การทำงาน 11 ชม ต่อวัน โดยเหมาจ่ายไม่ถือเป็นโอทีได้ไหม

สอบถามหน่อยครับ พอจะมี มีวิธีเลี่ยงการจ่ายโอที่ สำหรับพนักงานที่ทำงาน11 ชม อย่างไร

คิดเป็นเหมาจ่ายได้หรือไม่ จะขัดกับกฏหมายแรงงานหรือเปล่าครับ

ถ้าทำ จันทร์-ศุกร์  คิดเป็น ชม.ทำงาน 9.5 ชม 5 วัน จ่ายตามค่าแรงขั้นต่ำจะถูกต้องหรือไม่ครับ (48 ชม/สัปดาห์) เกินกว่านี้ให้ถือเป็นจ่ายโอที หน่ะครับ

ขอบคุณมากครับ

จากคุณ : PrinceOfNetwork [14 ธ.ค. 55 10:56:17 ]
ความเห็นที่ 1

8ชั่วโมงคือค่าแรงปกติ
3ชั่วโมงคือโอที
เหมาจ่ายไม่ถือเป็นโอที  แต่บางคนก็ถือว่า
โอทีรวมในค่าเหมาจ่ายแล้ว

จากคุณ : ขงจื๊อ ขงเบ้ง [14 ธ.ค. 55 11:17:48 ]
ความเห็นที่ 2

จั่วหัวมาก็ผิดแล้วครับ

ถามมาว่าเลี่ยงที่จะจ่ายโอทีได้หรือไม่ คุณเองก็เข้าใจความคิดตัวเองอยู่แล้วว่าต้องการที่จะเลี่ยงการจ่าย ดังนั้นอะไรก็แล้วแต่ที่เลี่ยง จำไว้เลยว่ามักขัดต่อกฎหมาย

กรณีพนักงานทำงาน 11 ชั่วโมงต่อวันและเป็นงานในหน้าที่ปรกติ การเลี่ยงไม่จ่ายค่าทำงานล่วงเวลา ไม่สามารถทำได้อย่างถูกกฎหมาย ท่านต้องจ่ายค่าจ้างในช่วง 8ชั่วโมงแรกให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ส่วนที่เกินไป หักเวลาพักไม่น้อยกว่า 20 นาทีสำหรับการทำงานล่วงเวลาตั้งแต่ 2 ชม.(ม.27) จ่ายให้ไม่น้อยกว่า มาตรา 61 ถามว่าการเหมาโอทีทำได้หรือไม่ ตอบว่าทำได้ครับ แต่ต้องเหมาแล้วจำนวนเงินที่เหมามากกว่าหรือเท่ากับค่าจ้างทำงานล่วงเวลาที่เขาพึงมีสิทธิได้ตามมาตรา 61 หากเหมาแล้วได้น้อยกว่าสิทธิ ไม่สามารถทำได้ครับ

จากคุณ : Chalk_HR [14 ธ.ค. 55 11:47:26 ]
ความเห็นที่ 3

ขอบคุณมากครับ พอดี พี่ที่ ทำงานฝากถามมาครับ

ต้องขอบคุณ และต้อง ขอโทดด้วยนะครับ ที่ ถามคำถาม ไม่ควรหน่ะครับ (เห็นพี่เขาเครียด ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว เลยหา แนวทางช่วยหน่ะครับ

ขอบคุณครับ ^^

จากคุณ : PrinceOfNetwork [14 ธ.ค. 55 11:59:09 ]
ความเห็นที่ 4

คุณ จขกท ก็จ้างไปปรกติสิครับ จะไปเครียดทำไม ม่ายเข้าจาย

เจตนารมน์กฏหมายก็ไม่ใช่ว่า จะยึดทรัพย์นายจ้าง ขายทอดตลาด ปิดกิจการ จับนายจ้างยัดคุก ยัดตาราง นี่หน่า

ดูแลลูกน้องดีๆ ลูกน้องก็รัก เขารัก ก็ทำงานกับเรานานๆ

ตามกฎหมาย ไม่มีเจ้าทุกข์ ไครก็ทำอะไรเราไม่ได้

เคยจ้างอย้างไร ก็จ้างอย่างนั้น คิดมากเดี๋ยวหัวหงอกเร็วนะ

จากคุณ : via คณิตกรณ์ (ท้าวปากจัด) [14 ธ.ค. 55 13:55:47 ]
ความเห็นที่ 5

พูดสั้นๆง่ายๆ คืองก ไม่อยากจ่ายค่าแรงเยอะ จ้างวิศวะค่าแรงกรรมกร หาทางเลี่ยงไปเรื่อย ซึ่งคำถามแบบนี้ ผมรู้สึกแย่มากๆๆๆ เพราะผ่านพวกนี้มา

จากคุณ : ^Ai^ [14 ธ.ค. 55 15:33:54 ]A:58.8.234.231 X: TicketID:280139
ความเห็นที่ 6

ตามที่ทุกคนบอกนั่นแหละค่ะ
เหมาได้ แต่ผิดกฎหมาย

จากคุณ : อยากเขกหัวตัวเอง [14 ธ.ค. 55 15:58:40 ]
ความเห็นที่ 7

บัตรผ่าน ความเห็น 5 ครับ

ไม่มีใครเอาปืนจี้หัวคุณให้ทำงานนะครับ คุณอยากทำงานกับเขา เขาให้ค่าแรงคุณเท่านี้ คุณรับได้หรือไม่

ถ้าได้ก็ทำ ไม่ได้ก็ไม่ต้องทำ เอางี้สิ คุณจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จ้างพนักงานมาสิ ดูสิว่าคุณจะทำอย่างไร ให้เงินเดือนเท่าใหร่

ตอบกระทู้เอาเท่ห์ หาที่ยืนให้ตัวเอง (โชว์พาว ว่างั้นเหอะ)

จากคุณ : via คณิตกรณ์ (ท้าวปากจัด) [14 ธ.ค. 55 16:08:01 ]
ความเห็นที่ 8

ก็เอาแบบนี้ซิครับ ให้บอกว่าไปว่าค่าแรงปกติ 8 ขั่วโมงแรกได้เท่าไหร่ แล้วเพิ่มอีก 3 ชั่วโมงจะกลายเป็นเท่าไหร่ ซึ่งยอดสุดท้ายจะเท่ากับยอดที่คุณต้องการจ่าย แค่นี้ก็ฟังดูดีเหมือนว่าเราจ่ายโอทีให้แล้วครับ

แต่ที่จริงก็คือเงินที่เราต้องการจ่ายไม่เกินแค่นั้นเองครับผม เช่น ทำงานชั่วโมงละ 50 บาท
8 ชั่วโมงแรก ได้ 400
3 ชั่วโมงของโอที จ่าย 1.5 เท่า คิดเป็นเงิน 225 บาท
รวมจ่ายทั้งวันเท่ากับ 625 บาท

ที่นี้ก็มาคำนวนกลับว่าในหนึ่งวันอยากจะจ่ายเท่าไหร่ ลองดูละกันครับ

จากคุณ : เนจิ แห่ง โคโนหะ [14 ธ.ค. 55 17:56:53 ]
ความเห็นที่ 9

ขอบคุณ คห8 มากครับ

จากคุณ : อุจิวะ ซาซึเกะ (PrinceOfNetwork) [14 ธ.ค. 55 19:22:40 ]
ความเห็นที่ 10

ทำแบบ #4 อาจจะมีปัญหาภายหลังได้

ซึ่งหากมีปัญหา เช่น ลูกจ้างไม่พอใจอะไรซักอย่าง หรือเจอยุแหย่
แล้วเอาผิดย้อนหลัง OT ที่จ่ายไม่ถูก+ดอกเบี้ย จะยุ่งเอานะครับ

จากคุณ : MAX [15 ธ.ค. 55 03:12:47 ]
ความเห็นที่ 11

คห.4 ลองไปหาประวัติโรงงานAUWA ดูครับ ถึงขนาดโดนยึดทรัพย์ ขาดทอดตลาดโรงงานชำระค่า โอทีย้อนหลังที่สะสมหลายปีเลยนะ

จากคุณ : พี (peh_chai) [15 ธ.ค. 55 06:49:09 ]
ความเห็นที่ 12

auwa ชื่อเต็มชื่ออะไรล่ะ

จากคุณ : via คณิตกรณ์ (ท้าวปากจัด) [15 ธ.ค. 55 11:16:27 ]
ความเห็นที่ 13

ทำอย่างนั้นมันก็ทำได้ครับ...ไปตกลงกับลูกจ้างให้ยอมรับสภาพ
แต่ในเมื่อรู้ทั้งรู้...มันจะต่างอะไรกับการทำนาบนหลังคน..!!!

จากคุณ : Chalk_HR [15 ธ.ค. 55 13:10:33 ]
ความเห็นที่ 14

มันไม่ใช่เรื่องการรับสภาพอะไรอย่างที่คิดหรอกครับ

และมันก็ไม่ใช่การทำนาบนหลังคนอย่างที่จินตนาการครับ!!!

จากคุณ : via คณิตกรณ์ (ท้าวปากจัด) [15 ธ.ค. 55 15:04:54 ]
ความเห็นที่ 15

การทำงานคือขั้นต่ำ 40 ชม แต่ไม่เกิน 48 ชม ต่อสัปดาห์ตามกฏหมายแรงงาน แต่ถ้าในวันทำงานตรงกับวันหยุดพิเศษ ต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มอีก 1 เท่า  การจำยอมรับสภาพเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีที่ไป แต่ท่านจะไม่ได้รับผลของงานที่ดี จำไว้ว่า ค่าจ้างเป็นธรรม งานเดิน  เงินดี งานดี   เงินงาม งานสวย แต่เมื่อไหร่ที่ค่าจ้างย้วยไปย้วยมา งานก็มั่วซั่วสุดย้วยครับ (ปล ลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้ท่านเพื่อผลสำเร็จของงาน ท่านมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างตามหน้าที่ โปรดจำไว้ว่าลูกจ้างไม่ได้กินหญ้าครับ)

จากคุณ : oker [16 ธ.ค. 55 10:19:56 ]
ความเห็นที่ 16

มีตรงใหนรึเปล่าครับที่บอกว่า ให้จ่ายค่าจ้างย้วยไปย้วยมา

และมีตรงใหนครับที่บอกว่าไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตามหน้าที่ ?

เฮ้อ....เหนื่อย

จากคุณ : via tablet์ (ท้าวปากจัด) [16 ธ.ค. 55 19:55:18 ]
ความเห็นที่ 17

ความคิดเห็นที่ 8

บางคนมันเลือกไม่ได้เหมือนคุณครับ ชอบในวิชาช่าง จะให้ไปเป็นพนักงานเซเว่นหรือไง

ไม่มีปัญญาเปิดบริษัทครับ

ก็อย่ามากัดเค้า ถ้ารวยก็อยู่ส่วนรวยไป

จากคุณ : ^Ai^ [17 ธ.ค. 55 08:55:50 ]A:115.87.193.145 X: TicketID:280139
ความเห็นที่ 18

อ่านแล้วหนื่อยใจ
เอาเป็นว่าท่านไปค้นฎีกาแรงงานเลขที่ 5978/2550 อ่านแล้วกันครับ จะได้ทราบว่า ศาลท่านอนุญาตให้เหมาค่าทำงานล่วงเวลาในค่าจ้างหรือไม่ เรื่องนี้ผมไม่ได้พูดเองแล้วนะ แต่เป็นศาลท่านกล่าวเอาไว้

จากคุณ : Chalk_HR [20 ธ.ค. 55 14:08:25 ]
ความเห็นที่ 19

คำพิพากษาฎีกา คดีแนวเดียวกัน ยังตัดสินไม่เหมือนกัน อยู่ที่พยานแวดล้อม หลักฐาน การนำสืบ

เหมือนความคิดคนครับ ต่างคนต่างความคิด ไม่มีใครสามารถทำให้ทุกคนคิดเหมือนกันได้ทั้งหมดครับ

จากคุณ : via คณิตกรณ์ (ท้าวปากจัด) [20 ธ.ค. 55 23:07:47 ]