ท่องเที่ยว 1 วันกับ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามและตลาดน้ำอัมพวา

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้กลับมารีวิวกับทริปดองเค็มจนเริ่มมีกลิ่น เป็นทริปสั้นๆ จบภายใน 1 วัน  โดยมีสมาชิกไปกันทั้งหมด 5 คน ผู้ใหญ่ 3 เด็ก 2 กับรถหนึ่งคัน เป้าหมายท่องเที่ยวครั้งนี้คือ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม จ.ราชบุรี และ ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม สาเหตุที่เลือกไป 2 ที่นี้เพราะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันโดยไม่จำเป็นต้องขับรถย้อนกลับเสียทางเดิม

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 22:26:30 ]
ความเห็นที่ 1

เริ่มทริปด้วยการขับรถมุ่งหน้าสู่ "อุ่ทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม" โดยใช้เส้นทาง ถ.พุทธมณฑล ผ่าน จ.นครปฐม มุ่งหน้าสู่ จ.ราชบุรี พอถึงสี่แยกบางแพก็เลี้ยวซ้ายซึ่งเป็นเส้นทางมุ่งหน้าสู่ "ตลาดน้ำดำเนินสะดวก"และ"ตลาดน้ำอัมพวา"จ.สมุทรสงคราม  จากสี่แยกบางแพขับรถไปประมาณ 2-3 กิโลเมตรก็จะเห็น "อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม"อยู่ทางขวามือ

แผนที่ของ"อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม" (ข้อมูลและแผนที่ของ "อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม" มาจากเว็บไซต์ http://www.scppark.com ขอบคุณมากนะครับ)

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 22:33:31 ]
ความเห็นที่ 2

เมื่อจอดรถก็เดินไปซื้อบัตรเข้าชมสถานที่

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 22:38:39 ]
ความเห็นที่ 3

แต่ก่อนจะเดินไปซื้อบัตรฯ แวะเข้าไปชมผลงานต่างๆ ที่ถูกจัดโชว์อยู่ที่ "ห้องแสดงศิลปะ" กันก่อน

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 22:41:02 ]
ความเห็นที่ 4

รูปหล่อบางส่วนที่ถูกจัดแสดงเอาไว้ในห้องแสดงศิลปะ

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 22:42:34 ]
ความเห็นที่ 5

จากนั้นก็เดินไปซื้อบัตรเข้าชมสถานที่ (ขออภัยที่จำราคาบัตรไม่ได้) แล้วก็เดินเข้าไปด้านในกันเลย

แผนผังแสดงพื้นที่ขอบเขตที่ตั้ง อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
1.อาคารเชิดชูเกียรติ   2.ลานพระสามสมัย   3.ถ้ำชาดก  4.กุฎิพระสงฆ์
5.บ้านไทยสี่ภาค  6.ลานพระโพธิสัตว์   7.บ้านกาแฟสด   8.บ้านสมุนไพร
9.น้ำตก   10.ห้องแสดงศิลปะ   11.ร้านอาหาร  
12.ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก   13.ที่จำหน่ายบัตร   14.ที่จอดรถ   15. สุขา

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 22:48:14 ]
ความเห็นที่ 6

เข้ามาชมอุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
และรอชมตลาดน้ำอัมพวาค่ะ

จากคุณ : Memories pink [4 ก.ย. 54 22:49:05 ]
ความเห็นที่ 7

เส้นทางเดินเข้าไปชมสถานที่ต่างๆ ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย  มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมบ้างอย่างบางตา

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 22:51:40 ]
ความเห็นที่ 8

ยินดีต้อนรับครับคุณ Memories pink
.................................................................................................
ประวัติความเป็นมาของ"อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม"
อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามเกิดขึ้น จากความตั้งใจและความคิดของท่านผู้ก่อตั้งซึ่งมีรากฐานการเริ่มต้นของงานมาจากงานหล่อพระพุทธรูป งานหล่อประติมากรรมรูปต่างๆ  นับจากอดีตจนสู่ปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ปีที่ผ่านมา จากประสบการณ์ทำให้ผู้ก่อตั้งมีความคิดที่จะสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมรูปเหมือนของพระสงฆ์รูปต่างๆ ซึ่งจำพรรษาในกุฏิและรูปเหมือนบุคคลสำคัญต่างๆที่ท่านผู้ก่อตั้งมีความศรัทธายกย่องในด้านแนวความคิด การทำงาน และการดำเนินชีวิต จนประสบความสำเร็จ รวมทั้งรูปเหมือนวิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเป็นไทยในภาคต่างๆ ของประเทศไทย จึงได้เริ่มก่อตั้งโครงการ"อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม"ขึ้นมาในปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ และด้วยความมุ่งมั่นที่มาจากความคิดสร้างสรรค์ และความเชื่อมั่นในคำสอนเรื่องทำความดี ความศรัทธาในบุคคล กำลังใจจากครูอาจารย์ เพื่อนมิตรและครอบครัว ทำให้โครงการ "อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม" ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยที่จะนำเสนองานสร้างสรรค์ด้านศิลปะวัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมไทยนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อสืบทอดสิ่งดีงาม เอกลักษณ์ของไทยให้คงอยู่สืบทอดมาให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และศึกษานั่นเอง

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 22:59:57 ]
ความเห็นที่ 9

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง"อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม"
๑. เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนทางจิตใจ
๒. เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน
๓. เพื่อปลูกจิตสำนึกในการดำเนินชีวิต
๔. เพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาสำหรับเยาวชน
๕. เพื่ออนุรักษ์สืบสานศิลปะและวัฒนธรรมไทย

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:02:09 ]
ความเห็นที่ 10

เดินมาได้ไม่ไกลก็จะเห็น "อาคารเชิดชูเกียรติ" ซึ่งเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างของอาคารจัดแสดงเรื่องราวรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสของบุคคสำคัญทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค โดยบุคคลสำคัญที่ถูกเลือกมานำเสนอนั้น ล้วนเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติและคุณความดีในการสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมจนได้รับการยกย่องนับถือให้เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:05:28 ]
ความเห็นที่ 11

รูปปั้นเทพเทวดาต่างๆ บริเวณด้านหน้าอาคารเชิดชูเกียรติ

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:06:57 ]
ความเห็นที่ 12

ตามไปท่องเที่ยวด้วยคนครับ

จากคุณ : เล็กทาโร่ [4 ก.ย. 54 23:07:32 ]
ความเห็นที่ 13

เมื่อเดินเข้าไปในอาคารฯ จะเป็นห้องโถงโล่ง มีคติคำสอนและคำกลอนที่อ่านแล้วประทับใจ อย่างเช่น "พระราโชวาทในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ในหัวข้อ "คนดีของสมเด็จย่า"

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:12:04 ]
ความเห็นที่ 14

ยินดีต้อนรับครับคุณเล็กทาโร่
................................................................................................
โอวาทธรรมะ ของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:14:18 ]
ความเห็นที่ 15

และคำกลอนบทนี้ที่กินใจอย่างมากมาย

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:15:24 ]
ความเห็นที่ 16

จากห้องโถงจะมีทางเดินเป็นเส้นทางวันเวย์ ห้องแรกที่จะได้เจอก็คือห้องแสดงรูปภาพของหุ้นขี้ผึ้งที่จะจัดแสดงภายในอาคารแห่งนี้

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:17:12 ]
ความเห็นที่ 17

ต่อจากห้องแสดงรูปภาพก็เป็นห้องทำงานของ "ศาสตราจารย์ มล.ปิ่น มาลากุล"

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:21:14 ]
ความเห็นที่ 18

ศาสตราจารย์ มล.ปิ่น มาลากุล  เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 สถานที่เกิด ณ บ้านพักถนนอัษฎางค์ กรุงเทพฯ
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง  ท่านเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งสถาบันการศึกษาทั้งระดับโรงเรียน  วิทยาลัย  ตลอดจนมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค  และได้รับการยกย่องให้เป็นนักการศึกษาดีเด่นของโลกจากองค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2546

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:22:28 ]
ความเห็นที่ 19

ห้องต่อไปคือ ห้องทำงานของ"ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ "
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์  เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 สถานที่เกิด ณ บ้านหลวงศักดิ์โยธาบาล จ. ธนบุรี
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง ท่านได้รับเกียรติสูงสุดทั้งฝ่ายตุลาการ  ฝ่ายบริหาร  และฝ่ายนิติบัญญัติ

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:24:44 ]
ความเห็นที่ 20

ถัดไปคือห้องทำงานของ "ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์"
ศาสตราจารย์ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2458 สถานที่เกิด ตลาดน้อย กรุงเทพฯ
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง ท่านเป็นผู้วางนโยบายเศรษฐกิจ พัฒนาด้านการเงิน  การธนาคาร และรักษาเสถียรภาพทางการเงิน และจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์  และยังเป็นผู้บุกเบิกให้มีการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:26:29 ]
ความเห็นที่ 21

ต่อไปคือ บ้านพักของ"ครูมนตรี ตราโมท "
ครูมนตรี ตราโมท เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443 สถานที่เกิด ต. ท่าเอี้ยง อ . เมือง จ. สุพรรณบุรี
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง ท่านเป็นครูผู้อนุรักษ์และสืบสานงานดนตรีไทย

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:28:35 ]
ความเห็นที่ 22

โต๊ะหมู่บูชาที่ถูกจัดไว้ในบ้านพักของท่านครูมนตรี  ตราโมท

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:29:30 ]
ความเห็นที่ 23

หุ่นขี้ผึ้งของ ครูโต ขำเดช  ซึ่งเป็นบรมครูท่านหนึ่งแห่งชุมชนบ้านช่างหล่อ ซึ่งตั้งอยู่ในซอยบ้านช่างหล่อ ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ตรงข้ามกับวัดวิเศษ ใกล้สี่แยกศิริราช

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:31:16 ]
ความเห็นที่ 24

หุ่นขี้ผึ้งของคุณ"สืบ นาคะเสถียร" นักสู้แห่งพงไพร
คุณสืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 สถานที่เกิด ต. ท่างาม อ. เมือง จ. ปราจีนบุรี
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง ท่านเป็นนักอนุรักษ์ธรรมชาติ ท่านเป็นผู้ปกป้องผืนป่าและชีวิตสัตว์ซึ่งเดิมพันด้วยชีวิต ท่านเป็นผู้ผลักดันให้ผืนป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นมรดกโลก จนทำให้ท่านได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:33:50 ]
ความเห็นที่ 25

ถัดไปเป็นห้องทำงานในบ้านของรัฐบุรุษของชนชาวเวียดนาม "ประธานาธิบดี โฮจิมินห์ " หรือ"ลุงโฮ"นั่นเอง

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:35:46 ]
ความเห็นที่ 26

ประธานาธิบดี โฮจิมินห์ (ชื่อเดิม เหงียน ทัด ทันห์) เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1880 สถานที่เกิด หมู่บ้านคิมเลียน อ. นามดาน มณฑลเหงียน
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง ท่านเป็นรัฐบุรุษซึ่งต่อสู้ จนสามารถเรียกร้องเอกราชและเสรีภาพให้กับประชาชนชาวเวียดนามได้เป็นผลสำเร็จ

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:36:48 ]
ความเห็นที่ 27

อันนี้ไม่ใช่หุ่นขี้ผึ้งนะครับ เป็นสมาชิกในทริปครั้งนี้

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:38:04 ]
ความเห็นที่ 28

เหมือนจริงๆ ขนาดเด็กฝรั่งยังต้องพินิจพิจารณาอย่างละเอียด

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:39:41 ]
ความเห็นที่ 29

หลังจากนั่งพักทำท่าเลียนแบบหุ่นขี้ผึ้งกันสักพัก  คณะของเราก็เดินกันต่อ ห้องต่อไปคือห้องสวดมนต์ของ"แม่ชีเทเรซ่า"

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:41:52 ]
ความเห็นที่ 30

แม่ชีเทเรซ่า ชื่อเดิม Agnes Gonxha Bojaxhiu เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1910 สถานที่เกิด เมือง Skopje ประเทศ Macedonia
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง  ท่านเป็นนักบุญผู้อุทิศตนเพื่อช่วยเหลือคนทุกข์ยาก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา จนทำให้ท่านได้รับรางวัลโนเบบสาขาสันติภาพในปี ค.ศ. 1979

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:42:50 ]
ความเห็นที่ 31

และห้องสุดท้ายเป็นห้องสนทนาของผู้นำจีนที่ยิ่งใหญ่ 2 ท่านนั่นก็คือ "ประธานาธิบดี เหมาเจ๋อตุง" และ"ประธานาธิบดี เติ้งเสี่ยวผิง"
ประธานาธิบดี เหมาเจ๋อตุง เกิดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1893 สถานที่เกิด มณฑลเสฉวน
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง ท่านเป็นประธานาธิบดีที่สามารถรวมประเทศจีนได้เป็นปึกแผ่น และจัดตั้งรัฐบาลใหม่จนนำพาจีนสู่ความเจริญ

ประธานาธิบดี เติ้งเสี่ยวผิง เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1904 สถานที่เกิด เมืองกว่างอัน ประเทศจีน
ผลงานที่ได้รับการยกย่อง ท่านเป็นผู้นำผู้มีวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจีนให้มีความทันสมัยและมีความเจริญสระดับโลก

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:46:43 ]
ความเห็นที่ 32

จากนั้นก็เดินออกจาก "อาคารเชิดชูเกียรติ" มุ่งหน้าสู่ "ลานพระสามสมัย"

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:48:13 ]
ความเห็นที่ 33

"ลานพระสามสมัย" เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปในสมัยต่างๆ 3 สมัย ซึ่งได้แก่ สมัยอยุธยา สมัยสุโขทัย และสมัยเชียงแสน

จากคุณ : noiwanwannoi [4 ก.ย. 54 23:53:30 ]
ความเห็นที่ 34

"สมัยอยุธยา"
พระพุทธรูปในสมัยนี้ ส่วนใหญ่ยังได้รับอิทธิพลมาจากสมัยสุโขทัย แต่มีการนำเอาศิลปะดังกล่าวมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของอยุธยา สันนิษฐานกันว่าในสมัยอยุธยาบ้านเมืองอยู่ในภาวะศึกสงครามรบราฆ่าฟันกันอยู่บ่อยครั้ง ทำให้สกุลช่างสมัยอยุธยาไม่มีโอกาสที่จะได้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้พระพุทธรูปแข็งกระด้าง ไม่อ่อนช้อยเหมือนสมัยสุโขทัยและในสมัยนี้ยังพบพระพุทธรูปทรงเครื่องอีกด้วย การสร้างพระพุทธรูปในสมัยอยุธยาสามารถแบ่งออก เป็น ๒ ช่วง คือพระพุทธ รูป ศิลปะแบบ อู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ ๑๘ -๒๐)  แบ่งเป็น ๓ รุ่น
-รุ่นที่ ๑ พระพักตร์เหลี่ยม มีไรพระศก เป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ แบ่งส่วน พระเกศากับพระนลาฏ เส้นพระเกศาละเอียด พระหนุค่อนข้างแหลม พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์แบะ ชายสังฆาฏิยาว ชายขอบอันตรวาสก(สบง)ด้านบนเป็นสัน ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย
-รุ่นที่ ๒ ลักษณะส่วนใหญ่เหมือนรุ่นแรก ที่ต่างกันคือ มีรัศมีเป็นเปลว พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมมากขึ้น พระนาสิกโค้งมากขึ้น พระหนุสี่เหลี่ยม
-รุ่นที่ ๓ ได้อิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ พระพักตร์รูปไข่ เกิดจากพระนลาฏแคบ มีไรพระศกกับพระรัศมีมีแถบกั้นระหว่างพระนลาฏกับพระสกมีรัศมีเป็นเปลว พระวรกายเพรียวบางแบบศิลปะสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปสมัยอยุธยา(พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓) พระพุทธรูปในสมัยนี้ ส่วนใหญ่มีพระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบอู่ทอง บางองค์พระพักตร์เป็นรูปไข่ตามแบบสุโขทัย มีเกตุมาลาเป็นรัศมีเปลว ชายจีวรใหญ่และยาวถึงพระนาภี ปลายตัดเส้นตรง ส่วนมากมีพระศก มีการพบพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยนี้อีกด้วย

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:00:02 ]
ความเห็นที่ 35

กราบสวยๆ นะจ๊ะ

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:01:35 ]
ความเห็นที่ 36

"สมัยสุโขทัย"
พระพุทธรูปในสมัยนี้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ นับตั้งแต่ "พ่อขุนบางกลางหาว" ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยและประกาศอิสรภาพ ไม่ขึ้นกับขอม  มีกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัยต่อเรื่อยมาอีกหลายพระองค์ จนอาณาจักรสุโขทัยเป็นปึกแผ่น  ในช่วงเวลานี้พระมหากษัตริย์ทรงทำการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี พุทธศาสนาในยุคสมัยนี้จึงเจริญรุ่งเรือง บรรดาพระสงฆ์พากันไปศึกษาพุทธศาสนาในลังกาเป็นอันมาก พระพุทธรูปในยุคนี้ได้รับแบบอย่างมาจากลังกา อีกทั้งบ้านเมืองในสมัยสุโขทัยไม่ค่อยมีศึกสงคราม ทำให้สกุลช่างสุโขทัยสามารถสร้างสรรค์งานได้อย่างเต็มที่ พระพุทธรูปสมัยนี้ได้รับการยกย่องทั่วไปว่าเป็นยุคที่มีการสร้างพระพุทธรูปได้สวยงามมากที่สุด มีลักษณะคือ รัศมียาว เส้นพระศก(ผม)ขมวดก้นหอย  พระขนง(คิ้ว)โก่ง  พระนาสิก(จมูก)งุ้ม  พระหนุ(คาง)เสี้ยม ชายสังฆาฏิยาปลายมี ๒ แฉกและย่น เป็นเขี้ยวตะขาบ ฐานส่วนใหญ่เป็นแบบฐานเอียง กลางโค้งเข้าด้านในตรงข้ามกับสมัยเชียงแสน พระพุทธรูปในสมัยนี้ถือได้ว่าแบ่งออกเป็น ๓ รุ่น ด้วยกัน
-รุ่นแรก มีวงพระพักตร์กลมแบบลังกา
-รุ่นที่สอง มีวงพระพักตร์ยาว และพระหนเสี้ยม
-รุ่นที่สาม น่าจะเริ่มสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราขาหรือพระเจ้าลิไท เกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นแบบหนึ่ง ได้แก่ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ วงพระพักตร์รูปไข่คล้ายแบบอินเดีย ปลายนิ้วพระหัตถ์เสมอกันทั้ง ๔

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:08:14 ]
ความเห็นที่ 37

สมัยเชียงแสน (สมัยล้านนา)
อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๒ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยหรือจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน  ชาวไทยได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้มาแต่โบราณ ดังนั้นพระพุทธรูปในพื้นที่นี้จึงได้ชื่อว่า “สมัยเชียงแสน” ซึ่งเป็นฝีมือช่างไทยแรกเริ่ม  พระพุทธรูปในสมัยนี้จึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นของศิลปะไทยอย่างแท้จริง และมีอิทธิพลมาถึงศิลปะในสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ อีกด้วย พระพุทธรูปแบบเชียงแสนแบ่งได้ เป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่
-รุ่นสิงห์หนึ่ง สันนิษฐานกันว่าน่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบปาละของอินเดีย องค์พระอวบ พระพักตร์สั้น พระขนงโก่ง พระโอษฐ์เล็ก พระหนุป้าน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือพระอุระด้านซ้าย ตรงชายทำเป็นแฉกหรือแบบเขี้ยวตะขาบ ส่วนมากเป็นพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งขัดสมาธิเพชร
-รุ่นสิงห์สอง  ส่วนใหญ่เหมือนรุ่นแรก แต่องค์พระจะอวบน้อยกว่า และชายสังฆาฏิจะยาวลงมา อยู่เหนือพระนาภี
-รุ่นสิงห์สาม เปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นแรกค่อนข้างมาก เพราะทำตามแบบสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ คือ พระรัศมีเป็นเปลว เส้นพระศกละเอียด มีไรพระศกระหว่างเส้นพระเกศากับพระนลาฏ ชายสังฆาฏิยาวถึงพระนาภี ฐานแบบเอียงโค้งออก ส่วนมากเป็นปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิ

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:13:09 ]
ความเห็นที่ 38

แวะมาชมด้วยคนนะครับ

จากคุณ : inint&anant [5 ก.ย. 54 00:14:51 ]
ความเห็นที่ 39

จากลานพระสามสมัยต้องผ่าน"ถ้าชาดก" ก่อน แต่ด้วยความเร่งรีบก็เลยผ่านไปโดยไม่ได้เข้าไปเยี่ยมชม จนเดินมาถึง"บ้านสมุนไพร" ซึ่งมีจำหน่ายเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตผลจากสมุนไพรไทยนานาชนิด

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:18:31 ]
ความเห็นที่ 40

ยินดีต้อนรับครับคุณ inint&anant
................................................................................................
หลังจากนั่งดื่มน้ำสมุนไพรเย็นๆ จนชื่นใจ แล้วก็เดินต่อไปยัง "กุฎิพระสงฆ์"ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับ "บ้านไทย 4 ภาค"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:21:31 ]
ความเห็นที่ 41

พระผู้เป็นอริยสงฆ์ หมายถึงพระสงฆ์ผู้บรรลุธรรม สามารถลดละกิเลส ในจิตใจแบ่งตามลำดับได้ ๔ ขั้น เรียงจากขั้นต่ำขึ้นไปคือพระโสดาบัน พระ สกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์  พระอริยสงฆ์ ๓ ขั้นแรกเป็นผู้บรรลธรรมขั้นสูงที่เรียกว่า"โลกุตรธรรม"อันหมายถึง "ธรรมะที่พ้นวิสัยของโลกมากน้อยตามลำดับแต่ยังละกิเลสไม่หมดสิ้น" ส่วนพระอริยสงฆ์ขั้นที่ ๔ คือ"พระอรหันต์"สามารถขจัดกิเลสได้หมดสิ้น ทั้งความโลภ ความโกรธ ความหลง ประเทศไทยนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ผู้คนต่างยึดธรรมะและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตมากบ้างน้อยบ้างตามความเคร่งครัยดของแต่ละบุคคล โดยมีพระสงฆ์ผู้เป็นสาวกรับฟังคำสอนของพระพุทธองค์แล้วนำไปปฏิบัติจนได้ผล และนำหลักธรรมคำสอนนั้นไปเผยแผ่ให้ผู้อื่นทราบด้วย  พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนาซึ่งถูกเรียกว่า“พระอริยสงฆ์” จึงมีอยู่มากมายและเป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนทั่วทุก แห่งหน พระอริยสงฆ์แต่ละท่านล้วนประกอบไปด้วยความเมตตากรุณา ช่วยเหลือพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า อบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องตามหลักธรรมทางศาสนา และคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าที่ชาวพุทธปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงทุกวันนี้

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:27:48 ]
ความเห็นที่ 42

กุฎิหลังแรก "กุฎิพระสงฆ์ภาคกลาง"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:30:01 ]
ความเห็นที่ 43

ซึ่งด้านบนจะมีหุ่นขี้ผึ้งของพระอริยสงฆ์ที่สำคัญอยู่ 2 องค์คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทัย)

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:32:35 ]
ความเห็นที่ 44

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
พุทธศาสนิกชนมักกล่าวถึงท่านในนาม “สมเด็จโต วัดระฆังโฆสิตาราม” ถือกำเนิดในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๑๙ ที่บ้านไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา  เมื่อท่านเป็นเด็กรูปร่างแบบบาง ผู้ใหญ่จึงตั้งชื่อให้ตรงกันข้ามว่า“โต”  กล่าวกันว่าขณะที่ท่านยังเป็นทารก มารดาพาท่านไปพักอยู่ที่ ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ต่อมาจึงได้ย้ายมาอยู่ ที่บ้านบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร (ในภายหลังท่านได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ ไว้ ณ ตำบลทั้งสาม เพื่อเป็นอนุสรณ์) เมื่อถึงวัยพอสมควรมารดาได้พามามอบตัวเป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณอรัญญิก เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ก่อนบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาเมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ ณ วัดอินทรวิหาร จนหมดความรู้ของครูอาจารย์ แต่มีความประสงค์จะศึกษาภาษาบาลีและพระปริยัติธรรมต่อ ท่านเจ้าคุณ อรัญญิกจึงได้นำไปฝากอยู่กับ สมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม ครั้นเมื่ออายุครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาตหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ เป็นพระอุปัขฌาย์ ให้ฉายาว่า “พรหมรังสี”

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:37:41 ]
ความเห็นที่ 45

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทัย) วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
พระนามเดิมว่า “อยู่” พระนามฉายาว่า “ญาโณทโย” ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๑๗ ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่เรือนแพหน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอ บางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี  ได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่สำนักของบิดา  ต่อมาได้ย้ายมาอยู่สำนักของพระอาจารย์ช้าง วัดสระเกศ ได้ทรงเล่าเรียน สืบมาจนกระทั่งบรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาภาษาบาลี ที่วัดสระเกศ ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง  จนได้เปรียญ ๔ ประโยค ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ ทรงได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสระเกศ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม จนได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เมื่อพระชนมายุ ๒๘ พรรษา ซึ่งนับแต่ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรม มาตั้งแต่ประโยคต้นจนถึงประโยคสุดท้ายคือ ประโยค ๙ ไม่เคยแปลตกเลย และทรงเป็นเปรียญ ๙ ประโยคองค์แรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งถึงพระอารามเป็นพิเศษ และกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นสมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตติโสภณมหาเถร) ทรงสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๒๕๐๕  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู่ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และประธานกรรมการมหาเถรสมาคม จวบจนเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาให้ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:44:59 ]
ความเห็นที่ 46

ขอตัวไปนอนก่อนนะครับแล้วเจอกันวันพรุ่งนี้เช้า

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 00:46:35 ]
ความเห็นที่ 47

แวะมาชมตอนดึกๆค่ะ ^_^

จากคุณ : มือซ้ายจับจ๋า..มือขวาจับอะไร [5 ก.ย. 54 02:47:16 ]
ความเห็นที่ 48

เคยแต่ขับรถผ่านมาจากทางดำเนินสะดวกไม่เคยแวะซักที ขอบคุณที่พาไปเที่ยวนะครับ haha

จากคุณ : biGbOySalaDbAr [5 ก.ย. 54 02:48:45 ]
ความเห็นที่ 49

เหมือนได้ไปเดินเที่ยวเองเลย

จากคุณ : คืนสู่รัง [5 ก.ย. 54 07:01:58 ]
ความเห็นที่ 50

ขอบคุณครับที่พาเที่ยว

จากคุณ : ฟองสบู่ [5 ก.ย. 54 07:14:25 ]
ความเห็นที่ 51

รูปสวย อธบายละเอียด สุดยอดเลยค่ะ ต้องหาเวลาไปมั่งแระ

จากคุณ : ModBp (MODbp) [5 ก.ย. 54 08:13:27 ]
ความเห็นที่ 52

หุ่นขี้ผึ้งทำได้เหมือนมากๆครับ สวยจริงๆ

รอชมตลาดน้ำต่อนะครับ

จากคุณ : Koon Shy_Tour Dee [5 ก.ย. 54 08:15:22 ]
ความเห็นที่ 53

กลับมารีวิวต่อก่อนจะไปทำงาน อรุณสวัสดิ์ทุกท่านนะครับ
-ยินดีต้อนรับครับคุณ มือซ้ายจับจ๋า..มือขวาจับอะไร
-ยินดีต้อนรับครับคุณ biGbOySalaDbAr
-ยินดีต้อนรับครับคุณ คืนสู่รัง
-ยินดีต้อนรับครับคุณ ฟองสบู่
-ยินดีต้อนรับครับคุณ ModBp (MODbp)  
-ยินดีต้อนรับครับคุณ  Koon Shy_Tour Dee
................................................................................................
ถัดมาอีกหลังก็คือ "กุฎิพระสงฆ์ภาคอีสาน"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 08:31:07 ]
ความเห็นที่ 54

ด้านบนกุฎิจะมีหุ่นขี้ผึ้งของพระเกจิชื่อดังของภาคอีสานอยู่ 2 องค์คือ หุ่นขี้ผึ้งของ "พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร" และ "หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 08:34:30 ]
ความเห็นที่ 55

ไปเที่ยวด้วยคนค่ะ ^^

จากคุณ : สามแซ่ [5 ก.ย. 54 08:41:34 ]
ความเห็นที่ 56

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร กำเนิดในสกุล แก่นแก้ว เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ที่บ้านคำบง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อวัยเด็กเป็นผู้มีสติปัญญาดี ว่านอนสอนง่าย ได้เรียน อักขรสมัยในสำนักของอาคือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรมและอักษรขอม อ่านเขียนกได้อย่างรวดเร็วเพราะมีความทรงจำและขยัหมั่นเพียรของการเล่าเรียนศึกษา ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๕ ปีที่วัดบ้านคำบง แต่เพียง ๒ ปีท่านก็จำเป็นต้องลาสิกขาเพื่อไปช่วยการงานทางบ้านแต่ยังคิดที่จะบวชอยู่เสมอ พออายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุและได้เข้าฝึก ปฏิบัติธรรมในสำนักวิปัสสนากับท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล พระอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานชื่อดังของภาคอีสาน และเข้ามาศึกษาสดับธรรมเทศนากับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นต่างๆ ทั้งในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย และได้นำมาสงเคราะห์อบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนาแก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกา มีผู้เลื่อมใสในธรรมปฏิบัติตามถิ่นต่างๆ ที่พอใจปฏิบัติ ศิษยานุศิษย์ของท่านได้มีแพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศมากขึ้นไปโดยลำดับ ท่านถือธุดงควัตร ๔ ประการอย่างเคร่งครัด คือ
-หนึ่ง... ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชราจึงได้ผ่อนให้คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
-สอง... เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์แม้อาพาธ ในละแวกบ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด
-สาม... ถือฉันในบาตรเป็นนิตย์
-สี่...ฉันหนเดียวเป็นนิตย์ แม้ช่วงอาพาธหนักก็มิได้เลิกละ
-ส่วนธุดงควัตรข้ออื่นถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว
หลวงปู่มั่นเป็นพระปฏิบัติที่มีชื่อเสียงและผู้คนศรัทธานับถือทั้งประเทศ มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระ ซึ่งเป็นที่เคารพของผู้คนอาทิเช่น หลวงปู่ดุลย์ อตฺโล, หลวงปู่ แหวน สุจิณโณ,หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น
ธรรมโอวาท อันเป็นคติที่ท่านกล่าวอยู่บ่อยๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดี ที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์คือ ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเลิศ, ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตน เป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง ฯลฯ

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 08:43:36 ]
ความเห็นที่ 57

ยินดีต้อนรับและอรุณสวัสดิ์ครับคุณ สามแซ่
.................................................................................................
อีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ของภาคอีสาน นั่นก็คือ
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย นามเดิมว่า เหรียญ ใจขาน เกิดเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๕๕ ที่ ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เมื่ออายุ ๒๐ ปี ก็มีความปรารถนาจะออกบวชโดยพิจารณาเห็นว่าชีวิตนี้เกิดมาแล้ว ทำงานไม่รู้จักจบสิ้น ตายแล้วก็ไม่ได้อะไรติดตัวไป โลกนี้มีทั้งสุขและทุกข์แต่ความสุขที่ว่านี้เป็นความสุขชั่วคราวที่ไม่ยั่งยืน มันเป็นเพียงเหยื่อล่อให้คนเราติดอยู่ในทุกเท่านั้น คนเราเกิดแล้วก็ต้องตายด้วยกันทุกคน ร่างกายนี้เมื่อจิตละไปแล้วก็ต้องแตกสลายออกจากกัน ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว ท่านจึงไปบอกแก่บิดามารดาเพื่อขอลาออกบวช เมื่อได้รับอนุญาตแล้วท่านก็ได้บวชในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่วัดบ้านหงษ์ทอง อ.ท่าบอ จ.หนองคาย โดยมีท่านพระครูวาปีดิฐวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์บวชแล้วจึงกลับมาอยู่วัดโพธิ์ชัยที่บ้านเกิดพร้อมศึกษาธรรมะปฏิบัติ ในขณะเดียวกันก็เผชิญกิเลสที่เข้ามาดังเป็นบททดสอบจิตใจของท่าน จนคิดจะลาลิกขาอยู่หลายครั้งหลายหนแต่ท่านก็เอาชนะสิ่งเหล่านั้นมาได้ ท่านตั้งใจบำเพ็ญเพียรอย่างจริงจัง ไม่นอนกลางวัน เมื่อค่ำลงก็ทำความเพียรจนถึง 4 ทุ่มจึงจำวัด พอถึง ตี 2 ก็ลุกขึ้นทำความเพียรต่อจนถึงสว่าง ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเต็มเปี่ยม ท่านตั้งใจบำเพ็ญเพียรและธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน พบครูบาอาจารย์ที่ให้คำสั่งสอนที่ดีมากมาย ครั้งหนึ่งท่านมีความปรารถนาจะเดินทางไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อฟังธรรมโอวาทจากท่านพระอาจารย์มั่น เมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของพระอาจารย์มั่นแล้วยิ่งเกิดความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า จึงได้ออกติดตามธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือกับพระอาจารย์เป็นเวลานาน ในขณะเดียวกันนั้นก็ได้พบกับครูบาอาจารย์หลายท่าน เช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่ชอบ หลวงปู่สิม ฯลฯ
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๘ เมื่ออายุ ได้ ๙๓ ปี

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 08:52:16 ]
ความเห็นที่ 58

กุฎิถัดไปคือ"กุฎฺิพระสงฆ์ภาคเหนือ" ซึ่งมีรูปปั้นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทางภาคเหนือนั่นก็คือ "ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน" และ " หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:14:35 ]
ความเห็นที่ 59

ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ครูบาศรีวิชัย ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักบุญแห่งล้านนา  เดิมชื่อเฟือน หรืออินท์เฟือน บ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านปาง ต.แม่ตื่น อ.ลี้ จ.ลำพูน นั้นปรากฏว่าเกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๘ ปี ที่วัดบ้านปาง ซึ่งเป็นพระอารามเล็กๆ ประจำหมู่บ้าน และอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านโฮ่งหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ มีพระครูสุมโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “สิริวิชโยภิกขุ” มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษากรรมฐานและวิชาอาคมกับ ครูบาอุปละ วัดดอยแค อ.แม่ทา จ.ลำพูน (ปัจจุบันอยู่ ใน ต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน) เป็นเวลา ๑ พรรษาก่อนกลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านปาง เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาด้านทิศใต้ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดี โดยได้ให้ชื่อใหม่ว่า วัดจอมศรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกวัดบ้านปางตามชื่อหมู่บ้าน ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยสงบเสงี่ยม เจียมตัว พูดน้อย งดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่อายุ ๒๖ ปี และฉันเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทยเล็กน้อย บางทีก็ไม่ ฉันข้าวเป็นเวลานานคงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:21:43 ]
ความเห็นที่ 60

ขณะที่"ท่านครูบาศรีวิชัย"ได้เดินทางธุดงค์ไปทั่วแผ่นดินล้านนา ได้พบเห็นโบราณสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองหลายแห่งเก่าแก่ทรุดโทรมเป็นอันมาก จึงได้เป็นผู้นำในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ตลอดจนโบราณสถานทั่วแผ่นดินล้านนามากมาย อาทิ พระบรมธาตุวัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน  พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ ฯ ลฯ  รวมวัดต่างๆ ที่ท่านได้พลังศรัทธาจากเหล่าพุทธศาสนิกชนทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ บูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งสิ้น ๑๐๘ วัด รวมถึงการสร้างทางเดินขึ้นดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ได้เป็นผลสำเร็จ โดยเริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ โดยไม่ใช้งบ ประมาณของรัฐเลย งานชิ้นสุดท้ายของท่านคือ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงระหว่างบ้านริมปิง จ.ลำพูน กับ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ แต่มาแล้วเสร็จภายหลังจากท่านมรณภาพ

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:22:51 ]
ความเห็นที่ 61

ส่วนอีกหนึ่งรูปก็คือ "หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:24:24 ]
ความเห็นที่ 62

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
เป็นพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนไทยให้ความเคารพนับถือกันทั่วประเทศ  ท่านเกิดในตระกูลช่างตีเหล็กเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๐ ที่บ้านนาโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดเลย บิดามารดาได้ตั้งชื่อท่านว่า “ญาณ” ซึ่งแปลว่า ปรีชาหยั่งรู้หรือความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ เมื่ออายุ ๕ ปี มารดาป่วยหนักก่อนเสียชีวิตได้สั่งเสียไว้ว่าขอให้บวชตลอดชีพอย่าลาสิกขามามีครอบครัว จนได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๙ ปี ที่วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเด็กชาย ญาณ เป็นสามเณรแหวน นับแต่นั้นมา  ต่อมาได้ถูกนำไปฝากถวายเป็นลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์  ขนังตยาคโน วัดบ้านสร้างถ่อ จ.อุบลราชธานี กระทั่งอุปสมบทระหว่างศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้น ครูอาจารย์หลายท่านได้ลาสิกขาออกไปมีครอบครัวกัน ท่านจึงเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าบรรดาครูอาจารย์เหล่านั้นล้วนออกไปเพราะอำนาจของกามทั้งสิ้น จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าการออกปฏิบัติตามป่าเขาไม่อาลัยอาวรณ์อยู่กับหมู่คณะเป็นหนทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้ครองสมณเพศได้ตลอดชีวิต ท่านได้ตั้งสัจจาธิษฐานขออุทิศชีวิตพรหมจรรย์แด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พร้อมออกธุดงค์ แสวงหาสัจจธรรมตามป่าเขาต่างๆ หลายแห่ง เพื่อมุ่งหน้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พระอาจารย์มั่นได้กล่าวคำสอนแก่หลวงปู่ว่า “ต่อไปนี้ให้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน” เพียงคำพูดนี้เองทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาและถวายตัวเป็นลูกศิษย์ในเวลาต่อมา

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:28:26 ]
ความเห็นที่ 63

กุฏิต่อไปคือ"กุฏิพระสงฆ์ภาคใต้" ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของ "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้)" และ"พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร)"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:31:38 ]
ความเห็นที่ 64

พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ (หลวงปู่ทวด) วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี
จากหนังสือและเอกสารอ้างอิงทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน ๔ ปี มะโรง พุทธศักราช ๒๑๒๕ ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระ (สทิงพระ) ในครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแล้งแค้น แต่มีจิตเป็นกุศลยึดมั่นในศีลธรรม ในช่วงปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่ออายุได้ ๗ ขวบ บิดามารดาพาไปฝากกับท่านสมภารจวง วัดดีหลวง เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ ครั้นอายุได้ ๑๕ ปีก็บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระขินแสน ที่วัดสีหยัง(สีคูยัง) เมื่ออายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายา ว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” ท่านศึกษาหาความรู้อยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นอีกหลายวัดภายในเมืองนครศรีธรรมราช จากนั้นจึงโดยสารเรือสำเภามาศึกษาต่อที่กรุงศรีอยุธยา พำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราชจนเชี่ยวชาญ จึงทูลลาไปจำพรรษาที่วัดราชานุวาส สมเด็จพระเอกาทศรถทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมณศักดิ์ให้เป็น “สมเด็จพระราช มุนีสามีรามคุณูปมาจารย์” เมื่อครั้งสามารถถอดปริศนาธรรมที่พระเจ้า
แผ่นดินแห่งเมืองลังกาส่งมาท้าประลองดั่งการรบด้วยสติปัญญา หลังศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดราชานุวาสเป็นเวลาหลายปี ท่านก็ได้ออกธุองค์โดยมีจุดหมายเพื่อกลับถิ่นฐานที่ภาคใต้ ระหว่างเส้นทางก็เผยแพร่ธรรมะไปด้วยในขณะเดียวกันที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ เมื่อท่านธุดงค์มาถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ ซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรมเหมือนวัดร้าง  เนื่องจากถูกข้าศึกทำลาย ท่านกับอาจารย์จวง จึงคิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงทราบ ทรงยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ ๕๐๐ คน และทรงพระราชทานสิ่งของและเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลา ๓ ปี จึงแล้วเสร็จ ประชาชนพร้อมกันถวายนามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ” และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า “วัดพะโคะ” มาจนบัดนี้ พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ทรงเป็นผู้ทรงศีลและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ ไม่ว่าท่านจะไปพำนักอยู่สถานที่ใดที่นั่นก็จะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านคือช่วยเหลือและเผยแพร่ธรรมะ ให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ตลอดไป

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:38:19 ]
ความเห็นที่ 65

พระครูวิสัยโสภณ (พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร) วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี
เดิมชื่อนายทิม พรหมประดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๕ ที่บ้านนาประดู่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็นบุตรของนายอินทอง กับ นางนุ่ม พรหมประดู่ เมื่ออายุได้ ๙ ขวบ บิดามารดาได้ฝากให้อยู่กับ พระครูภัทรกรณ์โกวิท ซึ่งขณะนั้นยังเป็น พระแดง ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านเพื่อจะได้เรียนหนังสือ เมื่ออายุ ๑๘ ปี ได้บวชเป็นสามเณร จากนั้นก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนา จนอายุได้ ๒๐ ปี จึงบวชเป็นพระภิกษุที่วัดนาประดู่ จำพรรษาอยู่ ๒ พรรษาแล้วจึงย้ายไปอยู่ที่วัดมุจลิน ทวาปีวิหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม  ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัด ราษฎร์บูรณะ(วัดช้างไห้) ซึ่งตอนแรกก็ยังคงไปๆ มาๆ ระหว่างวัดช้างไห้กับวัดนาประดู่ เพราะท่านยังคงเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมอยู่ที่วัดนาประดู่ด้วย ช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ปัตตานี กองทหารและสัมภาระต่างๆ ได้ถูกบรรทุกโดยรถไฟสายใต้จากหาดใหญ่ไปสุไหงโก - ลก ผ่านหน้าวัดช้างไห้ วันละหลายเที่ยวหลายขบวน  ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างหวาดผวากับภัยสงคราม เสียขวัญและกำลังใจกันเป็นอย่างมาก ต้องรับภาระหนักคือต้องจัดหาอาหารและที่พักแก่ผู้ที่เดินทางผ่านวัดไม่เว้นแต่ละวัน นับว่าท่านเป็นพระผู้ทรงความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านไปอยู่ที่วัดช้างไห้ใหม่ๆ นั้น วัดอยู่ในสภาพที่ถูกทิ้งร้างทรุดโทรม ท่านได้ริเริ่มตกแต่งสถูปที่บรรจุอัฐิหลวงปู่ทวดให้เป็นที่น่าเคารพบูชา ท่านได้ดำริที่จะสร้างพระอุโบสถพร้อมบูรณะปรับปรุงบริเวณวัดให้ดีกว่าเดิม ท่านจึงได้ร่วมจัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด ซึ่งในครั้งนั้นได้ปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งพระอาจารย์ทิม ได้เงินจำนวนนั้นมาใช้สำเร็จตามความประสงค์ ท่านเป็นผู้รื้อฟื้นประวัติของพระราชมุนีสามีรามคุณู ปมาจารย์ หรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดช้างไห้ ให้เป็นที่รู้จักของพุทธ ศาสนิกชนทั่วไป พระอาจารย์ทิมเป็นผู้มีจิตเมตตาเคร่งครัดในพระธรรมวินัย แม้คนต่างชาติต่างภาษายังให้ความเคารพศรัทธา ท่านอาพาธด้วยโรคมะเร็งที่หลอดอาหารกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิ กายน พ.ศ.๒๕๑๒ แต่สิ่งที่ท่านได้สร้างไว้ล้วนเป็นสิ่งที่บอกได้ถึงความมุมานะและความพยายาม ที่จะทะนุบำรุงพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องต่อไป

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:43:49 ]
ความเห็นที่ 66

ส่วนกุฏิสุดท้ายคือ "หอสวดมนต์"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:45:28 ]
ความเห็นที่ 67

หอสวดมนต์ เป็นที่ประดิษฐานของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงทั้ง 5 ภาคในประเทศไทย  จัดแสดงคล้ายกับว่ามาทำการประชุมสงฆ์พร้อมกัน ซึ่งประกอบด้วย
1. หลวงพ่อเงิน    พุทธโชติ       วัดบางคลาน    จ. พิจิตร (องค์กลาง)
2. หลวงพ่อทองคำ (พระเมตตาวิหารคุณ) วัดบึงบา จ. ปทุมธานี  (องค์ในด้านขวามือของเรา)
3. หลวงปู่สุภา     กันตสีโล         วัดสิลสุภาราม   จ.ภูเก็ต (องค์นอกด้านขวามือของเรา)
4. หลวงปู่ทิม      อิสริโก            วัดระหารไร่      จ.ระยอง (องค์ในด้านซ้ายมือของเรา)
5. หลวงปู่คำพัน  โฆสปัญโญ     วัดธาตุมหาชัย  จ.นครพนม (องค์นอกด้านซ้ายมือของเรา)

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:46:37 ]
ความเห็นที่ 68

ถัดจากบริเวณ"กุฏิพระสงฆ์" ใกล้ๆ กันก็จะเป็นบริเวณ"บ้านไทยสี่ภาค"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:48:24 ]
ความเห็นที่ 69

ตลอดเส้นทางเดินร่มรื่นไปด้วยต้นไม้และลำธาร

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:50:03 ]
ความเห็นที่ 70

บ้านไทยภาคเหนือ

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:52:06 ]
ความเห็นที่ 71

บ้านไทยภาคอีสาน

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:52:43 ]
ความเห็นที่ 72

บ้านไทยภาคกลาง

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:53:14 ]
ความเห็นที่ 73

ส่วนรูปบ้านไทยภาคใต้หาไม่เจอหรือลืมถ่ายก็ไม่รู้..เสียดายจัง จากนั้นพวกเราก็มานั่งเล่นกันบริเวณ น้ำตกจำลอง

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:54:57 ]
ความเห็นที่ 74

สำหรับเด็กๆ ก็ได้รับความสนุกพร้อมความรู้ไปด้วยในคราเดียวกัน

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:56:36 ]
ความเห็นที่ 75

นั่งพักกันจนหายเหนื่อยแล้วก็เดินต่อไปยังโซนสุดท้ายนั่นก็คือ "ลานพระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร"

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:58:09 ]
ความเห็นที่ 76

ในความหมายของ "พระโพธิสัตว์" คือ อริยบุคคลที่ได้บรรลุอรหันต์ ทรงได้ตรัสรู้แล้วแต่ยังไม่ยินดีด้วยการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงมีปณิธานว่าจะอยู่คอยช่วยเหล่าสรรพสัตว์ในโลกมนุษย์ก่อนจนถึงคนสุดท้าย ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สัทธิตรันตระ เกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 9- 10

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 09:59:44 ]
ความเห็นที่ 77

สำหรับองค์ที่จำลองขึ้นมานี้ เป็นเพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือ กวนซิอิมผ่อสัก เป็นศิลปะแบบกลาง-ปลายสมัยราชวงศ์ซ้องของจีน เป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม ท่านั่งมหาราชลีลาลักษณะเป็นบุรุษเพศ ตามประวัติเดิมพระโพธิสัตว์ ล้วนมีรูปปั้นเป็นบุรุษเพศ มีต้นเกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย และทรงเครื่องแต่งกายสง่างามอย่างกษัตริย์ เมื่อมีการอันเชิญพระไตรปิฎกจากอินเดียมาสู่จีน ทำให้พระโพธิสัตว์ของจีนสมัยแรกๆ ก็มีภาพวาด และรูปปั้นเป็นลักษาณะบุรุษเช่นเดียวกับอินเดีย
ต่อมาในสมัยราชวงศ์หงวน พุทธศาสนิกชนชาวจีนได้สถาปนา พระนางเมี่ยวซ่าน พระธิดาของกษัตริย์เมี่ยวจวงให้เป็น พระกวนอิมด้านคุณธรรมและความดีงามต่างๆ ที่พระนางปฏิบัติ จนเกิดความสวบสุขแก่สังคม เทิดทูนพระนางเมี่ยวซ่านเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิม และเป็นสตรีเพศอันมีเมตตาสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติพระโพธิสัตว์แต่นั้นมา เมื่อชาวจีนมาอยู่ในไทยรูปลักษณ์จึงเป็นสตรีเพศตามอย่างมาจากประเทศจีน

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 10:05:48 ]
ความเห็นที่ 78

ไปทำงานก่อนแล้วจะกลับมารีวิวต่อนะครับ

จากคุณ : noiwanwannoi [5 ก.ย. 54 10:06:23 ]
ความเห็นที่ 79

เพิ่งไปมาเหมือนกันค่ะ ค่าเข้าชม 50 บาท แต่คุ้มค่ามากมาย

ขอบคุณสำหรับรีวิวดี ๆ นะคะ

จากคุณ : *~Mayple Girl~* [5 ก.ย. 54 10:24:14 ]
ความเห็นที่ 80

ยังไม่เคยไปเลย  เห็นแล้วอยากไปชมมาก ๆ


ขอบคุณครับ

จากคุณ : tiger's nest [5 ก.ย. 54 11:25:27 ]
ความเห็นที่ 81

รีวิวดีข้อมูลแน่นเช่นเคย

ขอบคุณคุณน้อยนะคะ

smile

จากคุณ : Yai Klong_Tour Rai [5 ก.ย. 54 11:36:28 ]
ความเห็นที่ 82

ขอตามไปไหว้สาครูบาศรีวิชัยและหลวงปู่แหวนด้วยคนค่ะ

จากคุณ : เด็กดอย เจ้าแม่ปาเงิน [5 ก.ย. 54 11:36:48 ]
ความเห็นที่ 83

อุทยานหุ่นขี้ผึ้งนี่น่าไปเยือนมากเลยครับ

จากคุณ : Destiny-Boy [5 ก.ย. 54 12:45:57 ]
ความเห็นที่ 84

ขอบคุณสำหรับรีวิวรูปสวยๆพร้อมรายละเอียดดีมากๆเลยค่ะ

จากคุณ : สาวหน้าใส [5 ก.ย. 54 16:38:06 ]
ความเห็นที่ 85

ผมชอบพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมากเลย แต่ยังไม่เคยมีโอกาสไปดูที่ ราชบุรี

ขอบคุณที่นำมาฝากกันครับ

จากคุณ : il giallorossi [5 ก.ย. 54 18:06:48 ]
ความเห็นที่ 86

รูปสวยมากครับ เห็นแล้วอยากพาคุณพ่อ คุณแม่ คุณแฟนไปเที่ยวบ้าง

จากคุณ : AmphawaGuide.com (คุณเก้าแสน) [5 ก.ย. 54 23:01:51 ]
ความเห็นที่ 87

...ตามมาเที่ยวพิพิทธภัณท์หุ่นขี้ผึ้งด้วยคนนะคะ   กะพริบตา

สวยมากๆ เลยนะคะเหมือนของจริงมากเลยค่ะ  ^-^

จากคุณ : จูลายกะปลายฟ้า ^-^ (ปลายฟ้าที่ภูตะวัน) [6 ก.ย. 54 22:02:54 ]
ความเห็นที่ 88

ภาพสวย เนื้อหาเยี่ยมครับ

จากคุณ : คนมีแฟนขับ (chun_cx) [7 ก.ย. 54 16:27:34 ]
ความเห็นที่ 89

ตามมาปิดท้ายครับ ๆๆ มาช้าไปนิด

จากคุณ : ชานมชงเอง [8 ก.ย. 54 08:20:36 ]