Mission To Mars

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดาวอังคาร

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในท้องฟ้ายามค่ำคืน แต่ความสว่างของดาวอังคารจะมองเห็นได้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งที่ห่างจากโลก ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นดวงที่สี่ และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 7 ดาวอังคารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 227,940,000 กิโลเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6,794 กิโลเมตร ถึงแม้จะมีขนาดเล็กกว่าโลก แต่พื้นผิวของดาวอังคารจะมีลักษณะคล้ายกับพื้นผิวบนโลก ในทุกๆ สองปี ดาวอังคารจะโคจรเข้ามาใกล้โลก โดยห่างกัน 55 ล้านกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะใกล้ชิดที่สุด ของดาวเคราะห์ทั้งสองดวง ซึ่งเรียกกันว่าเป็น "การเผชิญหน้า" และเนื่องจากระบบการโคจรของโลกและดาวอังคาร โอกาสที่เหมาะสำหรับการเดินทางไปดาวอังคาร จึงมีได้เพียงครั้งเดียวในทุกๆ สองปีเท่านั้น

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มนุษย์รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดาวอังคารก็คือเทพเอเรส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งสงครามของชาวกรีก และเดือนมีนาคมเป็นเดือนที่ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อดาวอังคารนั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ ดาวอังคารก็คือ Mars ซึ่งกลายมาเป็นชื่อเดือนมีนาคม คือ March)

ในระบบสุริยจักรวาล ดาวอังคาร ซึ่งอยู่ถัดจากโลก เป็นดาวที่มีสภาพภูมิประเทศที่น่าสนใจ และมีความหลากหลายที่สุด ในบรรดาดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลเดียวกับโลก บางส่วนมีลักษณะที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก โอลิมปัสมันส์ ซึ่งมีความสูงถึง 24 กิโลเมตร (หรือ 78,000 ฟุต) คือภูเขาที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยจักรวาล วัลล์ส มาริเนอริส คือระบบแห่งหุบเขาที่มีขนาดใหญ่พอๆ กับสหรัฐอเมริกา โดยมีความยาวประมาณ 4,000 กิโลเมตร และมีความลึกอยู่ประมาณ 2 ถึง 7 กิโลเมตร เฮลลัส เพลนิเทีย คือหลุมที่เกิดจากแรงกระแทก ซึ่งมีความลึกมากกว่า 6 กิโลเมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 2,000 กิโลเมตร พื้นผิวส่วนมากของดาวอังคาร มีลักษณะเป็นหลุมเป็นบ่อ และมีความเก่าแก่ แต่ก็มีหุบเขา ภูเขา และพื้นที่ราบที่เกิดขึ้นมาไม่นานอยู่มากเช่นกัน

สำหรับประวัติศาสตร์ระยะแรกของดาวอังคาร มีความคล้ายคลึงกับโลก เช่นเดียวกับที่เกิดกับโลก คาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการสร้างหินคาร์บอเนต แต่เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิว อันเนื่องมาจากภูเขาไฟระเบิด หรือแผ่นดินไหวเหมือนที่เกิดขึ้นกับโลก ทำให้ดาวอังคารยังคงไม่สามารถพลิกคาร์บอนไดออกไซด์ใต้พื้น กลับขึ้นมายังบรรยากาศได้ พื้นผิวของดาวอังคารมีความเย็นกว่าผิวโลก เป็นผลมาจากระยะห่างจากดวงอาทิตย์นั่นเอง

ดาวอังคารมีสภาพบรรยากาศที่เบาบางมาก โดยประกอบไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนน้อยที่ยังคงเหลืออยู่ นอกจากนี้ยังมีไนโตรเจน, อาร์กอน และยังมีร่องรอยของออกซิเจนและน้ำอีกด้วย ความกดดันโดยเฉลี่ยบนพื้นผิวของดาวอังคาร อยู่ที่ประมาณ 7 มิลลิบาร์ (น้อยกว่า 1% ของความกดดันโลก) แต่ความกดดันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหว ในขอบเขตที่กว้างกว่าขึ้นอยู่กับระดับความสูง ตั้งแต่เกือบๆ 9 มิลลิบาร์ในแอ่งที่ลึกที่สุด จนถึง 1 มิลลิบาร์บนยอดเขาโอลิมปัสมันส์ แต่มันก็หนาแน่นเพียงพอที่จะทำให้เกิดลมแรง และพายุฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ที่อาจจะเข้าครอบคลุมดาวอังคารทั้งดวงได้นานหลายเดือน บรรยากาศที่เบาบางของดาวอังคาร ทำให้เกิดกรีนเฮ้าส์เอฟเฟ็กต์ แต่ก็อยู่ในระดับที่มากพอ ที่จะเพิ่มอุณหภูมิบนพื้นผิว ให้สูงขึ้นประมาณ 5 องศาเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยกว่าที่เราพบเห็นกันบนดาวศุกร์และโลก ดาวอังคารมีขั้วโลกที่มีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ถาวรสองขั้วโลก ซึ่งประกอบไปด้วยโซลิดคาร์บอนไดออกไซด์ (น้ำแข็งแห้ง) ดาวอังคารมีดวงจันทร์ดวงเล็กๆ ทั้งหมดสองดวง คือ โฟบอส และไดมอส ซึ่งจะโคจรเข้ามาใกล้กับพื้นผิวมาก

บนดาวอังคาร มีอยู่จุดหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่แถบไซโดเนีย เมนเซ ถึงแม้จะมีความคิดเห็นที่เป็นเอกฉันท์ ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ทางด้านธรณีวิทยา ว่ายังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ที่จะทำการวิเคราะห์อย่างชัดเจนได้ แต่ก็เป็นไปได้ว่า จุดนั้นน่าจะเป็นการผสมผสาน ของสภาพธรรมชาติ และสภาพที่มีแสงสว่างที่ไม่ธรรมดานัก

ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปยังดาวอังคารคือ มาริเนอร์ 4 ในปี 1965 หลังจากนั้น มีการส่งยานอวกาศไปยังดาวอังคารอีกหลายครั้ง ซึ่งก็รวมทั้ง มาร์ส 2 ซึ่งเป็นยานอวกาศลำแรก ที่ร่อนลงจอดบนดาวอังคาร และการร่อนลงจอดของยานไวกิ้งถึงสองครั้งในปี 1976 ก่อนที่สุดท้าย ยานมาร์สแพธไฟน์เดอร์จะมายุติช่วงระยะห่างนานถึง 20 ปี เมื่อสามารถร่อนลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ปี 1997


รหัสไม่ลับของโครงการดาวอังคาร

  • CapCom ย่อมาจาก Capsule Communicator คือบุคคลที่ประจำอยู่ที่ศูนย์ควบคุมโครงการ ที่ทำหน้าที่คอยสื่อสารกับนักบินอวกาศคนอื่นๆ
  • ERV ย่อมาจาก Earth Return Vehicle เป็นยานอวกาศหุ่นยนต์ลำเล็ก ที่แล่นลงจอดที่ดาวอังคารก่อนหน้านักบินอวกาศ และเป็นยานที่นักบินอวกาศจะใช้เดินทางกลับมายังโลก
  • EVG ย่อมาจาก Extra-Vehicular Activity หมายถึงการเดินในอวกาศ
  • MMCR ย่อมาจาก Mars Mission Control Room หรือมีชื่อเล่นว่า มิคกี้ คือห้องควบคุมปฏิบัติการโครงการดาวอังคาร
  • REMO ย่อมาจาก Resupply Module
  • SIMA ย่อมาจาก Saturn Imaging Probe
  • Zero-G หมายถึงสภาพไร้แรงดึงดูด

กลับหน้าแรก