เจาะสื่อทีวี 4 หน้ารวดใน เล่ม !
สำรวจวงการทีวีและเคเบิ้ลเริ่มเล่มนี้ ไม่ต้องรอกันอีกต่อไป
ทั้งผู้คนในวงการและดาราที่ท่านชมชอบ
มีอะไรให้เม้าท์ถึง รับรองนำเสนอที่นี่ก่อนใคร ปูทางสู่มิติใหม่
ถ้าท่านผู้อ่านเปิดใจต้อนรับ ทีมงานของเราจะขยายเนื้อหา
ตอบสนองความต้องการในรูปแบบของนิตยสารรายสัปดาห์
ออกมาให้อ่านกันอย่างจุใจ ในความหนา 60 หน้ารวมปก พิมพ์สี่สีสวยงามทั้งเล่ม
ขนาดกะทัดรัดเหมาะมือ คงอีกไม่นานเกินรอ
หนังไทยควรส่งเสริมไม่ใช่ควบคุม?
หนาหูขึ้นทุกวัน เรื่องที่สำนักงานกฤษฎีกาตั้งใจร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ขึ้นมาคุมกำเนิดหนังไทย
พูดกันไม่เกรงใจก็เหมือนถอยหลังลงคลองหรืออาจจะเข้าขั้นตกเหวไปเลย
เมื่อเทียบกับพระราชบัญญัติที่ออกมาครั้งแรกเมื่อหกสิบสี่ปีก่อน
เพราะก่อนที่จะเริ่มมาตราใด ๆ ก็เกริ่นไว้อย่างชัดเจนเสียแล้วว่า
"พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล..."
อ่านแล้วก็สยอง !
มาตรา 4 กำหนดให้หนังทุกอย่างที่ทำเพื่อการค้าเป็น "ภาพยนตร์"
ที่ต้องควบคุม หนังโรง หนังแผ่น หนังทีวี หนังเคเบิ้ล จอแก้ว จอเงิน
เรียกว่าครอบจักรวาล ดูที่ไหนก็ตามไปควบคุมหมด ไม่ว่าจะที่โรงหนัง
ตามร้านหรือในมุ้ง !
มาตรา 6 ให้คณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติประกอบด้วยข้าราชการ 10
คน รวมกับผู้ทรงคุณวุฒิตามที่รัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกิน 6 คน
ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะเป็นข้าราชการอีกหรือเปล่า? แน่นอนมาตรา 13
การวินิจฉัยชี้ขาดใช้เสียงข้างมากตามหลักประชาธิปไตยเป๊ะ
!
มาตรา 15 คนไทยที่ต้องการสร้างหนังต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบล่วงหน้า
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา 16
ชาวต่างชาติต้องขออนุญาตพร้อมส่งบทภาพยนตร์และเรื่องย่อ
มาตรา 17 และมาตรา 21 ยกเว้นหนังข่าว หนังครอบครัว หนังของส่วนราชการ
หนังเพื่อการศึกษา หนังที่ไปฉายนานาชาติ และหนังที่ฉายครั้งแรกทางทีวีและได้รับอนุญาต
โดยกฎหมายว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แล้ว ไม่ต้องขออนุญาต
แต่หนังทีวีถ้านำมาฉายซ้ำก็ต้องโดนควบคุมเช่นกัน มาตรา 20, มาตรา
29 และมาตรา 30 ร้านขาย-เช่า โรงภาพยนตร์ล้วนเข้าข่ายต้องถูกควบคุมทั้งสิ้น
มาตรา 22 ห้ามส่งออกหนังโดยไม่ได้รับอนุญาต !
มาตรา 26 เจ้าของหนังต้องส่งสำเนาหนังที่ผ่านการตรวจแล้ว
ไปเก็บไว้ที่กระทรวงวัฒนธรรมและศูนย์หอศิลป์แห่งละ
1 ก๊อปปี้ หนังเรื่องหนึ่งมีฟิล์ม 4 - 5 ม้วนนะครับ ปี ๆ มีหนังให้เก็บสัก
1,000 เรื่องได้กระมัง? ต้องใช้จ่ายเงินสร้างอาคารอีกกี่หลัง กี่สิบล้าน
จ้างเจ้าหน้าที่อีกกี่คนมาดูแลหนังเก็บกรุพวกนี้โดยไม่จำเป็นเลย?
มาตรา 39 นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบได้ทุกที่
ตรวจ ค้น อายัด ยึด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืน
หรือสั่งให้หยุด ระงับ การกระทำได้ทันที นี่ยังไม่ต้องทำอะไรผิดนะครับ
! อำนาจล้นฟ้าขนาดนี้เห็นจะมีก็แต่ที่ประเทศสารขันธ์นี้เท่านั้นเองแหละ
!
ตั้งแต่มาตรา 43 - 55 เป็นกำหนดโทษของการฝ่าฝืนซึ่งมีตั้งแต่ปรับหนึ่งหมื่นบาทจนถึงหนึ่งล้านบาท
และจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับและจำ ! เท่าที่กล่าวมานี้
จึงมองไม่เห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ส่งเสริมและปกป้องอุตสาหกรรมหนังไทยที่ตรงไหน
?!!
"กายกับจิตนี้มีความสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา ร่างกายอ่อนแอ
จิตก็พลอยอ่อนแอไปด้วย เราจึงต้องทำให้สมดุล คือให้เกิดความพอดี
ทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิต" (ปัญญานันทภิกขุ)
สุรชัย ธวัชวิเชียร
บรรณาธิการบริหาร
Surachai_t2000@yahoo.com