 |
ภาพซ้าย : แหงนดูโครงสร้างหลังคาแบบตาข่าย ที่สามารถสร้างต่อกันไปได้เรื่อยๆ ในแนวราบระดับเดียวกัน
ภาพขวา : เดินมาทางขวามือ มีทางเข้าไปในตึก เหลือบเห็นป้ายชื่อเล็กๆ ติดอยู่หน้าอาคาร "ตึกสตางค์ มงคลสุข" ซึ่งเป็นชื่อผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้
สำหรับประวัติการก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีความยุ่งยากซับซ้อนพอสมควร พอนำสรุปได้ดังต่อไปนี้
เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 รัฐบาลได้มีโครงการมหาวิทยาลัยภาคใต้ โดยเริ่มจากวิทยาลัย "ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์" ก่อน โดยสำรวจสถานที่ ที่ ทุ่งนเรนทร์ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี แต่ได้หยุดโครงการไป เพราะเปลี่ยนรัฐบาล รัฐบาลต่อมา ได้ตั้งคณะกรรมการใหม่ นำโดย พ.อ.ถนัด คอมันตร์ รมต.ต่างประเทศ เป็ฯประธาน ได้ศึกษาโครงการ จนรัฐบาลได้อนุมัติในปี พ.ศ.2508 ให้มีมหาวิทยาลัยภาคใต้ 3 วิทยาเขต ศูนย์กลางอยู่ที่ ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี, ต.เขาตูม อ.เมือง จ.ยะลา, ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยให้ที่ปัตตานี ตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยะลาตั้งคณะครุศาสตร์และรัฐศาสตร์ สงขลาตั้งคณะแพทยศาสตร์ และ หาดใหญ่ ตั้งคณะพาณิชย์การบัญชี
การก่อสร้าง คณะวิศวฯ ที่ ปัตตานีได้เริ่มขึ้นก่อน ในปี พ.ศ.2509 ชื่อมหาวิทยาลัยภาคใต้ โดยมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ซึ่งก็คือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน (อยู่ถนนศรีอยุธยา ติดโรงพยาบาลสงฆ์) ซึ่งต่อมาได้ขอพระราชทานนามจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ชื่อเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี พ.ศ.2510 ซึ่งในปีนี้ ก็ได้เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 50 คน ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้สถานที่เรียน ที่เดียวกับสำนักงาน ที่กรุงเทพฯ
ทางท่านศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ ได้เสนอให้ตั้งคณะวิทยาศาสตร์เพิ่มเข้ามา เพื่อเป็นแกนกลางสอนวิชาพื้นฐาน แก่นักศึกษาที่รับเข้ามา โดยรับอาจารย์รุ่นแรก 5 ท่าน นำโดย ดร.ประดิษฐ์ เชยจิตร เพื่อสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนวิชาพื้นฐานวิศวกรรมนั้น ได้ให้โรงเรียนช่างฝีมือทหาร กรุงเทพฯ สอนไปก่อน
ระหว่างนั้น การก่อสร้างมหาวิทยาลัยที่ ปัตตานีได้แล้วเสร็จบางส่วน ท่าน ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ และอาจารย์ ไปตรวจสอบสถานที่พบว่าไม่เหมาะสม ที่จะตั้งคณะวิศวฯ เลยต้องหาสถานที่ใหม่ ได้เชิงเขาคอหงส์ อย่างในปัจจุบัน
ในปีต่อมา (2511) มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ โดยมี พ.อ.ถนัด คอมันตร์ เป็นอธิการบดีคนแรก ศาตราจารย์ ดร.สตางค์ เป็นรองอธิบการบดี ได้มีการเปิดรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ 60 คน เรียนที่กรุงเทพฯ เช่นเดียวกับ นักศึกษาคณะวิศวฯรุ่นแรก จนเทอม 2 จึงได้ย้ายไปที่ ปัตตานี แต่ คณะวิศวฯ ยังคงอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะต้องย้ายมาหาดใหญ่ ไม่ใช่ปัตตานี (กลายเป็นว่า นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ที่เข้ามาทีหลัง คณะวิศวฯ ได้ไปเรียนที่ สถานที่จริงก่อน)
ในปีต่อมา (2512) ได้มีการรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 60 คน โดยเรียนที่กรุงเทพฯ เช่นกัน ซึ่งในปีนี้ ได้เริ่มก่อสร้าง อาคารเรียนที่ หาดใหญ่ ด้วยและได้แล้วเสร็จในปี 2514 จึงได้ย้ายนักศึกษาคณะวิศวฯในชั้นปี 2, ชั้นปี 3 และ ชั้นปี 4 ไปหาดใหญ่ (คณะวิศวฯ รุ่นแรกเกือบจะไม่ได้มาเรียนที่หาดใหญ่แล้ว) คงเหลือแต่ ชั้นปี 1 ที่ยังอยู่กรุงเทพฯ จนในปีต่อมา (2515) นักศึกษาวิศวฯ รับใหม่ (ชั้นปี 1) จึงได้เรียนที่ หาดใหญ่ พร้อมๆ กับ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ได้ย้ายไปหาดใหญ่ ทุกชั้นปี ถือเป็นการย้ายที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว (ดูทุลักทุเลมาก เกือบ 5 ปีเลยนะครับ)
รวมเป็น 3 คณะ (คณะศึกษาศาสตร์ เรียนที่ ปัตตานี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ เรียนที่ หาดใหญ่) ปัจจุบันได้เพิ่มวิทยาเขตอีก 3 แห่ง คือ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง โดย มีคณะเพิ่มขึ้น ดังนี้
วิทยาเขตหาดใหญ่ 15 คณะกับโครงการ 2 คณะ วิทยาเขตปัตตานี 6 คณะกับ 1 วิทยาลัย วิทยาเขตภูเก็ต 3 คณะกับ 1 วิทยาลัย วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 2 คณะกับ 1 วิทยาลัย วิทยาเขตตรัง 1 คณะ
และ การศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีอีก โดย วิทยาเขตหาดใหญ่กับ วิทยาเขต ปัตตานี มีระดับปริญาญาเอก และ ปริญญาโท ส่วน วิทยาเขตที่เหลือ ยังมีแค่ ปริญญาโท
แก้ไขเมื่อ 28 ส.ค. 55 12:34:12
จากคุณ |
:
มิราชช (mirage_II)
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ส.ค. 55 12:30:43
|
|
|
|
 |