กฎหมาย Dodd-Frank หรือ แฟรงเก้นสไตล์ ... ก ล ต ไทย น่าจะปรับปรุง กฏหมายหลัหลักทรัพย์ให้ ทันสมัยบ้าง
กฎหมาย Dodd-Frank” จาก คุณเกศรา มัญชุศรี
จะเดินหน้าต่อไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น ภายหลังจากประธานาธิบดีโอบามาได้รับการเลือกตั้งต่ออีกหนึ่งสมัยแล้ว หน่วยงานหลักในการทำงาน ได้แก่ ธนาคารกลาง สำนักงาน ก.ล.ต. และ สำนักงานกำกับสินค้าโภคภัณฑ์ CFTC) ของสหรัฐอเมริกา จะต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเงินอย่างต่อเนื่อง
กฎหมายฉบับนี้ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ 21 กรกฎาคม 2010 ภายหลังจากวิกฤติ Subprime ในปี 2008 ที่ส่งผลให้สถาบันการเงินชั้นนำ Lehman Brothers และ AIG ต้องล่มสลายลง สมาชิกสภาผู้แทน Barney Frank และ วุฒิสมาชิก Chris Dodd เป็นผู้ริเริ่มในการจัดทำกฎหมาย Dodd Frank ฉบับนี้ ซึ่ง มีวัตถุประสงค์ที่จะกำกับดูแลระบบการเงินของสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นองค์รวม โดยขยายขอบเขตอำนาจไปยังสถาบันการเงินที่เดิมไม่ได้อยู่ในความควบคุมของ หน่วยงานกำกับทางการเงิน เช่น Hedge Funds และ บริษัทประกันชีวิต เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการกำหนดให้ธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เช่น Credit Default Swap และ อนุพันธ์ในตลาดโอทีซี ต้องชำระราคาผ่านสำนักหักบัญชี Clearing House) นอกจากนี้ กฎหมาย Dodd Frank ยังมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นมาตรการป้องกันและการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในอนาคตอีกด้วย
ระยะเวลากว่าสองปีที่กฎหมาย Dodd Frank ได้ประกาศใช้ กลับพบว่ามีความก้าวหน้าไปเพียงประมาณ 30% เนื่อง จากเป็นกฎหมายที่มีความซับซ้อนและมีวัตถุประสงค์หลากหลาย เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายที่ใช้ในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่อดีตในปี 1913 เป็นต้นมา โดยพบว่ากฎหมาย Dodd Frank ที่ผ่านรัฐสภานี้มีความยาวมากที่สุดถึง 848 หน้า เทียบกับ กฎหมายฉบับก่อนหน้า 4 ฉบับที่มีความยาวเพียง 31 หน้า ปี 1913), 37 หน้า ปี 1933), 145 หน้า (ปี 1999) และ 66 หน้า ปี 2002) ตามลำดับ โดยในฉบับนี้มีสาระสำคัญที่ครอบคลุมถึง 8 ประเด็น ได้แก่
1. การจัดตั้ง หน่วยงานกำกับและพิทักษ์ผู้ลงทุน (Consumer Financial Protection Agency) เพื่อดูแลเรื่องสินเชื่อส่วนบุคคล การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต รวมทั้งการปล่อยสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน โดยธนาคารต้องเข้มงวดในเรื่องของเอกสารหลักฐานการดำเนินงาน ความมีตัวตน และความสามารถในการชำระหนี้คืนของลูกค้า
2. การจัดตั้ง สภาการกำกับเสถียรภาพของระบบการเงิน The Financial Stability Oversight Council) เพื่อกำกับและดูแลตลาดทุน Wall Street) อย่าง บูรณาการ เนื่องจากในสหรัฐฯ นั้นมีองค์กรกำกับในหลายรูปแบบและหลายระดับ การดำเนินการเช่นนี้น่าจะส่งผลดีต่อการประเมินสถานการณ์และการบริหารความ เสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถกำกับดูแลสถาบันที่เกี่ยวข้องในระบบได้ทุกราย เช่น Hedge Funds และธุรกิจประกันชีวิต เป็นต้น
3. การจัดทำกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า Volcker Rule ซึ่ง เป็นการกำหนดขอบเขตและขนาดของการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับอนุพันธ์ ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งขนาดของทุนที่เหมาะสมกับธุรกรรมดังกล่าว เพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นคงและแข็งแรง
4. การกำกับธุรกิจอนุพันธ์ในตลาดโอทีซี โดย กำหนดให้ต้องชำระราคาผ่านสำนักหักบัญชี จากเดิมที่สถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์นั้นดำเนินการซื้อขายระหว่างกันเอง แต่หลังจากนี้จะต้องดำเนินการโดยใช้สำนักหักบัญชีเข้ามาเป็นคู่สัญญาในการ ชำระราคา โดยเฉพาะ Credit Default Swaps ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะเป็นผู้กำกับในกรณีที่เป็นอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับหุ้น และ CFTC จะกำกับในส่วนของสินค้าโภคภัณฑ์
5. การปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับผู้เล่นในตลาดอนุพันธ์ โดยกำหนดให้ Hedge Fund ที่มีขนาดใหญ่ ต้องขึ้นทะเบียนกับ สำนักงาน ก.ล.ต. และต้องนำส่งรายงานที่จำเป็นให้กับทาง ก.ล.ต. ด้วย
6. การปรับปรุงการกำกับดูแล บริษัทจัดอันดับเครดิต ซึ่งในช่วงวิกฤตปี 2008 นั้น ไม่สามารถให้การวิเคราะห์ข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงของผู้ถูกประเมิน โดย ก.ล.ต. ของสหรัฐฯ จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
7. การจัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ภายใต้กระทรวงการคลัง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ AIG ในอดีต และเป็นที่คาดว่าจะต้องมีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นในการกำกับและการบริหารความเสี่ยง
8. การ ปรับปรุงการทำงานของธนาคารกลาง เพื่อให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมในการออกมาตรการความช่วยเหลือให้แก่สถาบัน การเงินใดๆ รวมทั้งการสร้างความชัดเจนว่าแต่ละสถาบันการเงินนั้น จะได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานภาครัฐอย่างเท่าเทียมกัน
จากแหล่งข้อมูลที่ติดตามการดำเนินงานของกฎหมาย Dodd Frank นี้ พบว่าในรอบสองปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าไปเพียงประมาณ 30 % จากจำนวนทั้งหมด 848 หน้าที่ผ่านรัฐสภา นอกจากนั้น เมื่อกรกฎาคม 2012 กฎหมายฉบับนี้ได้มีข้อกำหนดและกฎระเบียบเพิ่มเติมขึ้นจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 8,843 หน้า ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก สำนักงาน ก.ล.ต. ประมาณ 3,200 หน้า CFTC 3,187 หน้า ธนาคารกลาง 1,439 หน้า และ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน 1,013 หน้า แต่ถ้าแบ่งออกตามหัวข้อที่เกี่ยวข้อง กฎระเบียบด้านอนุพันธ์มีมากถึง 52% หรือ 3,363 หน้า งานการคุ้มครองผู้บริโภค 1,561 หน้า และกองทุนส่วนบุคคล 820 หน้า ดิฉัน ได้บอกกับเพื่อนๆ ในวงการที่สหรัฐอเมริกาว่า ขอแสดงความเห็นใจกับภาระอันหนักอึ้งของท่าน ที่จะต้องพบกับงานการกำกับดูแลจากหน่วยงานรัฐอย่างใกล้ชิด และ ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ที่มิได้มาจากการปรับปรุงระบบการทำงานภายในเท่านั้น ค่าที่ปรึกษาเฉพาะด้านก็คาดว่าจะมีจำนวนสูงเช่นกัน
Posted by
kesara at 6:28 PM in
กรุงเทพธุรกิจhttp://portal.settrade.com/blog/kesara/2012/12/04/1209