COMPUTER WORLD

ข้อดีและข้อเสียของเทคโนโลยี 64 บิต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หากคุณไม่แน่ใจกับการซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ที่เป็นแบบ 64 บิตว่าจะคุ้มค่าหรือไม่ สิ่งที่ต้องทำคือเรียนรู้ว่ามันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

แนวโน้มในอนาคตกำลังมุ่งไปทางเทคโนโลยี 64 บิตอย่างไม่ต้องสงสัย ได้มีการใช้ซีพียู 64 บิต ( กันอย่างแพร่หลาย ) กับเซิร์ฟเวอร์ชั้นดีมาตั้งแต่ปีพ . ศ . 2547 และขณะนี้ผู้ผลิตพีซีส่วนใหญ่ต่างพากันใช้ซีพียู 64 บิตกับเครื่องเดสก์ทอปของตน ตั้งแต่ซีพียู 64 บิตสามารถจัดการหน่วยความจำได้มากขึ้นและจัดการไฟล์ขนาดใหญ่ขึ้น แล้วยังสามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชัน 32 บิต จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าฮาร์ดแวร์ 64 บิตมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้งานสูงมาก หากเรากำลังคิดจะซื้อเครื่องใหม่เร็วๆ นี้และอาจไม่แน่ใจว่าซื้อ 64 บิตนั้นคุ้มค่าเงินหรือไม่ ลองมาดูถึงข้อดีและข้อเสียกัน

ประมวลผลแบบ 64 บิตนั้นเป็นฉันใด

คำว่า “บิต” นั้นเป็นหน่วยนับใหญ่สุดของข้อมูลที่รีจิสเตอร์ของซีพียูสามารถเก็บและประมวลผลได้ในคราวเดียว หมายความว่าซีพียู 64 บิตสามารถประมวลผลข้อมูลได้มากเป็น 2 เท่าของซีพียู 32 บิต

ประโยชน์ของระบบ 64 บิต

จากการเปลี่ยนผ่านจากยุค 16 บิตไปสู่ 32 บิตพีซีในช่วงประมาณปี 2523 มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมากมาย การก้าวกระโดดจาก 32 บิตไปสู่ 64 บิตจะทำให้ซีพียูสามารถประมวลผลข้อมูลได้เป็น 2 เท่าในแต่ละรอบสัญญาณนาฬิกา

ประโยชน์ที่สำคัญประการหนึ่งของระบบ 64 บิตคือความสามารถในการรองรับหน่วยความจำระบบได้มากขึ้น ผู้ใช้ส่วนใหญ่รับรู้ว่าหากเพิ่มหน่วยความจำขึ้น โปรแกรมจะรันได้เร็วขึ้น ( และรันโปรแกรมพร้อมกันได้จำนวนมากขึ้น ) แต่น่าเสียดายว่าซีพียู 32 บิตสามารถใช้หน่วยความจำได้สูงสุดเพียง 4 กิกะไบต์เท่านั้น

เมื่อก่อนนี้หน่วยความจำขนาด 4 กิกะไบต์ ดูเหมือนว่าจะมากเกินพอสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ แต่สำหรับแอพพลิเคชันในปัจจุบันซึ่งบริโภคหน่วยความจำกันอย่างไม่บันยะบันยังน่าจะไม่พอเพียงเสียแล้ว และนอกเหนือจากคอเกมส์แบบแฟนพันธุ์แท้ที่ต้องการหน่วยความจำมากๆ แล้ว การสร้างเซิร์ฟเวอร์เสมือนหลายๆ ตัวบนเครื่องจริงเพียงเครื่องเดียวก็ต้องการหน่วยความจำเพิ่มเติมอย่างมหาศาลเช่นกัน แม้แต่เวิร์กสเตชัน , แอพพลิเคชันทางด้านกราฟิก และวิดีโอ โปรแกรม Computer Aided Design (CAD) ซอฟต์แวร์จำลองสถานการณ์ และอื่นๆ อีกมากมายต่างก็ต้องการใช้หน่วยความจำเพิ่มขึ้นเกินข้อจำกัด 4 กิกะไบต์ไปมากทีเดียว

ซีพียู 64 บิตนั้นสามารถเพิ่มหน่วยความจำได้จำนวนมหาศาล กล่าวคือได้ถึง 16 เอ็กซไบต์เลยทีเดียว อาจเขียนเลขจำนวนนั้นให้มองเห็นภาพกันได้เป็น 16,000,000,000,000,000,000 ไบต์ (16,000 ล้านกิกะไบต์ ) ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อถึงช่วงเวลาที่เราต้องการหน่วยความจำมากกว่านี้ ระบบ 64 บิตที่เราใช้กันตอนนี้คงแปรสภาพกลายเป็นธุลีกันไปนานแล้ว อย่างไรก็ตามจำนวนหน่วยความจำที่เราสามารถติดตั้งเข้าในระบบยังคงถูกจำกัดโดยเมนบอร์ด จำนวนของสล็อตหน่วยความจำที่มี และขนาดความจุของหน่วยความจำที่จะหาซื้อมาใช้ได้ ปัจจุบันมีเมนบอร์ด 64 บิตหลายตัวที่สามารถใช้หน่วยความจำได้ 8 ถึง 16 กิกะไบต์

ด้วยคุณสมบัติที่สามารถเพิ่มหน่วยความจำได้มากขึ้น การประมวลผลแบบ 64 บิตจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของ การเข้ารหัสและถอดรหัสวิดีโอ , CAD, ระบบเสมือนและแอพพลิเคชันอื่นๆ เป็นอันมาก แต่ถ้าถามว่าหน่วยความจำมากขึ้นจะมีประสิทธิภาพดีขึ้นเสมอไปหรือไม่ ? คำตอบคืออาจใช่ และอาจไม่ใช่ เราจะเห็นว่าแอพพลิเคชันแบบ 64 บิตมีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่ไม่แน่เสมอไปว่าแอพพลิเคชันส่วนใหญ่จะรันได้เร็วกว่าในขณะที่รันอยู่บนระบบ 32 บิต และเว็บบราวเซอร์ก็ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องความเร็วของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โปรแกรมประมวลผลคำยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องความเร็วของการพิมพ์ของเราเองและอื่นๆ อีกมากมาย จริงๆ แล้วการเปลี่ยนมาใช้ซีพียู 64 บิตอาจทำให้ประสิทธิภาพตกลงไปนิดหน่อยด้วยซ้ำ เนื่องจากหน่วยความจำความจุสูงขึ้นจะทำให้พอยน์เตอร์ใช้พื้นที่ในแคชเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ใช้เทคโนโลยี 64 บิต

 

ติดตามอ่านใน นิตยสาร Computerworld ปักษ์หลัง ฉบับเดือน พฤศจิกายน

:: กลับไปหน้าหลัก ::