"อภิสิทธิ์" คิดให้ "เพื่อไทย" ทำ ก้าวข้าม "ทักษิณ" ปลดหนี้คลัง หยุดแก้รัฐธรรมนูญ...มติชนออนไลน์

 

จาก ประชาชาติธุรกิจ


ย่างก้าวเข้าสู่ปีที่ 2 ของรัฐนาวาภายใต้กำกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปี 2556
ยังคงมีบททดสอบรอคอยผู้นำให้แก้ปัญหาอีกหลายประเด็นทั้งการเมืองเรื่องเดิม
จากศึกแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายปรองดอง ที่ยังคงถูกตีความเพื่อช่วยเหลือ
พวกพ้องทั้งการไขปัญหาภาพรวมทางเศรษฐกิจ ที่ยังคงได้รับผลกระทบจาก
ภายนอก และปัญหาภายในจากนโยบายรัฐบาล

ในสายตา "ยิ่งลักษณ์" อาจย้อนภาพ 1 ปีเป็นความสำเร็จ แต่ฝ่ายค้าน - คู่ตรงข้าม
อาจมีความเห็นที่ต่างออกไป

ประชาชาติธุรกิจ สนทนากับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ประเมินผลสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง ที่ประเทศและสิ่งที่
"รัฐบาลยิ่งลักษณ์" จะต้องเผชิญในปีหน้า

- ประเมินสถานการณ์ประเทศที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าอย่างไร

ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนยังอยู่ในภาวะห่วงใยประเทศ เห็นได้จากผลสำรวจความคิด
เห็นประชาชนว่า ยังมีความกังวลเรื่องความขัดแย้ง และปรารถนาที่จะเห็นบ้านเมือง
เดินไปข้างหน้า

ส่วนเรื่องเศรษฐกิจ ปัจจัยภายนอกยังไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ
และไม่ส่งผลให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีมากนัก หลายภูมิภาคในโลกยังมีปัญหาอยู่
ขณะเดียวกันในเรื่องของปากท้อง สินค้ายังมีราคาแพงทั้งอาหาร พลังงาน
ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่จะเข้ามามีผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนำข้าว
หรือความเสี่ยงที่เกิดจากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศแน่นอนว่าไม่ได้มี
มาตรการที่จะช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กมีความพร้อมเพียงพอ ฉะนั้นคนไทยจำนวน
มากจึงอยากเห็นรัฐบาลและภาคการเมืองเอาจริงจังกับปัญหาเหล่านี้

- หลายคนออกมาวิเคราะห์ว่า ปีหน้าจะเริ่มเผาจริงทั้งเศรษฐกิจ-การเมือง

ปัญหามันสะสม และรุนแรงขึ้น หากรัฐบาลไม่ทบทวนท่าที ความเสียหายจะ
ยิ่งรุนแรงขึ้น ของขวัญปีใหม่ชิ้นแรกที่รัฐบาลมอบให้ประชาชนคือการขึ้นราคา
ก๊าซหุงต้ม ซึ่งผมเรียกร้องให้ทบทวนตรงนี้

- ของขวัญที่ดีที่สุดที่รัฐบาลควรมอบให้ประชาชนคืออะไร

ปลดเงื่อนไขความขัดแย้งทั้งหมด ก้าวข้ามคุณทักษิณ (ชินวัตร) มองผ่านเรื่อง
รัฐธรรมนูญ กฎหมายปรองดอง เดินหน้าแก้ปัญหาให้กับประชาชน ส่วนเรื่อง
ความขัดแย้งที่เกิดจากเหตุการณ์ในอดีตก็ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมหาคำตอบ
ให้กับสังคม นี่คือสิ่งที่ดีที่สุด

- คาดหวังจะเห็นรัฐบาลบริหารประเทศในเชิงนโยบายอย่างไร

ผมว่า 1 ปีที่กำลังจะมาถึงไม่มีอะไรแตกต่างจาก 1 ปีที่ผ่านมา ปัญหาที่บอก
กล่าวไปแล้วยังถูกละเลย รัฐบาลยังคงนิ่งและเลือกที่จะสร้างประเด็นความ
ขัดแย้งใหม่ ๆ ตลอดเวลา รวมไปถึงปัญหาการทุจริตที่จะเกิดอีกมหาศาลจาก
การกู้เงินเพิ่มของรัฐบาล ตาม พ.ร.บ.ที่จะต้องทำให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน

ในช่วง 1 ปีเศษที่ผ่านมาแม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายค้าน แต่ต้องไม่ลืมว่าเราเป็นฝ่าย
ค้านที่ยกมือสนับสนุนกฎหมาย ข้อตกลงระหว่างประเทศให้กับรัฐบาลมากที่สุด
และสิ่งที่ผมคาดหวังคือการเรียกร้องให้

ผู้มีอำนาจลงมาแก้ปัญหาดังที่กล่าวไปแล้วอย่างจริงจัง ดังนั้นถามว่าอยากเห็น
สิ่งใหม่ ๆ ในปีใหม่นี้ รัฐบาลก็ต้องทบทวนท่าที เพราะถ้าไม่ทำอะไรก็เสมือนเรา
ย่ำอยู่กับที่ ยิ่งไปกว่านั้นจะกลายเป็นถดถอยมากขึ้นจนเกิดความรุนแรง

- มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤตในประเทศอีกรอบ

ในทางเศรษฐกิจ สภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในปีหน้าอาจไม่ถึงขั้นรุนแรงเทียบ
เคียงกับปีก่อน ๆ แต่เป็นการสะสมความเสียหายที่อาจจะต้องใช้เวลา อย่างไร
ก็ตามไม่ควรประมาท อยากให้รัฐบาลตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ผมยกตัวอย่างความ
เสียหายที่จะเกิดขึ้นในแง่การเงินการคลัง เช่น โครงการรับจำนำข้าวเสียหายปี
ละ 200,000 ล้านบาท ทำ 2 ปีก็เสียหาย 400,000 ล้านบาท ถ้าเดินต่อไปทุก
ปีอีกไม่นานหนี้สาธารณะก็จะทะลุเพดาน 60% แต่ถามว่าปีหน้าจะรุนแรงขนาด
นี้หรือไม่ มันก็ไม่ขนาดนั้น แต่ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่รัฐจะไม่ทบทวนเรื่องดังกล่าว
โดยเฉพาะการกู้เงินนอกงบประมาณที่จะทำอยู่แล้ว 350,000 ล้านบาท และมี
ข่าวว่าจะเอาอีก 2 ล้านล้านบาท

ปีหน้าอาจจะยังไม่มีปัญหาอะไรที่เห็นชัด นอกเสียจากเขามีความตั้งใจที่จะทำ
ให้เกิดปัญหาในสถานการณ์คลังของประเทศ

จะไปบอกว่าไม่มีปัญหาเลยก็ไม่ได้ เพราะผมเคยได้ยินรองนายกรัฐมนตรีด้าน
เศรษฐกิจบอกว่า ประเทศยังเหลือช่องทางให้กู้เงินได้อีก 2 ล้านล้านบาท
ก็จะกู้เลย ทำเลย ถ้ามีความคิดอย่างนี้ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดวิกฤตประเทศ
เร็วขึ้น

- รัฐบาลควรเก็บความคิดที่จะกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทออกไปก่อน

ผมยังไม่เห็นเหตุผลเพียงพอที่จะต้องใช้วิธีการอย่างนี้ ความจริงรัฐบาลยังไม่
เคยแสดงให้เห็นเลยว่าต้องการจะแก้ปัญหาในเรื่องงบประมาณด้วยความโปร่งใส
เพราะเรายังไม่เห็นแผนการลงทุนที่ใช้แหล่งเงินทุนอย่างหลากหลายหรือรูปแบบ
วิธีการลงทุนที่หลากหลาย เช่น การดึงภาคเอกชนมาร่วมลงทุน

ในทางกลับกันรัฐบาลมุ่งหน้าจะกู้เงินด้วยการออกกฎหมายพิเศษ และเขาก็
ประกาศชัดว่า เมื่อมีเงินกู้แบบพิเศษ ก็จะใช้วิธีการจัดซื้อจ้างแบบพิเศษ แน่นอน
ว่ายิ่งกู้มากขึ้น ก็จะทำให้เกิดปัญหาการรั่วไหลที่มากขึ้นตามไปด้วย

- 1 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลมีแผนจะกู้เงินนอกงบประมาณจำนวนมาก ควบคู่กับการ
ออกมาตรการภาษีลดรายได้ของตนเอง สุดท้ายจะกระทบสถานะทางการเงิน
การคลังของประเทศหรือไม่

ทุกคนวิเคราะห์ตรงกันว่า หากจะเดินนโยบายแบบที่เป็นอยู่ต่อไป ก็จะมีปัญหา
การขาดดุลการคลังมากขึ้น ฐานะของประเทศจะอ่อนแอลง การส่งออกข้าววันนี้
ไม่ใช่แค่ปริมาณลดลง แต่ตัวเงินที่เข้ามาก็หายไปเยอะ เมื่อรวมกับนโยบายที่มุ่ง
แต่จะหาเสียง การเข้าไปยุ่งวุ่นวายในโครงการที่ตนเองมีดุลพินิจจะบริหารเองจน
เกิดความรั่วไหล สุดท้ายเศรษฐกิจและสังคมจะอ่อนแอลงทั้งหมด

- มีข้อเสนอที่จะปลดล็อกปัญหาเหล่านี้อย่างไร

นโยบายจำนำข้าวมาถึงวันนี้ก็ต้องทบทวนได้แล้ว ความจริงมีวิธีช่วยชาวนาให้ได้
เท่าเดิม แต่ใช้เงินน้อยกว่า แต่มันขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะทำหรือไม่ ผมไม่ทราบ
เหตุผลด้วยซ้ำว่าทำไมถึงไม่ทำ ในเมื่อวันนี้เงินครึ่งหนึ่งไปไม่ถึงชาวนา ส่วนแผน
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระยะยาว หากรัฐบาลเน้นเรื่องความโปร่งใส ความ
มีส่วนร่วม มากกว่าการประมูลงานใหญ่ด้วยวิธีพิเศษผมว่ามันก็ช่วยได้เยอะ

- เมื่อปี 2556 สถานะการเงินการคลังจะเริ่มมีปัญหา ขณะที่รัฐบาลเล็งใช้เงิน
นอกงบประมาณเพิ่มขึ้น ผลที่เลวร้ายที่สุดของเรื่องนี้เป็นอย่างไร

เขาจะนำประเทศไปใกล้ความเสี่ยง การเสียวินัยการเงินการคลังเมื่อถึงจุดหนึ่งจะ
กระทบความเชื่อถือความเชื่อมั่น เมื่อถึงตรงนั้นก็เกิดวิกฤตการเงิน วิกฤตเศรษฐกิจ
แต่ตอบยากว่าจะถึงจุดนั้นเมื่อไร ส่วนหนึ่งต้องวิเคราะห์ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจาก
ตลาดว่ายังให้ความเชื่อถืออยู่หรือไม่ เพียงแต่ผมว่ารัฐบาลควรนำบทเรียนที่เกิดขึ้น
ในอดีตมาศึกษาว่า การคิดแต่ใช้เงินโดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพ ไม่คำนึงถึงการ
รั่วไหล สุดท้ายมันไม่มีทางทำให้ประเทศเจริญได้อย่างยั่งยืน และมันนำพาประเทศ
ไปสู่วิกฤตทุกกรณีในประวัติศาสตร์

- หากเสนอว่าไม่ควรใช้เงินตาม พ.ร.บ.เงินกู้ แนวทางที่รัฐบาลควรจะทำเป็นอย่างไร

รัฐบาลก็มีทางเลือก หนึ่งคือไม่กู้ ผมคิดว่าถึงวันนี้แล้ว สิ่งที่อ้างว่ามีความจำเป็น
เร่งด่วน ต้องรีบใช้เงิน มันก็ไม่จริง เพราะผ่านไปเกือบปียังไม่ได้ทำอะไรเลย ก็กลับ
มาทำแผนให้มันโปร่งใส หาเงินตามช่องทางปกติ สองผมเดาว่ารัฐบาลจะกู้มาเก็บ
ไว้ก่อน แต่ถ้ายังอยากใช้วิธีพิเศษในการประมูล ผลที่ตามมาก็คือประชาชนทั้ง
ประเทศต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยอย่างไม่จำเป็น

- ตามกฎหมาย พ.ร.บ.เงินกู้ จะสิ้นสุดระยะเวลากู้เงินในเดือนมิถุนายนปี 2556
ตามกฏหมายขยายเวลาการใช้ได้หรือไม่

ก็น่าคิดนะครับว่า คำอธิบายที่ตอบโต้กันมาตลอด ที่ใช้อ้างในศาลรัฐธรรมนูญว่า มี
ความจำเป็นเร่งด่วน ต้องทำงานในเวลาที่กำหนด สุดท้ายหากมีการต่อเวลาในกฎหมาย
นี้ออกไป มันก็ขัดแย้งกันเอง มันก็เท่ากับว่าเขายอมรับแล้วว่า ที่เคยพูดกับศาล
ไว้มันไม่เป็นความจริง แต่ผมไม่ทราบนะครับว่ามันจะนำประเทศไปเจออะไรบ้าง

- การที่รัฐบาลสั่งให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ตรวจสอบทรัพย์สินของตนเอง
เป็นสัญญาณบอกอะไร

ผมคิดว่าขณะนี้รัฐบาลคงเริ่มเห็นปัญหาว่า นโยบายของตนเองกำลังสร้างภาระที่
ใหญ่หลวงให้ประเทศ ดังนั้นต้องทำทุกช่องทางที่จะลดการใช้จ่ายเงิน เปิดทาง
ให้หน่วยงานรัฐหาเงินเพิ่ม ตอนนี้ในต่างจังหวัดเริ่มกังวลว่า เริ่มมีกระบวนการตรวจ
สอบข้อมูลเสมือนจะขึ้นค่าธรรมเนียม

ต่าง ๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว

- กระทรวงการคลัง และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะก็ออกมายอมรับว่า หาก
รัฐบาลเดินหน้านโยบายค้ำประกันสินค้าเกษตรทุกตัว อนาคตเครดิตในการค้ำ
ประกันของกระทรวงการคลังจะเป็นอย่างไร

มันกระทบแน่นอน เราถึงได้เรียกร้องให้รัฐทบทวนตลอดเวลา แต่กลับมีความพยายาม
ที่จะสร้างปัญหามากขึ้น เท่าที่คิดได้ตอนนี้คือการผลักภาระให้ประชาชนรับผิดชอบ
เช่น การขึ้นราคาแก๊สหุงต้ม สุดท้ายจะทำคูปองช่วยเหลือก็มีการรั่วไหลและเลือกปฏิบัติ
ตามมา เป็นการซ้ำเติมปัญหาให้ใหญ่ขึ้นไปอีก

- ปัญหาเศรษฐกิจติดกับดัก ภาคการเมืองและรัฐบาลจะแก้อย่างไร

ท่านนายกฯ ต้องเลือกว่าจะเข้าไปแก้ปัญหาประชาชน หรือจะปล่อยให้ภาคการเมือง
ถกเถียงกันบางเรื่องเพื่อใครคนหนึ่ง เช่น กฎหมายล้างผิดกับแก้ไขรัฐธรรมนูญ มัน
เป็นปมความขัดแย้งอยู่แล้ว สิ่งที่พวกผมเรียกร้องง่าย ๆ เลยว่า สิ่งที่เขากำลังจะทำ
ต้องไม่ได้ช่วยเหลือบุคคลหรือพวกพ้อง ล้มล้างคำพิพากษา ล้มคดีความ คิดได้แค่
นี้ก็ปลดเงื่อนไขความขัดแย้งได้เกือบทั้งหมด

ผมเชื่อว่าหากรัฐบาลยังคิดที่จะเดินหน้าแบบนี้ ความขัดแย้งจะขยายวง

ซึ่งผมไม่อยากให้เกิด ฉะนั้นควรจะหยุดยั้งเสีย เพราะที่ทำทั้งหมดก็ตอบใครไม่ได้
ว่ามีประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร

- ในฐานะฝ่ายค้านจะสกัดความรุนแรงนี้อย่างไร

เราพยายามที่จะเสนอทางออกตลอด แต่ถ้ามันเป็นเป้าหมายของรัฐบาลที่จะทำใน
สิ่งที่ทำลายระบบ และมีคนจำนวนมากเขารับไม่ได้ มันก็เป็นเรื่องยากที่ภาวะเผชิญ
หน้าจะไม่เกิดขึ้น เพียงแต่ละวางประโยชน์ของคนบางคนได้ทุกอย่างก็จบแล้ว

- หากการเมืองถูกผลักออกสู่ถนน จุดยืนของประชาธิปัตย์จะอยู่ตรงไหน

เราก็สนับสนุนการใช้สิทธิตามกรอบของกฎหมาย ผมย้ำแล้วว่าประเด็นการต่อต้าน
ความไม่ถูกต้องนี้ ตัวผู้นำคือความคิดของประชาชน มันเลยจุดที่จะบอกว่า มีฝ่ายที่
จ้องจะคัดค้านพวกเขา ต้องมีผู้นำ ต้องมีองค์กร มันพ้นเรื่องพวกนี้มาหมดแล้ว ทุก
อย่างมันเกิดขึ้นโดยที่ไม่ต้องมีบุคคลหรือองค์กรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเหมือนใน
อดีต เพราะนี่คือการรวมกลุ่มกันเพื่อสนับสนุนทางความคิด แต่ฝ่ายรัฐบาล

ต่างหากที่ยังยึดติดที่ตัวบุคคล

- รัฐบาลควรยุติปัญหาเหล่านี้อย่างไร

สิ่งที่ทำง่ายที่สุด คือ เอาเรื่องรัฐธรรมนูญและกฎหมายปรองดองออกจากวาระ
การเมือง ในแง่รัฐธรรมนูญก็เห็นว่ามีประเด็นแล้วที่ต้องแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตย
โดยไม่มีอะไรแอบแฝง ผมเชื่อว่าทุกพรรคพร้อมคุย ส่วนกระบวนการยุติธรรมก็ยัง
เดินหน้าอยู่ แม้ตอนตั้งต้นจะถูกแทรกแซงจนบิดเบี้ยว แต่พวกผมก็ให้ความร่วม
มือกับกระบวนการ เพื่อหาคำตอบให้กับทุกฝ่าย

- หมายความว่า ท่านกับคุณสุเทพ (เทือกสุบรรณ) จะเจอปัญหาหนักในปี 2556

ผมตอบไม่ได้หรอกครับ แต่เขาตั้งธงไว้อีกหลายคดี พวกเราก็พร้อมที่จะต่อสู้ตาม
กระบวนการกฎหมาย เพราะเชื่อว่าความจริงชนะทุกสิ่ง ส่วนเรื่องอื่น ๆ ก็ชินแล้วครับ
บริหารเวลาได้ ดังนั้นต้องเดินหน้าทำงานเต็มที่ ไม่หวั่นไหว มีเสียเวลาบ้าง มี
รำคาญบ้าง แต่ผมก็ทำเต็มที่

- 1 ปีที่ผ่านมาพอใจในการทำงานหน้าที่ฝ่ายค้านมากน้อยแค่ไหน

พอใจในระดับหนึ่ง เราสามารถเปิดโปงความจริงหลายอย่าง หยุดยั้งกฎหมายที่ทำ
ความเสียหายให้กับประเทศชาติได้ แต่ผลกระทบที่ตามมาก็ยังมี เราพยายามที่จะ
คิดวิธีเพิ่มความเข้มแข็งในการทำงาน และสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ การทำหน้า
ที่ฝ่ายค้านไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประชาชนจะมองว่าเป็นคู่ขัดแย้งเสมอ แต่ก็ต้องทำ
เพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้น

- สุดท้ายการทำหน้าที่ฝ่ายค้าน มันคุ้มค่ากับสิ่งที่ประชาชนมองว่าเป็นคู่ขัดแย้ง
กับรัฐบาลหรือไม่

ผมไม่ได้มองความคุ้มค่ามากเท่ากับสิ่งที่ผมได้ทำ หากกฎหมายล้างผิดหรือ
รัฐธรรมนูญผ่านไปได้วันนั้น บ้านเมืองคงเสียหายมากกว่า เราไม่อยากให้มัน
เกิดขึ้นอีก เราอยากให้ทุกฝ่ายหาทางออก โดยไม่มีการเผชิญหน้า และไม่นำ
ไปสู่ความเสียหายกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356861441&grpid=01&catid=&subcatid=

เก็บตกมาให้เพื่อนๆ อ่านกันทั้งคนชอบ และ ไม่ชอบ คุณอภิสิทธิ์
ไม่ทราบว่าจะมี เพื่อนคนไหนมาวิจารณ์  ทั้งสนับสนุน และคัดค้าน
บทสัมภาษณ์นี้  .......

อยากเห็นการวิจารณ์ที่สร้างสรรค์  ค่ะ  ....

จากคุณ : sao..เหลือ..noi [วันสิ้นปี 55 17:45:01 ]A:61.90.27.88 X:
ความเห็นที่ 1

ไอ้เวร..ไอ้คนหนีทหาร

เอาตัวเองให้รอดก่อนเหอะ

จากคุณ : ซอนฮวก [วันสิ้นปี 55 18:13:18 ]A:110.49.242.195 X:
ความเห็นที่ 2

เห่าหอนไปวัีนๆหน้าด้านสุดๆ โดนคดีหนีทหาร สั่งฆ่าปชช แล้วยังลอยหน้าด่ารัฐบาลที่มาอย่างถูกต้องไปวันๆได้อีก หวังว่าจะให้กลบข่าวเลวของตัวเองแค่นั้น

จากคุณ : แคนู [วันสิ้นปี 55 18:30:14 ]A:171.99.214.24 X:
ความเห็นที่ 3

เป็นบทสัมภาษณ์ที่บ้องตื้นจากนักข่าวเพื่อสร้างราคาให้มาร์คแหล
ถ้าแน่จริงทำไมไม่สัมภาษณ์คดีของมาร์คเรื่อง99ศพมีความคิดยังงัย

นี่อะไรหยิบเอาเรื่องเศรษฐกิจต้องการเจาะปากให้มาร์คพูดหวังดูดี
เรื่องเศรษฐกิจชาวบ้านเขามีข้อมูลในสมองแล้วมาร์คไม่ต้องอวดเว่อ

ว่าแต่ปีต่อไปนี้มาร์คจะเป็นหัวหน้าพรรคแมงสาบได้ตลอดปีไหม
หรือว่าจะถูกเฉ่งออกไปซะก่อนล่ะ...........

จากคุณ : นักรบกะปอมก่า [วันสิ้นปี 55 18:33:38 ]A:101.109.214.163 X:
ความเห็นที่ 4

ไอ้ที่ว่ามานั่นมาร์คเคยทํามาก่อนทั้งนั้นแต่ทีคนอื่นจะทําบ้างดันมาห้ามซะงั้น  ไม่ว่าจะกู้เงินมาใช้และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
พอกลับมาเป็นฝ่ายค้านทํามาเป็นรู้ดี อีกแล้ว   บริหารไม่เอาอ่าว

จากคุณ : PredatorNeverdie [วันสิ้นปี 55 19:16:55 ]A:113.53.122.51 X:
ความเห็นที่ 5

ดีแต่พูด   มันเหมาะสมจริงจริ๊งงงงงง

จากคุณ : ตึกหนึ่ง [วันสิ้นปี 55 19:22:39 ]A:110.171.114.148 X:
ความเห็นที่ 6

มาขำครับ

จากคุณ : CAN LIVE WITHOUT YOU [วันสิ้นปี 55 20:28:27 ]A:171.97.4.217 X:
ความเห็นที่ 7

ฉายา ดีแตพูด ไม่ได้ได้มาเพราะโชคช่วย

จากคุณ : เจ๊วรรณา [วันสิ้นปี 55 21:55:37 ]A:58.64.55.97 X:
ความเห็นที่ 8

ตัวพวกมันเองยังก้าวข้ามไม่พ้นเลย

จากคุณ : Captain_A [1 ม.ค. 56 07:41:18 ]A:223.207.135.131 X: