คุณๆในห้องนี้เห็นด้วยหรือไม่กับการปรับค่าแรงขั้นต่ำ300บาทตั้งแต่เดือน ม.ค.นี้

คือเห็นเค้าถกเถียงกันในหลายๆเวที หลายๆวงสนทนามาแล้ว

สรุปออกมาได้อย่างง่ายๆเลยก็คือ

คนที่ไม่เห็นด้วย : ส่วนใหญ่เป็นพวกเจ้าของกิจการ, พวกคนที่มีรายได้เกิน 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว
คนที่เห็นด้วย : ส่วนใหญ่ก็คือคนที่ยังได้ไม่ถึง 300 บาทต่อวัน

ส่วนในห้องสีลมนี้ คิดว่าเกินกว่า 95% ก็คงมีรายได้เกิน 300 บาทต่อวันอยู่แล้ว
ก็เลยอยากทราบว่า คนในห้องนี้ส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยครับ? และเพราะอะไรถึงคิดแบบนั้น?

โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าคิดในแง่มนุษยธรรม การที่เราได้เกิน 300 บาทต่อวันอยู่แล้วแต่ไม่อยากให้คนส่วนใหญ่เค้าได้เกินเหมือนกับเรา
ผมว่ามันก็ดูเห็นแก่ตัวไปหน่อย ถ้ากลัวว่าจะทำให้ข้าวของแพงขึ้น แล้วตัวเองจะเดือดร้อนล่ะก็ น่าจะลองคิดกลับกันดูบ้างว่า
ขนาดรายได้แบบเรายังคิดว่าจะลำบาก แล้วคนที่เค้ามีรายได้สองร้อยกว่าบาทต่อวัน แถมวันหยุดก็ไม่ได้เงิน แล้วเค้าจะอยู่กันยังไง?
เพราะไม่ว่าจะรายได้มากหรือน้อย ไปซื้อของที่เซเว่นก็ต้องจ่ายเงินในราคาสินค้าที่เท่ากันอยู่ดี...

จากคุณ : p_rapeephan [13 ธ.ค. 55 15:08:38 ]
ความเห็นที่ 1

ไม่

จากคุณ : t@pretty [13 ธ.ค. 55 15:19:12 ]
ความเห็นที่ 2

อยู่ในพื้นที่ที่ค่าแรงตอนนี้ยัง 240 บาท
แต่ปัจจุบัน พนักงาน 40 กว่าคน เกิน 350 เกือบทุกคน
ในธุรกิจ sme ผมว่าทุกคนยอมจ้างเกินขั้นต่ำอยู่แล้วครับ ถ้า ได้แรงงานคุณภาพ
ปัญหาของค่าแรง 300 ผมว่ามันทำให้คนขี้เกียจขึ้นครับ ทำเรื่อยๆก็ได้แล้ววันละ 300
ประสิทธิภาพลดลงแน่นอน
ถ้า คุณได้สัมผัสกับชนชั้นแรงงานมากพอ คุณอาจเข้าใจคำว่า หาเช้ากินค่ำมากขึ้นแน่นอน
ทำงานตอนกลางวันตกเย็นเบิกเงิน แล้วก็ใช้เงิน
ถ้าเงินหมด พรุ่งนี้มาทำ
ถ้าเงินยังเหลือ พรุ้งนี้หาย

จากคุณ : MamaKungking [13 ธ.ค. 55 15:35:52 ]
ความเห็นที่ 3

ถ้าแรงงานไม่มีฝีมือ  300 ถือว่าแพง

แต่ถ้ามีฝีมือ ทำให้งานเราเดินได้ดี ตามความสามารถ
500 ก็ไม่แพงค่ะ

จากคุณ : โปรแตสเซียม [13 ธ.ค. 55 15:38:48 ]
ความเห็นที่ 4

จริงหรอว่า 500ก็ไม่แพง

ผมเห็นคนมีฝีมือเยอะแยะ ยังโดนกดหัวบี้ ถ้ามีเจ้านายคิดแบบนั้นก็ดีซิ ยังไม่เคยเจอไครที่รู้จักว่า ดีพอเลย มีแต่จะเอา วิศวะ ราคา กรรมกร

จากคุณ : ^Ai^ [13 ธ.ค. 55 15:50:35 ]A:58.8.53.66 X: TicketID:280139
ความเห็นที่ 5

ผมคิดว่าคนที่มีเงินมากไม่ค่อยเดือดร้อนหรอกครับ ของแพงขึ้นก็ยังมีเงินซื้อ แต่สำหรับคนที่มีเงินไม่มากมันจะมีประโยชน์จริงรึเปล่า เพราะรายได้เพิ่ม แต่ของก็แพงขึ้น สุดท้ายมันก็แทบจะไม่ได้ต่างจากเดิมเลย

การเพิ่มค่าแรงมันจะมีผลกระทบตามมาอีกเยอะทั้งผลดีและผลเสีย ถ้าผลดีมากกว่าก็ถือว่าเป็นเรื่องดีไป แต่ถ้าเกิดทำแล้วผลเสียมันมากกว่าก็แย่กันทั้งประเทศครับ เพราะค่าแรงเพิ่มไปแล้ว จะไปปรับลดให้เท่าเดิมก็คงยาก ประเทศไทยอาจจะเป็นเหมือนกรีซในปัจจุบัน

จากคุณ : Sirapak [13 ธ.ค. 55 15:57:06 ]
ความเห็นที่ 6

จะความรู้ระดับไหน จะจบมหาลัยอะไรก้อคนเหมือนกันครับ ต้องกินต้องใช้ คนเราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างไรได้ ให้เค้าเถอะครับค่าแรงสามร้อย ผมเชื่อว่าเค้าทำงานเกินค่าแรงวันละสามร้อยอีก ค่าครองชีพสูงขนาดนี้ ได้วันละสามร้อยก้อยังลำบากครับ ไม่ใช่ได้วันละสามร้อยแล้วจะกลายเปนคนรวย ใจเขาใจเราครับ

จากคุณ : 2coolromantic [13 ธ.ค. 55 16:31:00 ]
ความเห็นที่ 7

ในแง่ไม่ใช่ตัวเงิน มองในแง่การเท่าเทียมกันทางการจ้างงานทั่วประเทศ

ก่อนหน้านี้ค่าแรงแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน แตกต่างกันมาก กรุงเทพได้มากที่สุด แต่ราคาสินค้าในความเป็นจริง กลับสวนทาง กรุงเทพราคาน้ำมันต่ำสุด ต่างจังหวัดอ้างบวกค่าขนส่ง ขนาดปั้มปตท.ใกล้โรงกลั่นที่สุดยังแพงกว่ากทม. ราคาของใน 7-11 ผมว่าไม่ต่างกันระหว่างกทม.กับต่างจังหวัด

การประกาศครั้งนี้จะทำให้ค่าจ้างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ

จากคุณ : Nopkan [13 ธ.ค. 55 16:45:28 ]
ความเห็นที่ 8

เห็นด้วยครับ เป็นการปรับฐานรายได้ครั้งใหญ่ เหมือนกับการปฎิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษยุคหนึ่ง

แต่บางอย่างมีข้อดี จะไม่ให้มีข้อเสียเลย ไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ข้อดีมากกว่าก็ต้องเดินหน้าไปครับ

จากคุณ : ขอแฟนรวย [13 ธ.ค. 55 16:58:45 ]
ความเห็นที่ 9

ผมเห็นด้วยนะครับ นึกถึงใจเราวันละ500 ยังไม่ค่อยพอเลย ถ้า300บาททำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ถือว่าแบ่งปันเพื่อมนุษย์ด้วยกันคับ

จากคุณ : Binbinkung [13 ธ.ค. 55 17:20:36 ]
ความเห็นที่ 10

ตอนนี้ อยู่ กทม ได้ตกวันละ 400 ถ้ากลับบ้านแล้วได้ 300 มันเป็นอะไรที่น่าสนใจมาก อยู่กะพ่อแม่ อยู่บ้าน ไม่ต้องห่างบ้าน คนก็จะกลับภูมิลำเนากันเยอะขึ้น การกระจายงาน อาจจะไป ต่างจังหวัดมากขึ้น กระจายความเจริญ ไม่ใช่กระจุกอยู่แต่ กทม

จากคุณ : ^Ai^ [13 ธ.ค. 55 18:44:05 ]A:58.8.192.66 X: TicketID:280139
ความเห็นที่ 11

ผมล่ะงง บอกจ้างคนไม่มีคุณภาพ 300 บาทไม่คุ้ม แล้วจะจ้างมาทำไมทำไม่จ้างคนที่มีคุณภาพ คุณจะจ้าง 500 หรือ 1000 มันก็เจอคนไม่มีคุณภาพได้เหมือนกัน

ดูจากสภาพการใช้ชีวิตปัจจุบัน ผมว่า ค่าความเป็นคน 300 บาทไม่ได้สูงหรอก

จากคุณ : KhunGong [13 ธ.ค. 55 19:15:06 ]
ความเห็นที่ 12

โอ...แบบนี้คงต้องมองสองมุมแล้วล่ะครับ
มองจากนายจ้างที่ต้องการกำไร เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ และการขยายกิจการในอนาคต

จากคุณ : amnakim [13 ธ.ค. 55 19:28:48 ]
ความเห็นที่ 13

ผม ว่า จะลดความเหลื่อม ล้ำทางสังคมได้นะครับ
คน จบ ป ตรี จบ ปวช ปวส ม.6 ม.3 ก็ ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 หมด
ใคร มีศักยภาพ หลังจากทำงานค่อยขึ้น เอา
อันใหน งานหนัก งานเสี่ยง งานสกปรก ก็ค่อย ให้เพิ่ม
ต่างจังหวัด ได้เท่ากับกรุงเทพ คนจะได้กลับต่างจังหวัด ไปทำงาน กัน
เออ สงสัย งานต่างจังหวัดมีเยอะใหม

จากคุณ : aksorn_ji [13 ธ.ค. 55 19:46:18 ]
ความเห็นที่ 14

ที่บ้านทำธุรกิจส่วนตัวค่ะ

เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญ

ปัจจุบันแรงงานที่มีความชำนาญเฉพาะด้านหายากกกมากกกกก

เลยต้องจ้างคนที่ไม่มีฝีมือหรือก็คือคนที่ไม่มีความรู้ด้านนี้เข้ามาฝึกใหม่

ซึ่ง ค่าแรงสำหรับคนที่มีความรู้ชำนาญนั้นเกิน300แน่ๆอยู่แล้วค่ะ

แต่คนที่ไม่มีฝีมือแล้วไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่าจะอีกนานแค่ไหนถึงทำได้   300นี่ไม่น้อยนะคะ


ก็อยากให้เข้าใจร้านเล็กๆในต่างจังหวัดบ้างค่ะ

จากคุณ : เด็กคอนหวัน [13 ธ.ค. 55 20:04:23 ]
ความเห็นที่ 15

เห็นด้วย

จากคุณ : เด็กขงเบ้ง [13 ธ.ค. 55 20:48:44 ]
ความเห็นที่ 16

ในความคิดเห็นของผม  ค่าแรงขั้นต่ำที่ 300 บาท  ยังไม่ใช่ประเด็นหลักครับ
ประเด็นที่น่ากลัวกว่าก็คือ  ค่าแรงของแรงงานที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไปนะซิ
ถ้าหากว่าเราจ้างแรงงานทุกคนในอัตราเดียวกันอยู่แล้ว  ก็ไม่น่าจะมีปัญหา
แต่ถ้ามีเรื่องของอายุงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ตามทฤษฏีแล้ว  เมื่อเราขยับ
ค่าแรงขั้นต่ำมาอยู่ที่ 300 บาท  ค่าแรงของแรงงานที่อยู่ในลำดับสูงขึ้นไป
ก็ควรจะขยับตามในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกัน  เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
ในเรื่องของอายุงาน  เพราะแรงงานด้วยกันเองก็คงไม่ค่อยจะชอบใจนักใน
กรณีแบบนี้  คนอยู่ไม่นานได้ปรับ  แต่คนเก่าคนแก่ไม่ได้  มันจะกลายเป็น
ว่าผู้ประกอบการต้องปรับค่าแรงกันทั้งระบบเลย  คราวนี้ละงานช้าง..

อีกอย่างหนึ่ง  เมื่อมีการปรับค่าแรงแล้ว  คิดหรือเปล่าว่าต้นทุนในส่วนนี้จะ
ถูกผลักไปอยู่ที่ไหน  ซึ่งแน่นอนว่ามันก็ต้องกลับมาอยู่ในราคาสินค้าหรือ
บริการที่เราใช้อยู่กันทุกวันนี้นะเอง  มันไม่หนีหายไปไหนหรอก  ในแง่ของ
ผู้ประกอบการนะไม่มีใครยอมเฉือนเนื้อตัวเองหรอก  เมื่อรายจ่ายเพิ่ม  ก็
ต้องหารายได้ชดเชย  ไม่ขึ้นราคาก็ลดปริมาณบรรจุ  รับรองได้  ผมอยู่ใน
วงการค้าขาย  ก็เห็นใช้วิธีนี้กันมาตลอด  สุดท้ายเรา ๆ ท่าน ๆ ก็รับเคราะห์
ด้วยกันทั้งนั้น  เมื่อค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น  ก็ขอเพิ่มค่าแรง  ค่าแรงขึ้น
ราคาสินค้าก็ปรับขึ้น  วนเป็นงูกินหางอยู่อย่างนี้แหละ  :-(

จากคุณ : GaoRangers [13 ธ.ค. 55 20:59:51 ]
ความเห็นที่ 17

เห็นด้วยครับ

เพราะค่าครองชีพมันสูงเกินขั้นต่ำ(ของเก่า)มานานแล้ว

จากคุณ : MAX [13 ธ.ค. 55 21:14:18 ]
ความเห็นที่ 18

มุมมองในแง่มนุษยธรรม ฟังดูดี แต่ควรมองในแง่ความเป็นจริงด้วยค่ะ

จะขึ้นไม่ขึ้นเราก็ไม่ได้มีปัญญหานะคะ แต่...

เรามองว่าขึ้นมา 300 ค่าครองชีพก็ขึ้นอีก
ได้เงินมากขึ้น แต่ก็ต้องจ่ายมากขึ้น ไม่เห็นจะต่างกันเลย

จากคุณ : papergift [13 ธ.ค. 55 21:59:26 ]
ความเห็นที่ 19

ที่ทำงานแฟนผม ติดชายแดน ขายสินค้าได้เดือนละ 15-20 ล้าน หักทุนเหลือกำไรเกือบครึ่ง แต่จ้างพนักงาน วันละ 190 ค่าคอมต่างหาก เดือนนึงไม่เคยถึง 7500 ทุกคน คุณว่าเยอะไหมล่ะ ปีหน้าต่อให้ขึ้นเป็น 300 ทั่วประเทศ ก็ยังมีบางที่ไม่ให้ 300 หรอก ใครจะไปตรวจสอบ ลูกจ้างก้ไม่กล้าร้องเรียน บางพื้นที่หางานยากมาก แรงงานต่างด้าว ผิด กม.เยอะ ค่าแรงถูกด้วย ไม่ยอมรับค่าจ้างแค่นั้น ก็ไม่มีงานทำ

จากคุณ : BKforever บีเค ฟอร์เอฟเวอร์ [13 ธ.ค. 55 22:16:02 ]
ความเห็นที่ 20

กดขี่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ผมว่าไม่ดีหรอก 300 ไม่ได้เยอะ ให้ได้ก็ให้ นายจ้างออกจะรวยแล้ว

จากคุณ : LimitBreak [14 ธ.ค. 55 00:45:00 ]
ความเห็นที่ 21

ค่าแรงมันก็แค่เป็นส่วนนึงของต้นทุนเองค่ะ ไม่ใช่ทั้งหมดของต้นทุนซะหน่อย
(ต้นทุน-ราคาขาย = กำไร)

นายจ้างคนไหน ถ้าต้องจ่ายพนักงาน วันละ 300 แล้วทำให้ธุรกิจเจ๊ง เลิกทำเถอะค่ะ กำไรคุณทุเรศดีจัง กำไรทั้งหมดมาจ้าง ค่าแรงเหรอค่ะ

จากคุณ : ฟ [14 ธ.ค. 55 02:37:53 ]A:180.180.159.220 X: TicketID:291108
ความเห็นที่ 22

ความคิดผมนะ  ปรับค่าแรง 300 เห็นด้วย มันไม่ได้มากอะไร

แต่ไม่ใช่แบบก้าวกระโดด  และไม่ควรประกาศก่อนล่วงหน้า  เพราะข้าวของขึ้นราคามารอล่วงหน้ากันหมด

แต่ละพื้นที่ค่าครองชีพก็ไม่เท่ากัน  ถ้าทำให้ธุรกิจต้องเลือกระหว่างเลิกกิจการ ปลดคนงาน  คนที่ได้เงินมากขึ้นก็ดีใจ  คนที่โดนปลดคิดว่าเขาเลือกจะมีงานทำต่อดีกว่าได้เงินเพิ่มนะ

จากคุณ : ยูไลพันมือ [14 ธ.ค. 55 09:26:49 ]
ความเห็นที่ 23

ไม่เห็นด้วยอะ เพราะว่า ราคาของเตรียมขึ้นต้อนรับอยู่แล้ว แล้วไม่ได้ขึ้นแบบธรรมดา

ด้วยสิ ขึ้นแบบชนิดที่ว่า 300 ที่คิดว่าจะมีค่าเนี้ย ค่ามันหายไปเยอะกว่าเงิน 200 - 250

แบบเดิมอีกคอยดูครับ

จากคุณ : goddestiny (goddestiny) [14 ธ.ค. 55 11:38:03 ]
ความเห็นที่ 24

เสริมอีกหน่อย เจ้าของกิจการอยู่ได้ แต่ลูกจ้าง ได้ 300 ผมว่าอยู่ยาก ต่อให้ได้เยอะกว่า

นี้ด้วย เพราะราคาของขึ้นนิแหละ

จากคุณ : goddestiny (goddestiny) [14 ธ.ค. 55 11:38:44 ]
ความเห็นที่ 25

ผมเห็นด้วยนะ

ที่บริษัทก็ทำตามคำสั่งจากรัฐบาล เหนื่อยมากขึ้น แต่ริจะประกอบกิจการก็ต้องรู้จักปรับตัวอยู่แล้ว

จากคุณ : macenjoy [14 ธ.ค. 55 15:34:25 ]
ความเห็นที่ 26

ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ค่าแรงเท่าไหร่เลยครับ เราไม่มีทางทำให้คนกินดีอยู่ดีได้ทุกคนพร้อมกันหรอกครับ เพราะเงินมันก็แค่
สิ่งสมมุติแทนการแลกเปลี่ยนเท่านั้น (ถ้ามันทำได้จริงไม่ให้ไปวันละ 500 เลยหล่ะ)สิ่งที่เรานำมาใช้แลกจริงๆคือแรงงาน
ความคิด สิ่งของ ซึ่งค่าของมันขึ้นอยู่กับการตีราคาของตลาด อย่างแรงงานไม่มีฝีมือ ทุกวันนี้การตีค่าของสังคมทุนนิยม
ของเรามันคือ ต่ำกว่า 300 แน่นอนครับ หากใครที่มีฝีมือความขยันๆ ขึ้นมา ย่อมถูกแย่งตัว ค่าตัวเค้าก็จะขยับตามดีมาน
ในตลาด มีคห.11 บอกว่าถ้าคิดว่าจ้าง 300 ไม่คุ่มจะไปจ้างทำไม ในมุมกลับกันลูกจ้างไปเจอนายจ้างที่ให้ค่าแรงงน้อย
จะไปอยู่ทำไม ตรงนี้ต่างหากครับคือสมดุล เพราะในความจริงใช่ว่านายจ้างจะเป็นฝ่ายกำหนดฝ่ายเดียวปัจจุบัน
ค่าแรงจริงๆมันจึงกำหนดอยู่ในความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย  (หลายคนในห้องนี้ครับเงินเดือน 100k ตั้งแต่ 30
ผมถามว่าทำไมถึงไม่ถูกกดค่าแรง) ทีนี้ค่าแรงขั้นต่ำมีไว้เพื่อช่วยใน extreme case มากกว่า(เช่นแรงงานทาส หลอกลวง)
ซึ่งการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ แน่นอนครับการขึ้นค่าแรง มันก็เป็นสิ่งเหมาะสมเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง
แต่ทั้งนี้การขึ้นค่าแรงควรต้องมาจากศึกษาถึงค่าแรงดีมานซัพพลายที่ว่ามาในแต่ละพื้นที่อย่างดีว่าควรขึ้นเท่าไหร่ .

แน่นอนครับว่าในมุมเบื้องต้น 300 ไม่จบแค่ 300 เพราะคนที่เคยได้ 300 อยากได้ 350 คนได้ 350 อยากได้ 400
มันเหลือมไปเรื่อยๆ สุดท้าย บ.ก็ต้องขึ้นค่าสินค้าเป็นวัฒจักร

(ขอให้นึงถึงเรื่อง in-time ประกอบครับ สมมุติว่าเราไม่ได้ใช้เงินแลกเปลี่ยนเราใช้เวลาในการทำงานแลก)
ดังนั้นปัญหาของไอค่าแรง 300 ไม่ใช่เพราะการขึ้นค่าแรงครับ แต่เพราะไอตัวเลข 300 ต่างหากครับ  ในบาง
พื้นที่ตัวเลขนี้มากกว่าตัวเลขเดิมถึง 40% นะครับ มันไม่ใช่น้อย ทีนี้สิ่งที่จะเกิดจริงๆคืออย่างที่ผมบอกว่าแท้จริง
เงินมันเป็นเพียงสิ่งแทนการแลกเปลี่ยน เดิมลูกจ้างทำงาน 8 ชม. ได้เงิน 240บาท คิดเป็นชม.ละ 30 บาท
ทีนี้แม่ค้าข้าวจานละ 30 ตรงนี้เพราะแม่ค้าเค้าตีราคาว่า ข้าวเค้า 1 จานทั้งราคาหมู ค่าแรง ค่าเสียเวลาแม่ค้า
มีค่าเท่าเวลาลูกจ้างแรงงานขั้นต่ำ 1 ชม. แต่ตอนนี้ค่าแรงมัน 300 หรือ ชม.ละ 37.5 แม่ค้าเรื่องอะไรจะขาย
ข้าวแค่ 30 ครับ เพราะนั่นเท่ากับว่าแม่ค้าลดค่าเวลา ตัวเอง เหลือแค่ 1 จานไม่ถึงชม. แม่ค้าก็ย่อมต้องขึ้นราคาอาหาร
กลับไป ซึ่งสุดท้ายมันก็อยู่ที่จุดเดิมคือทำงาน 1 ชม.แลกข้าวได้ 1 จาน แน่นอนครับ ใน full scale มันไม่จบแค่นั้น
เพราะเมื่อแม่ค้าขึ้นค่าข้าว คนขายข้าวเค้าก็ย่อมขึ้นค่าข้าวสาร(ไม่งั้นเค้าก็เสียเปรียบ) คนขายปุ๋ยเห็นชาวนาขายข้าวได้แพงขึ้น
ก็ขึ้นค่าปุ๋ย คนขายเครื่องผลิตปุ๋ย เห็นคนขายปุ๋ยขายได้เราคาดีขึ้น แถมเค้ายังต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานขึ้นอีกเค้าจะทำอย่างไร
หล่ะครับนอกจาก ขึ้นค่าเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำไร เห็นมั้ยครับ สุดท้ายมันก็งูกินหาง ทำงาน 1 ชม. ยังคงได้ข้าว 1 จานเท่าเดิม


แล้วทำไมในต่างประเทศอย่างอเมริกาค่าจ้างขั้นต่ำเค้าสูงหล่ะ? การที่ประเทศนึงจะรวยต้องมีคนจนครับ ที่ประเทศ
อเมริการวยได้เพราะเค้าก็ต้องกดบางประเทศไว้ได้ คิดง่ายๆว่าเค้าขาย iphone ได้เงินมากกว่าข้าวเรา 1 เกวียน
เคาขาย iphone 10 เครื่องที่ใช้เวลา manhour รวมไม่กี่ชม.แต่แลกข้าที่ชาวนาไทยปลูก ทั้งปีได้
แต่นั้นคือสิ่งที่ตลาดโลกตีราคาครับ(เพราะถ้าเค้าขายแพงว่าดีมานซัพพลาย ใครมันจะซื้อ)  ดังนั้นเมื่อเค้าหาเงิน
จากสินค้าเค้าได้เยอะ บ.เค้าจึงมีเงินมาแย่งตัวคนไปทำงาน ผลคือคุณไปจ้างคนที่นั่น 300 เท่าไทยใครมันจะไปทำ
เพราะการแย่งแรงงานมันสูง(ค่าแรงขั้นต่ำเค้ามีแต่ชาวต่างชาติยอมมารับครับ คนประเทศเค้าไม่มีใครสนหรอก)
มันจึงเป็นตัวอย่างอย่างดีว่าที่เค้ากินดีอยู่ดีไม่ใช่เพราะการยกระดับค่าแรงขั้นต่ำ แต่เพราะเค้าขายสินค้าประเทศได้เปรียบ
ประเทศอื่นๆ(นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำไมเราต้องสนใจ การได้ดุล ขาดดุล GDP บลาๆ) ดังนั้นการทำให้แรงงานเรากินดีอยู่ดี
มันไม่ใช่ขึ้นค่าแรงโทงๆโดยไม่ได้ศึกษา แต่มันคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของประเทศ การ add value ในแรงงาน
(คือใส่แรงงานลงไปนิดเดียวแต่ให้มูลค่าในสินค้าเพิ่มขึ้นมาก) ซึ่งตรงนี้เราตั้งพัฒนาฝีมือแรงงานเราให้สามารถ
add-value เพื่อ perfomance(เพิ่ม output ลด input)และต้องทำให้สินค้าเรา แตกต่าง แล้วตอนนั้น
ค่าแรงมันจะสูงขึ้นเองเพราะค่าของแรงงาน มันก็เหมือนสินค้าตัวนึงครับ ถ้ามันแพงไป มันก็ไม่มีคนซื้อ

จากคุณ : hil4552 [14 ธ.ค. 55 15:56:38 ]
ความเห็นที่ 27

ผมเห็นบางโรงงานได้เกิน 300นะ เอาง่ายๆ เถ้าแก่น้อย นี้ก็เกิน300นะ แต่ไม่แน่ใจกว่ถึง 450ไหม เพราะมีบังคับโอ มีค่ากะ ค่าเดินทาง

จากคุณ : ^Ai^ [14 ธ.ค. 55 16:02:16 ]A:58.8.234.231 X: TicketID:280139
ความเห็นที่ 28

สมควรขึ้นครับ

พวกที่บอกว่าไม่สมควรขึ้น ลองแลกค่าแรงกับพวกเค้าดูไหมครับ??

ราคาสินค้าแพงขึ้น ก็เพราะพวกพ่อค้า แม่ค้า และผู้ประกอบการกำหนดเองไม่ใช่หรอครับ??

พูดเหมือน ถ้าค่าแรงขั้นต่ำไม่ขึ้น ราคาสินค้าจะไม่ขึ้น??

จากคุณ : ... (รองเท้าแตะไฮโซ) [14 ธ.ค. 55 19:22:30 ]
ความเห็นที่ 29

ผมคิดว่าที่บนๆแย้ง คงจะหมายถึงแบบนี้

นาย ก ได้  270
นาย ข ได้  350
นาย ค ได้  350

เมื่อ นาย ก ได้เพิ่มอีก 30 เป็น 300 ทำให้ต้องปรับให้นาย ข และ ค ขึ้นไปด้วย
โอที คิดจากฐานเงินเดือน ก็เลยปรับตามๆกันไป

ล๊อกอิน บางอันก็เป็นเจ้าของกิจการเล็กๆ คงจะกังวลตรงนี้

จากคุณ : Ter @ AFC [14 ธ.ค. 55 21:35:55 ]
ความเห็นที่ 30

ไม่เห็นด้วยคับ   น่าจะจำกัด ไปเลย วุฒิ ม.3  270- ม.6 300  ปวส. 350-  ป.ตรี 400-  หรือจะมากกว่านั้นก็ได้  แต่เป็นขั้นๆ ไป

เพราะกำหนดแค่ 300  คนที่จบวุฒิ สูงกว่า  มักไม่พอใจ เช่น ม.6 แต่ไ้ด้ 300 เท่า ม.3

น่าจะวัด กันที่ วุฒิ ก่อน  จากนั้น ให้นายจ้าง เป็นคนตัดสิน เพิ่มเงินเดือน ตามความสามารถ ความขยัน ความเก่ง (เมื่อพ้นโปร)

จากคุณ : NooPooK [15 ธ.ค. 55 14:57:42 ]
ความเห็นที่ 31

ค่าแรงขั้นต่ำ 300 คนที่ได้ประโยชน์มีเฉพาะกลุ่ม
แต่ของขึ้น มันขึ้นไม่เลือกหน้า
ถามหน่อย พ่อ แม่ ที่ไม่มีงานทำ พี่น้อง  ลูกหลาน  ที่ยังเรียนอยู่ จะได้รับผลกระทบแค่ไหน
คนกลุ่มนี้ต้องซื้อของแพงขึ้น ทั้งๆที่ร่ายรับเท่าเดิม
แล้วพวกเอกชนอีก ถ้าไม่ได้ 15,000 เหมือนรัฐบาลละ
ค่าแรงขั้นต่ำ 300 แต่ของขึ้นเพิ่มตาม จนไอ้ 300 ไม่มีค่าอะไรเลย ลองคิดถึงคนที่เค้าไม่ได้บ้างสิครับ จะได้รู้ว่าตกลงอะไรที่กันแน่มันเรียกว่าเห็นแก่ตัว

จากคุณ : miraculous [16 ธ.ค. 55 14:20:28 ]