 |
ไม่ได้แปลว่ามันจะต้องเกิด เพียงแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มันเกิดเพราะขาดการควบคุม รวมถึงคนยังไม่มีประสบการณ์ แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามีมาตรการที่แก้ไขได้ทันท่วงที หรือมีการควบคุมมันก็จะลดปัญหาหรือทำให้วิกฤตเบาลงได้
อย่างไทยก่อนปี 40 เรามีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ทั้งฟองสบู่ในตลาดหุ้น ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ โดยที่เราขาดการควบคุม นักการเงินสมัยนั้นก็ยังไม่เก่ง นักการเมืองส่วนใหญ่ก็ทหารซึ่งไม่ได้มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจมากนัก การเก็งกำไรกันอย่างบ้าคลั่งของประชาชน ผสมโรงเข้าไปกับต่างประเทศเข้ามาปั่นหุ้น ปั่นอสังหา และปั่นค่าเงิน เราจึงเละในที่สุด ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เราต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำติดต่อกันหลายปี
เอาเฉพาะปี 1996 จุดท็อปของช่วงนั้น GDP ของเราร่วงลงกว่า -38% ในปี 1998 (ภายในสองปี) แล้วก็ตายนิ่งสนิทมาจนถึงปี 2001 หลังจากนั้นการลดค่าเงินบาทของเราเริ่มเห็นผล และการเริ่มฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากปี 2001 เป็นต้นมา จนมาถึง 2011 ภายในระยะเวลา 10 ปี GDP เราเติบโตขึ้นมากว่า +200% (ปี 2001 อยู่ที่ 115,000 ล้านเหรียญ ส่วนปี 2011 อยู่ที่ 345,000 ล้านเหรียญ)
ถามว่าเราเติบโตขึ้นมาอย่างร้อนแรงไหม ... ก็ไม่เชิง แต่มันเป็นการฟื้นตัวกลับมาหลังจากการตกต่ำครั้งรุนแรงของเราด้วย และแรงของการอุปโภคบริโภคของไทยดีขึ้นกว่าเดิมมาก เศรษฐกิจเราดีขึ้นจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ และค่าเงินบาทที่อ่อน ซึ่งทำให้เราสามารถเน้นการท่องเที่ยว การส่งออก เพื่อสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจได้ (และในช่วงที่ผ่านมาถือว่าทำได้ดี) แต่การเติบโตที่ว่าไป 200% นั้น ก็อย่าลืมไปปรับผลของเงินเฟ้อออกด้วย ไม่ได้แปลว่ามันโตจริงถึง 200%
ผมคิดว่าในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันเฉพาะตามลักษณะของคนประเทศหรือภูมิภาคนั้น รวมถึงประวัติศาสตร์ชาติ ซึ่งทำให้วิถีชีวิตของคนมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อแสวงหา หรือป้องกันไปตามลักษณะของชนชาตินั้นๆ อย่างในไทยถามว่าอีกสัก 10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นแบบนี้ไหม? ก็อาจจะไม่ เพราะถึงเวลานั้นคนเก่าแก่สมัยต้มยำกุ้ง คงไม่ได้มาอยู่ดูแลประเทศแล้ว (แก่หรือเตรียมตัวตายกัน) คนยุคใหม่ที่ลืมวิกฤตก็จะเป็นคนทำให้วิกฤตมันแตกตัว (อาจจะ)
หรืออย่างญี่ปุ่นในช่วงสงครามเป็นต้นมา เศรษฐกิจเติบโตแรงและเร็ว กระทั่งฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก หลังจากนั้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็แทบไม่เติบโตอีกเลยอีกหลายสิบปี จนมีการเรียกขานเหตุการณ์นี้่ว่า "ทศวรรษที่สาปสูญ" คนญี่ปุ่นจึงมีความแอบโบราณทางเศรษฐกิจอยู่เล็กน้อย นิยมออมเงินเป็นประกันชีวิต และการออมเงินสด มากกว่าการออมด้วยสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ และการลงทุนก็น้อยมาก นิยมสะสมอสังหาริมทรัพย์ ว่ากันว่าประกันชีวิตของคนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นหนึ่งคน จะมีประกันชีวิต มากกว่า 2-3 แห่ง หรือมากกว่านั้น และการออมเงินสูงมาก ซึ่งเป็นผลทำให้ญี่ปุ่น มีภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เติบโตจากภาวะเงินฝืด เพราะทุกคนเก็บออมมากกว่าเอาออกมาใช้ จึงขาดสภาพคล่องในเศรษฐกิจ ซึ่งจากภาวะดังกล่าวจึงทำให้ญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่ใช้มาตรการ QE ด้วย (สหรัฐก๊อปโมเดลมาใช้ และรู้สึกว่าจะชอบมันเอามากๆ)
เช่นกันกับคนสิงคโปร์ นิยมสะสมประกันชีวิต และอสังหาริมทรัพย์ นั่นเพราะว่าลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ ปริมาณพื้นที่มันจำกัด อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อก็ต่ำมาก คนจึงนิยมออมด้วยประกันชีวิต และการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งนับวันราคาอสังหาริมทรัพย์เกาะสิงคโปร์ นับวันยิ่งแพง และภายใต้กฎหมาย กฎระเบียบและค่าใช้จ่ายที่เข้มงวด ทำให้คนมีความเท่าเทียมกัน อสังหาริมทรัพย์แม้ว่าจะซื้อขายกัน แต่ก็เป็นการซื้อขายสัญญาเช่าที่ดินจากรัฐบาลสิงคโปร์ ไม่ใช่การซื้อขายเก็บโฉนดกันเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวแบบไทย เพราะไม่อย่างนั้นคนรวยก็กว้านซื้อที่ดินเก็บไปหมด พื้นที่บางแห่งแทนที่จะได้ใช้ประโยชน์กลับเป็นว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาเศรษฐี แล้วก็ปล่อยทิ้งมันไว้ยังไม่มีโครงการอะไร
ลักษณะนิสัยใจคอ ภูมิประเทศ และความคิด มีผลต่อการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้เหมือนกัน บางแห่งรู้และควบคุมเอาไว้ วิกฤตไม่ลุกลาม หรือถ้าเป็นวิกฤตจริงก็มีการบาดเจ็บล้มตายกันน้อย ความเสียหายอยู่ในระดับที่ควบคุมและฟื้นฟูได้ บางแห่งละเลย ไม่สนใจ ปล่อยกันไปตามยถากรรม เศรษฐกิจก็ต้องพังกันไปแรงๆ แล้วจึงค่อยๆกลับมา
ยังไงก็ตามขึ้นชื่อว่าเศรษฐกิจ มันก็ย่อมมีการเติบโต หดตัวได้ เป็นธรรมดา ไม่เฉพาะว่าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังอาจจะเป็นเพราะคนในประเทศที่ระงับการใช้จ่ายจนเศรษฐกิจไม่เติบโตก็มี หรือเศรษฐกิจพังเพราะคนก็มี พังเพราะภัยธรรมชาติก็มี ซึ่งปัจจัยพวกนี้มันต้องดูอีกหลายด้านประกอบ ...
บ่นยาวจังฮู้ ...
จากคุณ |
:
venezier
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ธ.ค. 55 03:40:17
|
|
|
|
 |