป็นต้น


เครื่อง สำอางก็เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ คือตลาดให้ความนิยมเครื่องสำอางจาก

ประเทศไทย จัดให้เป็นสินค้าอันดับต้น ๆ ว่ามีคุณภาพสูง สินค้าเหล่านี้ได้รับความ

นิยม จากอิทธิพลของสื่อโฆษณาทางทีวี วิทยุ นิตยสารของไทย เนื่องจากผู้บริโภค

ลาว รับชม และฟังทีวีวิทยุไทยเป็นประจำ จะมีการรับรู้ข้อมูลสินค้าจากการโฆษณา

ประชาสัมพันธ์พร้อม ๆ กับคนไทย


จาก การสัมภาษณ์ผู้ขายในตลาดแห่งนี้ทำให้ได้ทราบว่านอกจากเครื่องสำอางทั่ว ๆ

ไปที่บริษัทชั้นนำในเมืองไทยผลิตและส่งไปขายใน สปป.ลาวแล้ว ยังมีเครื่องสำอาง

ประเภทครีมสาหร่าย ครีมน้ำนมข้าว ครีมหน้าเด้ง จากผู้ผลิตรายเล็ก ที่ทำตลาดด้วย

วิธีการนำไปวางตลาดโดยให้ผู้ค้ารายย่อยนำไปเสนอขายให้พ่อค้า บางรายในตลาด

โพสีขาย และได้รับความนิยมสูงทั้ง ๆ ที่มีราคาค่อนข้างสูง (ประมาณ 500 – 850

บาท)


• เครื่องมือก่อสร้างและอุปกรณ์ จักรกลการเกษตร ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากไทย

และจีน


• อาหารแห้ง อาหารสด ผัดสด ผลไม้ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว


• เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า เป็นสินค้าจากไทย และจีน บางร้านจะบอกว่าร้านตนขาย

เฉพาะสินค้าจากไทย เนื่องจากลูกค้าไม่ชอบสินค้าจีน


ตลาดนาเวียงคำ


มีท้าวไชอำพิน เป็นเจ้าของ มีลักษณะเป็นตลาดเอกชน 100% เนื่องจากทั้งที่ดินและ

อาคารสิ่งปลูกสร้างเป็นของเอกชนทั้งหมด ตลาดนี้เป็นตลาดขนาดใหญ่อีกตลาด

หนึ่งของแขวงหลวงพระบาง


สินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดนาเวียงคำ ได้แก่


• สินค้าอุปโภค บริโภค เช่นเครื่องใช้ พลาสติก เครื่องครัว หม้อ เครื่องไฟฟ้า


• รองเท้า ในตลาดนาเวียงคำ มีร้านค้าที่เปิดขายเฉพาะรองเท้า อยู่หลายร้าน แต่

ละร้านจะมีรองเท้าหลากหลายแบบ ทั้งรองเท้าผู้หญิง รองเท้าผู้ชาย รองเท้าเด็ก

รองเท้าใส่เล่น รองเท้าส้นสูง รองเท้าผ้าใบ


• เสื้อผ้า อุปกรณ์กีฬา


ตลาดกลางคืน


เป็นตลาดที่เกิดขึ้นจากประชาชนร่วมกันจัดตั้งขึ้นมาโดยนำสินค้าพื้นเมือง เสื้อผ้า ผ้า

ไหม ผ้าพันคอ กระเป๋าถือ ของที่ระลึก สินค้าที่ทำด้วยมือของประชาชนชนเผ่าต่าง ๆ

ของลาว มาวางขายบนถนนสีสว่างวง ทอดยาวไปจรดถนนสักกะลิน ในช่วงเย็น ๆ

ประมาณ 17.00–22.00 น. ตลาดนี้เป็นการใช้ถนน มาให้พ่อค้าแม่ค้านำสินค้ามาวาง

ขาย เป็นตลาดถนนคนเดินคล้าย ๆ ตลาดไนท์บาซาร์ของเชียงใหม่ ที่นักท่องเที่ยว

ทุกคนที่ไปแขวงหลวงพระบางจะต้องไปเดินจับจ่าย ซื้อของที่ระลึกกลับไปฝากเพื่อน

มิตร ญาติพี่น้องทางบ้าน


ปัจจุบันภาครัฐโดยแผนกอุตสาหกรรมและการค้าได้เข้ามาดูแลจัดระเบียบตลาด

กลางคืนให้มีการดำเนินการอย่างเป็นมีระเบียบเรียบร้อย โดยให้ผู้บริหารของบ้านปาก

คามเป็นผู้ดำเนินการบริหารตลาด จัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าน้ำค่าไฟ และนำ

เงินรายได้เหล่านี้ไปจัดสรรให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ เมือง(เทียบเท่าอำเภอ

ของไทย) และเทศบาลเมือง จำนวนร้านค้ามีประมาณ 700 กว่าร้าน จะมีค่าใช้จ่าย

ได้แก่ค่าพื้นที่ ค่าไฟ ค่าเต็นท์ ตลาดกลางคืนของแขวงหลวงพระบางเป็นตลาดต้น



แบบที่สร้างงานให้กับประชาชน และขณะเดียวกับก็นับเป็นแหล่งท่องเที่ยว ช็อปปิ้ง

ของนักท่องเที่ยว ที่แขวงและเมืองอื่น ๆ อยากจะทำตาม แต่ก็ไม่มีที่ใดทำแล้วประสบ

ความสำเร็จได้เหมือนแขวงหลวงพระบาง


สินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดกลางคืน


ส่วนใหญ่เป็นของที่ระลึก ทำด้วยมือ ที่ผลิตในแขวงหลวงพระบาง นอกจากนี้ก็จะมี

สินค้าที่ทำมาจากที่อื่นได้แก่ สินค้าของที่ระลึกจากเวียดนามปะปนอยู่บ้าง


ตลาดเช้า


เป็นตลาดที่ชาวหลวงพระบางและนักท่องเที่ยวจะออกมาจับจ่ายซื้อหาอาหาร ข้าว

ปลา อาหารของสด เช่นผัก ผลไม้ โดยใช้ถนนเส้นเดียวกับตลาดกลางคืน เป็นตลาด

ที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวหลวงพระบาง


ตลาดจีน


เป็นตลาดสัมปทานเอกชน ที่ดินเป็นของรัฐ รัฐให้สัมปทานแก่อาเปา ในการสร้าง

ตลาดขึ้น เป็นเวลา 30 ปี


สินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดจีน ได้แก่


• สินค้าอุปโภคบริโภค

• เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ผ้าม่าน

• อุปกรณ์ก่อสร้าง สุขภัณฑ์ เครื่องจักรกลการเกษตร

• โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า เอ็มพี3 ปลั๊กไฟ เครื่องขยายเสียง ตู้เย็น


สินค้าอุปโภคบริโภคจะคล้ายกับเวียงจันทน์ คือ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าไทย สถานที่

วางจำหน่ายจะเป็นร้านค้าในตลาดชุมชนซึ่งมีทั้งตลาดเช้าและตลาดเย็น ในส่วนของ

สินค้าอุปโภคบริโภค คนหลวงพระบางให้ความชื่นชอบและเชื่อมั่นในสินค้าจาก

ประเทศไทยเนื่องจากมั่น ใจในคุณภาพ แม้ระดับราคาจะสูงกว่าสินค้าจากประเทศ

อื่น ๆ ก็ตาม


คู่แข่ง เป็นสินค้าจากประเทศจีนและเวียดนาม ซึ่งมีคุณภาพไม่ดี แต่มีราคาถูกกว่า

สภาพการแข่งขันจะมุ่งเลียนแบบทั้งในด้านหีบห่อ การตั้งชื่อ การใช้อักษรไทยใน

สลากสินค้า


ช่องทางในการกระจายสินค้า สำหรับการจัดจำหน่ายสินค้าในแขวงหลวงพระบาง มี

รูปแบบเช่นเดียวกับทางเวียงจันทน์ คือ มีบริษัทที่จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกส่ง

สินค้าให้ นอกจากนี้เป็นกลุ่มพ่อค้าชายแดน และตัวแทนจำหน่ายหรือเอเย่นต์ที่ได้รับ

การแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิต

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:23:40 ]
ความเห็นที่ 17

L 11

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:24:28 ]
ความเห็นที่ 18

L 12

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:25:09 ]
ความเห็นที่ 19

ลักษณะช่องทางการกระจายสินค้าไทยเข้าสู่แขวงหลวงพระบาง สามารถจำแนกออก

ได้ดังนี้



1. สินค้าจากเวียงจันทน์ เนื่องจากเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของประเทศ ในด้าน

เศรษฐกิจเวียงจันทน์ก็เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า สินค้าเกือบทุกชนิดจะมีการนำ

เข้าทางด้านหนองคาย–เวียงจันทน์ จากนั้น สินค้าก็จะกระจายไปสู่แขวงต่าง ๆ ทุก

ภาค รวมทั้งหลวงพระบางด้วย โดยพ่อค้าของหลวงพระบางจะสั่งซื้อสินค้าจากผู้นำ

เข้าที่เวียงจันทน์


2. สินค้าจากจังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน และจังหวัดเลย ที่มีเขตแดนติดต่อกับ

สปป.ลาว สินค้าจากส่วนนี้จะเข้าสู่แขวงหลวงพระบางโดยทางเรือ ขึ้นล่องตามแม่น้ำ

โขง การค้าส่วนนี้เกิดจากการที่พ่อค้าลาวนำสินค้าการเกษตร เครื่องป่าของดง ส่งไป

ขายไทยและขากลับก็จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง และอื่น ๆ ที่

ตลาดต้องการกลับไปขายในลาว


3. บริษัทผู้ผลิตในไทยแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในแขวงหลวงพระบาง ผู้ที่ได้รับ

การแต่งตั้งจะสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต


กลุ่มสินค้าวัสดุ อุปกรณ์ในการก่อสร้าง


แขวงหลวงพระบางเป็นแขวงที่กำลังเติบโต มีแผนการที่จะขยายเมือง ซึ่งปัจจุบัน

แออัดกันอยู่ในบริเวณใจกลางแขวง ให้ออกไปยังเมือง (อำเภอ) รอบนอก และแผนที่

จะขยายสนามบินเพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยว ประกอบกับเศรษฐกิจที่ดี

ขึ้น มีการก่อสร้างบ้านพัก โรงแรมมากขึ้น ทำให้มีความต้องการในวัสดุอุปกรณ์ก่อ

สร้าง


ร้านค้าที่ขายวัสดุก่อสร้างจะตั้งกระจายไปตามถนนสายต่าง ๆ เช่น ร้านนางบุญใส อยู่

ที่ถนนนาเวียงคำ ร้านนางมะนีจัน อยู่ที่ถนนพูว่าวเป็นต้น ทั้งสองร้านเป็นร้านขาย

ปลีก ร้านนางมะนีจัน ก่อตั้งกิจการในปี 2541 ขณะที่ร้านนางบุนใส เพิ่งเริ่มกิจการใน

ปี 2551 ร้านทั้งสองเริ่มจากการเป็นธุรกิจครอบครัว ประเภทเครื่องอุปโภค เช่น เครื่อง

อุปกรณ์ท่อน้ำประปา ไม่มีการจ้างคนงานภายนอก ใช้ตนเองและคนในครอบครัวเป็น

หลัก การเลือกซื้อสินค้าเข้าร้านจะเป็นผู้ไปเลือกซื้อเอง ลูกค้าของร้านจะเป็น

ประชาชนในละแวกใกล้เคียง ถ้าเป็นลูกค้าที่อยู่ไกลออกไปก็จะมีรถมาบรรทุก

ของกลับไปเอง สินค้าในร้านนางบุนใสเป็นสินค้าของลาว 30% และไทย 70% ขณะ

ที่สินค้าในร้านนางมะนีจันเป็นสินค้าในประเทศ 100 % ในการนำเข้าสินค้าจะดำเนิน

การทุก 4 – 5 เดือน การตั้งราคาสินค้าจะตั้งที่ต้นทุน บวกค่าขนส่ง ภาษี กำไร การ

ตั้งราคาจะระวังไม่ให้สูงกว่าสินคู่แข่ง


กลุ่มสินค้าบริการ สุขภาพ


อู่ซ่อมรถ (ในภาษาลาวเรียกร้านซ่อมแปงรถ) ในแขวงหลวงพระบางมีประมาณ 35 -

40 แห่ง แบ่งขนาดด้วยจำนวนช่างหรือพนักงานซ่อมดังนี้


• อู่ขนาดใหญ่ จะมีช่างจำนวน 7- 10 คน

• อู่ขนาดกลาง จะมีช่างจำนวน 4 - 6 คน

• อู่ขนาดเล็ก จะมีช่างจำนวน 2 - 3 คน


ช่างซ่อมรถในแขวงหลวงพระบาง ส่วนใหญ่พัฒนามาจากเป็นเด็กฝึกงานอยู่ในร้าน

ใช้เวลาฝึกงานและเรียนรู้งาน 2-3 ปี แล้วจึงจะเป็นช่างเต็มตัว มีจำนวนน้อยที่จบการ

ศึกษาด้านช่างมาโดยตรง

เงินเดือนช่างซ่อม 700,000-800,000 กีบ (2,800-3,200 บาท)

ลักษณะอู่ซ่อมรถ โดยทั่วไปเป็นห้องแถวนำมาเปิดเป็นอู่ซ่อมรถ ส่วนใหญ่เป็นอู่ขนาด

เล็ก(ประมาณ 30 แห่ง) มีอู่ขนาดใหญ่ ประมาณ 7 – 8 แห่ง อู่ซ่อมรถที่ทันสมัยให้

บริการครบวงจรไม่มีเลย จะมีศูนย์บริการรถบริษัทรถยนต์เพียงแห่งเดียวคือศูนย์

บริการของฮุนได เนื่องจากรถฮุนไดเป็นรถราคาไม่สูง สปป.ลาวไม่มีระบบเงินผ่อน

ต้องซื้อรถเงินสด ทำให้ต้องซื้อรถที่ราคาย่อมเยา รถฮุนไดจึงได้รับความนิยมสูง

สำหรับอู่ซ่อมรถในแขวงหลวงพระบางเป็นอู่ของชาวลาวและชาวเวียดนาม ไม่มีคน

ไทยเปิดอู่ซ่อมรถในแขวงหลวงพระบางเลย


พฤติกรรมการซื้อรถในแขวงหลวงพระบางจะเหมือนกับคนในแขวงอื่น ๆ คือ ร้อยละ

70 - 80 นิยมใช้มือสองนำเข้า ส่วนใหญ่นิยมรถฮุนได เนื่องจากราคาถูกกว่ารถญี่ปุ่น

ถ้าเป็นรถใหม่จะนิยมรถโตโยต้า รถที่ใช้มีทั้งรถเก๋ง รถกระบะ รถตู้


ความต้องการบริการซ่อม ชาวแขวงหลวงพระบางจะใช้บริการอู่ซ่อมรถในกรณีรถเสีย

ถ้าจะใช้บริการในด้านการดูแล บำรุงรักษาเครื่องยนต์ เช่น เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง

ล้างรถ จะนิยมใช้บริการจากปั๊มน้ำมันที่มีประมาณ 4 – 5 แห่ง ตั้งกระจายรอบ ๆ เมือง


อะไหล่ที่ใช้ มีทั้งอะไหล่ใหม่ ของแท้ ของเลียนแบบจากจีน และอะไหล่มือสอง ขึ้น

อยู่กับฐานะการเงินของลูกค้า ในบางครั้งจะมีการนำอะไหล่เก่าที่เสียมาดัดแปลง ด้วย

เหตุผล 2 ข้อ คือ 1.ราคาถูก 2. อะไหล่ใหม่หายาก หรือไม่สามารถหาอะไหล่ใหม่ได้


มีการประกันภัยอุบัติเหตุ มีบริษัทที่ให้บริการประกันภัย หลายบริษัท ส่วนใหญ่เป็น

บริษัทสาขาจากเวียงจันทน์ เช่น บริษัทประกันภัยประเทศลาว บริษัทโตโก

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:30:59 ]
ความเห็นที่ 20

L 13

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:31:55 ]
ความเห็นที่ 21

L 14

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:32:27 ]
ความเห็นที่ 22

สภาพตลาดของธุรกิจการท่องเที่ยวในแขวงหลวงพระบาง


แขวงหลวงพระบางคืออดีตเมืองหลวงเก่าของ สปป.ลาว ที่ยังคงรักษาสภาพแวดล้อม

ทางกายภาพและวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้อย่างเหนียวแน่น จนได้รับการยกย่องเป็น

เมืองมรดกโลก ด้วยเอกลักษณ์ที่สร้างความโดดเด่นในการท่องเที่ยวอย่างมากนี้ ทำ

ให้แขวงหลวงพระบางมีผู้เข้ามาเยี่ยมเยือนมากขึ้นทุกปี สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ

บริเวณหมู่บ้านที่อยู่ในเขตมรดกโลก พระธาตุจอมพูสี หอพิพิทธภัณฑ์พระราชวังเก่า

แขวงหลวงพระบาง วัดวิชุน วัดเชียงทอง วัดแสน ถ้ำติ่ง และน้ำตกตาดกวางสีนอก

จากนี้ยังมีเทศกาลงานประเพณีที่น่าสนใจมากมาย อาทิ งานประเพณีบุญเดือนห้า

และงานประเพณีเดือนสิบสองเป็นต้น


แขวงหลวงพระบาง เป็นเมืองที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากเป็นอันดับสาม รองจากนคร

หลวงเวียงจันทน์และแขวงสะหวันนะเขต โดยในปี 2551 มีจำนวนนักท่องเที่ยว

344,029 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางมา

สปป.ลาว โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.39 ซึ่งถือว่ามีอัตราการขยายตัวสูงกว่า

นครหลวงเวียงจันทน์ แต่น้อยกว่าแขวงจำปาสัก นักท่องเที่ยวที่สนใจมาเที่ยวแขวง

หลวงพระบางนี้ ส่วนใหญ่ต้องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและเชิงธรรมชาติ เพราะ

เป็นเมืองที่มีบรรยากาศดีและน่าอยู่อาศัย จึงเปรียบดังเหมือนเมืองตากอากาศของ

สปป.ลาว นักท่องเที่ยวจึงใช้ระยะเวลาในการท่องเที่ยวและพำนักในแขวงหลวงพระ

บาง นานกว่านครหลวงเวียงจันทน์


บริษัทนำเที่ยว


บริษัทนำเที่ยวในแขวงหลวงพระบางมีทั้งบริษัทสาขาที่มาจากเวียดนามและจีน เพื่อ

รองรับนักท่องเที่ยวของชาติตนโดยเฉพาะ นอกจากนี้บางส่วนก็เป็นสาขาย่อยจาก

นครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งมีการติดต่อเพื่อ สร้างช่องทางจัดจำหน่ายระหว่างกัน รวมถึง

เครือข่ายที่อาจมีในประเทศอื่นๆอีกด้วย โดยจะนำเสนอรูปแบบโปรแกรมทัวร์ที่หลาก

หลายทั้งโปรแกรมที่สามารถเที่ยวได้ หลายวันในแขวงหลวงพระบาง และโปรแกรมที่

เที่ยวต่อไปยังเมืองต่างๆที่สร้างความประทับใจให้กับท่อง เที่ยวอย่างมาก ตัวอย่าง

โปรแกรมเส้นทางการท่องเที่ยว อาทิ การเดินทางโดยรถโค้ชปรับอากาศ

จากกรุงเทพฯ - หนองคาย - เวียงจันทน์ - วังเวียง - หลวงพระบาง - เวียงจันทน์ -

หนองคาย – กรุงเทพฯ ระยะเวลา 6 วัน 5 คืน หรือการเดินทางโดยสายการบินลาว

(QV) เส้นทางหลวงพระบาง-วัดเชียงทอง-วัดวิชุน-บ้านซ่างไห-ล่องเรือแม่น้ำโขง-ถ้ำ

ติ่ง-พระธาตุพูสี-ถนนคนเดิน-พระราชวังหลวง ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน เป็นต้น


ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2547 - ปี 2551 นี้พบว่ามีจำนวนบริษัทนำเที่ยวในแขวง

หลวงพระบางเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 5 แห่ง ในปี 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 21

แห่ง ในปี 2551 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของทั้งประเทศซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มาก

เป็นอันดับสองรองจากนครหลวง เวียงจันทน์ และมีจำนวนสาขาบริษัทนำเที่ยวคิด

เป็นสัดส่วนร้อยละ 34 ของทั้งประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดของประเทศนี้ โดย

บริษัทนำเที่ยวในแขวงหลวงพระบางอาทิ Luang Prabang Travel & Tour, Settha

Travel และ Luang Prabang Travel & Tour เป็นต้น


ธุรกิจโรงแรม


สำหรับสถานพักแรมในแขวงหลวงพระบางนั้น จะเห็นได้ว่าในปี 2551 มีอยู่ 192

แห่ง (ร้อยละ 14 ของประเทศ) อยู่ในอันดับที่ 2 รองจากนครหลวงเวียงจันทน์โดยมี

อัตราหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 14.29 เนื่องจากการที่แขวงหลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก

จึงทำให้สถานพักแรมที่ปลูกสร้างในอาณาบริเวณมรดกโลกจะต้องปฏิบัติตามกฎ

ระเบียบของยูเนสโก ประกอบกับพื้นที่ที่เป็นเขาจึงทำให้ไม่พบเห็นโรงแรมที่เป็น

ลักษณะของอาคาร สูง โรงแรมขนาดใหญ่ที่มีจำนวนห้องพักรองรับกรุ๊ปทัวร์ใหญ่ได้มี

ไม่กี่แห่ง ดังนั้นที่พักในเขตมรดกโลกส่วนใหญ่จึงเป็นสถานพักแรมประเภทเรือนพัก

(Guest house) ซึ่งเป็นบ้านเรือนของคนท้องถิ่นที่ใช้บ้านของตนมาปรับปรุงเป็นเรือน

พักให้ เช่าแก่นักท่องเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เรือนพักก็สามารถรองรับ

กรุ๊ปทัวร์ที่มีขนาดเล็กได้เท่านั้น ดังนั้นกรุ๊ปทัวร์ขนาดใหญ่จึงอาจจำเป็นต้องไปพัก

ห่างไกลออกไปจากเขตมรดกโลก จึงอาจกล่าวได้ว่าสภาพการแข่งขันของเรือนพัก

จะสูงกว่า ส่วนช่องทางจัดจำหน่ายมีลักษณะเดียวกันกับที่นครหลวงเวียงจันทน์


ธุรกิจร้านอาหารและสถานบันเทิง


ธุรกิจร้านอาหารในแขวงหลวงพระบางมีทั้งที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ โขง ซึ่งมีอยู่

หลายร้านให้เลือก พื้นที่เขตแขวงหลวงพระบางยังเป็นพื้นที่การเกษตรแบบธรรมชาติ

ที่ไม่ใช้สาร เคมี หรืออาจใช้น้อย ผักจึงค่อนข้างจะสดและสะอาดปลอดภัย ร้าน

อาหารจึงเน้นความเป็นธรรมชาติเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในบริเวณ

ใกล้เคียงทั้งใหญ่น้อยเป็นจำนวน ค่อนข้างหนาแน่น เพราะแขวงหลวงพระบางมีนโย

บายส่งเสริมการลงทุน นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนแบบ 100 % ได้ทำให้

มีชาวต่างชาติที่ชื่นชอบบรรยากาศของแขวงหลวงพระบาง และมองเห็นโอกาสทาง

การค้าการลงทุนเข้ามาลงทุนทำกิจการร้านอาหารและอีกหลายๆ กิจการ ประกอบกับ

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ โดยในปี 2551 แขวงหลวงพระบางมีจำนวน

ร้านอาหาร 54 แห่ง และมีสถานบันเทิง 2 แห่ง โดยในช่วงปี 2550-2551 นี้ทั้งร้าน

อาหารและสถานบันเทิงมีการเปิดปิดตัวบ้าง โดยเฉพาะร้านอาหารและสถานบันเทิง

ขนาดเล็กอันเนื่องจากผลกระทบจากไทยและ สถานการณ์โลก ที่ส่งผลต่อการท่อง

เที่ยวของแขวงหลวงพระบางอย่างมาก การขยายตัวของร้านอาหารและสถานบันเทิง

จึงอยู่ในสภาวะที่หดตัวอย่างมากถึง ร้อยละ 48.08 และ 71.43 ตามลำดับ อย่างไรก็

ตาม คาดว่าในอนาคตการท่องเที่ยวน่าจะดีขึ้น และจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของร้าน

อาหารและสถานบันเทิง ในส่วนของสถานบันเทิงนั้น เนื่องจากอยู่ในเขตมรดกโลกจึง

ทำให้มีกฎระเบียบที่ค่อนข้างเข้มงวด การแสดงต่าง ๆ ต้องเน้นส่งเสริมวัฒนธรรมลาว

เป็นหลัก ในปี 2552 นี้มีร้านอาหารไทยชื่อเรือนหลวงพระบาง ได้เปิดบริการร้าน

อาหารพร้อมการแสดงที่อลังการเพื่อรองรับการท่องเที่ยวของ แขวงหลวงพระบาง

นอกจากนียังมีร้านอื่น ๆ ที่มีเจ้าของเป็นคนไทย อาทิ Indochina Spirit, Le Café

Ban Vat Sene, L'Elephant , Les 3 Nages และ38 The Pizza Luang Prabang

เป็นต้น


ธุรกิจร้านขายของที่ระลึก


ธุรกิจนี้สามารถพบเห็นได้เป็นจำนวนมากที่สนามบิน และตลาดทั่วไป มีตลาดถนน

คนเดินเหมือนกับที่เชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหัตถกรรมที่มาจากอุตสาหกรรมใน

ครัวเรือน เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม กระดาษสา งานไม้ และงานประดิษฐ์อื่น ๆ ซึ่งมีราคาที่

ถูกกว่านครหลวงเวียงจันทน์อยู่มาก

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:35:55 ]
ความเห็นที่ 23

L 15

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:37:43 ]
ความเห็นที่ 24

L 16

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:38:26 ]
ความเห็นที่ 25

จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ของแขวงหลวงพระบาง

จุดแข็ง



• มีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญและเป็นเมืองมรดก

โลก


• มีพื้นที่เพาะปลูกพืชเกษตรสำคัญ เช่น องุ่น มีการทำไวน์ เนื่องจากสภาพ

อากาศเย็น และมีอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ทางตอนเหนือของไทย


• เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าที่สำคัญในแถบภาคเหนือของประเทศ


• มีเส้นทางที่มีถนนสายหลักตั้งอยู่คือถนนหมายเลข 13 ซึ่งเชื่อมต่อทางตอนใต้

และตอนเหนือของประเทศและเชื่อมกับถนนหมายเลข7 8 และ 9 ทำให้สามารถ

เชื่อมโยงกับประเทศกัมพูชา และเวียดนามได้


• มีระบบการสื่อสารทั้งโทรคมนาคมในประเทศและระหว่างประเทศ สื่อ

โทรทัศน์ รวมถึงระบบอินเตอร์เน็ตที่ดี


• มีศักยภาพด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าสำหรับเพื่อใช้ในแขวงและเพื่อการส่ง

ออก โดยมีเขื่อนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และมีโครงการสร้างอีกหลายเขื่อน

อาทิ เขื่อน Pakbang,Luang Prabang, Sayabur, Paklai และ Chiang Khan เป็น

ต้น


จุดอ่อน


• จำนวนประชากรไม่สูงมาก จึงถือว่าเป็นตลาดที่มีขนาดค่อนข้างเล็กแต่อย่างไร

ก็ตามยังถือว่าประชากรมี อำนาจซื้อสูงกว่าเมืองอื่น ๆ เนื่องจากรายได้ของ

ประชากรอยู่ในระดับที่สูงเป็นอันดับสองรองจากนครหลวง เวียงจันทน์


• ไม่มีด่านทางการค้ากับเขตแดนไทย


• การคมนาคมขนส่งทางบกระหว่างเมืองต่าง ๆ ยังไม่สะดวกมากนัก


• ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอาทิไฟฟ้า ประปายังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่


• แม้จะมีสนามบินนานาชาติ แต่ก็มีเส้นทางบินระหว่างประเทศไม่มากนัก โดย

หลักจะมาจากกรุงเทพฯ อุดรธานี และเชียงใหม่ และมีการเพิ่มเที่ยวบินจากฮานอย

และเสียมราฐ ปัจจุบันสามารถรองรับเครื่องบินที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 50-70 ที่นั่งเท่า

นั้น แต่มีโครงการขยายสนามบินเพื่อรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น โบอิ้ง 747 หรือ

แอร์บัส 330


โอกาส


• มีความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวกับไทย โดยการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิง

วัฒนธรรมกับสุโขทัยตามโครงการ “Heritage Necklace of Asia” หรือ “โครงการ

พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสังวาลมรดกแห่งเอเชีย” ภายใต้กรอบความร่วมมือทาง

เศรษฐกิจ ACMECS ในลักษณะเชื่อมโยงเป็นอนุภูมิภาค ประกอบด้วยเมืองพุกาม

(พม่า) หลวงพระบาง (ลาว) นครวัด (กัมพูชา) เมืองโบราณเว้ (เวียดนาม) และ

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และศรีสัชนาลัย (ไทย)


• มีแผนโครงการขยายเมือง และเพิ่มเส้นทางการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว

อาทิการขยายเมืองออกไปทางเมืองจอมเพชร แผนการตัดถนนจากแขวงหลวงพระ

บาง ผ่านแขวง ไชยะบุรี ไปยังจังหวัดน่านและจังหวัดเลย และปรับปรุงสนามบิน

หลวง พระบาง ให้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ เป็นต้น


• คู่แข่งทางการค้าจากประเทศอื่น ๆ ยังมีอยู่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จากประเทศจีน


• สามารถรับสัญญาณทีวีจากไทยได้ ทำให้การรับข้อมูลข่าวสารและประชา

สัมพันธ์สินค้าไทยได้เป็นอย่างดี


อุปสรรค


• ต้นทุนการขนส่งสูงเนื่องจากอยู่ ห่างจากด่านศุลกากรไทย


• อยู่ไม่ไกลจากประเทศจีนมากนัก ดังนั้น จึงมีการไหลทะลักเข้ามาของสินค้า

จีนเป็นจำนวนมาก

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:42:01 ]
ความเห็นที่ 26

L 17

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:43:12 ]
ความเห็นที่ 27

L 18

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:44:16 ]
ความเห็นที่ 28

ข้อมูลจาก : http://122.155.9.68/talad/index.php/laos

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:45:08 ]
ความเห็นที่ 29

L 19

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:46:30 ]
ความเห็นที่ 30

L 20

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:48:20 ]
ความเห็นที่ 31

L 21

จากคุณ : ลุงแอ็ด [11 ธ.ค. 55 14:50:28 ]
ความเห็นที่ 32

รู้อย่างเดียว สาวลาวหน้ารักมากๆ ครับ  ดูธรรมชาติดี

จากคุณ : ดกปอ (Maekhong1) [11 ธ.ค. 55 21:15:15 ]
ความเห็นที่ 33

You are beautiful., I like this country very much.

จากคุณ : แลงดอน [12 ธ.ค. 55 00:44:33 ]