Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
@@@ SCB MUTUAL FUND AND GOLD & SILVER , STOCK INVESTMENT @@@วันพฤหัสบดีที่ 20/12/2555{แตกประเด็นจาก I13085119} vote ติดต่อทีมงาน

กระทู้นี้แตกประเด็นมาจาก I13085119

ต้อนรับการลงทุนวันใหม่เเละเรียนรู้ไปพร้อมๆกันครับ

*********************************************

สติ


สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ไม่เผลอไผล ฉุกคิดขึ้นได้ ระงับยับยั้งใจได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไม่ประมาท


สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้น เป็นเหตุให้ฉุกคิด ยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม และกระตุ้นให้นึกถึงชีวิตจนทำให้เสียสละทำความดีงามต่างๆ ได้ แต่หากขาดสติแล้วจะเป็นเหตุให้ทำอะไรผิดพลาดพลั้งเผลอและเสียหายร่ำไป


สติ เป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ ต้องทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆ เช่น ทำสมาธิ สวดมนต์ ภาวนา

 
สติ(ความระลึกได้) เป็นอนัตตาดั่งเช่นธรรมทั้งหลายทั้งปวง ดังนั้น สติจึงทำให้เกิดขึ้นไม่ได้และไม่สามารถกำหนดให้เกิดได้ แต่สติจะเกิดได้ต้องมีเหตุ และเหตุที่ทำให้สติเกิดคือ จิตจำสภาวะธรรมได้แม่นยำ (อ้างจาก คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ)จิตจะจำสภาวะธรรมได้แม่นยำ ก็เมื่อเราหมั่นตามรู้กายตามรู้ใจเนืองๆ ด้วยความเป็นกลาง กล่าวคือ เมื่อสภาวะใดๆเกิดขึ้นที่จิต เช่น ความโกรธ ความชอบ ความรัก ความหลงไปคิด ความกลัว ความอิจฉา ไม่ว่าสภาวะธรรมใดๆทั้งฝ่ายกุศล(ดี) และฝ่ายอกุศล(ชั่ว) เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ให้หมั่นตามรู้เนืองๆด้วยใจที่เป็นกลาง การหมั่นตามรู้เนืองๆนี้เอง จะทำให้จิตจำสภาวะธรรมได้แม่นยำ(เรียกเป็นบาลีว่า ถิรสัญญา) แล้วเป็นเหตุให้สติเกิด คือเมื่อสภาวะธรรมนั้นๆเกิดขึ้น และจิตจำสภาวะธรรมนั้นได้ สติ(ความระลึกได้)จะเกิดเอง


การหมั่นตามรู้เนืองๆ เป็นจุดสำคัญและถือเป็นการเจริญภาวนาที่เรียบง่ายและสัดสั้นที่สุด มนุษย์เราทั่วทั้งโลกเคยชินกับการหาความรู้ด้วยการฟัง การอ่าน (สุตมยปัญญา) หรือ การคิดวิเคราะห์เอา (จินตามยปัญญา)แต่การหาความรู้ในทางพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดคือ การคอยตามรู้ตามความเป็นจริงถึงสภาวะใดๆที่เกิดขึ้นกับกายกับใจด้วยความเป็นกลาง เมื่อตามรู้บ่อยๆด้วยใจที่เป็นกลาง เช่น เมื่อเกิดความโกรธ ก็รู้ว่าโกรธ เกิดความอยาก ก็รู้ว่าอยาก เกิดหลงไปคิดก็รู้ว่าหลงไปคิด เกิดความสุขก็รู้ว่าเกิดความสุข เกิดความทุกข์ก็รู้ว่าเกิดความทุกข์ เช่นนี้ เมื่อตามรู้ซ้ำๆบ่อยๆจนจิตจำสภาวะธรรมได้แม่นยำ จะทำให้สติเกิดขึ้นกับจิต เมื่อสติเกิดบ่อยๆ ก็ทำให้จิตมีความสุข เมื่อเกิดความสุขบ่อยๆ ก็จะทำให้จิตตั้งมั่นเกิดสัมมาสมาธิ เมื่อเกิดสัมมาสมาธิบ่อยๆ ก็เป็นเหตุให้เกิดปัญญาเห็นความจริงของกายของใจ ว่า มันไม่เที่ยง(อนิจจัง) มันไม่สามารถคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอด(ทุกขัง)และมันไม่มีตัวตนของใครบังคับมันไม่ได้(อนัตตา)การได้เห็นความจริงเช่นนี้ก็คือการหาความรู้ด้วยการตามรู้บ่อย หรือที่เรียกเป็นบาลีว่า ภาวนามยปัญญา


การเห็นความจริงของกายของใจว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาบ่อยๆจนจิตตัดสินความรู้เองครั้งแรก ก็จะทำให้สักกายทิฏฐิคือความเห็นว่ามีตัวมีตนอยู่ถูกทำลาย ทำให้ผู้นั้นบรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นพระโสดาบัน นี่เป็นปัญญาขั้นที่ทำลายความเห็นผิดว่ากายใจเป็นของตน หมั่นตามรู้กายใจต่อไปเรื่อยๆจนจิตตัดสินความรู้ครั้งที่สอง ก็จะทำให้กิเลส (กามราคะ และ โทสะ)เบาบางลง ทำให้ผู้นั้นบรรลุสกิทาคามิมรรคเป็นพระสกิทาคามี จากนั้นหมั่นตามรู้กายใจต่อไปเรื่อยๆจนจิตตัดสินความรู้ครั้งที่สาม ก็จะสามารถละ กามราคะและโทสะได้สมบูรณ์ ทำให้ผู้นั้นบรรลุอนาคามิมรรคเป็นพระอนาคามี และเมื่อตามรู้กายตามรู้ใจเนืองๆต่อไปอีกจนจิตตัดสินความรู้ครั้งที่สี่ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย จิตจะทำลาย ความฟุ้งซ่าน(อุทธัจจะ) ความถือตัว(มานะ) ความเพลิดเพลินพอใจในรูป (รูปราคะ) ความเพลิดเพลินพอใจในอรูป(อรูปราคะ)และอวิชชา (ความไม่รู้ความจริงทั้งสี่-อริจสัจจ์สี่)ได้อย่างราบคาบ เป็นการจบกิจที่ต้องกระทำอย่างสมบูรณ์ในพุทธศาสนา ผู้นั้นเรียกขานกันว่า พระอรหันต์ จิตจะพ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง


สติจึงถือเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก

จากคุณ : DJ_korn47
เขียนเมื่อ : 20 ธ.ค. 55 08:57:32




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com