ความคิดเห็นที่ 10
CPU มันไม่ได้วัดกันที่ Clock Speed อ่ะ เค้าวัดกันที่ความสามารถในการประมวลผลมากกว่า
AMD ไม่คิดจะใช้ DDR2 ด้วย เนื่องจากมี Latency สูง สวนทางกับแนวทางการพัฒนาของ AMD ที่ต้องการจะลด Latency เพื่อเพิ่มความสามารถในการประมวลผล
- - - - - - - -
Athlon 64 4200+ นั้น วิ่งที่ 2.2 GHz L2Cache 512+512KB
ถ้าจะเทียบให้เป็น Single Core ที่ความเร็วนี้ ก็คือรุ่น 3500+ ซึ่งมีราคาค่าตัวประมาณ 11000 บาท
DualCore มันก็คือการมี CPU 2 ตัว ราคาก็ย่อมเป็นไปตามการซื้อ CPU 2 ตัวด้วย Athlon 64 3500+ ตัวละ 11000 สองตัวก็ 22000 บาท เทียบเท่าราคา 4200+ นั่นแล
แต่ pentium D ราคามันถูกจริงๆ น่ะแหละ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน
- - - - - - - - ถึง reply ที่ 6
DDR2 มี Bandwidth ตามทฤษฎีสูงกว่า DDR1 ครับ เนื่องจากมี Bus สูงกว่า (ส่งผลให้ Latency สูงตาม)
แต่ในความเป็นจริงได้ Bandwidth น้อยกว่าตัวเลขที่บอกไว้ ก็เพราะว่าคอขวดบน FSB 800 MHz ไงครับ (ไม่ขอพูดถึงเรื่องคอขวดบน HDD)
DDR1 ทั่วไปแล้วจะใช้กันที่ PC3200 (400 MHz) ซึ่งจะมี Bandwidth ตามทฤษฎีเท่ากับตัวเลข PC ก็คือ 3.2 GB/s และเมื่อต่อ Dual Channel ส่งผลทำให้มี Bandwidth เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า นั่นก็คือ 6.4 GB/s
แต่ว่า FSB 800 MHz (QDP) ที่บอกไปไว้ตอนต้น ต่อไปนี้ขอเรียกว่า Bus Bus 800 MHz นั้นตีเป็นตัวเลข Bandwidth ก็จะได้ 6.4 GB/s นั่นก็หมายความว่า ทั้งระบบ จะมีการรับส่งข้อมูลได้ไม่เกินตัวเลขนี้ ซึ่งก็คือ 6.4 GB/s
การรับส่งระหว่าง CPU กับอุปกรณ์อื่นๆ จะต้องส่งผ่าน Northbridge (ไม่ขอพูดถึง SB) ด้วย Bandwidth 6.4 GB/s เท่ากับ Memory Bandwidth ทางทฤษฎี แต่ทว่า CPU ไม่ได้รับส่งข้อมูลกับ RAM โดยผ่าน Northbridge อย่างเดียว ไหนจะ HDD, VGA, PCI และอื่นๆ ทำให้ Bus Bandwidth ลดลงไปอย่างมาก เกิดเป็นปัญหา "คอขวด" นั่นเอง ทำให้ Memory Bandwidth ในทางปฏิบัติจริง ทำได้น้อย
Intel จึงพยายามแก้ปัญหานี้โดยการเพิ่ม Bus RAM (อย่าสับสนกับ Bus ระบบ) หวังจะเพิ่ม Bandwidth โดยเปลียนไปใช้ DDR2 แทน ซึ่งก็มีตั้งแต่ 533 MHz ขึ้นไป ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง DDR533 MHz PC4200
PC4200 Dual Channel ทำ Bandwidth ทางทฤษฎีได้ 8.4 GB/s แต่ด้วยปัญหาเดิมๆ ซึ่งก็คือ คอขวด ทำให้ Bandwidth ในทางปฏิบัติที่ออกมา น้อยอีก
AMD เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงจับ Memory Controller ไปไว้บน CPU ซะเลย (Memory Controller ก็คือส่วนย่อยๆ ที่เคยอยู่บน Northbridge ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่าง CPU กับ RAM) แล้วพัฒนา EV6 Bus ของตนเอง เป็น HyperTransport (HTT) โดยมี Bus เป็น 1600MHz ใน Athlon 64 และ 2000 MHz ใน Athlon 64 FX มี Bandwidth ทั้งระบบ เป็น 12.8 GB/s และ 16.0 GB/s ตามลำดับ
แต่การนำ Memory Controller ไปไว้บน CPU ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่าง CPU กับ RAM ไม่ต้องไปแย่งจาก Bus ในระบบ เพราะสามารถติดต่อกันได้โดยตรง ไม่ต้องผ่าน Northbridge อีกต่อไป เกิดเป็น HTT Link อีกอันนึงไว้ใช้ส่วนตัวเลย หมดปัญหาคอขวดไป ทำให้ Memory Bandwidth บน Athlon 64 นั้นมีค่าสูงเกือบๆ เท่าค่า PC ทีเดียว (ไม่ขอพูดถึงกรณี Overclock)
จากคุณ :
Confirmed by : piggy_and_kitty , puuga , Austerlitz , Giraff2001 , Nathan_C , แป้งป่น , Seelawut
LookNoo
- [
6 มิ.ย. 48 02:26:17
A:203.113.45.164 X:203.151.140.120
]
Confirmed by : Zatan , NAME_fgawt , หนุ่มเมืองน่าน , UPluto , ITs.
|
|
|