ทีมสร้าง
Directed
|
|
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
Executive Producer
|
|
หม่อมกมลา ยุคล |
Film Editor
|
| หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
Director Unit ๒
|
|
เปี๊ยก โปสเตอร์ |
Assistant Director
|
|
สุรศักดิ์ วงษ์ไทย, ปิยะลักษณ์ มหาธนทรัพย์ |
Casting
|
|
อรชุมา ยุทธวงศ์ |
Director Of Photography
|
|
Igor Luther, Stanislav Dorsic |
Production Manager
|
|
คุณากร เศรษฐี |
Written
|
|
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล |
Production Designer
|
|
ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล |
Art Director
|
|
เจษฎา ผันอากาศ, ประเสริฐ โพธิ์ศรีรัตน |
Music
|
|
Richard Harvey |
Costumer
|
|
ฐิติกรณ์ ศรีชื่น, สุกัญญา มะเรืองประดิษฐ์ |
Sound Recorder
|
|
Conrad Bradley Slater |
Special Effect
|
|
The Fame Post Production Co., Ltd. |
Make Up Artist & Hair Stylist
|
|
มนตรี วัดละเอียด |
ภาพยนตร์เรื่อง "สุริโยไท" อำนวยการสร้างโดย บริษัท พร้อมมิตรโปรดักชั่น จำกัด และได้รับความร่วมมือจาก หน่วยงานจากบุคคล และองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้จะมี ๒ กองถ่าย เพื่อความสะดวก และเป็นการใช้เวลาในการทำงานอย่างคุ้มค่า ในส่วนของ เปี๊ยก โปสเตอร์ จะเป็นผู้กำกับกองที่ ๒ ผู้กำกับภาพยนตร์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ทรงเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย และทรงเป็นตัวแทน ผู้กำกับภาพยนตร์แนวหน้าของเอเชีย ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ทรงเป็นโอรสของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา ทรงศึกษาที่โรงเรียนจีลอง ประเทศออสเตรเลีย และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ยู ซี แอล เอ สาขาธรณีวิทยา โท ภาพยนตร์ เป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับ ฟรานซิส ฟอร์ด คอฟโพล่า และโรมัน โปลันสกี้ ทรงคุ้นเคยกับการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่เยาว์ เนื่องจากเสด็จพ่อและหม่อมแม่ ทรงเป็นผู้บุกเบิกภาพยนตร์ไทย และก่อตั้งบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ซึ่งผลิตภาพยนตร์เรื่องแรก พ.ศ. ๒๔๘๑ และมีบทบาทสำคัญในวงการภาพยนตร์ไทย ในยุคที่เปลี่ยนจาก ๑๖ ม.ม. มาเป็น ๓๕ ม.ม. ท่านมุ้ยทรงฝึกงานเมื่ออยู่ลอสแองเจลีส กับ มิเรียม ซี คูเปอร์ (Chang, Kingkong, Quiet Man, She Wore Yellow Ribbon, and the Searcher) งานเริ่มต้นของท่านมุ้ย คือทรงเป็นช่างภาพให้กับเสด็จพ่อ ต่อมาทรงเขียนบท และกำกับละครโทรทัศน์เรื่อง หญิงก็มีหัวใจ (๒๕๐๑), ห้องสีชมพู (๒๕๑๒), เงือกน้อย (๒๕๑๕), และหมอผี (๒๕๑๖) และทรงเริ่มกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก คือ มันมากับความมืด ตามด้วย เขาชื่อกานต์ ซึ่งได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่น และส่งชื่อให้ สรพงษ์ ชาตรี เป็นดาราคุณภาพมาจนถึงทุกวันนี้ ผลงานภาพยนตร์ของท่านมุ้ย มีมากมากหลากหลายแนว ได้แก่ มันมากับความมืด, เขาชื่อกานต์, เทพธิดาโรงแรม, เทวดาเดินดิน, ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น, อุกาฟ้าเหลือง, ถ้าเธอยังมีรัก, มือปืน, ครูสมศรี, คนเลี้ยงช้าง, น้องเมีย, มือปืน ๒ สาละวิน, กล่อง ผู้ช่วยกำกับ / ผู้กำกับกอง ๒ สำหรับชื่อ "เปี๊ยก โปสเตอร์" เป็นชื่อที่คุ้นกันดีในวงการบันเทิง ก่อนที่จะเข้าสู่แวดวงคนทำหนัง เปี๊ยก โปสเตอร์ ได้เริ่มต้นด้วยการการเขียนรูปใบปิดหนัง โดยใช้สีโปสเตอร์ จากนั้นวิถีชีวิตของเปี๊ยก โปสเตอร์ ได้หักเหเข้าสู่วงการของคนทำหนัง โดยการชักชวนของเพื่อนสนิท เปี๊ยก โปสเตอร์ได้เดินทางไปฝึกฝน และเรียนรู้วิธีการ พร้อมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ของการทำหนังที่ประเทศญี่ปุ่น "โทน" เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ เปี๊ยก โปสเตอร์ กำกับ และเป็นภาพยนตร์ที่ใช้ระบบ ๓๕ มม. ลงทุนสูงมากคือประมาณ ๓ ล้านบาท ซึ่งแต่เดิมภาพยนตร์ไทยส่วนมากจะใช้ระบบ ๑๖ มม. และลงทุนสูงสุดประมาณ ๔ แสนบาทเท่านั้น แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง เนื่องจากสามารถทำรายได้ถึง ๖ ล้านบาท นอกจากนี้ ยังเป็นจุดที่ทำให้วงการหนังไทยมีการเปลี่ยนแปลง ผู้สร้างภาพยนตร์ในสมัยนั้นหันมาทำภาพยนตร์ ๓๕ มม.กันมาก จากนั้น เปี๊ยก โปสเตอร์ จึงได้กำกับภาพยนตร์มาตลอด รวมระยะเวลา ๓๐ ปี มีภาพยนตร์หลากหลายแนวที่ เปี๊ยก โปสเตอร์ กำกับ แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้ เปี๊ยก โปสเตอร์ อีกครั้งเป็นภาพยนตร์แนววัยรุ่น คือเรื่อง "วัยอลวน" จนวัยล่วงเลย ๖๐ ปี เปี๊ยก โปสเตอร์ ได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างสงบ มีความสุขกับธรรมชาติ แต่ไม่นานนัก ก็กลับเข้าสู่วงการอีกครั้ง โดยเป็นผู้กำกับละคร ก่อนที่จะหวนกลับมากำกับภาพยนตร์อีกครั้ง โดยร่วมงานกับ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ในภาพยนตร์เรื่องสุริโยไท โดยท่านให้รับผิดชอบเป็นผู้กำกับกองที่ ๒ |