Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ผลการเสวนา "กรุงเทพฯกับกับการเป็นเมืองจักรยาน" vote ติดต่อทีมงาน

ต้นเดือนตุลาคม 2555 ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้เชิญ ดร.เบิร์นฮาร์ต เอ็นซิงค์ เลขาธิการของสหพันธ์ผู้ใช้จักรยานของยุโรป หรือ (ECF- European Cyclists’ Federation) มาแลกเปลี่ยนกับคนไทยสองกลุ่ม คือ 1 กลุ่มนักวิชาการกับเจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลาง และ 2 กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรพัฒนาภาคเอกชน (เอ็นจีโอ) และผู้สนใจทั่วไป

อีซีเอฟนี้เป็นองค์กรด้านจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีอิทธิพลต่อนโยบายเมืองของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะในยุโรป มีสมาชิกที่เป็นองค์กรจักรยานในประเทศไทยต่าง ๆ ถึง 70 องค์กร ใน 40 ประเทศ ซึ่งรวมเอา ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งได้รับอนุมัติในขั้นต้นให้เป็นสมาชิกสมทบขององค์กรอีซีเอฟแล้ว

ดร.เบิร์นฮาร์ตได้ฟันธงหลังจากไปทดลองขี่จักรยานในกรุงเทพมหานครว่า กรุงเทพฯยังเป็นเมืองจักรยานไม่ได้ในระยะเวลาอันสั้น ๆ เพราะ
สภาพต่าง ๆ ทางกายภาพและแรงกดดัน หรือเสียงเรียกร้องของประชาชนยังไม่ดีพอและไม่มากพอ

แต่กรุงเทพฯไม่ใช่ประเทศไทยยังมีเมืองอีกมากมายในประเทศไทยที่พร้อมกว่ากรุงเทพมหานครในการที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองจักรยาน คำถามคือ จะทำได้อย่างไร ต่อไปนี้เป็นคำตอบ…

ณ ปัจจุบัน เรายังไม่มีเมืองจักรยานเลยในประเทศ ดังนั้นหากต้องการให้มีเมืองจักรยานก็ต้องเริ่มต้นเสียแต่วันนี้ ซึ่งนั่นแปลว่าเราเป็นได้แค่ ‘กลุ่มเมืองเริ่มต้น’ ที่จะเริ่มทำระบบจักรยานขึ้นในเมืองของเรา โดยไม่ควรไปลอกแบบ ‘เมืองจักรยานระดับแชมเปี้ยน’ แบบที่เราเคยเห็นกันตามโทรทัศน์หรือยูทูบ เพราะมันทำไม่ได้และหากไปลองทำแล้วทำไม่ได้เราก็จะเกิดความเครียดและหมดกำลังใจ

การเริ่มต้นควรเน้นที่ระบบจักรยานในระยะทางใกล้ ๆ ไม่เกิน 5 กิโลเมตรในละแวกบ้าน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเพียงละแวกเดียวในแต่ละชุมชนหรือแต่ละเมือง แต่ต้องไม่ไปวางแผนหรือทำในระดับทางจักรยานข้ามเมืองหรือระหว่างเมือง ซึ่งนั่นเป็นงานของเมืองจักรยานที่พัฒนาไปเป็นระดับแชมเปี้ยนแล้วและในการเริ่มต้นนั้น เราต้องเน้นไปที่ความปลอดภัยและเส้นทางตรงไม่อ้อมไปอ้อมมาเป็นอันดับหนึ่ง

รวมทั้งการกระตุ้นให้คนหันมาใช้จักรยาน ซึ่งต้องทำไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ทางและระบบจักรยานนั้น ใช้สบายและสวยงามน่าใช้จากนั้นก็ไปสู่ด้านการทำให้ระบบทางจักรยานเชื่อมต่อกับโครงข่ายของเมืองได้ ซึ่งหมายถึงไปต่อกับระบบขนส่งมวลชน หรือขนส่งสาธารณะและการบริการสาธารณูปโภคอื่น ๆ

ส่วนเรื่องการโน้มน้าว ชักจูงและการให้รางวัลแก่คนที่หันมาใช้จักรยาน ยังไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับเมืองกลุ่มเริ่มต้นนัก เพราะโน้มน้าวหรือให้รางวัลอย่างไร ผู้คนก็ไม่ใช้จักรยานเพราะความปลอดภัยยังมีไม่มากพอ

สรุปคือสำหรับประเทศเรา ต้องเน้นไปที่เรื่องความปลอดภัยและเส้นทางตรง ๆ สั้น ๆ ในละแวกบ้านเป็นหลัก เรื่องอื่นยังไม่ต้องเน้นแต่ถ้าพื้นที่ใดหรือชุมชนใดเกิดประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นกลุ่มสองหรือกลุ่มไต่ระดับ ผู้ผลักดันจักรยานในพื้นที่หรือชุมชนนั้นก็ต้องหันมาเน้นเรื่องการเชื่อมต่อกับโครงข่ายเมืองและการโน้มน้าวชักจูงมากขึ้น เพราะถึงเวลานั้นทางจักรยานน่าจะมีมากพอสมควรแล้ว จึงต้องนำไปเชื่อมกับโครงข่ายเมืองและต้องชักจูงคนให้มาใช้สิ่งที่รัฐลงทุนก่อสร้างให้ไปแล้วให้มากขึ้น

ไม่เช่นนั้นก็เสียของ ...ส่วนเรื่องไปถึงเมืองระดับแชมเปี้ยนนั้นยังอีกไกล ขอยังไม่พูดถึงแล้วกันครับ.

ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่ง


http://www.dailynews.co.th/article/728/170030

จากคุณ : หมาป่าดำ
เขียนเมื่อ : 2 ธ.ค. 55 12:01:30




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com