สอบถามเรื่อง การลงบัญชีงานก่อสร้างครับ

ที่บริษัทบันทึกข้อมูลโดยเรียงจาก

วันที่  รายการ  ชื่อร้านค้าที่รับเงิน  จำนวน(หน่วย)  ราคาต่อหน่วย  รวมจำนวนเงิน  หมายเลขPV

เรียงเป็นคอลัมไป แต่ "วันที่" ลงเป็นวันที่ส่งของ ไม่ใช่วันที่จ่ายเงิน

แบบนี้ผิดหลักไปจากการลงไหมครับ เขาบอกว่าทำแบบนี้กันมานานแล้ว

พอดีเจ้านายผมต้องการดูค่าใช้จ่ายรายอาทิตย์หรือรายเดือน ให้ผมมานั่งเรียงข้อมูล
ทางฝ่ายบัญชีก็บอกให้ไปไล่ดูตาม PV อีก เพราะวันที่จ่ายจริงอยู่ในนั้น

แบบนี้เสียเวลาแย่เลย แถมลงเขียนมืออีก ไม่ได้ลงระบบหรืออย่างน้อย น่าจะเป็น excell

แต่คนเก่าคนก่อนเขาทำกันมาแบบนี้ จะเปลี่ยนลงระบบก็ไม่ยอมเรียนรู้

จากคุณ : sacrifar [14 ธ.ค. 55 10:24:49 ]
ความเห็นที่ 1

เขาลงถูกแล้ว

รับของ รับ invoice แล้วก็ต้องลงเป็นเจ้าหนี้ รวมถึงเรื่อง vat ด้วย

เรื่องจ่ายเงิน เป็นเรื่องของการบริหารเงินสด ที่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วก็ต้องทำต่างหาก คือใช้ข้อมูลปัจจุบัน  ประกอบกับการคำนวณ หรือ ประมาณ การรับ-จ่ายในอนาคต ทั้งเจ้าหนี้ และ ลูกหนี้

....เจ้าของน่าจะอยากรู้ว่า  ถ้าเงินสดมันจะช็อท ต้องหาเงินมาโปะก่อนจะเก็บเงินลูกค้าได้หรือเปล่า ?

หน้าที่ปกติ เป็นของทางการเงิน หรือ คนที่ทำบัญชีนั่นแหละครับ

จากคุณ : birdeyeview [14 ธ.ค. 55 10:55:06 ]
ความเห็นที่ 2

งั้นแปลว่ารายการทางบัญชี ไม่สมารถตอบสิ่งที่เจ้านายต้องการได้

แต่ว่าผมต้องนำข้อมูลบัญชีมาทำต่างหาก (เรียงข้อมูล คำนวณ ประมาณการต่างๆ)

แบบนี้ใช่ไหมครับ  คือเราเป็นบริษัทเล็กๆ (แต่ทำงานใหญ่) ผมเป็นลูกหลานต้องมาช่วยงาน

เลยอยากทราบว่าหลักสากลเขาทำกันแบบนี้หรือเปล่า กลัวเดินกันผิดทาง

ขอบคุณสำหรับคำตอบมากครับ

ปล. ผมกลัวงานมันจะซ้ำซ้อน เพราะนึกว่างานทางฝ่ายบัญชีน่าจะตอบได้หมด (หรือเพราะระบบบริษัทไม่ดี)

จากคุณ : sacrifar [14 ธ.ค. 55 11:04:20 ]
ความเห็นที่ 3

....ใช่แล้ว

น่าสงสัยว่าแล้วเมื่อก่อนนี้ทำยังไง เอาเงินจากไหนมาจ่ายทุกเดือน ...เจ้านายทำเอง

หรือทางบัญชีทำให้เจ้านาย  (แต่แกล้งไม่ทำให้คุณ ?)

.....การเงิน ก็ต้องมีพื้นฐานจากข้อมูลในบัญชี  .....เขาถึงเอาไว้ด้วยกัน หรือต้องทำตามกันไปตลอด

....แนะนำให้ทางบัญชีส่งคนไปอบรมให้ทำดีๆ หน่อย  .....แล้วคุณคอยตรวจดีกว่า

http://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%94&ie=utf-8&oe=utf-8&aq=t&rls=org.mozilla:en-US:official&client=firefox-a

จากคุณ : birdeyeview [14 ธ.ค. 55 11:24:05 ]
ความเห็นที่ 4

ที่ผ่านมาค่อยข้างเละครับ ไม่อยากพูดถึงเลย
อยากรู้เรื่องพวกนี้ เรียนบัญชีหรือการเงินการธนาคารดีครับ ในแง่ที่ต้องมาิบริหารจัดการ

จากคุณ : sacrifar [14 ธ.ค. 55 11:39:43 ]
ความเห็นที่ 5

หากวัตถุประสงค์ต้องการดูค่าใช้จ่ายรายอาทิตย์หรือรายเดือน => ข้อมูลที่ทำไว้ถูกต้องตามหลักบัญชีแล้ว (เกณฑ์คงค้าง)  โดยแยกเป็น 2 กรณีดังนี้

1.  สินค้าที่ได้รับ   นำมาใช้ทันที  ถือว่าค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว (ยังไม่ขอพูดถึงสินทรัพย์
    ถาวร)
2.  สินค้าที่ได้รับ   ใช้ไม่หมด หรือยังไม่ได้ใช้  จะเป็นค่าใช้จ่ายตามส่วนที่ใช้ไปจริง  ที่
    เหลือบันทึกเป็น stock ไว้   ซึ่งก็ถูกต้องตามความเป็นจริง

    คิดว่าฝ่ายบัญชีก็คงบันทึกในทำนองนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง  การชำระเงินเป็นเรื่องของ
    การปลดหนี้เท่านั้น

> ส่วนที่ว่าต้องคำนวณประมาณการต่าง ๆ  ไม่ทราบว่าใช้วัตถุประสงค์อะไร หากเพื่อดู
  เรื่องการเงิน  แนะนำให้ัจัดทำ cashflow เพิ่ม จะสามารถตอบโจทย์ได้  เนื่องจาก
  cashflow จัดทำด้วยเกณฑ์เงินสด

จากคุณ : Lin Xian Sheng [14 ธ.ค. 55 11:43:18 ]
ความเห็นที่ 6

คห .4  เรียนรู้จากประสบการค่ะ

เรียนบัญชีการเงินบางทีไม่ไ้ดตอบสนองสิ่งที่ต้องการ  
เรียนรู้จากประสบการณ์ในการทำงานดีที่สุดค่ะ  เรื่องบางเรื่องตำราไม่มีสอน
หรือเรียนมาก็ไม่เข้าใจ

จากคุณ : สี่สิบดีกรี [14 ธ.ค. 55 12:51:47 ]
ความเห็นที่ 7

พอเข้าใจแล้วว่าลงแบบ หลักบัญชี(เกณฑ์คงค้าง) แต่ไม่เห็นมีการปรับปรุงบัญชีตอนสิ้นงวดเลย
เห็นลงสมุดไว้ (เขียนมือ) แล้วก็ไม่ได้ไปยุ่งอะไรอีก  มีแต่ลงเพิ่มไปเรื่อยๆ
ส่วนบัญชีสรรพากรมีการจ้างคนนอกทำไว้ครับ

งงดีจัง ยังไงก็ขอบคุณทุกท่านครับ

จากคุณ : sacrifar [14 ธ.ค. 55 13:09:05 ]
ความเห็นที่ 8

อธิบายหลักๆก่อนน่ะครับ
จริงๆ บัญชีต้องสนับสนุนฝ่ายบริหาร น่ะครับ
แบ่ง ส่วนงานเป็น 5 ระบบงาน
1.ระบบซื้อ/เจ้าหนี้
2.ระบบขาย/ลูกหนี้
3.ระบบรับเงิน
4.ระบบจ่ายเงิน
5.ระบบสต้อก

ระบบใบสำคัญจ่าย( pv ) เป็นเอกสารสำหรับควบคุม ในระบบการจ่ายเงิน ครับ

ส่วนวันที่ที่ลง pv จะใช้เป็น วันที่จัดทำเอกสาร หรือ วันที่ จ่ายเงิน ก็ได้ แล้วแต่ระบบงาน
ถ้าใช้วันที่จัดทำเอกสาร ลงรายการ (เพราะต้องควบคุมการรันนิ่งนัมเบอร์เอกสารpvและปริมาณเอกสารมาก) ก็จะใช้ทะเบียนเช็คจ่าย คุมการรับเช็ค อีกทีหนึง พอสิ้นงวด ก็กระทบยอดเช็คที่ยังไม่มีผู้มารับเอา
แต่ถ้าใช้วันที่ จ่ายเงิน ในเอกสารpv ก็ทำได้เช่นกัน ถ้าปริมาณเอกสารจ่ายไม่มากนัก แต่ จะใช้ระบบแฟ้มเอกสาร เข้ามาช่วย เป็นเอกสารที่รอจ่าย(pv) พอสิ้นเดือน ปิดงวด ก็ค่อยบันทึกรายการคงค้าง

จขกท.จะดูรายการ cashflow ด้านจ่าย หรือเปล่า? ถ้าใช้ ก็ดูจากบัญชี เงินสดจ่าย จะดีกว่าครับ

จากคุณ : กันย์ [14 ธ.ค. 55 15:00:29 ]A:49.48.19.113 X: TicketID:121481
ความเห็นที่ 9

มาเห็นด้วยกับคุณกันย์ คห. 8 นะคะ บัญชีต้องสนับสนุนงานด้านอื่นๆของบริษัทด้วยค่ะ ดังนั้นต้องเก็บข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ ระบบบริษัทใหญ่ที่จริงๆจังๆเลยเค้าเก็บถึงกับว่า ได้รับเอกสารจากเจ้าหนี้วันที่ สแกนเข้าระบบวันที่ เอกสารลงวันที่ บันทึกเข้าระบบวันที่ อนุมัติวันที่ รายการบัญชีถูกโพสต์เป็นวันที่ (คือวันโพสต์กับวันที่ในรายการไม่จำเป็นต้องเป็นวันเดียวกัน เพราะเอกสารมาช้า ต้องโพสต์เข้าของเดือนก่อนๆจะปิดรอบบัญชี) กำหนดจ่ายวันที่ จ่ายจริงวันที่ เคลียร์รายการวันที่​ (ปิดยอดเจ้าหนี้ลูกหนี้)

อันนี้ตัวอย่างแค่ "วันที่" อย่างเดียว นะคะ ถามว่าเค้าเอามาทำอะไร เค้าเอามาวิเคราะห์ค่ะว่าความล่าช้าในระบบงานเกิดที่ตรงไหน เช่น invoice ลงวันที่ 1 ธค. ได้รับ 2 ธค. สแกนเข้าระบบ 3 ธค. อนุมัติ 10 ธค. บันทึกวันเดียวกัน นี่แสดงว่าเอกสารมันไปค้างเติ่งที่ตรงคนอนุมัติน่ะค่ะ (ตัวอย่างง่ายๆค่ะ) แล้วถ้าเก็บข้อมูลเป็น ​digital format และเป็นระบบ มันวิเคราะห์ได้เยอะมากๆค่ะ

เข้าเรื่อง ถ้าบริษัทไม่ใหญ่มาก กรณีคุณ ถ้าเค้าไม่ยอมใช้โปรแกรม หรืออย่างน้อย Excel คุณก็ขอร้องเค้าให้ตีคอลัมน์นึงในหน้าบัญชี ลงวันที่จ่ายเงินควบคู่ไปด้วยสิคะ บัญชีจะใช้หลักค้างจ่ายอะไรก็ใช้ไป แต่คนที่อยากใช้ข้อมูลตาม cash basis เพื่อบริหารงานก็ยังสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องมีใครทำงานเพิ่มกว่าที่เคยซักเท่าไหร่ ประมาณนั้นน่ะค่ะ อาจจะใช้เมจิกสีต่างๆกัน 12 สีเพื่อแยกให้เห็นชัดๆว่าจ่ายจริงของเดือนไหน เช่น มค.คุณก็แจกเมจิกสีแดงให้เค้าเขียนวันที่จ่าย  กพ.จ่ายจริงใช้สีเขียว เพราะรายการจ่ายก่อนหลังอาจจะไม่เป็นไปตามที่ได้รับ รับก่อนจ่ายหลัง อะไรทำนองนั้น ถ้าคุณต้องมานั่งคัดรายการในสมุดเค้าจริงๆจะได้แยกได้ง่ายน่ะค่ะ อันนี้คิดแบบเบๆกรณีที่เค้าไม่อยากเรียนรู้เทคโนโลยีน่ะนะคะ

จากคุณ : aayin [15 ธ.ค. 55 04:32:09 ]
ความเห็นที่ 10

ขอบคุณครับ จริงอย่างที่คุณ aayin บอกครับ ผมพยายามหลายวิธีแล้วแต่ท่านๆก็ไม่ยอม
ที่น่าตกใจคือ ตอนนี้เขาลงบัญชีเฉพาะตอนจ่ายจริงครับ เพียงแต่ลงวันที่ตามใบส่งของ

เช่น วันนี้จ่ายค่าเหล็กเส้น 17/12/55 ซึ่งมีเครดิตสองเดือน วันนี้ลงบัญชีเขาจะลงเป็น
วันที่ 17/10/55 มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการตั้งหนี้เลย ข้อมูลอยู่ในกระดาษเอามาทำอะไรก็ช้า

จากคุณ : sacrifar [17 ธ.ค. 55 13:17:26 ]