 |
ความคิดเห็นที่ 133 |
|
เดือนหน้าก็อายุ 40 แล้วค่ะ ตั้งแต่เรียนจบจนถึงปัจจุบันก็ทำงานมาทั้งสิ้น 14 ปี แต่เริ่มเก็บเงินตั้งแต่เด็กเลยนะคะ จำได้ว่าทุกตรุษจีน พ่อจะให้เงิน 2000 บาทไปซื้อเสื้อผ้าใหม่ และให้เงินสดลูกทุกคนๆละ 10000 บาททุกปี เราเก็บเงินได้มากกว่าน้อง จบปริญญาตรีมีเงินเก็บหลักแสนค่ะ พอจบปริญญาโทก็เริ่มทำงาน เงินเดือนเริ่มแรก 20500 บาท (เมื่อ 14 ปีที่แล้ว)
วิธีการเก็บเงินตอนนั้น(เริ่มทำงาน) คือ 40 : 30 : 30 (ประมาณการ) 40% เอาไว้เป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน 30% เก็บออมเข้าบัญชีฝากประจำทุกเดือน 30% ให้คุณแม่
ตอนนั้นเราบอกกับพ่อและแม่ว่า หากเรามีเงินเก็บครบ 1 ล้านบาทเมื่อไร เราจะพาท่านไปทานโต๊ะจีนเมนูพิเศษ หลังจากทำงานได้ 5 ปี แล้ววันหนึ่งเราก็แอบจองร้านอาหาร พาท่านไปกินข้าวบอกพ่อแม่ว่า ทำสำเร็จแล้ว แต่พี่น้องไม่มีใครทราบว่าเราเลี้ยงโต๊ะจีนด้วยเหตุผลใด แล้วเราก็บอกพ่อแม่อีกว่า คราวหน้าหากเรามีครบ 10 ล้านเมื่อไร เราจะพาท่านไปฉลองอีกนะ พ่อแม่ก็รับทราบ แต่ตอนนี้ยังมีไม่ถึงค่ะ
วิธีการเก็บเงินของเราในปัจจุบัน คือ 40 : 30 : 30 เช่นเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในแต่ละส่วน คือ
รายได้มาจาก เงินเดือนเรา + เงินที่สามีให้+โบนัส+เงินปันผล+ดอกเบี้ยรับ+กำไรจากการซื้อขายทองคำและหุ้น
รายจ่าย 1. ค่าเทอมลูก 2 คน ประมาณ 250,000 บาท / ปี 2. ค่าประกันสุขภาพ 4 คน ประมาณ 150,000 บาท/ ปี (เป็นการประกันว่าหากเจ็บป่วย มีเงินรักษา และเก็บออมในตัว ครบกำหนดได้เงินคืนถึงจะไม่มากก็เถอะ สำหรับเราและสามีก็เอาไปลดหย่อนภาษีได้) ประกันบ้าน ประกันรถ ประมาณ 30,000 บาท / ปี 3. ให้คุณแม่เดือนละ 10,000 บาท ตรุษจีนให้พ่อกับแม่คนละ 30,000 บาท รวมให้พ่อกับแม่ 180,000 บาท / ปี 4. ท่องเที่ยวต่างประเทศปีละ 1 ครั้ง หรือ 2 ปี ครั้ง แต่ปีที่ผ่านมา ทริปใกล้ๆ เกาหลี กับ สิงคโปร์ ประมาณ 200,000 บาท 5. เงินเก็บให้ลูก 2 คน(อายุ 7 ขวบ กับ 5 ขวบ) ทะยอยเข้าบัญชีไปตลอดปี แต่ต้องไม่ต่ำกว่าคนละ 100,000 บาท ต่อปี รวมเท่ากับ 200,000 บาท / ปี (รายจ่ายของเราแต่เป็นเงินออมของลูก ลองคำนวณอายุลูกดูค่ะว่า 2 คนรวมกันมีเท่าไรแล้ว)
สรุป 1 ปี เรามีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,001,000 บาท แต่ค่าใช้จ่ายของเราบางตัวเป็นเงินเก็บทางอ้อม ส่วนเงินที่เหลือจากรายจ่ายข้างต้นก็เป็นเงินเก็บส่วนตัวของเรา ใช้ซื้อเสื้อผ้าบ้าง ของที่อยากได้บ้างเล็กน้อย (เสื้อผ้าเยอะมาก กระเป๋าแบรนด์เนมเยอะมาก ตอนนี้เริ่มชินไม่อยากซื้อเพิ่มแล้ว เพราะซื้อมาเยอะก็ใช้ได้ทีละ 1 ใบ เก็บไม่ดี เน่าได้อีก ของเราเน่าไป 3 ใบแล้วค่ะ) เราไม่มีภาระที่จะต้องผ่อนใดๆ
ชอบพกบัตรเครดิตมีเกือบ 10 ใบ แต่ใช้บ่อยๆแค่ 3 ใบ และใช้บัตรรูดทุกโอกาสที่อำนวย แต่จ่ายเต็มทั้งหมด จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ UBC ตัดผ่านบัตรทั้งหมด ได้แต้มสะสมด้วยค่ะ หากคุณบริหารดีๆมันจะมีประโยชน์กับเรามาก เครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้านเรา เราใช้คะแนนบัตรเครดิตแลกเกือบทั้งหมด เช่นโทรทัศน์ 21 นิ้ว แลกมา 2 เครื่อง หม้อหุงข้าว หลายใบมาก กาน้ำร้อน เครื่องดูดฝุ่น เตารีด เครื่องปิ้งขนมปัง Voucher ร้านอาหาร และอื่นๆอีกมากมายค่ะ
ที่บ้าน Love วางกระปุกออมสินของลูกตามมุมโต๊ะรับแขกค่ะ คุณตาคุณยายเดินผ่านมีเศษเหรียญก็หยอดให้ ลูกชายเหลือเงินจากโรงเรียนก็เอามาหยอด เอาออกมานับที่ได้เป็นพันเลยค่ะ นอกจากนี้สามียังสัญญากับลูกว่าทุกสิ้นเดือนที่ลูกเปิดกระปุกออมสิน หากลูกมีเงินเท่าไร พ่อจะเพอ่มให้เท่าจำนวนเงินที่ลูกมี นี่ก็เป็นวิธีการสอนให้ลูกออมเงินวิธีหนึ่งของบ้านเราค่ะ
บางครั้งอ่านความเห็นของน้องๆในห้องนี้ ยังรู้สึกว่าทำไมตอนเราอายุเท่าน้อง เราไม่เป็นแบบนี้ ไม่ไล่ตามแฟชั่น ก็ได้คำตอบให้กับตัวเองว่า เพราะสมัยเราเด็กๆ ไม่มี internet โลกไม่หมุนเร็วเหมือนปัจจุบันนั่นเอง ตอนนั้นเราก็มีแค่นิตยสารเธอกับฉัน วัยน่ารัก ประมาณนั้น
อยากจะบอกน้องๆทุกคนว่า การออมนั้นเริ่มทำได้เพียงวันละเล็กละน้อย ลองหากระปุกออมสินมา 1 ใบ กลับมาบ้านก็เอาเศษเหรียญหยอดลงไป วันละ 5 บาท 10 บสท พอครบ 6 เดือนลองเอาออกมานับดูจะตกใจกับจำนวนที่ได้ เริ่มวันพรุ่งนี้เลยนะคะ
จากคุณ |
:
Love to be me
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ต.ค. 52 22:27:22
|
|
|
|
 |