|
ความคิดเห็นที่ 196 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๑. มูลปริยายวรรค ๕. อนังคณสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส (ปุคฺคโล อนงฺคโณว) http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=752&Z=1023&bgc=lavender
ย่อความได้ดีครับ ประเด็นครบถ้วนดี แต่มีควรแก้ไขบางอย่าง เช่นคำบางคำและวิธีการย่อความ ดังนี้ :-
บุคคลในโลกนี้ (โดยสมมติ ไม่ใช่โดยปรมัตถ์) มีอยู่ ๔ จำพวก คือ ๑. ผู้ที่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า ตนมีกิเลส บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม ๒. ผู้ที่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า ตนมีกิเลส บัณฑิตกล่าวว่าเป็นบุรุษประเสริฐ ๓. ผู้ที่ไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า ตนไม่มีกิเลส บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม ๔. ผู้ที่ไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า ตนไม่มีกิเลส บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ
ควรแก้ไขเป็น บุคคลในโลกนี้ (โดยสมมติ ไม่ใช่โดยปรมัตถ์) มีอยู่ ๔ จำพวก คือ ๑. ผู้ที่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า ตนมีกิเลส ๒. ผู้ที่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า ตนมีกิเลส ในบรรดาผู้ที่มีกิเลสนั้น ผู้ไม่รู้ตามเป็นจริง เป็นบุรุษเลวทราม, ส่วนผู้รู้ตามเป็นจริง เป็นบุรุษประเสริฐ. ๓. ผู้ที่ไม่มีกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า ตนไม่มีกิเลส ๔. ผู้ที่ไม่มีกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า ตนไม่มีกิเลส. ในบรรดาผู้ที่ไม่มีกิเลสนั้น ผู้ไม่รู้ตามเป็นจริง เป็นบุรุษเลวทราม, ส่วนผู้รู้ตามเป็นจริง เป็นบุรุษประเสริฐ. -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ลักษณะการย่อความ ข้อ 1 ถึง ข้อ 13 :- ๑. ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติ ก็ปรารถนาว่า ผู้อื่นอย่ารู้เลยว่าเราต้องอาบัติ แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุทั้งหลายจะรู้ว่า ภิกษุนั้นต้องอาบัติแล้ว ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น (เพราะเสียลาภ) ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ก็คือ อังคณะ ๒. ... ก็ปรารถนาว่า ภิกษุทั้งหลายพึงโจท (ฟ้องร้อง) เราในที่ลับ ไม่พึงโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ ... ... ๑๓. ... โอหนอ เราเท่านั้นพึงได้บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ...
ในการย่อความนั้น ข้อแรก แสดงเนื้อความเต็มตามที่แสดงมาในข้อ ๑. ข้อถัดไป สามารถแสดงย่อได้ด้วยจุด ... (จุดสามจุด) แต่ในข้อสุดท้าย ควรแสดงเนื้อความเต็มอีกครั้งหนึ่ง เทียบเคียงอรัญญวรรคที่ ๔ ซึ่งพอเป็นตัวอย่างให้เห็น คือพระสูตรแรก และพระสูตรสุดท้ายแสดงเนื้อความเต็ม ส่วนพระสูตรในระหว่างใช้วิธีย่อ. อรัญญวรรคที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=5103&Z=5183
๑๓. ... โอหนอ เราเท่านั้นพึงได้บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ...
ควรแก้ไขเป็น ๑๓. ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้นพึงได้บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุอื่นไม่พึงได้บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต แต่เป็นไปได้ที่ภิกษุอื่นได้บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต แต่ภิกษุนั้นไม่ได้บิณฑบาต, เสนาสนะ, คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ดังนั้น ภิกษุนั้นก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น เพราะเหตุนั้น ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้งสองนี้ก็คือ อังคณะ -----------------------------------------------------------------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อนังคณสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=752&Z=1023&bgc=snow ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=53&bgc=snow
จากคุณ |
:
ฐานาฐานะ
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ธ.ค. 55 23:25:57
|
|
|
|
|