ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจมากับพี่น้องชาวอยุธยา ที่ประสบน้ำท่วมกันมากมาย โดยเฉพาะแหล่งมรดกโลก นี้โดนเข้าไปแล้ว ภาพที่ผมนำมาเป็นของปีที่แล้ว ที่ไม่มีน้ำท่วมในช่วงนั้น จึงขอนำแสดงให้ดู ไปพลางๆ ก่อนครับ
เนื่องจาก การตามหาพระ องค์(สี)ดำ ในวันแม่ ยังไม่พบ จึงเป็นเหตุให้ต้องมาที่อยุธยานี้อีกครั้ง ซึ่งคราวนี้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากในเว็บ ว่า น่าจะเป็นหลวงพ่อมงคลบพิตร ที่เคยมีสีดำ แล้วมีการบูรณะให้เป็นสีทอง ไม่นานมานี้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถค้นหาภาพพระองค์ดำในปัจจุบันได้ และนอกจากนี้ยังมี ความทรงจำอีกอัน คือ ได้เดินรอบฐานพระองค์สีดำ ทางเดินแคบมาก เรียกกว่า หลีกกันไม่ค่อยพ้น ผมจะไปสืบค้นหาอดีต กันที่วิหารพระมงคลบพิตรดู ว่าจะเป็นที่เดียวกับที่ผมเคยไปหรือไม่ คอยติดตามชมนะครับ
ขอฝากลิ้งค์ในตอน 2 : วัดใหญ่ชัยมงคล - สถานีรถไฟอยุธยา ดังข้างล่างนี้ครับ
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E11147364/E11147364.html
แม้จะต่อเนื่องจากทริป ในสองตอนที่แล้ว แต่ก็เป็นการไปคนละครั้ง คือถัดมาอีก 10 วัน ซึ่งครั้งนี้ผมได้ใช้เส้นทาง ปทุมธานี - บางปะหัน คือผ่าน ท้ายเมืองอยุธยา ฝั่งตะวันตกแทน ซึ่งต้องขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา (ตามลูกศรสีน้ำเงิน) มาเข้าถนนศรีสรรเพชญ์ ผ่านหน้าศาลากลางอยุธยา เพื่อต้องการจะเห็นด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตร แล้ววนอ้อม ไปจอดรถด้านหลังวิหารอีกที
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ภาพบน : ภาพแรก ก็คือ ก่อนจะถึงด้านหน้าวัด หลังผ่านสามแยก หน้าศาลากลางมาแล้ว ใกล้จะถึงวงเวียน ใกล้วังช้างอยุธยาฯ ก็เก็บภาพไว้เพื่อลุ้น
ภาพกลาง : กำลังอยู่ในวงเวียน มองเห็นป้ายวังช้างอยุธยา แล เพนียด ในมุมพอเหมาะ เลยถ่ายไว้อีกภาพ แต่ผมไม่ทราบหรอกว่าอยู่ตรงไหน ตอนแรกยังคิดว่าเขาพิมพ์ตก น่าจะเป็น "วังช้างอยุธยา และ เพนียด" แต่พอมาค้นข้อมูลในเน็ต กลายเป็น คำว่า "แล" ก็คือ ได้แลดู หรือได้ชม นั่นเอง ไม่ใช่และ อย่างที่เข้าใจตอนแรก
ภาพล่าง : เลยวงเวียนนั้นมานิดเดียว ก็สังเกตุเห็นพระปรางค์แหลมๆ สูงเด่นอยู่องค์เดียว ด้านขวามือ มาค้นข้อมูลดู ก็คือ วัดพระราม ครับ ดูน่าจะเป็นพระปรางค์ที่สูงที่สุดในจังหวัดอยุธยานี้เลย (ไม่แน่ใจ) แต่ที่แน่นอนก็คือมีองค์เดียว ตั้งเด่นสง่าในสถานที่แห่งนี้เลยครับ
ภาพบน : ตอนนี้วนรถอ้อม(โลก) มาถึงถนนด้านหลังวิหารพระมงคลบพิตรแล้ว มีชื่อว่า ถนนคลองท่อ ซึ่งเป็นทางเข้ายังที่จอดรถวัด ทางเดียว ที่เข้าได้ทั้งสองด้าน ฝั่งเหนือ และฝั่งใต้ของเกาะอยุธยา ครับ
ภาพกลาง : ตอนนี้ถึงทางเข้าที่จอดรถแล้ว รถเยอะมาก แม้จะไม่ใช่เทศกาล
ภาพล่าง : เข้ามาจอดรถแล้ว พอหาที่จอดรถได้ จะมองเห็นด้านหลังวิหารพระมงคลบพิตรอยู่ไม่ไกล แต่มองไม่เห็นถนนทางเข้า คงต้องผ่านร้านค้า หรือเต้นท์ร้านค้า เป็นแน่นอน พอดีมีป้ายบอกทางเข้าขวามือครับ
ภาพบน : เดินออกมาจากรถ ก็จะมองเห็นเต้นท์จำหน่ายสินค้าพื้นบ้านกรุงเก่า (OTOP = One Tumbon One Product) อยู่ด้านซ้ายมือ
ภาพล่าง : มองไปทางขวา เป็นทางเข้าครับ ดูเงียบๆ ชอบกล คนคงชอบไปเข้าทางเต้นท์ด้านซ้ายมือมากกว่ากระมัง
เดินมาถึงทางเข้าแล้ว ก็เก็บภาพไว้อ้างอิง มองเห็นป้ายบอกทางเข้าเป็นรูปวิหารพระมงคลบพิตร และ วัดพระศรีสรรเพชญมหาปราสาท เลยถ่ายมาให้ดูกันเป็นน้ำย่อย ก่อนเข้าไปชมกันครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ตรงทางเข้า สุดทางก็คือ หอกลอง ครับ เลยไปเป็นคลองนะครับ ทางเข้าไปยังวิหาร ต้องเลี้ยวซ้าย ผ่านร้านค้าไป (แต่ในอันที่จริง เราสามารถเดินเลียบคลองไปได้เช่นกัน ซึ่งตอนกลับผมได้เดินออกมาทางนี้ ไม่ชอบเบียดคน)
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ภาพบน : เนื่องจากการช๊อปปิ้งไม่ใช่เป้าหมายหลักของผม เวลาก็น้อย ผมเลยขอเดินผ่านเฉยๆ ปล่อยให้สมาชิกที่มาด้วยกัน ช๊อปกันให้สนุกแทน (ตอนหลังไม่ทราบว่า พวกเขาไม่ได้เข้ามาถึงวิหาร รู้สึกเสียดายแทนจริงๆ)
ภาพล่าง : สุดแนวร้านค้า ก็เป็นบันไดขึ้นไปยังลานหน้าวิหาร ซึ่งต้องเดินอ้อม อาคารมูลนิธิฯ พระมงคลบพิตร ก่อน(เลยทำให้มองไม่เห็นทางเดินไปยังวิหารจากตรงนี้)
ตรงนี้มีป้ายแผนผังในบริเวณนี้ ถ่ายเก็บไว้อ้างอิง นับว่าช่วยได้มาก ในการระบุตำแหน่งและชื่อเรียก สถานที่ต่างๆที่สำคัญในนี้ ผมไม่ได้มานานกว่า 30 ปีแล้ว แถมมาครั้งนั้นก็มาแบบลูกทัวร์ ไม่รู้อะไรเลย เดินตามเขาไปไหว้พระเสร็จก็ขึ้นรถกลับ มาคราวนี้ มาแบบนักสำรวจ ด้วยตัวเอง เลยได้อะไรกลับไปมากจริงๆ ครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)โผล่ขึ้นมาจากด้านหลัง มูลนิธิฯ ก็ได้พบกับลานหน้าวิหารพระมงคลบพิตร ครับ นับเป็นวิหารที่สวยและยิ่งใหญ่น่าดูมากครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)มองไปข้างหน้า (ด้านขวาของวิหาร) ก็คือ ทางเข้าวัดพระศรีสรรเพชญ มีคนเดินเข้าออกกันมากพอสมควร
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ผมเดินออกมาตรงถนนด้านหน้าวิหาร แล้วถ่ายภาพด้านหน้าวิหารมาให้ชมกัน ภาพมุมนี้ผมเคยถ่ายเมื่อมาครั้งก่อน แต่สูญหายไป หาไม่พบ ไม่งั้นคงได้มีการนำภาพมาเปรียบเทียบกันอีกแน่นอน ซึ่งผมพอจำได้ว่า ตอนนั้นมีรถยนต์มาจอดด้านหน้าวิหาร เรียงกันยาว แล้วผมยืนเต๊ะท่าหลังรถยนต์ ติดวิหารแห่งนี้ด้วย แต่ทำไมตอนนี้ ไม่มีลานจอดรถแล้วหว๋า? ผมจำสับกับวัดพนัญเชิงหรือเปล่า ไม่แน่ใจเหมือนกัน
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)หันหน้าออกไปยังประตูด้านหน้า ทางเข้าจากถนนใหญ่ เป็นทางปูด้วยอิฐมอญ ดูไม่น่าจะมีรถยนต์วิ่งเข้ามาได้เลย ช่างแปลกจริงๆ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ผมได้ลองค้นหาข้อมูลภาพเก่าๆ ในเน็ต ซึ่งหายากจริงๆ แต่ก็เจอจนได้ในภาพล่างซ้าย จากเว็บวัดโบราณในพระนครศรีอยุธยา
http://watboran.wordpress.com/category/%E0%B9%90%E0%B9%92%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3/
ว่าข้างหน้าวิหารพระมงคลบพิตรได้เคยเป็นลานจอดรถจริงๆ แถมมีรั้วเตี้ยๆ สีขาวแนวโค้งอยู่ด้วย ซึ่งเมื่อดูจากภาพของผมแล้ว พอเห็นแนวโค้งอยู่ แต่รั้วได้หายไป ลานจอดรถกลายเป็นสนามหญ้า และทางเดินอิญมอญไปแล้ว.... ไม่ทราบเหมือนกันว่ามีการเปลี่ยนแปลงตรงไปในปี พ.ศ.อะไร ผมหาข้อมูลนี้ในเน็ตไม่พบจริงๆ หรือจะเป็นช่วงเดียวกับที่บูรณะองค์หลวงพ่อสีดำให้กลายเป็นสีทอง คือ ปี พ.ศ.2533
ภาพบนซ้าย : เป็นภาพมุมสูงสมัยก่อน จากเว็บทรูปลูกปัญญา
http://www.trueplookpanya.com/true/activity_detail.php?cms_id=5440
เป็นการยืนยันว่า เคยมีถนนยาว ด้านหน้าวิหารด้วย ซึ่งคิดว่าการเปลี่ยนแปลงนี้คงมีสาเหตุจาก ได้เป็นมรดกโลก และต้องการรักษาโบราณสถานไม่ให้ทรุด เสียหายจากการที่รถยนต์เข้ามาจอดใกล้ๆ ครับ
ภาพซ้าย : มองไปทางซ้าย(หันหน้าเข้าวิหาร) จะเห็นศาลามูลนิธิพระมงคลบพิตร บังทางเข้าร้านค้าไว้ ถัดมาด้านขวาก็เป็นศาลานั่งเล่น มีถังน้ำโบราณสีขาวขนาดใหญ่ ทำด้วยปูน ตั้งอยู่ (จะสังเกตุเห็นได้จากร้านค้าแรกๆ เลย)
ภาพขวา : เดินเข้ามาทางวิหาร จะเห็นป้ายเก่าๆ (สมัยนี้เรียกกว่า บอร์ด) ไม่มีข้อความ หรือกระดาษใดๆ ติดอยู่เลย)
เดินเข้ามาใกล้วิหารมากแล้วถ่าย 2 ภาพนำมาต่อกัน แบบโค้งๆ...ให้ดูบรรยากาศด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตร ครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)มองไปทางด้านซ้าย และขวา ของวิหาร ด้านซ้ายมีคนอยู่เยอะ เพื่อจุดธูปไหว้พระ ด้านขวามีป้ายสแตนเลสบอกข้อมูลเกี่ยวกับองค์พระมงคลบพิตร ครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)แผ่นป้ายบอกประวัติ หลวงพ่อมงคลบพิตร ครับ
มีประวัติเพิ่มเติม ที่ค้นจากในเน็ตว่า
พระมงคลบพิตรสร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คาดว่าโดยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ในปี พ.ศ.2081 ที่วัดชีเชียง ที่อยู่ด้านหน้าวิหาร ที่ปัจจุบันเหลือเพียงวิหารแกลบ อยู่เท่านั้น แล้วต่อมา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้ย้าย องค์พระมาไว้ตำแหน่งปัจจุบัน และได้สร้างมณฑปครอบไว้ในปี พ.ศ.2153
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ พ.ศ.2249 ได้มีฟ้าผ่าลงมาที่ยอดมณฑป ทำให้เกิดเพลิงไหม้ หลังคามณฑปพังลงมาโดน พระศอ(คอ) หัก จนสมัยพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ.2285 - 2286 ได้มีการต่อพระศอองค์พระ และสร้างวิหารขึ้นแทนมณฑป
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310 พม่าคิดว่า องค์พระมงคลบพิตรสร้างด้วยทองคำที่เคลือบไว้ด้วยปูน จึงได้สุมไฟ เลยทำให้หลังคาวิหารพังลงโดนพระเมารี (ยอดมวยผม) และพระกร(แขน)ขวา หัก ปล่อยรกร้างไว้ยาวนาน ร้อยกว่าปี จนสมัยรัชกาลที่ 5 ในพ.ศ.2463 พระยาโบราณราชธานินทร์ ถึงได้ซ่อมแซมองค์พระให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม
มาถึง สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ.2499 ได้มีการปฏิสังขรณ์วิหารให้มีหลังคาดังในปัจจุบัน ซึ่งครั้งนี้ได้มีการทาองค์พระด้วยสีดำ ตลอดทั้งองค์ ซึ่งดั่งที่ผมเคยได้เคยเห็นในการมาครั้งนั้นประมาณปี พ.ศ.2520 - พ.ศ. 2523
จนล่าสุด ในปี พ.ศ.2533 สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานพระดำริให้ปิดทององค์พระ ซึ่ง ต่อมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการ และได้พระราชทานทุนทรัพย์ ปฏิสังขรณ์ องค์พระให้เป็นสีทอง เพื่อเฉลิมพระเกียรติครบรอบ 60 พรรษา ดังที่เห็นในปัจจุบันครับ
โอ้โฮ...ข้อมูลประวัติเกี่ยวกับองค์หลวงพ่อมงคลบพิตรนี้ยาวจริงๆ โดยมีสาระความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ราวกับหนังชีวิตเลยครับ ซึ่งเมื่อสำรวจดูแล้วพบว่ายังมีการเปลี่ยนแปลงอีก เดี๋ยวจะพาไปชมครับ น่าตื่นเต้นจริงๆ
ตอนนี้ผมพาเพื่อนๆ มาจุดธูป ปิดทองไหว้องค์จำลองด้านหน้า วิหารไปก่อน ผมจำได้ว่ามาครั้งโน้น ได้เข้าไปจุดธูปข้างใน ควันธูปเล่นเอาแสบตา แสบจมูกกันไปเลย (ถ้านึกไม่ออก ก็ให้นึกถึงศาลเจ้าจีน ต่างๆ ที่มีการปักธูปมากมายหลายกระถาง) แต่หลังจากที่การสถาปนาเป็นโบราณสถาน และมรดกโลก จึงห้ามจุดธูปข้างใน (สิ่งนี้ได้มีการทำเลียนแบบกันมาในหลายๆ วัด เพื่อรักษาสภาพองค์พระพุทธรูป และพื้นผิวภายในวิหาร หรือโบสถ์ไว้ครับ)
ไหว้เสร็จแล้วก็เข้าชมองค์พระมงคลบพิตรด้วยกัน ก่อนเข้าก็แหงนดูซุ้มประตูข้างบนก่อน แล้วก็มององค์พระผ่านประตูด้านวิหารนี้เข้าไป มีเสาขนาดใหญ่ตั้งอยู่ข้างใน บดบังองค์พระไปพอสมควร
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ก้าวผ่านประตูเข้ามาแล้ว ก็ถ่ายภาพด้านหน้าองค์พระชัดๆ ไว้สักภาพ และบรรยากาศแท่นบูชาข้างล่างไว้ด้วยครับ จะสังเกตุเห็นรั้วสแตนเลสกั้นมิให้เขาไปใกล้องค์พระได้
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)สังเกตุเห็นรูปถ่ายองค์พระสีดำ ลักษณะเดิมก่อนปิดทองดังที่เห็นในปัจจุบัน องค์พระท่านสร้างจาก อิฐ หล่อทับด้วยทองสัมฤทธิ์ (ทองแดง รวมกับ ดีบุก) ดูเหมือนโลหะเทาอมแดง ที่พบในสมัยโบราณ แต่ด้วยสภาพที่ชำรุด สีกระดำกระด่าง และร่องรอยการซ่อมแซม ท่านจอมพล ป. พิบูล สงคราม ท่านได้ทาสีดำตลอดทั้งองค์ ปิดทับไว้ (ซึ่งก็ยังพอสังเกตุเห็นรอยจุดดำๆ ตรงพระกรขวาเหมือนรอยปะอยู่ดังแสดงในรูปข้างล่าง)
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ขอชมรีวิวละเอียดๆต่ออีกครับ............ขอบคุณครับ
จากคุณ : low batt. [วันเกิด PANTIP.COM 54 17:44:25 ]A:49.48.15.222 X: TicketID:329936สวัสดีครับ คุณ low batt. : เชิญติดตามต่อได้ครับ กำลังสนุกครับ
ภาพซ้าย : ตอนนี้เดินมาทางด้านซ้าย (หันหน้าเข้าหาองค์พระ) พบประตูด้านข้างด้วย ซึ่งปกติวิหารหรือโบสถ์ ทั่วๆ ไปจะไม่มีประตูด้านข้าง แต่นี่ดัดแปลงมาจากมณฑป เลยทำให้มีประตู 4 ทิศเลยครับ
ภาพขวา : หันไปดูองค์พระด้านขวามือ ลอดผ่านเสาเข้าไป จะว่าไปรู้สึกรำคาญเสาพวกนี้เหมือนกัน ที่มาบดบังองค์พระไปเยอะ ตอนหลังถึงคิดได้ว่า นี่เป็นโครงสร้างเดิมของมณฑป ที่ประกอบด้วยเสาเรียงกันทั้ง 4 ด้าน โดยไม่ใช้คานพาดระหว่างเสา แล้วสร้างหลังคาแหลมๆ ข้างบนอีกที ใครนึกภาพไม่ออก ก็ให้นึกถึง มณฑปของพระพุทธบาทสระบุรี ครับ
หันกลับไปดูบริเวณด้านหน้าองค์พระอีกครั้ง มีระยะห่างระหว่างเสา กับ ผนังวิหารพอสมควร และที่น่าสังเกตุก็คือความหนาของกรอบประตูนั้น มากพอๆ กับความขนาดของเสา นี่คงเป็นผลจากการดัดแปลงมณฑปมาเป็นวิหารที่มีผนังนะครับ (คาดว่าตอนเป็นมณฑป คงไม่มีผนัง)
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)มาถึงด้านข้างองค์พระ ซึ่งเสาช่วงนี้ จะกว้างเหมือนกับด้านหน้าองค์พระ เลยมองเห็นได้เต็มองค์ครับ งดงามอ่อนช้อยจริงๆ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)เสาด้านข้างนี้มีรูปองค์พระสมัยที่ยังไม่ได้บูรณะวิหาร ให้มีหลังคาดังที่เห็นในปัจจุบัน (คาดว่าก่อน ปี พ.ศ.2499 สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม)
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)นี่เป็นรูปหลักฐานอ้างอิง เมื่อครั้งองค์รัชกาลที่ 6 เสด็จมาที่วิหารแห่งนี้ ซึ่งยังมีคนสมัยปัจจุบันที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้ทันเห็นวิหารตอนที่ยังไม่ได้บูรณะสร้างหลังคาขึ้นมาด้วย จึงพอสรุปได้ว่า สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการซ่อมองค์พระ (พระกร และพระเมารี) เท่านั้น
ที่มา : ภาพจากเว็บ โพสจัง โดยคุณไทรย้อย
http://board.postjung.com/m/topic.php?id=559580&page=3
เดินอ้อมมาทางหลังองค์พระ มีทางเดินกว้างพอสมควร มีประตูด้านหลังตรงกลางเช่นเดียวกับด้านอื่นๆ มองเข้าไปทางด้านหลังองค์พระ จะพอเห็นว่ามีช่องว่างเล็กน้อยระหว่างฐานพระกับเสาให้เดินได้ ซึ่งในอดีต น่าจะเคยเปิดให้เข้าไปเดินได้
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)หันกลับมามองด้านข้าง ที่เดินเข้ามา แล้วมองเข้าไปในแนวเสา ที่ปัจจุบันมีรั้วสแตนเลสกั้นอยู่ ซึ่งยืนยันได้ว่า สามารถเดินรอบฐานองค์พระในแนวเสาได้จริง ซึ่งผมจำได้ลางๆ ในการมาคราวก่อนโน้นว่า ได้เข้ามาเดิน เบียดกับผู้คนในช่องว่างระหว่างฐานพระกับเสา โดยเลยแนวเสาออกมา รู้สึกว่ามีเป็นผนัง หรือ อะไรที่รกๆ ขึงอยู่จำไม่ได้ จนทำให้มองไม่เห็นผนังวิหาร เพื่อนๆ ใครที่จำได้ ลองเข้ามาเพิ่มเติมกันได้นะครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)มาอยู่ด้านหลังองค์พระ ถ่ายภาพแนวตรงให้ดูสักภาพครับ สำหรับคนที่ชอบปิดทองหลังพระ แต่ที่นี่ ห้ามครับ (ในอดีตอาจเคยปิดได้)
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ภาพขวา : ตรงด้านหลังนี้มีบันไดขึ้นไปบนเพดาวิหารด้วย
ภาพซ้าย : เดินมาถึงด้านข้างองค์พระอีกฝั่งแล้ว ด้านนี้มีวัตถุโบราณด้วยครับ สังเกตุดีๆ ผนังด้านหน้าและหลังวิหารจะมีช่องหน้าต่างด้วย (ด้านข้างวิหารไม่มี)
ภาพขวา : ที่ผนังด้านหลังวิหารมี ระฆังไม้โบราณวางอยู่ด้วยครับ
ภาพซ้าย : มองเข้ามาด้านหลังองค์พระ ระหว่างเสากับฐานองค์พระ มีช่องว่างที่สามารถเดินได้ จุดนี้แหละที่ผมเคยเข้ามาเบียดกับคนอื่นๆ แต่จำไม่ได้ว่าเข้ามาทำไม ปิดทองหรือเปล่า จำไม่ได้จริงๆครับ
แสดงภาพวัตถุโบราณอีกครั้ง ครับ มีแจกันยักษ์คู่หนึ่งด้วย
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ภาพขวา : ทั้ง 4 ด้านจะมีแท่นบูชาเหมือนกันง
ภาพซ้าย : เดินมาถึงช่องด้านหน้า ซึ่งดูมีระยะหว่างระหว่างฐานพระกับเสามากเป็นพิเศษ แต่จะมีการจัดวางองค์พระ และตู้ไว้แทน นอกจากนี้ บริเวณรั้วยังมีการวางของไว้เยอะทำให้ยากต่อการไปยืนชิดรั้วเพื่อถ่ายภาพมุมเฉียงด้านหน้าขององค์พระครับ จึงนับเป็นพระที่หามุมถ่ายภาพได้ยากองค์หนึ่ง
แต่ก็ยังมีคนเคยถ่ายภาพมุมเฉียงๆ ไว้ได้เช่น
รูปซ้าย เป็นรูปเฉียงซ้าย โดยเว็บธรรมะไทย
http://www.dhammathai.org/watthai/central/watmongkhonbophit.php
รูปขวา เป็นรูปเฉียงขวา โดยเว็บหมูพีค
http://www.moopeak.com/system/article_pic/213.jpg
เสาแถวนี้มีรูปภาพเก่าของวิหารไว้ด้วย นับเป็นภาพเดิมก่อนการบูรณะสร้างหลังคาให้ เช่นเดียวกับ ภาพในคห.27 แต่เห็นวิหารได้เกือบเต็มหลัง
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ตรงนี้มีแผ่นป้ายทำด้วยไม้ เลียนแบบ พระบรมราชโองการ ที่ระบุขนาดขององค์พระ และปี พ.ศ.ที่บูรณะวิหารแห่งนี้แล้วเสร็จ จนมีลักษณะในปัจจุบัน
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ผมขอถ่ายภาพมุมเฉียงสักภาพ แม้จะมีเสาบัง แต่ก็งดงามจริงๆ ครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ก่อนออกไปจากวิหาร ผมขอเปรียบเทียบภาพองค์พระ ทั้งก่อนและหลังการบูรณะปิดทองในช่วงปี พ.ศ.2533 - 2535 ครับ ผมเห็นรูปขวาแล้วร้องอ๋อจำได้ ถึงพระเนตรของท่าน ดูช่างน่ากลัวจริงๆ กับผิวองค์พระที่ดูดำด้าน ใช่แล้วครับ พระองค์ดำที่ผมคิดถึง และตามหามานาน เพียงแค่ปิดทอง ก็ดูเปลี่ยนแปลงมากจนจำไม่ได้เลย (สังเกตุให้ดี ตรงกลางหน้าผากองค์พระจะมีจุดสีขาวด้วย ไม่ทราบว่ามีความหมายอะไร ซึ่งหลังจากปิดทอง ก็ถูกปิดทับไป)
ที่มาของภาพหลวงพ่อมงคลบพิตรองค์ดำ ในภาพขวา มาจากเว็บธรรมะไทย ลิ้งค์เดียวกับ คห.36 ครับ
ตอนนี้ผมได้กลับออกมาจากวิหารแล้ว ข้างนอกมีทหารหนุ่มเดินผ่านไปเป็นขบวน มีอะไรกันหรือ ? ช่วงนั้นยังคงมี พรก.ฉุกเฉิน อยู่ด้วย..
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ออกมามองตามแถวทหาร อ๋อ..พวกเขากำลังมุ่งหน้าไปวัดพระศรีสรรเพชญ คงไปทัศนศึกษากันนะครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ภาพขวา : มองไปทางด้านซ้าย ด้านนอกจะเห็นเจดีย์ วัดพระศรีสรรเพชญอยู่ไม่ไกลนัก ในตอนแรกผมยังไม่คิดจะแวะเข้าไปเที่ยว แต่เห็นพอมีเวลาเหลือ เลยนึกเสียดาย ถ้าไม่ได้เข้าไป ซึ่งในตอนถัดไป (ตอนที่ 4) ผมจะพาท่านเข้าชมวัดพระศรีสรรเพชญอย่างเต็มอิ่มครับ
ภาพซ้าย : ผมเดินเลยมาถึงทางเดินนอกชาน ข้างวิหาร ดูเงียบๆ ไม่มีคนครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)หันกลับมาดูทางด้านหน้าวิหารอีกครั้ง เสาต้นเบ้อเริ่มช่างดูยิ่งใหญ่จริงๆ ครับ เหลือบเห็นภาพนูนต่ำอยู่ข้างประตูด้านหน้า
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)เข้าไปดูภาพนูนต่ำใกล้ๆ เป็นภาพพระมงคลบพิตรช่วงที่พระกรและพระเมารีหัก หลังจากถูกหลังคาวิหารพังลงมาโดน ระหว่างการสุมไฟจากพม่าในปี พ.ศ.2310 (แต่ข้อมูลใต้ภาพ กลับเป็นว่าโดนฟ้าผ่ามณฑป ใน ปีพ.ศ.2243 แทน เพราะจากที่ค้นในเน็ตมาข้างต้น ฟ้าผ่ามณฑปครั้งนั้น ทำให้พระศอ (คอ) องค์พระหักเลย)
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ทางด้านซ้ายของประตูหน้า ก็มีภาพนูนต่ำอีกภาพ ที่แสดงภาพการประพาสของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในช่วงรัชกาลที่ 5 พร้อมด้วย ดยุค (เจ้าชาย)และ ดัชเชส(เจ้าหญิง) โยฮัน จากประเทศเยอรมันนี
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ต่อไปเป็นการเดินสำรวจ บริเวณรอบๆ วิหารพระมงคลบพิตรครับ ซึ่งแสดงด้วยเส้นสีส้ม (ในขณะที่เส้นสีเขียวแสดงการเดินจากลานจอดรถมายังวิหาร) ซึ่งสำหรับการเข้าชมวัดพระศรีสรรเพชญ นั้นผมขอยกไปตอนที่ 4 เพราะมีภาพเยอะ และน่าสนใจมากครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ผมเดินมาที่ประตูด้านหน้าริมถนนข้างนอกเลย แล้วถ่ายภาพกลับเข้าไปข้างใน นักท่องเที่ยวที่เดินเท้ามาจากที่อื่น หรือใช้บริการรถโดยสารน่าจะเข้ามาทางนี้มากกว่า อันเป็นทางเดิมที่แต่ก่อนรถยนต์ส่วนตัวสามารถขับเข้ามาได้ และได้ถูกห้ามเข้าไป โดยรื้อถนนเก่าออก แล้วปูหญ้า กับ อิฐมอญแทนเพื่อให้คงบรรยากาศสมัยโบราณ ครับ ดูคลาสสิคดี แต่คงเป็นที่ลำบากสำหรับคนสูงอายุ และคนป่วยที่ขาไม่ดี ครับ
ในรูปจะเห็นรถสองแถวหน้ากบ (ที่นั่นเขาเรียกว่า สองแถวหน้าหมู) จอดรออยู่ แต่ที่ไม่เหมาะสมก็คือ บรรดารถที่จอดด้านขวามือ ดันจอดบังป้ายชื่อด้านหน้าไปได้
มองเข้าไปจะเห็นวิหารแกลบอยู่ด้านซ้ายมือ ด้วยครับ เดี๋ยวเราจะเข้าไปดูกันใกล้ๆ
ก่อนเข้าไปข้างในอีกครั้ง ขอถ่ายป้ายด้านหน้าที่ทำด้วยหินอ่อนก่อน น่าแปลกที่น่าจะพิมพ์คำว่า วิหารพระมงคลบพิตร แต่กลับบอกชื่อ หลวงพ่อเท่านั้น ถ้าผมยังไม่เห็นป้ายนี้ เผลอๆ ยังอาจคิดว่าเป็น "วัดมงคลบพิตร" ไปเลย เพราะมักคิดง่ายๆ ว่าที่ไหนมีพระ ที่นั่นก็เป็นวัด ซึ่งผมมาฉุกคิดตอนเตรียมภาพโพสกระทู้นี้เอง ว่าไม่มีที่ไหนระบุคำว่า วัดมงคลบพิตรเลย มีแต่ วิหารพระมงคลบพิตร และ วัดพระศรีสรรเพชญ เท่านั้น จึงสรุปได้ว่า วิหารพระมงคลบพิตรนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัดพระศรีสรรเพชญ (เพราะวัดพระศรีสรรเพชญสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.1991 รัชสมัย พระบรมไตรโลกนาถ)
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ก่อนเข้าไปข้างในอีกครั้ง ขอถ่ายป้ายด้านหน้าที่ทำด้วยหินอ่อนก่อน น่าแปลกที่น่าจะพิมพ์คำว่า วิหารพระมงคลบพิตร แต่กลับบอกชื่อ หลวงพ่อเท่านั้น ถ้าผมยังไม่เห็นป้ายนี้ เผลอๆ ยังอาจคิดว่าเป็น "วัดมงคลบพิตร" ไปเลย เพราะมักคิดง่ายๆ ว่าที่ไหนมีพระ ที่นั่นก็เป็นวัด ซึ่งผมมาฉุกคิดตอนเตรียมภาพโพสกระทู้นี้เอง ว่าไม่มีที่ไหนระบุคำว่า วัดมงคลบพิตรเลย มีแต่ วิหารพระมงคลบพิตร และ วัดพระศรีสรรเพชญ เท่านั้น จึงสรุปได้ว่า วิหารพระมงคลบพิตรนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัดพระศรีสรรเพชญ (เพราะวัดพระศรีสรรเพชญสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.1991 รัชสมัย พระบรมไตรโลกนาถ)
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ภาพขวา : ตรงรั้วใกล้ๆ กับป้ายชื่ออันใหญ่ มีการพิมพ์ชื่อพระมงคลบพิตรในภาษาอังกฤษไว้ด้วย เล็กจริงๆ แปลกดีเลยถ่ายมาให้ดูกัน
ภาพซ้าย : ตรงฟุตบาทริมถนนมีป้ายบอกชื่อถนน ศรีสรรเพชญ์ สร้างได้คลาสสิค ถึงจะไม่โบราณ แต่ก็ดูร่วมสมัยกับ เสาชิงช้าที่กรุงเทพฯ เลยครับ
เดินกลับเข้ามาดีกว่า จะเห็นทางเดินเท้าปูด้วยอิฐมอญ นับว่าคลาสสิคดีไม่น้อย ปัจจุบันมีสภาพแตกร้าว ทำให้ดูแล้วคิดไปว่าคงสร้างมานานนับร้อยปี แต่ไม่ใช่นะครับ เพราะผมได้สืบค้นแล้วว่า เพิ่งสร้างมาในช่วงหลัง คาดว่าเป็นช่วงที่บูรณะองค์หลวงพ่อมงคลบพิตรให้เป็นสีทองนั่นแหละครับ (ใครทราบว่าเขาเปลี่ยนเมื่อใดก็แวะเข้ามาเพิ่มเติมได้นะครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)เดินเข้ามาได้เกือบครึ่งทาง ด้านซ้ายมือคือวิหารแกลบ ที่เคยใช้เป็นที่ถวายพระเพลิง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัดชีเชียง อันเคยเป็นสถานที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อมงคลบพิตรเมื่อแรกสร้าง ก่อนจะถูกอัญเชิญย้ายไปอยู่ในสถานที่ปัจจุบัน ซึ่งมีการสร้างมณฑปครอบไว้ ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นวิหาร ในเวลาต่อมา
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ขอนำภาพป้ายข้อมูลประวัติวิหารแกลบ มาให้ชมกันชัดๆ ครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)จากตรงนี้ จะมองเห็นทางเข้าวัดพระศรีสรรเพชญฝั่งตรงข้ามทางเดินครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ก่อนจะเดินไปยังจุดอื่น ขอเก็บภาพชัดๆ ด้านหน้าวิหารพระมงคลบพิตรอีกครั้ง แทบไม่น่าเชื่อว่า แต่ก่อนเป็นถนน รถยนต์วิ่งเข้ามาจอดแถวนี้กันเต็มไปหมด
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ถัดไปจากวิหารแกลบก็คือ บ่อน้ำโบราณรูปทรง 6 เหลี่ยม ที่ดูตอนแรกแล้วคิดว่าเป็นทางลงไปยังเมืองบาดาลอะไรสักแห่งที่อยู่ต่ำลงไปใต้ดินครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)เดินไปถึงริมขอบบ่อน้ำ ถึงได้บางอ้อ...ว่าเป็นบ่อน้ำครับ ว่าแต่กว้างจนดูเหมือนสระเลย คงเป็นบ่อน้ำที่ใช้สำหรับในวังโบราณนะครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)หันกลับไปดูทางวิหารอีกครั้ง วิวนี้สวยไม่เบาครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)จากบ่อน้ำโบราณทรง 6 เหลี่ยม ได้สังเกตุเห็นบ้านเรือนไทยอยู่ฝั่งโน้นของคลอง ผมชอบใจสะพานข้าม ขอแวะไปเดินชมใกล้ๆ บ้างครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ผมได้เดินมายังสะพานข้ามคลองไปยัง บ้านเรือนไทยแล้ว (ตอนนั้นยังไม่ทราบชื่อว่าเป็น "คุ้มขุนแผน" เพิ่งมาทราบตอนจัดเตรียมภาพครั้งนี้เอง)
ชานพักกลางน้ำทำได้น่านั่งมาก มีบันไดลงไปยังข้างล่างด้วย
ภาพซ้าย : มองไปทางบ้านเรือนไทย ดูเงียบเหงา น่ากลัวชอบกล เพราะตอนนั้นคิดว่าเป็นร้านค้าส่วนบุคคล ซึ่งมีทางเข้าด้านโน้นของบ้าน
ภาพขวา : ด้วยความสงสัยก็เดินข้ามสะพานมาถึง ก็หยุดไว้แค่นี้ เพราะไม่มีเวลา สมาชิกที่รออยู่ที่รถได้โทรศัพท์มาเรียกผมแล้ว
ผมหันกลับไปดูฝั่งวิหารพระมงคลบพิตร กลับเห็นเต้นท์บดบังอยู่ไม่น้อย คงเป็นเต้นท์ชั่วคราวนะครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ผมเดินกลับมายังฝั่งวิหาร แล้วหันกลับไปมองสะพานอีกครั้ง
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ผมเดินมายังทางเข้าร้านค้าเพื่อซื้อน้ำดื่ม ระหว่างที่รอก็สังเกตุเห็นอาคารเก่าโบราณ มีต้นไม้ขึ้นรกรุงรัง เหมือนปราสาทตาพรหมในประเทศกัมพูชา เลยถ่ายภาพมาให้ดู พอกลับมาค้นข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าเป็นถังน้ำโบราณครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)และเมื่อดูในแผนผังของวัด ในภาพคห.8 ระบุว่ามีบ่อน้ำโบราณอีกแห่งอยู่ใกล้ๆ ผมจำได้ว่า เห็น แต่ไม่คิดว่าเป็นของโบราณ เพราะดูรกๆ เลยไม่ได้ไปเก็บภาพ แต่ก็มาเห็นในเว็บของ ฮอลิเดย์ไทย ครับ
http://www.holidaythai.com/Thailand-Attractions-1159.htm
ภาพขวา : ได้น้ำดื่มแล้ว ผมก็เดินออกมาทางเลียบคลอง แทนที่จะเดินในหลังคาร้านค้า เพราะกลัวเสียเวลา สมาชิกในรถรออยู่ครับ ลักษณะทางเดินก็กว้างพอที่จะขี่จักรยานพักผ่อนได้เลย
ภาพซ้าย : เดินๆ มาก็เจอสะพานสวยเข้าอันหนึ่ง เข้าใจสร้างได้ดูคลาสสิคดี
เห็นหัวสะพานสร้างด้วยอิฐมอญ ร่วมกับปูนปั้นลวดลาย ใจอยากจะข้ามไปสำรวจต่อ แต่ไม่มีเวลาแล้ว ขอเก็บภาพเด็กๆ ขึ้นไปแทนก็แล้วกันครับ
จากคุณ : มิราชช (mirage_II)ภาพขวา : เดินกลับมาถึงทางออกไปยังลานจอดรถแล้ว
ภาพซ้าย : หันกลับไปดูฝั่งตรงข้ามที่เป็นคลอง ดูร่มรื่น น่ามานั่งเล่นพักผ่อน จังเลยครับ แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า ฝั่งโน้นจะเป็นพื้นที่ของใคร ข้ามไปได้ไหม อยู่ไม่ไกลจากลานจอดรถ น่าจะใช้สำหรับนั่งรอ คนที่เข้าไปไหว้พระ ได้ดีครับ
ขอจบกระทู้ตอนที่ 3 นี้ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ตอนนี้ผมก็ได้เห็นพระ องค์ดำ ของผมในอดีตแล้ว สรุปที่วิหารพระมงคลบพิตรนี้มีการเปลี่ยนแปลงเยอะจริงๆ ในรอบ 30 ปีที่แล้ว คือ
1.องค์พระเปลี่ยนจากสีดำ เป็นสีทอง
2.การห้ามเดินเข้ามาในเขตเสารอบๆ ฐานพระ
3.การห้ามจุดธูปเทียนในวิหาร
4.การเปลี่ยนถนน และลานจอดรถ มาเป็นทางคนเดินตรงด้านหน้าวิหาร
ในตอนหน้า ผมจะพาเพื่อนๆ เข้าไปชมวัดพระศรีสรรเพชญ ที่มีเอกลักษณ์ เจดีย์ 3 องค์ ขนาดใหญ่ ที่ผมเคยเข้าใจผิดจากภาพในบทเรียนตอนเด็ก ว่าเป็นเจดีย์ที่ ด่านเจดีย์ 3 องค์ครับ
ตามมาเที่ยวต่อครับ
ไม่รู้ว่าตอนนี้น้ำจะท่วมหนักแค่ไหน หวังว่าคงจะลดในเร็ววัน
ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะโดนน้ำท่วมเสียหายไปแค่ไหนครับ
หวังว่าน้ำจะลดไวๆจะได้กลับไปเยือนที่อยุธยาอีก
อยุธยาบ้านเรา
เที่ยวอยุธยาก่อนวันน้ำท่วมค่ะ
ขอบคุณมากนะคะ
วัดเมืองกรุงเก่าของเรานี่สวยจริงๆ
ดีจังเลยที่ตอนนี้ไม่ให้จุดธูปในวิหารแล้ว... ใครไปไหว้พระจะได้หายใจสะดวกสักทีนะคะ
จากคุณ : ป้าฟูตามมาชมต่อครับ + กิ๊ฟเป็นกำลังใจ
จากคุณ : ต้มมะระหมูสวัสดีครับ คุณtiger's nest และคุณ Destiny-Boy : เห็นภาพข่าวในทีวีว่า ที่วิหารพระมงคลบพิตร และ วัดพระศรีสรรเพชญ ท่วมแล้ว (วัดพระราม ที่มีพระปรางค์สูงก็ท่วมเช่นกัน) แต่ไม่มากนัก เพราะน้ำได้อ้อมหลังมาทางคูเมืองเข้ามาท่วมเกาะอยุธยา ครับ แต่ที่วัดพนัญเชิงมีคันกั้นน้ำที่เป็นรั้วสูงๆ ก็เต็มที่เหมือนกัน เอาใจช่วยให้น้ำลดเร็วๆ ครับ
สวัสดีครับ คุณองค์หญิงห่อหมก : ช่างบังเอิญจริงๆ ที่สอดคล้องกับรีวิวปีที่แล้วของผม คือ ตลาดน้ำอโยธยา ที่กว่าจะโพสได้ น้ำก็ท่วมไปแล้ว... (ปีนี้ไม่เห็นได้ข่าวน้ำท่วมที่ตลาดน้ำอโยธยาอีก คงเตรียมพร้อมไว้ดีนะครับ) เดี๋ยวตอนหน้าจะพาไปชมวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งตอนนี้ก็ท่วมไปแล้ว ขอบคุณสำหรับกิฟท์นะครับ
สวัสดีครับ คุณangsumaree01 : ใช่ครับ สวยงดงามจริงๆ น่าเสียดายที่ถูกเผาตอนเสียกรุงไปมาก พม่าคงเข็ดในตอนเสีย(ได้)กรุง ครั้งแรก ที่ สมเด็จพระนเรศวรฯ สามารถกลับมากอบกู้ได้ คราวนี้เลยเผาซะเรียบ... (น่าเศร้าจริงๆ) ขอบคุณสำหรับกิฟท์นะครับ
สวัสดีครับ คุณป้าฟู : เห็นด้วยครับ แต่กว่าจะโน้มน้าวให้ทำเช่นนี้ได้ (ในหลายๆ วัด) ผมว่าก็คงรู้สึกลำบากใจเหมือนกัน เพราะไม่ใช่แค่ จุดธูป รวมถึงการปิดทองด้วย ที่ต้องมาไหว้องค์จำลองแทน
สวัสดีครับ คุณต้มมะระหมู : ขอขอบคุณด้วยความยินดีครับ
ตามมาเที่ยวด้วยค่ะ ขอให้อยุธยา น้ำลดโดยเร็ววัน...
จากคุณ : DOGHALLขอบคุณสำหรับรีวิวและเป็นกำลังใจให้น้ำลดเร็วๆค่ะ
จากคุณ : สาวหน้าใสน้ำยังเยอะไปจริงไม่ได้ ขอตามไปเที่ยวกับรีวิวนี้นะคะ^^
จากคุณ : สามแซ่สวัสดีครับ คุณDOGHALL, คุณสาวหน้าใส และคุณสามแซ่ : ขอบคุณเช่นกันครับ ช่วงนี้น้ำลดแล้วสามารถไปเที่ยวชมได้ตามปกติแล้วครับ เชิญติดตามตอนต่อไป วัดพระศรีสรรเพชญ ได้ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ครับ
http://www.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E11456411/E11456411.html