ภาพยนตร์บันเทิง

Guest Talk

 
'ทองก้อน ศรีทับทิม' ผู้กำกับหนังบู๊...สู้ไม่ถอย
    
จากครูสอนพละ แต่มีใจชอบเรื่องการต่อสู้ ทำให้ ทองก้อน ศรีทับทิม มีโอกาสได้เข้าสู่วงการบันเทิง เริ่มจากการเป็นผู้กำกับคิวบู๊ ให้กับโคลีเซี่ยม ฟิล์ม แทบทุกเรื่อง และขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับฯ จนได้ขึ้นเป็นผู้กำกับฯ เต็มตัวในภาพยนตร์เรื่อง "เจาะเวลาหาโก๊ะ" (2535), "กอดคอกันแหวว" (2536), "ไม้ที พู่กัน แอนด์โซ๊ยตี๋" (2539) แต่พอวงการหนังเริ่มซบเซา บริษัทต้นสังกัดคือ โคลีเซี่ยม ฟิล์ม ที่ตอนนี้เปลี่ยนมาเป็น โคลีเซี่ยม อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด ก็เบนเข็มหันมาบุกตลาดละคร และมอบหมายให้ทองก้อนเป็นผู้กำกับฯ ประเดิมด้วยเรื่อง "สิบตำรวจโทบุญถึง" แม้จะคลุกคลีกับการทำหนังมากว่า 20 ปี พอมาจับงานละคร เขาก็ต้องมีการปรับตัวในเรื่องการทำงานและเรื่องของการแข่งขันเพื่อให้เข้าถึงและเป็นที่ชื่นชอบของคนดู
 
ผลงานเรื่องแรก "สิบตำรวจโทบุญถึง" ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก จนมาถึงผลงานเรื่องที่ 2 "โก๊ะจ๋า ป่านะโก๊ะ" ก็ทำให้ชื่อของทองก้อนเริ่มเป็นที่รู้จัก จนมี "โก๊ะจ๋า ป่านะโก๊ะ" ภาค 2 และภาค 3 ตามมา ในชื่อว่า "โก๊ะซ่า ท้ามิติ" ที่เพิ่งเปิดกล้องถ่ายทำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นละครไตรภาคเรื่องแรกของช่อง 7 ทั้งที่เป็นแค่ละครเย็นึ
    
"ผมว่าผมโชคดีที่ทำ "โก๊ะจ๋า ป่านะโก๊ะ" แล้วทำเรตติ้งให้กับช่อง 7 เลยทำให้ผมแจ้งเกิด แต่ที่มาประสบความสำเร็จมากคือ "พยัคฆ์ยี่เก" จนต่อเนื่องมาถึง "โก๊ะซ่า ท้ามิติ" เป็นเพราะผมมีแฟนละครที่ชอบอยู่มั้ง พอจบภาค 1 ไปคนก็ถามมีภาค 2 มั้ย พอจบภาค 2 คนก็ถามมีภาค 3 เราเลยเสนอไปทางช่อง เขาก็บอกให้ทำ "พยัคฆ์ยี่เก" ก่อนนะ และถ้าภาค 3 สนุกสนานจนคนดูยอมรับอาจจะมีภาค 4 ก็ได้นะถ้าช่องอนุญาต เพราะโก๊ะเป็นเรื่องที่ไม่ตายไม่ตัน มันยังมีแก๊กใหม่ๆ ที่เดินเรื่องได้ตลอด
 
เหมือนเรื่อง "พยัคฆ์ยี่เก" ก็อาจจะมีภาค 2 ต่อ ซึ่งสนุกและใหญ่กว่าภาคแรกด้วย ตอนนี้กำลังเสนอกับกับทางช่องอยู่ คือผมก็พยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดถ้าออกไปแล้วถูกใจคนดูก็ขอบคุณทุกท่าน แต่เราพยายามสร้างสรรค์สิ่งที่ดีๆ ให้ แต่จะโชคดีไหมอยู่ที่ทุกคนจะดูของเราไหม โดยที่ผมไม่ได้สนใจว่าจะเป็นละครเย็นหรือละครหลังข่าว เพราะละครเย็นหรือหลังข่าวดีเหมือนกันหมด ถามว่าผมทำได้มั้ย ผมทำได้หมด ไม่ได้คิดว่าละครเย็นทำเท่านี้พอนะ ทำแล้วต้องเต็มที่แต่จะอยู่หลังข่าวหรือตอนเย็นเราต้องเต็มที่กับมัน เพราะละครมันแข่งกันเยอะมาก ทุกช่องแข่งขันกัน ถ้าเราทำไปวันๆ มันไม่ได้ แต่ทำแล้วต้องให้คนอื่นพูดถึงด้วย ต้องมีเนื้อหาให้เขาด้วย

ตัวผมมีคติอยู่ว่าถ้าทำแล้วไม่ดีอย่าปล่อยผ่าน แต่นักแสดงบางคนไม่เข้าใจทำไมต้องเทคบ่อย เพราะคนนี้เล่นได้ แต่อีกคนเล่นไม่ได้ไง ก็ต้องเล่นกันใหม่ ถามว่าผมเกรงใจเขาไหมก็เกรงใจ บางคนเล่นตั้ง 3-4 เทคทำไมถึงต้องเทคกันบ่อย ทำเหมือนเขาไม่มีฝีมือ ดารามีฝีมือทุกคน แต่บังเอิญอีกคนจังหวะไม่ได้เราก็ต้องเทค ก็ต้องบอกเขาว่าเทคนะขอนะ ถามเกรงใจไหมก็เกรงใจ เพราะดาราบางคนไม่เข้าใจเหมือนที่เราเข้าใจ ก็เขาก็ทำได้แล้วนี่ แต่บางทีความรู้สึกเรายังไม่ได้ และผมไม่ค่อยได้ปล่อยผ่านง่ายๆ ทั้งคิวหรือไดอะล็อก ถ้าออกมาไม่ดีผมไม่ปล่อยให้ผ่าน" การแข่งขันคือการสร้างสรรค์งานคุณภาพ

"ผมชอบการแข่งขัน ผมอยากให้ทุกคนทำงานเต็มที่ ทำงานได้ด้วยฝีมือเสนอคุณภาพเพื่อให้คนดูได้เต็มอิ่มกับงานตรงนี้ ถามว่าเราทำแต่ละอย่างเราก็ตั้งใจเต็มที่แล้วว่าจะต้องสู้กับเขาได้ เราทำผลงานออกไปคิดว่าเต็มที่แล้วถ้าประสบความสำเร็จเราก็ดีใจ แต่ถ้าไม่เราก็ต้องแก้ไข แต่เรามั่นใจเรื่องที่เราทำ และดาราที่มาเล่น แต่บางทีเราก็เข้าใจคนดูนะ อันนี้ไม่ได้ว่าใครทั้งสิ้นแต่เป็นความรู้สึกของเราเอง คนดูตอนนี้ฉลาดการที่จะไปหลอกให้เขาเชื่อมันยาก ฉะนั้นเมื่อเราทำต้องสมจริงและมีความเป็นไปได้ คนดูเดี๋ยวนี้เก่งเพราะเขาดูทุกช่อง ฉะนั้นการแข่งขันแต่ละช่องก็แข่งกัน เราทำผลงานเราก็ต้องแข่งกับช่องอื่นด้วย และแข่งกับบุคคลในช่องเดียวกันด้วย ถามว่าอิจฉาเขามั้ยไม่ได้อิจฉาเลย อยากให้ทุกคนทำได้ดีเพื่อช่องที่เราทำอยู่จะได้ดังและเรตติ้งดี แต่ถ้าเราอยู่กับที่ก็ไม่ไปไหนสักที สมองก็ไม่สั่งงาน แต่ถ้าเราได้แข่ง เขามาอย่างนี้เราต้องไปอย่างนี้นะ ยกตัวอย่างละครบู๊เขาขายอย่างนี้แล้วเราจะขายอะไร เราก็ต้องขายแบบนี้บ้าง หรือช่องนั้นทำอย่างนี้ ช่องนี้ทำอย่างนั้น แล้วเราล่ะจะมาพื้นๆ ก็ไม่ใช่ หรือบางทีเราทำไปแล้วขาดทุนก็ต้องทำ เพราะนโยบายของบริษัทขาดทุนไม่ว่าเอาดีไว้ก่อน ระหว่างที่เราทำเต็มที่มั้ย เต็มที่ แต่อยู่ที่คนดูจะชอบมั้ย อยากเอาใจเขาด้วย อยากให้เขาดูละครเต็มอิ่มอยากให้เขาชอบอยากให้เขาพูดถึงเรา"

การแข่งขันคนดูได้กำไรแต่คนทำงานต้องเหนื่อย

:: อ่านต่อในฉบับ ::

:: กลับไปหน้าหลัก ::