Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ช่วยวิจารณ์บทความให้หน่อยค่ะ อยากได้คำแนะนำ เพื่อการเขียนที่ดีขึ้นค่ะ อาจารย์ให้แต่คะแนน อย่าได้คำติชมค่าาา vote ติดต่อทีมงาน

http://www.dailynews.co.th/society/157512

“คนแคระ” หนังสือดีรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2555 แต่งโดย “วิภาส ศรีทอง” จากข่าว ที่หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลซีไรต์เป็นเพราะเนื้อหาสะท้อนปัญหาสัมพันธภาพระหว่างมนุษย์ในโลกปัจจุบัน ความโดดเดี่ยวอ้างว้างของกลุ่มคนหนึ่งๆที่โหยหาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์แต่ในขณะเดียวกัน ก็ปิดกั้น หรือจำกัดความสัมพันธ์นั้นไว้วรรณกรรมที่ดีควรสะท้อนความเป็นจริงได้สมจริง ต้องไม่ผูกติดอยู่กับสถานที่และยุคสมัยวรรณกรรมที่ดีต้องสะท้อนสังคมและเปลี่ยนแปลงสังคม คำถามคือ “สังคมในโลกปัจจุบันโหยหาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์จริงหรือไม่?”
หนังสือเรื่องคนแคระ ผู้เขียนพยายามสะท้อนความเหลวแหลกของชนชั้นกลาง ที่จับเอาคนแคระไปขังไว้ สะท้อนให้เห็นปัญหา การที่เรามองคนที่ด้อยกว่าเป็นตัวตลก มองว่าพวกเขาไม่ใช่มนุษย์เหมือนกับเรา ในที่นี้จะขอกล่าวถึง “คนแคระ”จะเห็นได้จากวงการตลก นำคนแคระมาเล่นตลก ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ก็ตาม เรามักจะมีความสุข มีเสียงหัวเราะทุกครั้ง ที่คนแคระได้กระทำการอะไรออกไป เราอาจจะอ้างว่า เราเอ็นดูในความน่ารักของเขา ไม่ได้มีเจตนาจะ หัวเราะเยาะเย้ย แต่ในส่วนลึกของจิตใจเรานั้น อาจไม่ได้คิดดังเช่นที่เราพูดออกมา เพราะอย่างไรก็ตาม เราก็ยังมองพวกเขาเหมือนเป็นตัวตลกอยู่นั่นเอง นี่อาจจะเป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเราคนไทยด้วยกัน มีลักษณะเหมือนมีเส้นใยบางๆกั้นอยู่ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนแคระเท่านั้น เรามักจะตัดสินและเรียกประชาชนที่อยู่นอกเขตเมืองหลวง ประชาชนที่ทำการเกษตร ประชาชนที่เป็นตาสีตาสา ว่า “ชนชั้นรากหญ้า” ถ้าหากเรามองเขาว่า เป็นชนชั้นรากหญ้า และเราเป็นชนชั้นยอดหญ้า เราเองก็คงเป็น”หญ้า”ที่ไม่ต่างอะไรกัน
วรรณกรรมนำเสนอมุมมอง ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม หรือความต้องการของผู้เขียน ที่ต้องการจะชักจูงให้ผู้อ่านมีความคิดไปในทางเดียวกับตนเพราะวรรณกรรมมีอำนาจต่อการแทรกซึม หรือครอบงำความคิดคนเราได้อย่างง่ายดาย ดังเช่นเรื่อง “คนแคระ” ผู้เขียนพยายามกระตุ้นให้เราฉุกคิด ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และต้องการการแก้ไข “วรรณกรรมสะท้อนสังคมจะแก้ไขปัญหาสังคมได้จริงหรือไม่?” เป็นคำถามที่ถูกถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็ยังไม่มีคำตอบที่จะช่วยไขความกระจ่างให้กับเรา เพราะมีหนังสือมากมายหลายเรื่อง ที่พยายามสะท้อนปัญหาสังคม ให้คนในสังคมได้ตระหนักถึง แต่แล้วในทุกวันนี้ปัญหาต่างๆ ก็ยังมีให้เห็นกันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความขัดแย้งทางการเมือง ฯลฯ (1)ร.ศ.นพพร ประชากุล  กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่ผู้อ่านส่วนใหญ่ได้รับจาการอ่าน นวนิยายสะท้อนสังคมเป็นเพียงความพึงพอใจ ที่ได้รับรู้ซ้ำถึงปัญหาสังคมที่คุ้นเคยอยู่แล้ว และอาจ เกิดอารมณ์ชั่ววูบ คล้อยตามตัวละครที่ตกเป็นเหยื่อ แต่ไม่นานอารมณ์เหล่านั้นก็ดับมอดไป” อาจจะเป็นเพราะคนไทยชอบตามกระแส เมื่อมีกระแสใดเกิดขึ้นก็มักจะเฮกันตามกระแสนั้น อยู่ซักพักหนึ่งก็หายไป โดยพื้นฐานนิสัยของคนไทยแล้วไม่ค่อยตั้งคำถาม เชื่อผู้นำ และมักจะยอมรับชะตากรรมของตัวเอง รอคนอื่นมาแก้แทนที่จะช่วยกันแก้ปัญหา ต่างคนต่างรอ ปัญหาที่มีอยู่จึงเพิ่มขึ้น และนี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่วรรณกรรมสะท้อนสังคมไม่อาจแก้ปัญหาได้จริง เห็นที่เราต้องหันมาเขียน วรรณกรรมแก้ปัญหาสังคม มองกว่าแค่สะท้อนสังคมอย่างเดียวกระมัง.

(1)อดีตอาจารย์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนหนังสือ “ยอกอักษร ย้อนความคิด”

แก้ไขเมื่อ 15 พ.ย. 55 21:09:14

จากคุณ : Isisly
เขียนเมื่อ : 15 พ.ย. 55 18:17:26




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com