นิตยสาร บันทึกคุณแม่ |
แวะอ่าน |
|
เรื่อง “เช็คอินปีใหม่..เที่ยวสบายสไตล์ครอบครัวที่ภูฏาน” โดย แม่มิต้า ถ้าคุณอยากรู้เรื่องภูฏานก็ไปคลิกถาม “พี่กู” ดู(Google) มีหมดทุกเว็บเหมือนกันบอกไว้ ลักษณะภูมิประเทศ ภาษา เครื่องแต่งกาย อาหารการกิน สถานที่ท่องเที่ยวฯลฯ แต่ไม่มีเว็บไหนบอกว่า ลำบากมั๊ยถ้าเอาเด็กไปด้วย? ภูฏานเป็นประเทศเหมาะพาเด็กไปมั๊ย? ขึ้นเครื่องมาทั้งลำไม่มีคนอายุต่ำกว่า 20 บนเครื่องเลย คิดไว้ว่าเป็นประเทศหินกลัวลูกมาลำบาก ขอบอกว่าถ้าลูกคุณไม่เป็นเด็กติดห้าง ไม่ไฮโซ ไม่กินตับห่าน ตับไก่ย่างหากินสบาย ไม่แพ้ขนวัวขนควาย แบกขึ้นเครื่องมาเลย ภูฏานสบายกว่าที่คุณคิด ซัลม่อนยัน Bordeaux มีกินใน Amangora ทุกมื้อนี่แหละ ทุกอย่างที่มีในเว็บข้อมูลสำเร็จในพี่กู และโลนลี่แพลเนตเราจะไม่มาเล่าซ้ำ ตั้งแต่เครื่องร่อนลงเห็นโปสเตอร์ “GNH” ที่ดังไปทั่วโลก เลยอยากเอาเรื่อง “ไม่” แปลกๆ ในภูฏานมาเล่าให้ฟังกันค่ะ แน่นอนภูฏานเป็นเมืองพุทธ เขา “ไม่ฆ่าสัตว์” กัน ไม่ฆ่ากันชนิดที่ว่า ในน้ำมีปลาในนา ในนามีข้าว อุดมสมบูรณ์ เก็บเกี๋ยวแต่ข้าว ปลาในน้ำก็ไม่จับมาฆ่ากิน เนื้อสัตว์ใหญ่ นำเข้าจากอินเดีย เนปาล เพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะไก่ ปลา หมา หมู ที่วิ่งอยู่ไม่ฆ่ากินทั้งนั้น โปรตีนนมได้จากนมแพะ และชีสจากตัว YAK สังเกตให้ดี คุณไม่เคยเห็นรูป ภาพถ่ายข้างในวัดภูฏานกันใช่มั๊ย แน่นอน “ไม่ให้ถ่ายรูปในวัด” ค่ะ อยากดูรูปในวัดจริงๆ ก็ นู่นเลย หนังเรื่องLittle Buddha & Seven years in Tibet ลิตเติ้ลบุดด้า กับ เซเว่นเยียส์อินธิเบต ได้อารมณ์มืดๆ สวัวๆ ดูขลังดี อ๊ะอ๊ะให้ดูวัดนะคะ เผลอดูแต่เคียนูรีฟกับแบรดพิท น้ำลายย้อยกันเป็นแถว “ไม่สูบบุหรี่” ในหลายประเทศมีกฎหมายไม่ให้สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ใครอยากอดบุหรี่ อยากเลิกบุหรี่ ตีตั๋วมาภูฏานเลยคะ ห้ามสูบทุกที่ทุกท่าทุกทาง ห้ามซื้อห้ามขาย ใครอยากให้คุณสามีเลิกบุหรี่ ให้ของขวัญเป็นตั๋วเที่ยวภูฏานปีใหม่ – ตรุษจีน – วาเลนไทน์ นี้ซิคะ “ไม่มีสี่แยกไฟแดง ไม่มีไฟจราจร” ถ้าไม่ผิดพลาด ตอนที่อิชั้นไปงานแต่งกษัตริย์จิกมี่ เชื่อไหมล่ะคะ ทั้งประเทศไม่มีไฟจราจร คนเขาถ้อยทีถ้อยอาศัย ตกลงกันได้ พลัดกันมาพลัดกันไป “ไม่ให้ชาวต่างชาติขับรถเอง” ไปไหนดูดี มีคนขับรถให้ เขาคงเดาใจกันถูก เพราะไม่มีไฟแดงต้องใช้พลังจิตส่งกัน จะสวนขวาจะแซงซ้ายถ้าเป็นพลังจิตคนละคลื่น คงจะสื่อไม่สำเร็จ เออ...เข้าใจแล้ว ทำไมไม่ต้องมีไฟแดง เห็นอยู่กันแบบเขาเขา แต่มีรถทุกประเภท ยี่ห้ออะไรในโลกมีหมด แต่คนยังช้อปเดินเท้า ไม่ค่อยขี่มอเตอร์ไซค์ ไม่ค่อยขี่จักรยาย เด็กไปโรงเรียนบ้านห่างสัก 2-3 กิโล ก็เดินกันเอา ไม่ค่อยมีรถมวลชน ไม่ค่อยเปิดแอร์กันเวลานั่งในรถ ขี่รถบนเขาอากาศดีจะตาย น่าเอาซิปล็อกไปเก็บโอโซน เอามาไว้ดมตอนอยู่กรุงเทพจัง มีผลไม้ส่งออกเป็นแอปเปิ้ลด้วย อากาศดีแอปเปิ้ลงาม แต่เป็นลูกเล็กๆ ไม่ใช่แอปเปิ้ลอลังการอย่างจีน บางทีงงๆ ซื้อแอปเปิ้ลจากจีนลูกใหญ่นึกว่าซื้อแตงโมกลับมาบ้าน แอปเปิ้ลลูกไม่ใหญ่ เพราะไม่ใช้สารเคมี กินทีแทบไม่ต้องล้าง ทำท่าแบบหนังจีน หยิบแอปเปิ้ลมา เอาแขนเสื้อเช็ดหน่อยก็กัดกร๊วบได้เลย “ไม่หวังทริป” การที่เราเดินทางไปประเทศไหน เราควรรู้ว่าอัตรา “ทิป” เขาคิดกันยังไง ถ้าไปยุโรปมินิมั่ม 10% ++ ไปอเมริกา 15% ++ พอมาภูฏานเปิดตำรา lonely planet ดู เขาบอกว่า “คนที่นี่ทำด้วยใจไม่หวังทิป” ไม่เหมือนคนไทย ถ้าบ๋อยแซ่บ บ๋อยหล่อ แม่ยกชอบคล้องมาลัยจะทิปหนักๆ “บ๋อยเสิร์ฟดีไม่เกี่ยว เกี๋ยวแต่บ๋อยแซ่บ” และสุดท้ายกับความเป็นนิยามที่แท้ของภูฏาน กับความหมายของ “Gross National Product GNP” VS “ Gross National Happiness GNH” อย่าสับสนกับ “GDP” นะคะ คือประเทศทั่วโลกจะมีตัวเลข GNP, การวัดค่าผลิตภัณฑ์ทำมวลรวมในประเทศ, มีการวัดค่าครองชีพขั้นต่ำ, การวัดรายได้รวมเฉลี่ยต่อปี, การวัดค่าฯลฯ ตกลงว่า “วัดกันด้วยเงินกับวัตถุ” แต่ที่ภูฏานเนี่ยเขาวัดค่าของคนด้วยจิตใจ ค่ะ :: อ่านต่อในฉบับ :: |