Inside FRANCHISE

ธุรกิจอาหารไทย
 

อาหารการกินเป็นปัจจัยสี่ที่มนุษย์ขาดไม่ได้ ตราบใดที่ต้องกินต้องอยู่ การสร้างกิจกรรมการค้าที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องมีการพัฒนาตามความชอบและรสนิยมของคนในสังคมที่เปลี่ยนไป การติดตามภาวการณ์จับจ่ายวิธีคิด และแนวโน้มตลาดช่วยให้การวางแผนงาน การเตรียมการในเชิงธุรกิจเหมาะสม สร้างความสามารถในการปรับตัว การวางตำแหน่งสินค้า รวมกระทั่งการประเมินพื้นที่ทำเล ต่างต้องใช้ความเข้าใจพื้นฐานของขนาดตลาดทั้งสิ้น

ธุรกิจอาหารไทย คือหัวใจรูปแบบธุรกิจชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกทาง เนื่องจากศักยภาพทั้งภายในและต่างประเทศมีความเป็นไปได้สูง การวางกระบวนการที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าด้านเกษตร ที่เป็นพื้นฐานของสินค้าหลักทางเศรษฐกิจคือ การสร้างอนาคตการรายได้ระยะยาวของคนไทย

มองตลาดรวมธุรกิจอาหารประเทศไทย
ขนาดของตลาดอาหารนั้นมีมูลค่าสูงอย่างมาก การเข้าใจภาวการณ์ขยายตัวของรูปแบบการบริโภค รวมภาพการกระจายตัวของธุรกิจจะทำให้การวางแผนวางเป้าหมายของธุรกิจทำได้ดีขึ้น จากการวิเคราะห์ศักยภาพของตลาดของประเทศไทยนั้น จากการศึกษาตัวเลขทางการตลาดที่มีทำให้เห็นถึงขนาดตลาดโดยรวมประมาณ 1.5-1.6 ล้าน ล้าน บาทต่อปี ซึ่งเป็นขนาดตลาดที่ใหญ่มาก เป็นแนวทางของการมุ่งปรับตัว ในระบบการทำการค้าของกลุ่มธุรกิจอาหารที่ประเทศไทยมีความพร้อมมากที่สุด

ตลาดของร้านอาหารของประเทศไทย ถูกจำกัดด้วยภาวะการแข่งขันที่รุนแรงตลาดอาหารจานด่วนต่างต่อสู้ด้วยราคากันตลอดเวลา การสร้างตราสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่จะได้เปรียบมากขึ้น มีการแข่งขันสร้างความได้เปรียบด้วยเงินทุนที่มากกว่า และการลดต้นทุนการประกอบการรวมให้ได้มากที่สุด การกระจายสาขาจึงเป็นองค์ประกอบที่ต้องคำนึงมากขึ้น นอกจากนั้นธุรกิจอาหารจะต้องสร้างจุดเด่น ดึงดูดลูกค้าที่มีความเป็นครอบครัว เน้นชีวิตรูปแบบทันสมัยมากขึ้น สร้างความสะดวกเพิ่มเติม และปรับปรุงการพัฒนาการบริหารองค์กรด้านต่างๆ จากการคาดการณ์ของนักธุรกิจสายอาหาร ที่ร่วมประเมินศักยภาพของตลาดอาหารในประเทศพบว่า ขนาดของตลาดสามารถแบ่งได้เป็น

ตลาดอาหารจานด่วน Fast Food มีขนาดตลาดประมาณ 12,000 ล้าน โดยมีเจ้าตลาดที่มีสาขามากกว่า 300 สาขา ของ เค เอฟ ซี เป็นผู้ครองตลาดยอดขายต่อปีประมาณ 4,000 ล้านบาท ขณะที่ แมคไทย หรือ แมคโดนัล มียอดขาย 2,000 ล้านบาทต่อปี และตลาดพิซซ่าที่มีขนาด กว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนแบ่งตลาดที่เหลือเป็นของรายขนาดกลางและขนาดเล็กต่างๆ เช่น เอแอนด์ดับบลิว ,อิสซี่ใส้กรอก ,นารายณ์พิซซาเรีย และ เจ้าตลาดรายย่อย

เนื่องจากเหตุผลที่ว่า ในโลกของการแข่งขันด้านตลาดค้าปลีกได้เปลี่ยนรูปแบบไป บริษัทที่เติบโตในสายค้าปลีกไม่ว่า จะเป็นร้านสะดวกซื้อ เช่น เซเว่น อีเลเว่น หรือด้านอาหาร แบบแมคโดนัล ก็ใช้กลยุทธ์ของการสร้างธุรกิจแบบ แฟรนไชส์ จึงถือว่าการปรับตัวในการสร้างธุรกิจดังกล่าวเป็นแนวทางของการต่อสู้ที่ ร้านอาหารของคนไทยจะต้องหันมาปรับตัวและสร้างระบบในการบริหารงานมากขึ้น

ตลาดอาหารประเภทซื้อกลับบ้าน หรือส่งถึงบ้านมีขนาดตลาดขยายเพิ่มมากขึ้นรวดเร็ว ประกอบไปด้วยอาหารหลากชนิดพร้อมให้เลือก มีการคาดขนาดตลาดจากการประมาณการประธุรกิจด้านนี้พบว่าจะมีขนาดตลาดประมาณ 1,300 ล้านบาท แน่นอนตลาดดังกล่าวคงต้องมีการขับเคี่ยวกันมากขึ้น ตลาดอาหารประเภท Self Services ได้แก่อาหารตามศูนย์อาหารทั่วไป ที่มีขนาดตลาดน่าสนใจ มีมูลค่าต่อปีไม่น้อยกว่า 3,500 ล้านบาท ซึ่งตลาดด้านนี้ดูเหมือนไม่ค่อยหวือหวาแต่เป็นตลาดที่ไปได้ตลอด และจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามพฤติกรรมการบริโภคของชีวิตตามเมืองใหญ่ที่เปลี่ยนแปลง และที่คาดการณ์เพิ่มเติมจากรูปแบบการบริโภคทั่วไปแล้วยังมีตลาดที่มีอยู่ทั่วไป ตามถนน ตรอก ซอย เรียกว่า Street Food โดยคาดการณ์ว่าขนาดตลาดจะกระจายตัวมีมูลค่ากว่า 55,000 ล้านบาทต่อปี

รวมเฉพาะตลาดดังกล่าวข้างต้นก็มีขนาดตลาดไม่น้อยกว่า 70,000 ล้านบาทต่อปี การคาดการณ์ดังกล่าวประเมินจากยอดขายของแต่ละบริษัทในตลาดอาหาร และการคาดการณ์จากการบริโภคสินค้าในแต่ละประเภทอาหาร นอกจากนั้นมีตัวเลขจากการสำรวจที่พอคาดได้ว่าตลาดอาหารประเภท ร้านอาหารที่เรียกว่า Restaurant ที่ถือว่าเป็น ร้านอาหารทั่วไปก็มีขนาดตลาดสูงถึงปีละ 500,000 ล้านบาทต่อปี ถ้าหากมองความเป็นไปได้ก็สามารถสังเกตประเมินจากประเภทของร้านอาหารที่มี เช่นร้านอาหารประเภทสุกี้ยากี้สามารถสร้างตลาดได้มากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี หรือร้านอาหารไทยที่มีมาตราฐานสูงสามารถดำเนินการในระบบสาขาได้ดีสร้างยอดได้มากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ถ้ารวมร้านอาหารที่กระจายมากมาย ทำให้เห็นถึงศักยภาพของธุรกิจอาหารไทยที่ยังเติบโตและเปิดกว้างในการลงทุน

ทีมงานยังได้เน้นถึงตลาดอาหารในส่วนอื่น ที่มีการบริโภคผ่านการขายระบบอื่นเช่นตลาดค้าส่งห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ที่มีขนาดตลาดประมาณ 900,000 ล้านบาท รวมถึงตลาดอาหารที่ไม่นับตามรูปแบบที่มีขนาดไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี

จากการวิเคราะห์ตลาดการบริโภคนอกบ้านของประชากรในเขตเมืองใหญ่ ตามอัตราการบริโภคอาหารเทียบรายได้ต่อครัวเรือน ที่พบว่าเฉพาะประชากรของกรุงเทพฯ ก็มีการบริโภคอาหารนอกบ้านเดือนละประมาณ 1,800 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นเพียงประมาณ 5%ของรายได้รวมของครัวเรือนโดยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% ต่อปี ตามพฤติกรรมทางสังคมที่เปลี่ยนมานิยมการรับประทานอาหารนอกบ้านเพิ่มขึ้น


:: อ่านต่อในฉบับ ::

Source : พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์

:: กลับไปหน้าหลัก ::