คุณเคยทราบไหม ERP และ BI ช่วยคุณได้อย่างไรในธุรกิจพ่อค้าคนกลางอย่างธุรกิจอะไหล่ยนต์
ในปัจจุบันที่ธุรกิจแต่ละประเภทมีการแข่งขันกันมากมาย ทำอย่างไรให้สามารถทำธุรกิจอย่างชาญฉลาดเหนือคู่แข่ง
ทำอย่างไรจึงสามารถคาดเดาหรือพยากรณ์ยอดขายขององค์กรได้
ทำอย่างไรจึงสามารถทราบข้อมูลการเคลื่อนไหวที่มีอยู่ขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
รวดเร็ว และแม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้น ความน่าสนใจของมันจะเพิ่มมากขึ้น
ถ้าเป็นธุรกิจที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนจำนวนมากมายอย่างเช่น
ธุรกิจขายอะไหล่ยนต์ ในบทความนี้จึงขอนำเสนอการนำระบบ ERP และ BI เข้ามาประยุกต์ใช้ในธุรกิจอะไหล่ยนต์
พร้อมทั้งนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อรองรับการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการบริหารคลังสินค้าในอนาคต
จุดเริ่มต้นของธุรกิจ
ธุรกิจซื้อมาขายไปที่เป็นลักษณะคนกลางอย่างเช่น ธุรกิจอะไหล่ยนต์
เป็นธุรกิจที่มีข้อมูลของชิ้นส่วนอะไหล่แต่ละยี่ห้อเป็นจำนวนมาก
ยิ่งขายหลายยี่ห้อก็ยิ่งเกิดความยุ่งยาก ส่วนลดก็แตกต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อ
แต่จิ้นเซ่งฮวดอะไหล่ยนต์มีวิธีบริหารจัดการองค์กรอย่างชาญฉลาด ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง
ERP และ BI เข้ามาช่วย
จากเดิมในอดีตจิ้นเซ่งฮวดขายอะไหล่ยี่ห้ออีซูสุเพียงยี่ห้อเดียวมาตั้งแต่แรก
เมื่อคุณกิตติชัย ซึ่งเป็นผู้บริหารท่านหนึ่งกลับมาจากต่างประเทศก็มีแนวคิดว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการทำงาน
นั่นคือจุดเริ่มต้นในการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ทางทีมงานตัดสินใจเลือก IMB
ซอฟต์แวร์เป็นซอฟต์แวร์เฮ้าเขียนโปรแกรมให้ ต่อมามีความคิดว่าทำอย่างไรจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
จึงทำการขยายไลน์ผลิตภัณฑ์มากขึ้น เริ่มขายเพิ่มทีละยี่ห้อ เริ่มนำยี่ห้อมิตซู
ฟอร์ด ฮอนด้า ล่าสุดคือโตโยต้า มาจำหน่าย จนในปัจจุบันจิ้นเซ่งฮวดขายอะไหล่ครอบคลุมเกือบทุกยี่ห้อแล้ว
และในอนาคตก็จะเป็นลักษณะ มัลติแบรนด์ คือขายหมดทุกยี่ห้อ โดยปัจจุบันมีหน้าร้านอยู่ที่วรจักร
ลูกค้าที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ สามารถมารับสินค้าได้โดยตรงที่นี่ ส่วนต่างจังหวัดก็ใช้บริการของบริษัทขนส่ง
จัดส่งไปให้ลูกค้า จะเห็นว่าชิ้นส่วนอะไหล่มีมากขึ้น เครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีพัฒนาการขึ้นแต่ระบบซอฟต์แวร์ยังคงเหมือนเดิม
จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
ด้วยการใช้งานซอฟต์แวร์มานาน และมีเพียงการปรับปรุงบ้างเล็กน้อย ในลักษณะที่อยู่บนโครงสร้างเดิมคือเป็นอินเด็กซ์ไฟล์
นั่นคือซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เก่าเกินไป ประกอบกับเมื่อองค์กรต้องการเป็น
มัลติแบรนด์ ส่งผลให้ชิ้นส่วนอะไหล่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นแต่ละยี่ห้อก็มีลักษณะการจัดเก็บที่แตกต่างกัน
เช่น ยี่ห้ออีซูสุเก็บข้อมูลเป็นคีย์ฟิลล์ 10 ตัว โปรแกรมเดิมที่ซอฟต์แวร์เฮ้าเขียนไว้จึงมีเพียง
10 ตัว แต่ถ้าจะขายยี่ห้อโตโยต้า ฮอนด้าร์ซึ่งมีการเก็บข้อมูล 15 ตัว ก็ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้
นี่จึงเป็นจุดที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นการเปลี่ยนทั้งในเรื่องที่สามารถทำให้ทำมัลติแบรนด์ได้
และยังสามารถควบคุมการทำงานได้ด้วย นั่นคือการนำเทคโนโลยีเข้ามารองรับการเปลี่ยนแปลง
แล้วมีผลทำให้องค์กรขายของได้เพิ่มขึ้น ควบคุมการทำงานของพนักงานมากขึ้น
เมื่อพนักงานคีย์ข้อมูลผิดต้องทำการยกเลิกอันเก่าก่อนแล้วบันทึกใหม่ เรากำลังจะบอกคุณว่า
ถ้าจะค้าขายให้ยิ่งใหญ่ขึ้น ต้องใช้ระบบเป็นตัวควบคุมที่แน่นอน สามารถทำการตรวจเช็คได้ตลอดเวลา
ไม่มีการลบข้อมูลออกไปโดยไม่มีเหตุผล หรือการกำหนดส่วนลดให้ลูกค้านั้น
ในอดีตหลงจู๊เป็นผู้กำหนดเพราะเป็นผู้ทำงานมานานมีความเชี่ยวชาญและรู้จักอะไหล่เป็นจำนวนมาก
ส่วนลดที่ให้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดกันเป็นส่วนตัวระหว่างลูกค้าและหลงจู๊
การให้ส่วนลดในลักษณะนี้ ไม่มีความแน่นอน แต่เมื่อใช้ ERP ส่วนลดต่างๆ จะถูกกำหนดอยู่ในโปรแกรมโดยอัตโนมัติ
ไม่จำเป็นต้องจำว่าลูกค้าคนนี้ต้องให้ส่วนลดเท่าใดอีกต่อไป และนี่ก็คือการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การนำระบบ
ERP เข้ามาใช้เพื่อบริหารงานในองค์กร
ประโยชน์ของเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
ที่สำคัญคือการรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เช่น ถ้าอนาคตธุรกิจอะไหล่ข้อมูลมีการแบ่งย่อยลงไปเป็นชั้น
และให้ส่วนลดที่แตกต่างกันในแต่ละชั้น
คุณพอจะเห็นอะไรไหม ความยุ่งยากในการเก็บข้อมูลนั่นเอง
ถามว่าใครจะมีความสามารถจำส่วนลดและราคาที่เปลี่ยนแปลงไปของอะไหล่เป็นแสนรายการได้
มีเรื่องจริงเกิดขึ้นแล้ว เริ่มจากสินค้ายี่ห้อหนึ่ง เขามีการเปลี่ยนแปลงสินค้าในกลุ่มเดียวกัน
แต่มีส่วนลดต่างกันอยู่ แล้วนำส่วนลดเก่ามาลดให้ลูกค้า เช่น ลดให้ 30 เปอร์เซ็นต์เหมือนเดิม
แทนที่จะเป็นส่วนลดใหม่ 20 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นซอฟต์แวร์ของบริษัทใดไม่รองรับข้อมูลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ก็อาจขาดทุน
ซึ่งต้องเรียกว่า ขาดทุนแบบไม่รู้ตัว เพราะอย่าลืมว่าข้อมูลอะไหล่มีเป็นแสนรายการ
เรื่องนี้จึงเป็นอุทาหรณ์ได้ดีสำหรับบริษัทใดที่ต้องการทำการค้าที่ใหญ่ขึ้น
แต่ขาดเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
การเริ่มนำข้อมูลจาก ERP มาใช้กับ BI
เมื่อมีการเก็บข้อมูลในระบบใหม่มากขึ้น และด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ต้องการนำพาองค์กรไปข้างหน้า
การจัดทำระบบ BI จึงเกิดขึ้น ระบบ BI ที่วางไว้ทั้งหมดต้องการใช้เพื่อดูข้อมูลด้านการขายและด้านสินค้าคงคลัง
แต่ระยะแรกใช้เพื่องานด้านการขายก่อน ด้วยความมหัศจรรย์จากข้อมูลที่ได้จาก
BI ทำให้องค์กรทราบข้อมูลที่สำคัญในหลายๆ ส่วน เช่น บริษัททำการขายสินค้าทั้ง
76 จังหวัด แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ทราบว่ายอดขาย 75 เปอร์เซ็นต์ มาจากแค่
16 จังหวัด หรือทำให้ทราบว่าบางยี่ห้อขายดีมาก มีรายการอะไหล่ประมาณ 120,000
รายการ แต่ที่ทำการค้าขายกันมีประมาณ 1,200 รายการ คิดเป็นยอดขายประมาณ 75
เปอร์เซ็นต์ จากตรงจุดนี้ทำให้เราสามารถบริหารงานขายได้ง่ายขึ้น เพราะเพียงคุณสามารถให้บริการที่ดีกับลูกค้า
16 จังหวัดดังกล่าว ยอดขายตามเป้าก็เป็นของบริษัทคุณแล้วถึง 75 เปอร์เซ็นต์
หรือในอดีตการเป็นพนักงานขายอาจต้องเริ่มจากเด็กยกของ เด็กจัดของ แล้วจึงมาสู่การเป็นพนักงานขายเพื่อจะได้มีความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วน
อะไหล่ ต่างๆ แต่ปัจจุบันเมื่อใช้ BI พนักงานใหม่ไม่จำเป็นต้องรู้จักชิ้นส่วนมากถึง
120,000 รายการ รู้จักเพียงแค่ 1,200 รายการ เขาก็สามารถขายของได้แล้ว เนื่องจากรายการอะไหล่ทั้งหมด
120,000 รายการ ค้าขายจริงเพียงแค่ 1,200 รายการเอง นั่นคือการฝึกพนักงานขายใหม่
ต่อไปจะเป็นในลักษณะก้าวกระโดดไม่ต้องเริ่มจากหนึ่งแล้วไปเป็นสองเหมือนในอดีต
:: อ่านต่อในฉบับ ::
:: กลับไปหน้าหลัก ::
|