นิตยสาร DMA |
Cover Story |
|
The Power of Creation สื่อสร้างสรรค์ ผู้ด้อยโอกาส
สังคมวันนี้ยังมีผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากที่รอคอยการเติมเต็มเพื่อความเท่าเทียมเหมือนคนปกติ
และโลกใบนี้ก็ไม่ได้โหดร้ายเกินไปสำหรับพวกเขา เมื่อกลุ่มรักการถ่ายภาพ
PicT4all ชวนเด็กๆ ในโลกแห่งความมืดมาหยิบกล้องถ่ายภาพได้เหมือนคนปกติ
รวมถึงการเปิดโลกทัศน์ของคนหูหนวกให้กว้างไกลขึ้นกับรายการที่สร้างสรรค์โดย
Thai Deaf TV ‘สื่อ’ จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยสร้างชีวิตของพวกเขาให้มีความรื่นรมย์ขึ้น โครงการสอนเด็กตาบอดถ่ายภาพเกิดขึ้นจากกลุ่ม PicT4all ชุมชนของคนรักการถ่ายภาพ ซึ่งมีแนวคิดมาจากอาจารย์ธวัช มะลิลา ที่ได้พบเห็นผู้พิการใช้กล้องถ่ายรูปสร้างความสุขให้กับตนเอง และการได้ร่วมชมนิทรรศการภาพถ่ายของคนตาบอดชาวอิสราเอล ยิ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กลุ่ม PicT4all ผลักดันโครงการจนสำเร็จ แต่สังคมก็มักจะมีคำถามสวนกลับมาเสมอว่า “จะสอนทำไม ในเมื่อเด็กก็มองไม่เห็นภาพที่ถ่ายอยู่แล้ว” ทว่าคุณค่าของภาพแค่ใบเดียวได้มอบทั้งรอยยิ้ม ความสุข และความมั่นใจในการดำเนิน ชีวิตแก่เด็กตาบอดเหล่านั้น ที่พวกเขาสามารถทำกิจกรรมได้เหมือนคนปกติ ไม่เพียงเฉพาะในแง่ความรู้สึกที่เด็กตาบอดจะได้รับ แต่กระบวนการสอนเด็กตาบอดให้ถ่ายภาพก็มีหลักเชิงวิชาการที่กลุ่ม PicT4all ได้ค้นคว้าขึ้น “นพดล ปัญญาวุฒิไกร” หรือ พี่ฉุน หนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงของโครงการ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการสอนคนตาบอดถ่ายภาพคาดว่าเกิดขึ้นที่แรกในประเทศญี่ปุ่น แต่เป็นการสอนร่วมกับคนตาดีด้วย “เราก็รู้ว่าคนญี่ปุ่นทำอะไรก็เอาจริงเอาจังมาก เด็กก็เกิดแรงกดดันเยอะ เมื่อเด็กเดินไปโรงเรียนหรือไปที่ต่างๆ ก็จะมีกล้องติดตัวไปตลอดแล้วก็ถ่ายรูปไปเรื่อย แต่ไม่มีใครสนใจ พออัดรูปออกมาครูก็ชม เด็กเลยเกิดความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีความสามารถไม่แพ้คนปกติ และมีกำลังใจมากขึ้น “อีกโครงการหนึ่งที่ช่างภาพอิสราเอลสอนคนตาบอดที่เป็นผู้ใหญ่ถ่ายภาพ เป็นกลุ่มคนตาบอดที่เกิดจากพันธุกรรม พอถึงช่วงวัยหนึ่งประสาทตาจะเสื่อมแล้วค่อยๆ มองไม่เห็น โครงการนี้เป็นข่าวดังทั่วโลกไม่ว่า CNN หรือ UBC ก็มาทำข่าว และเคยมาจัดนิทรรศการภาพถ่ายที่เมืองไทยด้วย อาจารย์ธวัชได้เวิร์กช้อปและสอบถามเรื่องเทคนิคพิเศษที่ใช้สอน แต่เขาไม่เปิดเผย ซึ่งอาจารย์ธวัชต้องการให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริงในบ้านเรา เป็นความปรารถนาของอาจารย์ ซึ่งพวกเราก็มีความนับถืออาจารย์อยู่แล้วและอยากทำอะไรให้สังคมด้วย” แม้ต่างฝ่ายเห็นดีด้วยกับโครงการสอนคนตาบอดถ่ายภาพ แต่สองเดือนแรกก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะพัฒนาต่ออย่างไร เพราะต่างมีข้อสงสัยว่า “จะสอนเด็กตาบอดยังไง” ค้นหาคำตอบทางอินเทอร์เน็ตก็ไม่พบข้อมูล พี่ฉุนจึงตัดสินใจทดสอบตัวเองเป็นคนตาบอดติดต่อกัน 3 ครั้ง ครั้งละ 9 ชั่วโมง “ผมไปในที่ๆ ไม่เคยไป พอขึ้นรถก็ปิดตามืด ตอนนั้นไปตลาดเก้าห้อง ตลาดศรีประจันต์ ไม่ว่าจะกินข้าวหรือเข้าห้องน้ำผมต้องทำเอง เดินไปถ่ายรูปก็ต้องช่วยตัวเอง แต่จะมีทีมคอยดูอยู่ห่างๆ จุดไหนที่เห็นว่าอันตรายก็จะจับตัว อย่างตอนผมไปตลาดได้ยินเสียงชงกาแฟโบราณ ทั้งที่ไม่รู้ว่ามีร้านกาแฟผมก็เดินไปถ่ายรูปเขาได้ เพราะตลอดการเดินทางผมปิดตาประมาณสองชั่วโมง ทำให้เราปรับตัวเรื่องการฟังเสียง หลังจากนั้นก็ต้องหาทางถอดแบตเตอรี่ เสียบการ์ด การหมุนปุ่มควบคุมยังไงให้มาอยู่ตัว P เพราะการสอนคนตาบอดให้ถ่ายรูปไม่ใช่ต้องการให้เขาสนุก แต่ต้องการให้เขาทำได้เต็มรูปแบบด้วย” เมื่อได้สัมผัสถึงโลกแห่งความมืด ทำให้พี่ฉุนเข้าใจได้ว่าเสียงมีมิติและเสียงสามารถนำทางให้เราทำในสิ่งที่ต้องการได้ -2- การทดลองเป็นคนตาบอดด้วยการนำผ้ามาปิดตาจนมืดสนิทแล้วลองถ่ายภาพ มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ จะถ่ายภาพอย่างไรให้ภาพออกมาระนาบ ไม่เอียง เพราะคนตาบอดเกือบทุกคนไม่เคย ได้มีโอกาสจับกล้อง และไม่มีใครรู้ตำแหน่งการถือกล้องเลย “ปรากฏว่าเวลาไปสอนจริงกับเด็กรุ่นแรก 10 คน มีเด็ก 5 คนทำได้ อีก 5 คนทำไม่ได้ ก็ต้องหาวิธีการแก้ไข เลยถามเด็กตาบอดคนหนึ่งชื่อ โอ๊ต เด็กก็บอกว่าให้วางกล้องไว้ที่หว่างคิ้วสิ ปรากฏว่าถ่ายตรงเลย เราก็หัวเราะก๊าก เพราะถึงแม้ว่าจะทดลองเป็นคนตาบอด แต่ก็ยังมีตัวตนของเราอยู่” ลูกศิษย์รุ่นแรกที่สอนเป็นกลุ่มเด็กตาบอดตั้งแต่กำเนิด เด็กกลุ่มนี้จึงไม่มีมโนภาพ และยังพบปัญหาเรื่องการสื่อสารที่คนปกติพูดกัน ซึ่งเด็กๆ จะไม่เข้าใจความหมาย เช่น คำว่า "ตรง" จึงต้องมีการปรับวิธีการสอนบ้าง “ตอนปิดตาแล้วทดลองถ่ายภาพทั่วไปก็อยากลองว่าเลนส์ 28 มม. กับเลนส์ 35 มม. มีผลกับการถ่ายภาพแค่ไหน ปรากฏว่าใช้เลนส์ 35 มม. นี่ระยะถอยเยอะมาก ถ้าไปถ่ายใกล้คลอง ก็เกือบตกน้ำทุกที เพราะเราอยากพาเด็กตาบอดไปถ่ายนอกสถานที่ด้วย สรุปกันว่าควรใช้เลนส์ 28 มม. ซึ่งตอนนั้นซัมซุงออกเลนส์ 28 มม. ใช้ถ่าน 2A ด้วยก็เลยใช้รุ่นนี้ “มีอยู่ครั้งหนึ่งผมไปนั่งตลาดน้ำแล้วเรือหางยาวแล่นมา ผมก็คิดว่าจะถ่ายภาพเรือหางยาวต่อหน้าผมได้ยังไง ก็เลยนั่งฟังว่าวิ่งมาทางไหน ถ้าดังที่สุดก็คืออยู่ตรงกลาง พอได้ยินดังที่สุด ตอนไหนผมก็กดเลย ใช้แบบนี้จับจังหวะอาศัยการฟังเสียงก็ปรากฏว่าถ่ายได้” รวมถึงเทคนิคการรับรู้ “ความร้อน” ของแสงแดดขณะถ่ายภาพก็ถูกนำมาใช้กับเด็กตาบอด หากรู้สึกว่าร้อนด้านหลังแสดงว่าแสงมาจากด้านหลังภาพที่ถ่ายจะมีความสว่าง แต่ถ้ารู้สึกแสงมาจากด้านหน้าภาพที่ถ่ายจะมืด ทำให้เด็กเข้าใจทิศทางของแสงแบบง่ายๆ ซึ่งเด็กตาบอดจะมีความรู้สึกไวกว่าคนปกติอยู่แล้ว :: อ่านต่อในฉบับ :: |