 |
ลวดลายไทยที่กัญญาเรือมองไม่รู้เบื่อ ------- มีข้อความอธิบายขั้นตอนในการทำด้วยค่ะ ย่าจึงขอเอามาลงไว้เป็นความรู้กับเพื่อนๆด้วย ----- ขั้นตอนในการกระทำเริ่มจาก ช่างแกะสกลักขุดไม้ขึ้นเป็นลำเรือ แล้วทำการแกะสลักรายละเอียดลงไปสำหรับเรือที่ต้องใช้เทคนิคแกะสลักเช่น เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เป็นต้น ส่วนหัวและหางของเรือจะแกะสลักจากไม้คนละชิ้นแล้วนำมาเข้าสลักเข้าเดือย แล้วส่งต่อให้ช่างเขียน ทาสีลำเรือโดยสีแต่ละสีที่นำมาใช้ทางกลุ่มจันทร์ โสมาได้เตรียมขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ตามสูตรดั้งเดิมของครูช่างโบราณทั้งสิ้น เช่นสีแดงจากแร่ชาดหรคุณ สีเขียวจากสนิมทองแดง สีเหลืองจากยางรงค์เป็นต้น ในส่วนสีทองทาด้วยยางมะเดื่อและปิดทองคำเปลว แต่ในส่วนของเรือที่ใช้เทคนิคลายรดน้ำ เช่น เรือกระบี่ปราบเมืองมาร ช่างเขียนจะใช้เทคนิคเขียนลายรดน้ำเช่นเดียวกันกับเรือต้นแบบ นอกจากนี้ช่างเขียนยังมีหน้าที่เขียนกัญญเรือ ธง ม่าน และฉัตรอีกด้วย ส่วนโครงของฉัตรและกัญญา ช่างเงิน ช่างทองเป็นผู้ทำโดยการบัดกรีโลหะขึ้นเป็นโครง การเขียนม่าน, ฉัตร และกัญญาเรือจะใช้ผ้าไหมแท้เขียนโดยใช้สีธรรมชาติ เขียนยางมะเดื่อปิดทองคำเปลวเป็นลวดลาย เมื่อเขียนเรียบร้อยแล้ว ก็นำมาประกอบกันเป็นอันเสร็จพิธีการ
แก้ไขเมื่อ 11 มิ.ย. 54 09:21:25
แก้ไขเมื่อ 10 มิ.ย. 54 11:15:03
แก้ไขเมื่อ 09 มิ.ย. 54 11:34:06
จากคุณ |
:
ดา ดา
|
เขียนเมื่อ |
:
9 มิ.ย. 54 11:22:59
|
|
|
|
 |