I'm a Cyborg, But That's OK
I'm a Cyborg, But That's OK
OK! ถึงจะบ้า ก็บ้า "ร้าก"
Official website
more info. from IMDB
แนว : ดราม่า / รัก / ตลก
ความยาว : 105 นาที
กำหนดฉาย : 22 มีนาคม 2550

I'm a Cyborg, But That's OK เป็นเรื่องราวของ อิลซุน (รับบทโดย "เรน" ชองจีฮุน) หนุ่มสติเฟื่องหน้าใส ผู้คิดว่าตัวเองสามารถเลียนแบบความสามารถของคนอื่นได้ไร้ขีดจำกัด เกิดตกหลุมรักกับ ยองคุน (รับบทโดย อิมซูจอง) สาวบ๊องส์ข้างห้องในโรงพยาบาลโรคจิต โดยเธอเองก็คิดว่าตัวเองเป็นหุ่นยนต์ ต้องชาร์ทแบตเตอรี่แทนการกินข้าว เรื่องราวรักวุ่นๆ ชวนชุลมุนจึงเกิดขึ้น เมื่อทั้งสองคนได้มาพบกัน...


อิมซูจอง (Sad Movie, Lump of Sugar, A Tale of Two Sisters, ...ing) และ "เรน" ชองจีฮุน (ซีรีส์เรื่อง Full House, A Love to Kill) ได้สร้างความสดใสและการเปลี่ยนแปลง เพื่อบทบาทอันน่าทึ่ง ทั้งหน้าตา วิธีการพูด การแสดงออกทางสีหน้า การแสดงอารมณ์ และอื่นๆ ในภาพยนตร์เรื่อง I'm a Cyborg, But That's OK หรือ OK! ถึงจะบ้า ก็บ้า "ร้าก" ของผู้กำกับ ปาร์ค ซานวูค ซึ่งเคยได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส จากภาพยนตร์เรื่อง Old Boy

อิมซูจอง รับบท ยองคุน ตัวละครที่ไม่เหมือนใคร ที่คิดว่าตัวเธอเป็นหุ่นไซบอร์ก ซึ่งทำตามคำสั่งทางวิทยุ พูดคุยกับสิ่งของต่างๆ และมีกล่องอาหารกลางวันที่เต็มไปด้วยแบตเตอรี่ ยองคุนเป็นหญิงกล้าแต่บริสุทธิ์ และลึกลับ ด้วยคิ้วที่เหมือนโมนาลิซ่า และทรงผมที่คล้ายกับตัวละครของ ชเว มินซิก ในเรื่อง Old Boy แม้ว่าเธอจะมีหุ่นผอมอยู่แล้ว แต่เพื่อถ่ายทอดให้เห็นว่า ยองคุนอดอาหารมาเป็นเวลานาน เธอต้องลดน้ำหนักอีก 5 กก. เพื่อบทเธอยังต้องแสดงถึงความทุ่มเท และจิตวิญญาณในการแสดงฉากยากๆ อย่าง ฉากฝันกลางวันของเธอ

“เรน” ทำให้โลกรู้จักเขาในฐานะนักร้อง และเปิดตัวเป็นครั้งแรกในฐานะนักแสดงภาพยนตร์ ด้วยชื่อจริงของเขา ชองจีฮุน ร่างกายที่เต็มไปด้วยมัดกล้ามของเขา ถูกซ่อนภายใต้ชุดของโรงพยาบาล ผมของเขาดูเหมือนมีเสาอากาศมากมาย เขาเปลี่ยนไปสู่ อิลซุน พวกแอนตี้สังคม และเพื่อแสดงเป็นตัวละคร ที่เลียนแบบความสามารถ และทักษะพิเศษของคนอื่นได้ เขาต้องเรียนรู้จาก ซอยองยูล เป็นเวลา 1 เดือนก่อนการถ่ายทำ นอกจากนั้น เขายังต้องถือไม้ตีปิงปองตลอดเวลา แม้กระทั่งช่วงตารางการบันทึกเสียงอัลบั้มใหม่ของเขา เพื่อให้ตีได้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่จะได้เห็นดาว 2 ดวง ถ่ายทอดในสิ่งที่พวกเขาแตกต่าง แต่กลับเป็นคู่ที่เหมาะสม

โรงงานที่ส่งเสียงหนวกหูใน Sympathy For Mr.Vengeance, คุกส่วนตัวใน Old Boy และคุกใน Sympathy For Lady Vengeance ในภาพยนตร์หลายเรื่องของผู้กำกับ ปาร์ค ซานวูค สถานที่หลายแห่งโดดเด่น เต็มไปด้วยเรื่องราว เรื่อง I'm a Cyborg, But That's OK ยังเกิดขึ้นในสถานที่พิเศษ คือโรงพยาบาลโรคจิต โรงพยาบาลโรคจิตในภาพยนตร์ต่างจากโรงพยาบาลทั่วไป และเปิดกว้างให้กับคนไข้ได้เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ ตัวโรงพยาบาลถูกสร้างที่ท่าเรือยอร์ชที่อ่าวซูยอง เมืองปูซาน ห้องโถงของโรงพยาบาล ห้องคนไข้หญิง ห้องคนไข้ชาย ห้องรักษาด้วยไฟฟ้า ห้องอาบน้ำ และอื่นๆ มีให้เห็นเพียงแว่บเดียว ยกเว้น ห้องสันทนาการ และห้องเสถียรภาพ ตัวละครที่อยู่ในโลกส่วนตัวของพวกเขา อยู่ร่วมกันในพื้นที่อิสระแห่งนี้ ตัวโรงพยาบาลถูกทำให้เป็นโลกลึกลับเหมือนเทพนิยาย อย่างใน Alice In Wonderland โดยใช้สีขาวและโทนสีอ่อน ควบคู่ไปกับความพยายามอย่างสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดโลกใหม่ I'm a Cyborg, But That's OK เชื้อเชิญผู้ชมสู่โลกที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

ขณะที่โลกภาพยนตร์กำลังพยายามใช้เทคโนโลยีใหม่ต่างๆ I'm a Cyborg, But That's OK ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี HD เพื่อผลิตภาพยนตร์ HD ด้วยต้นทุนและเวลาการสร้างต่ำ กล้องไวเปอร์ ฟิล์มสตรีม ถูกใช้เพื่อสร้างคุณภาพของภาพ เหมือนกับกล้องภาพยนตร์ปกติ ล่าสุด กล้องชนิดนี้ถูกใช้ในภาพยนตร์หลายเรื่องเช่น ภาพยนตร์ของ เดวิด ฟินเชอร์ เรื่อง Zodiac และภาพยนตร์ของ ไมเคิล มานน์ เรื่อง Miami Vice แต่ไม่เคยใช้มาก่อนในประเทศเกาหลี ถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ในการใช้กล้องนี้ แต่ผู้กำกับ ปาร์ค ซานวูค มั่นใจว่าจะได้ภาพอย่างที่เขาคิดไว้ กล้อง HD สามารถจับภาพได้กว้างกว่า เมื่อเทียบกับกล้องภาพยนตร์ปกติ และยังช่วยประหยัดต้นทุน แต่อาจจะทำให้คุณภาพของภาพยนตร์ลดลง ดังนั้น ทีมงานจาก Sympathy For Mr.Vengeance, Old Boy และ Sympathy For Lady Vengeance ได้เข้ามาร่วมงานเพื่อช่วยการถ่ายทำ การจัดแสง เพื่อเพิ่มคุณภาพของภาพยนตร์ให้ถึงที่สุด

ตัวละครและเนื้อเรื่องของ I'm a Cyborg, But That's OK มีหลายจุดที่เหมือนเป็นแฟนตาซี ดังนั้นตัวภาพยนตร์จึงมีภาพคอมพิวเตอร์กราฟฟิค มากกว่าผลงานเรื่องก่อนหน้าของ ปาร์ค ซานวูค ฉากที่กระสุนพุ่งจากปลายนิ้วของยองคุน เป็นหนึ่งในฉากที่ให้รายละเอียดและสมบูรณ์แบบ และฉากที่ตัวละครหลักบินเหนือวิวเหมือนเนินเขาในสวิส ถูกถ่ายทำด้วยโครม่าคีย์ แล้วเติมเมฆเข้าไปทีหลัง หลายๆ ฉากเช่น ฉากยองคุนบินผ่านเมฆบนเตียง เชื้อเชิญให้ผู้ชมไปสู่โลกในจินตนาการ ด้วยภาพที่เหมือนกับในหนังสือเทพนิยาย I'm a Cyborg, But That's OK ได้ลองสไตล์ใหม่ในภาพยนตร์ ผ่านทางการใช้อุปกรณ์การถ่ายทำ ที่ไม่เคยใช้มาก่อนในประเทศเกาหลี และการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคต่างๆ ตัวภาพยนตร์จะได้รับการบันทึกว่า เป็นภาพยนตร์ที่เปิดความท้าทายใหม่ ด้วยเนื้อหาและรูปแบบการสร้าง และการใช้รูปแบบใหม่ๆ